มติชน 16 ธันวาคม 2553
ก่อนหน้าปี 2010 "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก" ผู้ก่อตั้งและซีอีโอแห่งเฟซบุค ยังเป็นเพียงแค่ชายหนุ่มวัย 26 ปี ที่บ้างานและมีความลึกลับอยู่ในตัว และคุ้นเคยแค่เพียงโลกของเทคโนโลยีในซิลิคอน วัลเลย์เท่านั้น แต่ ในปีนี้เขากลับกลายต้องเข้าไปอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมป๊อปอันหวือหวา ปรากฏตัวอยู่ในสื่อที่มีรูปแบบและรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันไป จนกระทั่งชีวิตของเขากลายเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องมากเรื่องหนึ่งแห่งปี
เมื่อ วันพุธที่ผ่านมา สถานะทางสังคมของเขาก็ได้ขึ้นสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง เมื่อนิตยสาร "ไทม์" ได้เลือกให้เขาเป็น "บุคคลแห่งปี" และถือว่าซักเคอร์เบิร์ก เป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเกียรติเช่นนี้ นับตั้งแต่ "ชาร์ลส ลินด์เบิร์ก" ได้รับเกียรตินี้เมื่อปี 1927 ในขณะที่มีอายุเพียง 25 ปี โดยเขามีอายุน้อยกว่าสมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ในครั้งที่ท่านได้รับการยกย่องในปี 1952 และทั้งคู่มีอายุเพียง 26 ปีเท่ากัน "บุคคลแห่งปี" ของนิตยสารไทม์ คือบุคคลหรือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม และข้อมูลข่าวสารในช่วงหนึ่งปีที่ ผ่านมา ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยเมื่อปีที่แล้วบุคคลที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือนายเบ็น เบอร์นานเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ ในขณะที่ปี 2008 คือนายบารัค โอบามา และปี 2007 คือนายวลาดิเมียร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีแห่งรัสเซีย ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลก่อนหน้านี้ อาทิ โบโน่ นักร้องนำแห่งวงยูทู อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และนายเจฟฟ์ เบซอส ประธานและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Amazon.com ในขณะที่ก่อนหน้า นี้ นิตยสารไทม์ ได้จัดทำผลสำรวจ บุคคลผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดประจำปี 2010 ซึ่งปรากฏว่านายจูเลียน แอสแซนจ์ ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ ได้รับการโหวตถึง 382,000 คะแนน ให้ได้รับตำแหน่งดังกล่าว นำหน้านายเรเซป เออร์โดกัน นายกรัฐมนตรีแห่งตุรกี และเลดี้ กาก้า นักร้องเพลงป๊อปชื่อดัง ในขณะที่ซักเคอร์เบิร์ก ได้เพียงอันดับ 10 ด้วยคะแนนที่ต่ำกว่า 20,000 เสียง
โดยนาย ริชาร์ด สเตนเกล บรรรณาธิการบริหารแห่งนิตยสารไทม์กล่าวว่า สาเหตุที่ตนเลือกให้ซักเคอร์เบิร์ก ได้รับตำแหน่งนี้ก็เพราะเฟซบุค เป็นสิ่งที่สามารถส่งอิทธิพลต่อโลกในวงกว้างอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน "การ เชื่อมโยงคนจำนวน 500 ล้านคน และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม (อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน) การสร้างสรรค์ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบใหม่ ซึ่งกลายเป็นทั้ง "สิ่งที่ขาดไม่ได้" และสิ่งที่สร้างความหวั่นวิตก และในที่สุดแล้วมันก็จะสร้างความท้าทายใหม่ๆในการใช้ชีวิตของผู้คนใน ปัจจุบันที่ทั้งมีความสร้างสรรค์ และกระทั่งการมองโลกในแง่ดี"
กลุ่มทีปาร์ตี้ (ไม่มีภาพ)
นายจูเลียน แอสแซนจ์ (ไม่มีภาพ)
นายฮาร์มิด คาร์ไซ (ไม่มีภาพ)
ในขณะ ที่ผู้ที่ได้รับตำแหน่งรองลงจากซักเคอร์เบิร์ก ประกอบด้วย กลุ่มทีปาร์ตี้ กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในพรรครีพับลิกันของสหรัฐฯ ; นายจูเลียน แอสแซนจ์ ; นายฮาร์มิด คาร์ไซ ประธานาธิบดีแห่งอัฟกานิสถาน และกลุ่มคนงานเหมืองชิลี เขาแสดงความคิดเห็นในหน้าเฟซบุ คของเขาว่า "ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ทีมงานเล็กๆของเราได้สร้างสรรค์สิ่งที่ผู้คนนับร้อยล้านคนต้องการนำมันไป ใช้เพื่อทำให้โลกเปิดกว้างและเชื่อมต่อได้มากขึ้น ผมดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมัน" ปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่น่าจดจำทั้งต่อซักเคอร์เบิร์กและเฟซบุค ทั้งยอดผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นถึง 500 ล้านรายทั่วโลก และมูลค่าทางการตลาดที่พุ่งขึ้นถึงหลักหมื่นล้านเหรียญ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและรูปแบบนับครั้งไม่ถ้วน เฟซบุคไปได้ไกลกว่าความเป็นแหล่งพบปะของผู้คนในเว็บไซด์สังคมออนไลน์ แต่ถือเป็นสิ่งสำคัญแห่งการเชื่อมต่อในโลกอินเตอร์เน็ต ก่อน หน้านี้ มีการคาดการณ์ไปต่างๆนานาว่า ไทม์อาจเลือก "จูเลียน แอสแซนจ์" ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ ให้รับตำแหน่งนี้ โดยซักเคอร์เบิร์ก กล่าวถึงแอสแซนจ์ว่า "เนื่องจากเขาเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเรา" "ผมพยายามทำให้โลกเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างมากขึ้น" ซักเคอร์เบิร์กกล่าวในส่วน "ประวัติ" ของเขาในเฟซบุค บาง ทีซักเคอร์เบิร์ก อาจเตรียมพร้อมที่จะรับในการเปิดเผยตัวตนต่อสาธารณชน ต่อสิ่งที่คนอื่นๆพยายามสร้างมันให้กับเขาอยู่เสมอๆ ในภาพยนตร์เรื่อง "The Social Network" โดยเดวิด ฟินเชอร์ อาจตีความเป็นตัวตนของเขาและความเป็นเฟซบุค ในวิธีที่ไร้ความปราณีอยู่เสียหน่อย
ภาพยนตร์ เล่าถึงซักเคอร์เบิร์ก ในฐานะบุคคลที่มีความฉลาดเฉลียว บ้าพลัง และนักแฮ็คเกอร์ผู้ต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคมและหญิงสาว และเฟซบุคก็เรียกภาพยนตร์เรื่องนี้ (ดัดแปลงมาจากหนังสือชื่อ "The Accidental Billionaires" ของเบ็น เมซริช ซึ่งซักเคอร์เบิร์กไม่ได้มีส่วนร่วมในการเขียนแต่อย่างใด) ว่า "หนังสือนวนิยาย" แต่กระนั้น ก็ไม่สามารถหยุดกระแสความชื่นชม ทั้งจากนักวิจารณ์และผู้ชมได้ และถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ ที่มีการพูดถึงมากที่สุดเรื่องหนึ่งของปีนี้ และถือเป็นตัวเก็งที่สำคัญในเวทีออสการ์อีกด้วย ทั้งสมาคม นักวิจารณ์ภาพยนตร์นิวยอร์ค สมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ลอสแองเจลิส คณะกรรมการวิจารณ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ต่างก็เลือกให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี และเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มันก็ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำถึง 6 สาขา ซึ่งรวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
"บิล เกตส์" และ "วอร์เรน บัฟเฟต์" ผู้ก่อตั้งกองทุน Giving Pledge (ไม่มีภาพ)
ซัก เคอร์เบิร์ก บริจาคเงินจำนวนกว่า 100 ล้านเหรียญ ให้หน่วยงานการศึกษาต่างๆในรัฐนิวเจอร์ซี และปรากฏตัวในรายการทอล์คโชว์ของโอปราห์ วินฟรีย์ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าว เขาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองทุน "Giving Pledge" ซึ่งก่อตั้งโดย "บิล เกตส์" เจ้าพ่อไมโครซอฟท์ และ "วอร์เรน บัฟเฟต์" เพื่อร่วมรณรงค์ให้บุคคลที่มีฐานะร่ำรวยในลำดับต้นๆของประเทศร่วมบริจาคเงิน เพื่อการกุศล สำหรับซักเคอร์เบิร์ก "The Social Network" ไม่ได้สร้างความรู้สึกหวาดกลัวให้เขามากนัก ในทางตรงกันข้าม เขาเหมาโรงภาพยนตร์สองโรง เพื่อพาพนักงานทั้งหมดไปชมภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว "มัน น่าสนใจทีเดียวที่ได้เห็นในส่วนที่เขาเข้าใจถูก และส่วนที่เขาเข้าใจผิด เหมือนกับว่าเขาได้ทำเสื้อยืดตัวหนึ่งแทนสิ่งที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเป็น และผมคิดว่าผมคงเป็นเจ้าของเสื้อยืดพวกนั้นทั้งหมด" ซักเคอร์เบิร์กกล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 Minutes "แต่ สิ่งที่ผมต้องการพูดถึงก็คือ มีสิ่งที่ธรรมดาๆมากมายที่เขาตีความพลาด ผมว่าเขาทำให้มันดูเหมือนว่าแรงขับในการสร้างสรรค์ เฟซบุคของผมก็เพื่อที่จะเอาชนะใจผู้หญิงเท่านั้น และพวกเขาก็ลืมความจริงไปว่า ผมคบแฟนสาวคนนี้มาตั้งแต่ก่อนที่จะทำเฟซบุคเสียอีก" ซัก เคอร์เบิร์ก ผู้เติบโตในย่านด็อบส์ เฟอร์รี่ เขตชานเมืองนครนิวยอร์ค เป็นบุตรชายของหมอฟันผู้หลงใหลในคอมพิวเตอร์ และสร้างเฟซบุคจากห้องพักเล็กๆในหอพักของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จนกลายเป็นเว็บไซต์สังคมออนไลน์ระดับโลก ก่อนที่จะก้าวมาถึงในระดับนี้ เขาได้ปฏิเสธข้อเสนอมูลค่ามหาศาลของบริษัทต่างๆ อาทิ ยาฮู และไมโครซอฟท์ และปฏิเสธที่จะนำเฟซบุคออกสู่สาธารณชนมาแล้ว
มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก พร้อมทั้งสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด ระหว่างการพักผ่อนในวันขอบคุณพระเจ้า ปี 2010 (ไม่มีภาพ)
และเมื่อถามถึงการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)ของเฟซบุค ซักเคอร์เบิร์กกล่าวว่า "บางทีอาจเป็นเช่นนั้น" "คน จำนวนมากที่ผมคิดว่าพวกเขาเริ่มต้นที่จะสร้างบริษัท คิดว่าการขายบริษัทและการเปิดตัวออกสู่สาธารณะคือจุดจบ" เขากล่าว "มันเหมือนกับว่าคุณได้ชัยชนะแล้วเมื่อคุณกลายเป็น "สาธารณะ" แต่ผมกลับไม่มองอย่างนั้น" ไม่ทุกคนที่เห็นว่าการเติบโตของ เฟซบุคเป็นสิ่งที่ดี บางคนตั้งคำถามถึงการสร้างความมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงลึกของมัน และหลายคนตั้งคำถามถึงทัศนคติด้านความเป็นส่วนตัวของมัน เฟซบุคได้กระตุ้นให้ผู้ใช้แบ่งปันข้อมูลส่วนตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสร้างกระเแสการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวอยู่ เสมอ แต่ซักเคอร์เบิร์กในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และกลายเป็นมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุด มองว่าเฟซบุคคือระบบการบ่งบอกตัวตนที่เป็นสากล ที่สามารถต่อกรกับกูเกิ้ล หรือแม้กระทั่งอีเมล์ บนพื้นฐานของการสื่อสารบนโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ใน หนังสือที่เกี่ยวข้องกับเขาอีกเล่มหนึ่งชื่อ "The Facebook Effect" โดย "เดวิด เคิร์กแพทริก" กล่าวไว้ในหนังสือว่า เงินแทบไม่ใช่แรงบันดาลใจในการสร้างเว็บไซด์ และเฟซบุคได้มากเท่ากับวิสัย ทัศน์ของตัวเขาเอง "คำถามที่ผมถามตัวเองทุกวันก็คือ ผมได้ทำในสิ่งสำคัญที่สุดที่ผมสามารถทำได้หรือเปล่า?" ซักเคอร์เบิร์กกล่าวในหนังสือ "เมื่อไหร่ที่ผมไม่รู้สึกว่า ผมได้แก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดเท่าที่ผมจะทำได้ เมื่อนั้นผมก็จะรู้สึกว่าตนเองใช้เวลาได้ไม่คุ้มค่าพอ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทของเราเป็น"
ทีมผู้บริหารเฟซบุค (ซ้ายไปขวา) ชามัธ พาลีหะพิทยา รองประธานด้านการเติบโต, ธุรกิจมือถือ และธุรกิจต่างประเทศ; ซักเคอร์เบิร์ก ; ไมค์ ชโรฟเฟอร์ รองประธานด้านวิศวกรรม ; โจนาธาน ไฮลิเกอร์ รองประธานด้านการปฏิบัติการเทคนิค ; คริส ค็อกซ์ รองประธานด้านผลิตภัณฑ์ (ไม่มีภาพ)
บรรยากาศภายในสำนักงาน
ห้องดนตรี (ไม่มีภาพ)
ตู้กดน้ำอัดลม (ไม่มีภาพ)
วอลล์แสดงความคิดเห็น (ไม่มีภาพ)
ห้องเก็บเสิร์ฟเวอร์ (ไม่มีภาพ)