http://teetwo.blogspot.com/2009/05/blog-post_5048.html
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) และ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ)
เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
ในพระบรมมหาราชวัง ทรงประกอบพระราชพิธีฉัตรมงคล
พสกนิกรเปล่งเสียงทรงพระเจริญดังกึกก้อง...
เมื่อ เวลาประมาณ 10.30 น. วันที่ 5 พ.ค. 2553
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระบรมมหาราชวัง
ในการพระราชพิธีวันฉัตรมงคล
ทั้งนี้ ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระ ทวารเทเวศรรักษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ
สมเด็จพระราชาคณะ ถวายศีล พระสงฆ์ 20 รูป
ถวายพรพระ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม
พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย
บูชาเทพยดารักษานพปฎลมหาเศวตฉัตรสิริราช กกุธภัณฑ์
พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียน
สมโภชนพปฎลมหาเศวตฉัตรสิริราชกกุธภัณฑ์
พนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร บัณเฑาะว์
และดุริยางค์แล้ว พราหมณ์เจิมนพปฎลมหาเศวตฉัตร
โหรผูกผ้าสีชมพู พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงพระสุหร่ายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และ
พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ทองคำประจำรัชกาล
แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับในเวลา 12.00 น.
ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
จะยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ฝ่ายละ 21นัด
ทั้งนี้ ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน
พสกนิกรสองข้างทางต่างเปล่งเสียงทรงพระเจริญดังกึกก้อง
พร้อมชูธงโบกสะบัดด้วยความปลาบปลื้ม
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงโบกพระหัตถ์และทรงแย้มพระโอษฐ์ให้กับพสกนิกรด้วย
มติชนออนไลน์
วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
" ... อาจมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นพิธีภายใน
และกระทำเป็นส่วนพระองค์
แต่แท้ที่จริงพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นงานของชาติ
เป็นการทำบุญถวายพระราชกุศลแด่
สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในรัชกาล ก่อนๆ ..."
วันพรุ่งนี้ (พุธที่ 5 พฤษภาคม 2553)
เป็นวันครบรอบปีที่ 60 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สืบราชสมบัติ
ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคต
การนับรัชกาลจึงเริ่มแต่วันนั้น และปีนี้จึงเป็นปีที่ 64 ในรัชกาลปัจจุบัน
แต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น
มาทำในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493
ในวันครบรอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกปี
มีพระราชพิธีสำคัญที่เรียกว่า พระราชกุศลทักษิณานุปทาน
และพระราชพิธีฉัตรมงคล (คือการทำบุญฉลองฉัตร)
ในพิธีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
ยังพระบรมมหาราชวัง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตร
และเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์
สำหรับ "ฉัตร" น้อยคนคงระลึกได้ว่า
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 นั้น
พระมหาราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์
ได้ถวายนพปฎล เศวตฉัตร (ฉัตรสีขาวเก้าชั้น)
พระมหาเศวตฉัตรถือเป็นเครื่องหมายของพระมหากษัตริย์ไทย
และจึงถือเป็นโบราณราชประเพณี
ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภช
ในโอกาสอันสำคัญนี้
ส่วนเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ คือของใช้
อันเป็นเครื่องหมายของพระราชาธิบดีนั้น
พระมหาราชครูวามเทพมุนีก็ถวายในโอกาสเดียวกัน
ประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฎ
พระแสงขรรค์ชัยศรี พระแส้จามรี
ธารพระกร (ไม้เท้า) พระแส้หางช้างเผือก
ฉลองพระบาทเชิงงอน (รองเท้าปลายงอน)
และพัดวาลวิชนี (พัดทำด้วยขนจามรี)
พระราชพิธีฉัตรมงคลนั้น มีขึ้นเป็นเครั้งแรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2395 หรือเมื่อ 158 ปีมาแล้ว
และในรัชกาลต่อมา (เว้นรัชกาลที่ 8)
ก็ได้มีพระราชพิธีนี้เป็นประจำทุกปี
วันและเดือนเปลี่ยนไปตาม
วันที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
อาจมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นพิธีภายใน
และกระทำเป็นส่วนพระองค์
แต่แท้ที่จริงพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นงานของชาติ
เป็นการทำบุญถวายพระราชกุศลแด่
สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในรัชกาล ก่อนๆ
เพื่อระลึกถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญ
อันเป็นคุณประโยชน์อย่างไพศาลแก่ประชาชน
และแก่ประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องจน ถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงอุทิศ
พระราชกุศลพระราชทาน (แบ่งบุญ) แก่ประชาชนคนไทยด้วย
เป็นที่ทราบและ ตระหนักกันทั้งแก่ประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศว่า
พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น
มีเอกลักษณ์ตรงที่ทรงอุทิศพระวรกายอย่างทุ่มเทและไม่ทรงหยุดยั้ง
เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน
ตั้งแต่วันฉัตรมงคล วันที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 วันที่เฉลิมพระประมาภิไธยเป็น
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เป็นต้นมา
แทบจะไม่เคยได้ทรงหยุดเพื่อการสำราญพระราชหฤทัย
เหมือนประมุขของประเทศอื่น
แต่ทรงอุทิศเวลาเพื่อการศึกษา วิเคราะห์
และวิจัยทุกข์ของประชาชน
คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ฉะนั้นการศึกษา วิเคราะห์และวิจัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงหนักไปในเรื่องของดินและ น้ำ สองปัจจัยสำคัญในเกษตรกรรม
ผลของพระราชอุตสาหะทำให้เกิด
โครงการตามพระราชดำริขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศ
เอกลักษณ์ ของโครงการตามพระราชดำรินั้น คือความ "พอเพียง"
ไม่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชน
มีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย เกินพอ
แต่ให้รู้จักสันโดษ มัธยัสถ์ ช่วยตัวเอง
และเติบโตขึ้นตามกำลังความสามารถของตน
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม 2493
ขณะที่ประทับเหนือ พระที่นั่งภัทรบิฐ ใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร
ท่ามกลางมหาสมาคมนั้น
ทรงเปล่งพระวาจาประกาศเป็นพระปฐมบรมราชโองการว่า
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
เวลา 60 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง รักษาและปฏิบัติตาม
พระปฐมบรมราชโองการนั้นอย่างมั่นคง ไม่ทรงหยุดยั้ง
หรือหวั่นไหว แม้ในยามที่บ้านเมืองมีวิกฤตการณ์หนักหรือเบา
วันฉัตรมงคลที่เวียนมาถึงแต่ละปี จึงเป็นวันที่เราชาวไทย
ควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ระลึกถึงความเหน็ดเหนื่อย
และอุทิศพระวรกาย และร่วมกันสนองพระมหากรุณาธิคุณนั้น
ด้วยการตั้งใจทำหน้าที่ของแต่ละคนๆ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ทำให้สมบูรณ์ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดอยู่ในฐานะใด
ผมขอร่วมกับคนไทยทั้งประเทศ
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายชัยมงคล
ขอจงทรงพระเจริญ
วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
" ... อาจมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นพิธีภายใน
และกระทำเป็นส่วนพระองค์
แต่แท้ที่จริงพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นงานของชาติ
เป็นการทำบุญถวายพระราชกุศลแด่
สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในรัชกาล ก่อนๆ ..."
วันพรุ่งนี้ (พุธที่ 5 พฤษภาคม 2553)
เป็นวันครบรอบปีที่ 60 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สืบราชสมบัติ
ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคต
การนับรัชกาลจึงเริ่มแต่วันนั้น และปีนี้จึงเป็นปีที่ 64 ในรัชกาลปัจจุบัน
แต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น
มาทำในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493
ในวันครบรอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกปี
มีพระราชพิธีสำคัญที่เรียกว่า พระราชกุศลทักษิณานุปทาน
และพระราชพิธีฉัตรมงคล (คือการทำบุญฉลองฉัตร)
ในพิธีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
ยังพระบรมมหาราชวัง ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตร
และเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์
สำหรับ "ฉัตร" น้อยคนคงระลึกได้ว่า
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 นั้น
พระมหาราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์
ได้ถวายนพปฎล เศวตฉัตร (ฉัตรสีขาวเก้าชั้น)
พระมหาเศวตฉัตรถือเป็นเครื่องหมายของพระมหากษัตริย์ไทย
และจึงถือเป็นโบราณราชประเพณี
ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภช
ในโอกาสอันสำคัญนี้
ส่วนเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ คือของใช้
อันเป็นเครื่องหมายของพระราชาธิบดีนั้น
พระมหาราชครูวามเทพมุนีก็ถวายในโอกาสเดียวกัน
ประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฎ
พระแสงขรรค์ชัยศรี พระแส้จามรี
ธารพระกร (ไม้เท้า) พระแส้หางช้างเผือก
ฉลองพระบาทเชิงงอน (รองเท้าปลายงอน)
และพัดวาลวิชนี (พัดทำด้วยขนจามรี)
พระราชพิธีฉัตรมงคลนั้น มีขึ้นเป็นเครั้งแรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2395 หรือเมื่อ 158 ปีมาแล้ว
และในรัชกาลต่อมา (เว้นรัชกาลที่ 8)
ก็ได้มีพระราชพิธีนี้เป็นประจำทุกปี
วันและเดือนเปลี่ยนไปตาม
วันที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
อาจมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นพิธีภายใน
และกระทำเป็นส่วนพระองค์
แต่แท้ที่จริงพระราชพิธีฉัตรมงคลเป็นงานของชาติ
เป็นการทำบุญถวายพระราชกุศลแด่
สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในรัชกาล ก่อนๆ
เพื่อระลึกถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญ
อันเป็นคุณประโยชน์อย่างไพศาลแก่ประชาชน
และแก่ประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องจน ถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงอุทิศ
พระราชกุศลพระราชทาน (แบ่งบุญ) แก่ประชาชนคนไทยด้วย
เป็นที่ทราบและ ตระหนักกันทั้งแก่ประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศว่า
พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น
มีเอกลักษณ์ตรงที่ทรงอุทิศพระวรกายอย่างทุ่มเทและไม่ทรงหยุดยั้ง
เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน
ตั้งแต่วันฉัตรมงคล วันที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 วันที่เฉลิมพระประมาภิไธยเป็น
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เป็นต้นมา
แทบจะไม่เคยได้ทรงหยุดเพื่อการสำราญพระราชหฤทัย
เหมือนประมุขของประเทศอื่น
แต่ทรงอุทิศเวลาเพื่อการศึกษา วิเคราะห์
และวิจัยทุกข์ของประชาชน
คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ฉะนั้นการศึกษา วิเคราะห์และวิจัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงหนักไปในเรื่องของดินและ น้ำ สองปัจจัยสำคัญในเกษตรกรรม
ผลของพระราชอุตสาหะทำให้เกิด
โครงการตามพระราชดำริขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศ
เอกลักษณ์ ของโครงการตามพระราชดำรินั้น คือความ "พอเพียง"
ไม่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชน
มีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย เกินพอ
แต่ให้รู้จักสันโดษ มัธยัสถ์ ช่วยตัวเอง
และเติบโตขึ้นตามกำลังความสามารถของตน
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม 2493
ขณะที่ประทับเหนือ พระที่นั่งภัทรบิฐ ใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร
ท่ามกลางมหาสมาคมนั้น
ทรงเปล่งพระวาจาประกาศเป็นพระปฐมบรมราชโองการว่า
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
เวลา 60 ปีที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง รักษาและปฏิบัติตาม
พระปฐมบรมราชโองการนั้นอย่างมั่นคง ไม่ทรงหยุดยั้ง
หรือหวั่นไหว แม้ในยามที่บ้านเมืองมีวิกฤตการณ์หนักหรือเบา
วันฉัตรมงคลที่เวียนมาถึงแต่ละปี จึงเป็นวันที่เราชาวไทย
ควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ระลึกถึงความเหน็ดเหนื่อย
และอุทิศพระวรกาย และร่วมกันสนองพระมหากรุณาธิคุณนั้น
ด้วยการตั้งใจทำหน้าที่ของแต่ละคนๆ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ทำให้สมบูรณ์ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดอยู่ในฐานะใด
ผมขอร่วมกับคนไทยทั้งประเทศ
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายชัยมงคล
ขอจงทรงพระเจริญ