Custom Search

May 23, 2010

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

ไทยรัฐ
สามารถคว้ารางวัลสูงสุด “ปาล์ม ดี’ออร์” (Palm d’or) หรือปาล์มทองคำ
จากภาพยนตร์เรื่อง “Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives”
หรือชื่อภาษาไทยว่า “ลุงบุญมีกลับชาติมาเกิด”
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล “เจ้ย” ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยแนวอินดี้ชืื่อดัง
สร้างชื่อกระหึ่งอีก หลังเคยสร้างชื่อมาแล้วในเวทีเดียวกันนี้จากเรื่อง“สัตว์ประหลาด”

ชื่อ นาย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล


ชื่อ เล่น เจ้ย


วัน ที่เกิด 16 กรกฎาคม 2513


บิดา นายสุวัฒน์ วีระเศรษฐกุล

มารดา นางอรุณ วีระเศรษฐกุล

ถิ่นกำเนิด กรุงเทพมหานคร


การ ศึกษา และดูงาน

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปี 2543 ปริญญาโท ด้านภาพยนตร์ จาก

THE SCHOOL OF THE ART INSTITUTE OF CHICAGO

ตำแหน่งปัจจุบัน 15 ธันวาคม 2552 กรรมการบริหารหอภาพยน
ตร์ (องค์การมหาชน)

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ 15 ธันวาคม 2552 กรรมการบริหารหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)


เครื่องราช 2545 รางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์ ที่ VENICE, DAUVILLE, SINGAPORE

2547 รางวัล " จูรี่ ไพรช์ " จากงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เมืองคานส์
10 กรกฎาคม 2551 ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นอัศวิน หรือ

เชอวัลลิเยร์ เดส์ อาร์ตส์ เอต์ เดส์ แลตเทรอส์ (Chevallier des Artes et des Lettres)


มติชนออนไลน์
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

"อภิชาติพงศ์" เฉลยสายสัมพันธ์ "บ้านนาบัว-ลุงบุญมีฯ" ย้ำนี่ไม่ใช่ "หนังการเมือง"

หลังจากสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นหนังไทยเรื่องแรก
ที่คว้ารางวัล "ปาล์มทองคำ"
รางวัลสูงสุดจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส
"อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล"
เจ้าของผลงานเรื่อง "ลุงบุญมีระลึกชาติ"
ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติอย่างต่อเนื่อง มติชนออนไลน์
จึงขอนำบทสัมภาษณ์ที่ผู้กำกับรายนี้มีกับ
"เอ็มม่า โจนส์" แห่งสำนักข่าวบีบีซี และ "สตีฟ โรส" แห่งเดอะ การ์เดี้ยน
มาเรียบเรียงใหม่และเผยแพร่ ณ ที่นี้
----------
"ลุงบุญมีระลึกชาติ" เป็นหนังที่ก่อให้เกิดคำถามขึ้นอย่างมากมายในหมู่ผู้ชม
จากประเด็นเรื่องตัวละครสัตว์พูดได้เรื่อยไปจนถึงวิญญาณที่มีตัวตน
รวมทั้งประเด็นเรื่องพรมแดนระหว่างโลกนี้กับโลกหน้า
อภิชาติพงศ์ให้สัมภาษณ์ว่า เขาต้องอธิบายประเด็นเหล่านี้
หลายต่อหลายครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยคำตอบต่อประเด็นดังกล่าวของเขาก็ไม่ได้
มีลักษณะเหมือนเดิมทุกครั้งยาม ต้องเผชิญหน้ากับคำถามเช่นนี้
แม้สองในคณะกรรมการตัดสินรางวัลอย่าง "ทิม เบอร์ตัน" ผู้กำกับฮอลลีวู้ดชื่อดัง
และ "เบนิซิโอ เดล โทโร" นักแสดงเจ้าบทบาท จะแสดงความเห็นว่า
ลุงบุญมีฯได้ทำให้พวกเขาเข้าใจประเด็นเรื่องความตายจากมุมมองใหม่แบบ
"ตะวันออก"
อย่างไรก็ตาม ผู้กำกับชาวไทยกลับเห็นต่างว่า
ความกลัวตายถือเป็นลักษณะร่วมกันของคนทั้งใน "ตะวันออก" และ "ตะวันตก"
เพราะลุงบุญมีก็กลัวตายเช่นกัน
"ผมต้องการจะสำรวจตรวจสอบว่าอะไรเกิดขึ้นก่อน
และหลังความตายของคนเรามากกว่า"
หนังรางวัลปาล์มทองคำเรื่องนี้ไม่ใช่หนังอาร์ตธรรมดาทั่วไป
แต่มีทั้ง "ลิงผี" "พระสงฆ์ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ" และ
"ฉากร่วมเพศระหว่างเจ้าหญิงกับปลาดุก"
อภิชาติพงศ์เปิดเผยว่า เรื่องราวของหนังมาจากเรื่องเล่า
เกี่ยวกับชายคนหนึ่งชื่อ "ลุงบุญมี"
ที่อ้างว่าตนเองสามารถระลึกชาติได้เวลานั่งสมาธิ
ซึ่งผู้กำกับที่เติบโตในภาคอีสานบอกว่า
ตัวเองได้รับฟังเรื่องเล่าดังกล่าวมาจาก
เจ้าอาวาสของวัดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ดังกล่าว
ลุงบุญมีฯคือหนังเรื่องแรกของอภิชาติพงศ์
ที่ไม่ได้มีเนื้อหาหลักเป็นเรื่องราวอัตชีวประวัติของเขาและครอบครัว
ขณะเดียวกัน หนังเรื่องนี้ก็ไม่ใช่ภาพยนตร์ชีวประวัติของลุงบุญมี
ซึ่งเสียชีวิตไปก่อนหน้าที่ผู้กำกับมากฝีมือ
จะได้ยินเรื่องราวการระลึกชาติ ของแก
แต่เป็นการจินตนาการถึงชีวิตของชายคนนี้
ผสมผสานไปกับประวัติศาสตร์ครอบครัวของอภิชาติพงศ์
รวมทั้งความทรงจำในวัยเยาว์ของเขาที่
เกี่ยวพันกับหนังสยองขวัญเกรดบีและ รายการโทรทัศน์
อภิชาติพงศ์ได้ยินเรื่องราวของลุงบุญมีขณะเดินทางไปสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชุด
"พริมิทีฟ" ที่ บ้านนาบัว อ.เรณูนคร จ.นครพนม
ซึ่งในช่วงทศวรรษ 2510 ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง
อย่างเหี้ยมโหดของทหารและรัฐไทย
ที่มองว่าหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านคอมมิวนิสต์
ผู้กำกับเจ้าของ รางวัลปาล์มทองคำปีล่าสุด
พยายามรำลึกถึงประวัติศาสตร์แห่งการประหารชีวิต,
การทรมาน, การข่มขืน และการถูกขับไล่
ที่เกิดขึ้นกับผู้คนในหมู่บ้านดังกล่าว
ผ่านผลงานหนังสั้นและวิดีโอศิลปะแบบจัดวาง
แล้วลุงบุญมีระลึกชาติมีความสัมพันธ์อย่างไรกับผลงานศิลปะชุดดังกล่าว?

"มันคือการทำงานของความทรงจำสองแง่มุมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเดียวกัน"
อภิชาติพงศ์ตอบ พร้อมอธิบายว่า
ในขณะที่ประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่บ้านนาบัว
กลายเป็นเรื่องที่ผู้คนพยายามจะไม่จดจำ
เพราะพวกเขาไม่ต้องการย้อนกลับไปพูดถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้น
แต่ลุงบุญมีในเรื่องเล่ากลับสามารถจดจำอดีตชาติของตนเองได้อย่างมากมาย

"ลุงบุญมีฯ" กับ "พริมิทีฟ" แห่งบ้านนาบัว
จึงมีความสัมพันธ์ยอกย้อนระหว่างกันด้วยประการฉะนี้
สุดท้ายแล้ว ดูเหมือนอภิชาติพงศ์จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงคำถาม
เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยในยุคปัจจุบันไปได้

นักวิจารณ์บางคนเปรียบเปรยไว้อย่างชวนคิดว่า สำหรับ "ชาติไทย"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะทางการเมืองปัจจุบัน
การได้รับรางวัลปาล์มทองคำของหนังไทยเล็ก ๆ อย่างลุงบุญมีฯ
อาจมีความหมายที่สำคัญยิ่ง จนอาจมีคุณค่า
"เท่าเทียมกันกับการที่ทีมชาติไทยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก" เลยทีเดียว
ขณะเดียวกัน ก็มีคนแสดงความเห็นว่า
การตัดสินของกรรมการที่คานส์ในปีนี้อาจโอนเอียงไปตามกระแสที่ว่า
หนังเรื่องนี้เดินทางมาจากประเทศที่กำลังเป็น
"จุดเดือดทางการเมืองอย่างแท้จริง"

แม้อภิชาติพงศ์จะหวังให้รัฐบาลไทยสังเกตเห็นถึงความสำเร็จครั้งนี้
แต่เขาก็ยืนยันว่า ลุงบุญมีฯ ไม่ใช่หนังการเมือง
เพราะแม้หลายคนจะพยายามเชื่อมโยงหนังของเขา
เข้ากับสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
แต่โดยพื้นฐานแล้ว
เขาต้องการจะพูดถึงประเด็นที่มีความเป็นสากลมากกว่านั้น
แน่นอนว่ารวมทั้งประเด็นเรื่องการกดขี่
และการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เช่น
ระบบเซ็นเซอร์ หรือ ข้อห้ามต่าง ๆ ในการทำหนัง
ซึ่งทำให้คนทำหนังอย่างอภิชาติพงศ์ต้องทุกทุกข์ทรมานมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม เจ้าของรางวัลปาล์มทองคำคนแรกของไทยกล่าวย้ำว่า
หนังเรื่องนี้ไม่ได้อ้างอิงอยู่กับสถานการณ์การเมืองไทยในยุคปัจจุบันโดยตรง