เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jan 15, 2010
ธรรมเสน่ห์
"ธรรมเสน่ห์" ศาสตร์แห่งการปรุงเสน่ห์อย่างเป็นธรรมชาติ
ที่จะทำให้คุณสวยภายในจากความคิด...
สู่การปรับจริตให้พองามที่ภายนอก...
ไปพร้อมๆกับ 3 พิธีกรสาว เจ้าของเสน่ห์หลากสไตล์ ใน "ธรรมเสน่ห์"
มงคลที่ ๒๓ ถ่อมตนไว้ให้ธรรมทางสร้างเสน่ห์
ถ่อมตนไว้ให้ธรรมทางสร้างเสน่ห์ : นิวาโต จะ
ความถ่อมตนมาจากภาษาบาลีว่า “นิวาโต”
วาโต แปลว่า ลม พองลม
นิ แปลว่า ไม่
นิ วาโต แปลว่า ไม่พองลม เอาลมออกแล้ว คือ
เอามานะทิฐิออก มีความสงบเสงี่ยม เจียมตน
ไม่ทะนงตน ไม่มีถือตัว ไม่อวดดื้อถือดี
ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร
ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
ความแตกต่างระหว่างความเคารพกับความถ่อมตน
ความเคารพเป็นการปรารภต่อผู้อื่น คือ
ตระหนักในคุณงามความดีของผู้อื่น
จ้องหาข้อดีของเขา แสดงอาการเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ
ส่วน ความถ่อมตน เป็นการปรารภตนเองคือ
คอยตามพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง
สามารถน้อมตัวลงเพื่อถ่ายทอดคุณความดีของผู้อื่นเข้าสู่ตัวได้เต็มที่
คนที่มีความเคารพอาจขาดความถ่อมตนได้คือ
จะให้อ่อนเข้าไปหาเขานั้นทำไม่ได้
ชอบเอาตัวเข้าไปเทียบด้วย แล้วใจตัวพองรับทันทีว่า
“ถึงเอ็งจะแน่แต่ข้าก็หนึ่งเหมือนกัน” หรือ “ข้าวิเศษกว่า” ทุกที
สิ่งที่คนทั่วไปหลงถือเอาทำให้ถือตัว
๑ ชาติตระกูล
๒ ทรัพย์สมบัติ
๓ รูปร่างหน้าตา
๔ ความรู้ความสามารถ
๕ ยศตำแหน่ง
๖ บริวาร
ลักษณะของผู้มีความถ่อมตน
ผู้ มีความถ่อมตน จะเป็นผู้ที่รู้คุณค่าของตนตามความเป็นจริง
เจียมเนื้อเจียมตัว ทำให้มีลักษณะอาการแสดงออก
ที่ดีเด่นกว่าคนทั้งหลาย ๓ ประการดังนี้
๑ มีกิริยาอ่อนน้อม คือ ไม่ลดตัวลงจนเกินควร
และไม่ถือตัวจนเกินงาม มีกิริยาอันเป็นที่รัก
อ่อนละมุนละไมต่อคนทั่วไปทั้งผู้ใหญ่ ผู้น้อยและผู้เสมอกัน
รู้ที่ต่ำที่สูง ไม่ตีตนเสมอท่าน มีคุณสมบัติผู้ดี
สำหรับแสดงแก่คนทั้งหลายโดยเสมอหน้ากัน
ไม่เลือกว่าเขาจะมีฐานะสูงกว่าหรือต่ำกว่าตน
สงบเสงี่ยม แต่มีความองอาจผึ่งผายในตัว
๒ มีวาจาอ่อนหวาน คือ มีคำพูดที่ไพเราะดูดดื่ม
ออกมาจากใจที่ใสสะอาดนุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง
ไม่พูดโอ้อวดยกตัว และไม่พูดกล่าวโทษลบหลู่ทับถมคนอื่น
เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใดต่อใครย่อมออกวาจาขอโทษเสมอ
เมื่อผู้ใดแสดงคุณต่อตนอย่างไรก็ออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ
เห็นใครทำดีก็ชมเชยสรรเสริญจากใจจริง
๓ มีใจอ่อนโยน คือ มีใจนอบน้อม ละมุนละม่อม ถ่อมตน
มีใจอ่อนละไมแต่มิใช่อ่อนแอ
มีใจเข้มแข็งแต่มิใช่แข็งกระด้าง
ไม่นิยมอวดกำลังความสามารถ
แต่พยายามฝึกตนเองให้มีความสามารถ
ไม่ถือความคิดตัวเป็นใหญ่
มีใจเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น
รู้จักลดหย่อนผ่อนผันแก่กัน ถือคติว่า
“ไม่ลำเดียวยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ
สิบคนสิบความรู้ สิบคนสิบความคิด แม้สิบคนก็สิบความเห็น”
เมื่อใครเขาไม่เห็นพ้องกับตนก็ไม่ด่วนโกรธ
แล้วค่อยๆปรับความคิดเห็นเข้าหากันโดยยึดคำสั่งสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแกนกลาง
อานิสงส์ของการมีความถ่อมตน
๑ ทำให้อยู่เป็นสุข ไม่มีศัตรู
๒ ทำให้น่ารัก น่านับถือ น่าเคารพกราบไหว้
๓ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
๔ ทำให้ได้กัลยาณมิตร
๕ ทำให้ได้ที่พึ่งทั้งภพนี้ ภพหน้า
๖ ทำให้สามารถถ่ายทอดคุณความดีจากผู้อื่นได้
๗ ทำให้ไม่ประมาท ตั้งอยู่ในธรรม
๘ ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย