ไทยรัฐ
วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ.2553
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน
สะดวกสบายมากขึ้นกว่าในอดีต
เพราะในยุคดิจิตอลเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ
รถยนต์ความเร็วสูง เครื่องซักผ้า ตู้เย็น ไมโครเวฟ
ทีวีจอแบน โทรศัพท์มือถือ บีบี ไอโฟน
คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรือเน็ตบุ๊ค เป็นต้น
แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเพียงความสะดวกสบายทางกายเท่านั้น
ไม่ได้รับประกันว่าคนในสมัยปัจจุบัน
จะมีความสุขทางใจมากกว่าคนในอดีตแม้แต่ น้อย
นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์
ระบุ ว่า จากการศึกษาพบว่าผู้คนในประเทศอุตสาหกรรม
ที่มีความเจริญทางเทคโนโลยีส่วนใหญ่มีดัชนีความสุขต่ำกว่า
ผู้คนในประเทศที่ไม่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมาก นัก เช่น
ชาวภูฏานมีดัชนีความสุขสูงกว่าชาวอเมริกัน หรือญี่ปุ่น หลายเท่า
เพราะคนในครอบครัวในชุมชน มีเวลาให้กัน มีน้ำใจ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีรอยยิ้มให้กัน ถึงแม้ GDP ของประเทศจะต่ำ
แต่ GNH (Gross National Happiness) กลับมีสูงมาก
ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นมีสถิติการฆ่าตัวตายสูงอันดับต้นๆของโลก
นพ. ไกรสิทธิ์ เผยถึงสาเหตุที่ทำให้คนเราไม่มีความสุข
เกิดความทุกข์่ตลอดเวลา ว่าเป็นเพราะมนุษย์มีการแข่งขันกันตลอดชีวิต
ไม่ว่าจะตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ขนาดการตั้งครรภ์แม่ก็ต้องแย่งคิวฝากท้องกับหมอที่มีชื่อเสียง
ต้องรีบจองคิวเนอร์สเซอรี่หรือโรงเรียนอนุบาลชื่อดัง
ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เด็กสมัยนี้จบจากอนุบาลจะเข้าประถม 1
ก็ต้องเริ่มมีการกวดวิชาสอบเข้ากันแล้ว
ไม่ค่อยมีเวลาวิ่งเล่น สนุกสนานเหมือนเด็กยุคก่อนๆ
ยิ่งโดยเฉพาะการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
การแข่งขันยิ่งรุนแรง เรียนกวดวิชาเตรียมสอบล่วงหน้ากันเป็นปีๆ
จบออกมาก็ต้องแย่งงานดีๆ กันทำอีก
“นอกจากนั้นยังต้องแข่งขัน เปรียบเทียบกับเพื่อนรุ่นเดียวกันว่า
ใครจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า เร็วกว่า
ใครขับรถแพง บ้านหลังใหญ่หรูกว่า
ลูกใครเรียนโรงเรียนดัง มีชื่อเสียง เรียนเก่ง
ประสบความสำเร็จมากกว่ากัน
การเปรียบเทียบแข่งขันทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่มากเกิน
ความจำเป็นพื้นฐานของ ชีวิต แต่เป็นการตอบสนองทางด้านจิตใจมากกว่า
เพื่อให้ตนเองมั่นใจว่าชีวิตฉันมั่นคงกว่า ปลอดภัยกว่า
ประสบความสำเร็จมากกว่า ฉันเก่งกว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกัน
ฉันใช้ได้ ฉันชนะ ฉันเหนือกว่าคนอื่นๆ” นพ.ไกรสิทธิ์ กล่าว
จิตแพทย์ กล่าวว่า ความจริงชีวิตคนเรามีสิ่งที่จำเป็น
พื้นฐานไม่มากกว่าปัจจัยสี่เท่าใดนัก
แต่สิ่งที่คนเราต้องการในชีวิตนั้นไม่มีที่สิ้นสุด
และเหตุผลคือ เป็นไปเพื่อตอบสนองความสะดวกสบาย
ความสนุกสนานและเสริมความมั่นใจ
ในเรื่องของภาพลักษณ์ หน้าตา ศักดิ์ศรี เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ
ซึ่งคนจำนวนมากยอมทุ่มเทชีวิตเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านี้มาจนกระทั่งลืมไปว่า
เป้าหมายของชีวิตคืออะไร ชีวิตขาดสมดุลย์
ครอบครัวล้มเหลว สุขภาพทรุดโทรม
หรือแม้แต่สังคมและสภาพแวดล้อมก็เสื่อมถอย
เพราะผู้คนมุ่งประโยชน์ส่วนตน
“คน จำนวนมากที่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายแล้ว
แต่ก็ยังไม่มีความสุขเพราะครอบครัวล้มเหลว
ความสัมพันธ์ในบ้านมีปัญหา สามี ภรรยา พ่อ แม่ ลูก
เข้ากันไม่ได้ ในบ้านมีแต่ความร้อนรุ่ม หาความสงบสุขไม่ได้
บางรายถึงมีเงินทองมากมายก็ยังไม่มีความสุข
เพราะเฝ้ามองเปรียบเทียบกับเพื่อนที่รวยกว่า
ต้องมีมากกว่าเขาถึงจะรู้สึกมีความสุข รู้สึกมั่นใจ
รู้สึกว่าเหนือกว่า หรือบางคนก็ไม่มีความสุข
เพราะต้องมาคอยระแวดระวังว่าจะมีคนมาโกง
มาปล้น มาขโมย มายักยอกทรัพย์สินไป
ต้องคอยคิดหาวิธีป้องกันและตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา”
นพ.ไกรสิทธิ์ ชี้ให้เห็นว่า คนเราไม่มีความสุข ต้องดิ้นรน แข่งขัน
เปรียบเทียบกับคนอื่น ก็เพราะรู้สึกไม่มั่นใจว่าตัวเองมีมากพอ ดีพอ
ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ลึกอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก
การปรับเปลี่ยนแก้ไข ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
ตราบใดที่ยังมีความรู้สึกเช่นนี้
ก็ยังคงมีความรู้สึกว่าตัวเองขาดอยู่ ยังไม่รวย
(ทั้งที่มีทรัพย์สินมากมาย) ยังไม่ปลอดภัย
คนเหล่านี้มีความรู้สึกไม่มั่นคงจากภายในจิตใจ
แต่จะหาวิธีแก้ไขให้เกิดความมั่นคง
โดยอาศัยจากปัจจัยภายนอก
ตั้งแต่ทรัพย์สิน เงินทอง ความสำเร็จ ชื่อเสียง
การยอมรับจากบุคคลอื่น ซึ่งปัจจัยภายนอกนี้เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน
อยู่นอกเหนือการควบคุมของแต่ละคน
ดัง นั้นถ้าการจะมีความสุขได้โดยต้องอาศัยสิ่งภายนอกเหล่านี้
ก็ต้องใช้กำลังอย่างมากในการพยายามที่จะควบคุมสิ่งเหล่านี้
ให้เป็นไปตามความ ต้องการของตนเองให้ได้
ซึ่งมีโอกาสผิดหวัง ล้มเหลวสูงมาก
เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีความแน่นอน ควบคุมไม่ได้
สำหรับวิธีการสร้างสุขอย่างยั่งยืนเพื่อให้สามารถอยู่ท่ามกลางสังคมที่มีแต่
การแข่งขันกันนั้น นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย
ก็ได้ให้แนวทางที่สามารถปฏิบัติเองได้ 5 ข้อ ดังนี้
1. ปรับความคิด พยายามทำให้ตนเองรู้สึกว่า
ในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบทุกคน
แต่ละคนก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ตัวเราเองก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกัน
2. ต้องคิดเสมอว่าตัว เรา เองมีคุณค่า มีประโยชน์
และต้องพยายามรักษาข้อดี ปรับปรุงข้อเสียของตนเอง
พยายามลดจุดอ่อน ข้อบกพร่อง
และต้องยอมรับตนเองในแบบที่ตนเองเป็น
3. อย่าวิ่งหนีปัญหา และกลบจุดอ่อนปมด้อยตัวเอง
อย่าคิดที่จะต้องเอาชนะคนอื่น นำหน้าหรืออยู่เหนือผู้อื่น
เพราะจะช่วยทำให้ความคิดที่ต้องการไขว่คว้าหาความมั่นคง
จากปัจจัยภายนอกก็จะ ลดลง
ความต้องการแก่งแย่งแข่งขันก็จะน้อยลง
ทำให้ชีวิตมีความเรียบง่ายขึ้น
4. พยายาม มองโลกแง่บวก รู้จักให้อภัยผู้อื่น
ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
ซึ่งข้อนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ต้องอาศัยทั้งความรู้และความเข้าใจ
ถึงจะสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมแห่งการแข่งขันกันได้
5. ต้อง หมั่นฝึกฝนปฏิบัติทบทวน เพื่อเตือนสติตนเอง
ว่าคนเราก็มีความสุขได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก
ซึ่งต้องอาศัยความอดทน และความมุ่งมั่นอย่างสูงจึงจะสำเร็จ
ถ้าทุกคนหันมาให้ความสนใจกับแนวทางนี้
ตั้งสติและทบทวนปฏิบัติได้
เชื่อว่าโลกใบนี้ก็จะกลับมาน่าอยู่เหมือนเดิมได้
เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search