เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Dec 24, 2008
นายกรัฐมนตรีที่ “ไม่มีเรื่องเล่า”
นิติภูมิ นวรัตน์
ไทยรัฐ
25 ธ.ค. 51
ฐานะศิษย์เก่าออสเตรเลียเข้าเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนมัธยมเซ็นเออร์นาด รัฐวิกตอเรีย
นิติภูมิได้รับเชิญจากสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยให้ไปดูภาพยนตร์เรื่อง “ออสเตรเลีย” หรือ Australia ที่ชั้นโรงหนังบนชั้นสูงสุดของห้างสยามพารากอน
ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างสูงที่สุดในประเทศออสเตรเลีย คือ 197 ล้านดอลลาร์
ฉายเปิดตัววันแรกก็ทำรายได้มากกว่า 1.3 ล้านดอลลาร์
ผู้อ่านท่านที่เคารพ นิติภูมิไม่ได้บ้างานของผู้กำกับแถวหน้าอย่าง บาซ เลอห์มาน
หรือไม่ได้หลงใหลในผู้แสดงสุดฮอตของฮอลลีวูดอย่าง นิโคล คิดแมน และฮิวจ์ แจ็กแมน
แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงประเทศไทยในยามชื่อเสียงตกต่ำ
ซึ่งเราน่าจะมีคนที่มีจินตนาการคิดอะไรอย่างเฉกเช่นที่มีคนสร้างภาพยนตร์เรื่องออสเตรเลีย
ที่ผมดูภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นรอบพิเศษสำหรับบุคคลสำคัญซึ่งมีเพียง 34 ที่
ผมนอนดูหนังเรื่องนี้กับคุณแอนดรู บิ๊กส์ ผู้ที่เกิดที่เมืองบริสเบน ออสเตรเลีย
และเคยใช้ชีวิตเมื่อ พ.ศ.2522 เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปอเมริกา
ในห้วงช่วงปีเดียวกันนั้น ผมก็เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนจากไทยไปออสเตรเลีย
เราทั้งสองคนภายหลังมาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วยกันทั้งคู่
เราจึงมี “เรื่องเล่า” ทุกครั้งที่เจอกัน
ผมรู้สึกเหมือนว่าคุณแอนดรูมีเรื่องเล่ามากมายที่ฟังหลายปีก็ไม่มีวันจบและไม่มีวันเบื่อ
ภาพยนตร์เรื่องออสเตรเลียจะทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเยือนออสเตรเลียมากตั้งแต่ พ.ศ.2552 เป็นต้นไป
การเดินดำเนินเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ใช้พวกอะบอริจิน
ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของทวีปออสเตรเลียเป็นตัวเอก
ต้องขอบคุณรัฐบาลออสเตรเลียในยุคของนายเควิน ไมเคิล รัดด์
เป็นนายกออสเตรเลียและหัวหน้าของสหพันธ์พรรคแรงงานออสเตรเลียครับ
ท่านเป็นคนหนุ่มเกิดเมื่อ พ.ศ.2500 แต่กล้าคิดนอกกรอบ
เหตุผลที่ชนะนายกรัฐมนตรีเก่ามาได้ เพราะนายรัดด์คิดนอกกรอบ
เช่น สัญญากับประชาชนว่า ถ้าชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล
แกจะถอนทหารจากอิรัก จะลงนามในพิธีสารเกียวโต
เพื่อลดกระแสโลกร้อน จะวางโครงสร้างบรอดแบนด์ระดับชาติ
และที่สำคัญที่สุดคือจะให้เกียรติชนเผ่าพื้นเมืองของพวกอะบอริจิน
จะสร้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับคนพวกนี้
ภาพยนตร์เรื่องออสเตรเลียก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการสร้าง
“ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ให้กลับคืนมาสู่ความเป็นออสเตรเลียเช่นกัน
แต่จะเป็นตอนไหนอย่างไร ผู้อ่านท่านกรุณาไปดูกันเอาเองเถิด
ผู้อ่านท่านที่เคารพ นิติภูมิเดินทางไปเยือนและพบปะสนทนากับ
นักเรียนนักศึกษาไทยในทวีปออสเตรเลียในปัจจุบันทุกวันนี้
ผมพบว่าหลายท่านเอาแต่เรียนอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงเรื่องจิตวิญญาณ
ทุกวันนี้คนไทยที่เป็นนักเรียนเก่าออสเตรเลียจำนวนมากไม่มีเรื่องเล่า
ตอนอยู่ที่ประเทศโน้นเช้ามาก็ถือหนังสือเดินจากหอพักไปยังมหาวิทยาลัย
ตอนเย็นก็เดินหอบหนังสือจากมหาวิทยาลัยไปที่หอพัก
อยู่ในประเทศออสเตรเลียห้าปีสิบปีก็มีมิติเรียนหนังสือเพียงอย่างเดียว
แต่ไม่มี “วิญญาณร่วม” กับชาวออสเตรเลียมากและลึกซึ้งเหมือนในสมัยในอดีต
ไปนครเมลเบิร์นและนครซิดนีย์ในสมัยนี้
ผมเห็นแต่นักเรียนไทยเดินกันขวักไขว่และพูดกันแต่ภาษาไทย
เห็นแล้วก็เสียดายเงินทองของพ่อแม่ที่ส่งลูกไปเรียน
พ.ศ.2548 ผมลองทดสอบถามนักเรียนไทยยุคใหม่ในนครเมลเบิร์นกลุ่มหนึ่ง
ถึงเพลงที่ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ร้องได้อย่าง Advance Australia Fair
ปรากฏว่าไม่มีนักเรียนในกลุ่มนั้นรู้จักเลยแม้แต่คนเดียว
แม้แต่ผมจะเริ่มต้นร้องนำว่า Australia all let us rejoice, for we are young and free.. ก็ปรากฏว่าไม่มีใครในกลุ่มต่อเพลงนี้ได้
หรือแม้แต่เพลงที่นักเรียนต่างชาติที่เข้าไปเรียนในแผ่นดินออสเตรเลีย
ควรจะร้องได้อย่าง Waltzing Matilda หรือ
Kookaburra Sits on the Old Gum Tree
นักเรียนกลุ่มนั้นก็ยังร้องไม่ได้และทำท่างงๆ
เมื่อปีก่อน พ.ศ.2548 ผมไปเยือนออสเตรเลียอีก 2 ครั้ง
ได้รับเชิญให้ไปดูงานการศึกษาและการเกษตรที่รัฐออสเตรเลียตะวันตก
และรัฐออสเตรเลียใต้ และก็ได้ไปเยี่ยมนักเรียนไทยอีกหลายกลุ่ม
โดยเฉพาะกลุ่มครูอาจารย์ที่ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการไทย
ให้ไปเรียนภาษาอังกฤษที่นั่น ผมแปลกใจมากที่นักเรียนและคุณครูไทยจำนวนหนึ่ง
ไม่รู้จักเวจีไมต์ Vegemite ซึ่งเป็นอาหารโปรดของคนออสเตรเลียของแท้
ทุกผู้ทุกนาม มีสีดำคล้ายกับกะปิของเรา มีรสเค็มเหมือนกะปิ
ผลิตออกมาขายโดยบริษัทคราฟท์ ต่อมากลายเป็นอาหารประจำชาติออสเตรเลีย
เหมือนต้มยำกุ้งของไทย นักศึกษาไทยเหล่านี้
แม้รัฐบาลหรือพ่อแม่จะเสียเงินเสียทองส่งไปเรียนออสเตรเลียกันคนละ 5 ปี 10 ปี
พวกนี้มีแต่ความรู้ในตำรา ไม่มีเรื่องเล่า
ชาติบ้านเมืองอื่นจะไม่ยอมเอาคนที่ไม่มีเรื่องเล่าเหล่านี้มาใช้งานสำคัญ
ยกเว้นก็เพียงแต่ราชอาณาจักรไทย ที่กล้าเอาคนที่ดูเหมือนมีความรู้
มีปริญญาตรีโทชั้นดีจากมหาวิทยาลัยระดับโลก
แต่ไม่มีเรื่องเล่า มาเป็นนายกรัฐมนตรี
ประเทศไทยของเราขณะนี้
จึงเป็นประเทศขาดเรื่องเล่า และขาดเสน่ห์.