Custom Search

Dec 31, 2008

Titanic : ไททานิค


เรือโดยสาร "ไททานิค" จัดเป็นเรือโดยสารที่หรูหราประเภท
เรือสำราญขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น ออกแบบ
สร้างประกอบโดยอู่ต่อเรือของบริษัท Harland and Wolff
ประเทศ North Ireland ปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๑๑
มีระวางขับน้ำ ๔๖,๓๒๘ ตัน มีเครื่องจักรไอน้ำที่มีกำลังแรงถึง ๔๖.๐๐๐ แรงม้า
สามารถทำความเร็วสูงสุดในการเดินทางได้ถึง ๒๔ น็อต
โดยมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงถึง ๗.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การเดินทางเที่ยวนี้เป็นการเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์ข้ามมหาสมุทแอตแลนติก
จากเมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
โดยเริ่มถอนสมอออกเดินทางเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ค.ศ.๑๙๑๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.
มีผู้โดยสารและพนักงานประจำเรือทั้งสิ้นประมาณ ๒,๒๑๗ คน
ความใหญ่โตมโหฬารมีรูปลักษณะแข็งแกร่งทนทานมหาศาลนี้
ทำให้บริษัทเจ้าของเรือมีความภาคภูมิใจมากถึงกับขนานนามเรือลำนี้ว่า
"Unsinkable Ship หรือ เรือที่ไม่มีวันจม"
และชื่อของเรือ "ไททานิค" นั้นก็ได้นำมาจากคำว่า "Titan"
ซึ่งเป็นชื่อของอสูรเทพที่ทรงพลัง บุตรของเทพเจ้า Uranus และ Gaia
ตามเทพนิยายกรีกโบราณ
ในระหว่างการเดินทางนับตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายนฯ เป็นต้นมา
เรือ "ไททานิค" ได้รับสัญญาณวิทยุเตือนภัยให้ระวัง
เรื่องภูเขาและกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่ปรากฏลอยอยู่เกลื่อนกลาด
ทั่วไปในเส้นทางการเดินทางจากเรือลำอื่นๆ มาโดยตลอด
เมื่อคืนวันที่ ๑๔ เมษายนฯ เวลา ๒๒.๓๐ น.
พนักงานวิทยุประจำเรือ "คาลิฟอร์เนียน"
ซึ่งกำลังติดอยู่ในกลุ่มก้อนน้ำแข็งห่างจากเรือ "ไททานิค"
ประมาณ ๑๙ ไมล์ทางเหนือ ได้ส่งสัญญาณเตือนภัยให้แก่เรืออื่นๆ
ซึ่งกำลังเดินทางอยู่ในเส้นทางที่ใกล้เคียงให้ระมัดระวังภัยพิบัติที่
อาจจะเกิดจากการชนภูเขาน้ำแข็งภายในบริเวณนี้ได้
ขณะที่กำลังเรียกขานเรือ "ไททานิค"
เพื่อแจ้งให้ระมัดระวังเหตุภัยพิบัตินี้เช่นกัน
ก็ได้รับสัญญาณตอบกลับมา
ในลักษณะที่ไม่ค่อยสุภาพว่า
"...ให้หยุดเตือนเสียที
เพราะสัญญาณเข้าไปรบกวนการทำงาน
(ของเขา)กับ Cape Race..."
พนักงานวิทยุประจำเรือ "คาลิฟอร์เนียน"
จึงเลิกทำการติดต่อ
และปิดเครื่องวิทยุเมื่อเวลา ๒๓.๓๐ น.
เมื่อเวลาประมาณ ๒๓.๔๐ น.
ด้วยความเร็ว ๒๒ น็อตครึ่ง
เรือ "ไททานิค" ได้พุ่งเข้าชนภูเขาน้ำแข็งซึ่งมีความสูงพ้นระดับน้ำ ๕๕-๖๐ ฟิต
ที่ Longitude 50o 14' W Lattitude 41o 27' N
ทำให้ตัวเรือแตกน้ำทะเลไหลท่วมท้นเข้ามาในตัวเรือมีระดับสูงกว่า
กระดูกงู ๑๔ ฟิต ภายใน ๑๐ นาที
แล้วไหลทะลักเข้าไปสู่ห้องต่างๆอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้เรือเริ่มอับปาง
พนักงานวิทยุประจำเรือฯ ได้ส่งสัญญาณวิทยุแจ้งเหตุร้าย
ขอความช่วยเหลือไปยังเรือและสถานีฝั่งในอาณาบริเวณ
เรือหลายลำที่ได้รับสัญญาณวิทยุขอความช่วยเหลือจากเรือ "ไททานิค"
จึงเปลี่ยนเส้นทางมุ่งหน้าไปยังสถานที่เกิดเหตุโดยเร็ว
วันที่ ๑๕ เมษายน ค.ศ.๑๙๑๒ เวลา ๐๐.๐๕ น.
กัปตันเรือ "ไททานิค" ได้สั่งสละเรือใหญ่ เรือลำนี้
ถึงแม้ว่าจะได้เตรียมเรือชูชีพไว้จำนวนมาก
แต่ก็สามารถจุได้เพียง ๑,๑๗๘ คนเท่านั้น
ในจำนวนผู้โดยสารและพนักงานประจำเรือทั้งหมด ๒,๒๑๗ คน
และถึงแม้ว่า จะมีเรือหลายลำเข้าไปช่วยเหลือได้ในระยะเวลาอันสั้น
๒ นาฬิกา ๒๐ นาที ของวันที่ ๑๕ เมษายน ค.ศ.๑๙๑๒
เรือทั้งลำจมลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
การอับปางของเรือ "ไททานิค" ครั้งนี้ก็ยังเป็นเหตุโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่
ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง ๑,๕๑๓ คน

อ่านเพิ่มเติม :