เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Dec 31, 2008
Titanic : ไททานิค
ความเหนื่อย-ความเสี่ยง
หนุ่มเมืองจันท์
ฟาสฟู้ดธุรกิจ
มติชน
12 ธันวาคม 2545
อ่านนิตยสารสารคดีเล่มใหม่หรือยังครับมีบทสัมภาษณ์ดีๆ
ชิ้นหนึ่งในเล่มนี้เป็นบทสัมภาษณ์
"สุพจน์ ธีระวัฒนชัย"หนึ่งในหุ้นส่วนใหญ่ของ
โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง แฮ่ม...เพื่อนสนิทของผม...
ไม่ใช่สิ ตอนนี้ต้องเรียกว่า "เพื่อนตาย"
คือ ตอนแรกเราเป็นเพื่อนกันธรรมดาเรียนคณะเดียวกัน
ทำกิจกรรมมาด้วยกันแต่พอ "พจน์"
ประสบความสำเร็จจากโรงเบียร์ เริ่มร่ำรวยผมก็เริ่มยกระดับเขาเป็น "เพื่อนสนิท"
ประเภทที่พอใครเอ่ยถึง "โรงเบียร์"ผมก็จะมีอุทานเสริมบททันที
"โรงเบียร์ของเพื่อนสนิทของผม"...ประมาณนั้นและพอเขาลงทุนในธุรกิจใหม่
"คาราบาวแดง"ทำท่าจะร่ำรวยกว่าเดิมอีก
ผมก็เลยให้เกียรติ "พจน์" เป็น "เพื่อนตาย"โดยที่ "พจน์" ไม่รู้สึกตัวเลย
ล่าสุดมีอีกรายหนึ่งเป็นเพื่อนที่ทำกิจกรรมที่ธรรมศาสตร์
ชื่อ "ต้อย" มนตรี ฐิรไฆไท
ผมเจอกับ "ต้อย" ครั้งสุดท้ายตอนที่เขาจะทำหนังสือ
"เมคมันนี่"คุยกันตอนนั้นก็รู้ว่าประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากทีเดียว
แต่พออ่านบทสัมภาษณ์ใน
"กรุงเทพธุรกิจ"เมื่อสัปดาห์ที่แล้วรู้ว่าเขามีหุ้นบริษัทผลิตพัดลมแห่งหนึ่ง
ประมาณ 6.8 แสนหุ้นราคาหุ้นละ 330 บาท คิดเป็นเงินประมาณ 220 ล้านบาท
โหย...ฐานะอย่างนี้เป็นเพื่อนธรรมดาไม่ได้แล้วขั้นต่ำต้องเป็น "เพื่อนสนิท"
คาดว่าถ้าได้นั่งคุยกันอีก 1-2 ครั้งน่าจะยกระดับเป็น "เพื่อนตาย" อีกคนหนึ่งได้
กลับสู่เรื่องเดิมผมอ่านบทสัมภาษณ์ "พจน์"
...แฮ่ม... "พจน์" เพื่อนตายของผมแล้วชีวิตของมัน
ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเลยแต่โรยด้วยดอกกุหลาบ
พร้อมก้านที่ยังไม่ลิดหนาม"ความสำเร็จ" ในวันนี้ คือ
ผลจากการทำงานหนักตั้งแต่เด็ก
ชอบตอนไปสัมภาษณ์งานที่ห้างเมอร์รี่คิงส์ในใบสมัคร
ให้กรอกว่ามีประสบการณ์ทำงานกี่ปี "พจน์" กรอกไปเลยแบบมั่นใจ 10 ปี
ก็ทำงานตั้งแต่อายุ 13 จนถึง 22
ประสบการณ์ทำงานก็ต้อง 10 ปีสิ
มีคำถามหนึ่งที่ทุกคนสงสัย
ทำไมถึงกล้าตั้งโรงเบียร์ขนาด 1,000
ที่นั่งในขณะที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำ (ปี 2542)
"ทำแค่ 200 ที่ คุณเหนื่อยเท่ากับขาย 1,000 ที่"
เป็นคำตอบของ "พจน์" ตามด้วยเหตุผลอื่นๆ อีก
แต่ผมสะดุดใจในประโยคนี้เพราะเคยได้ยินจากนักธุรกิจใหญ่หลายคน
ประเภทที่เคยผ่านการ "THINK BIG" มาก่อน
"งานใหญ่ งานเล็ก เหนื่อยเท่ากัน"
เป็นคำตอบเพื่อบอกว่าเมื่อจะเหนื่อยทั้งทีลงแรงก็เท่ากัน
จะทำธุรกิจเล็กๆ ไปทำไม ลงทุนขนาดใหญ่ดีกว่าเพราะได้ผลตอบแทนสูงกว่า
นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะต้องผ่านหลักคิด
แบบนี้มาอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงจังหวะที่ก้าวกระโดดคือ
คิดถึง "ความเหนื่อย" มากกว่า "ความเสี่ยง"
ลงทุนน้อยเหนื่อยเท่ากับลงทุนมาก แต่ลงทุนมาก
"เสี่ยง" มากลงทุนน้อย "เสี่ยง" น้อย ลงทุนน้อย
ถ้า "ขาดทุน"ก็อยู่ในขนาดที่ยังพอหาทางจัดการได้
แต่ถ้า "ลงทุน" มากเวลาขาดทุนจะหนักหนาสาหัส
ในช่วงที่ชีวิตยังไม่ถึงเพดานบินนักธุรกิจส่วนใหญ่จะผ่านวิธีคิดที่ให้น้ำหนักกับ
"ความเหนื่อย"มากกว่า "ความเสี่ยง"
อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิตต่อให้เป็นนักธุรกิจที่ "อนุรักษนิยม"
เพียงใดก็ตามแต่ทันทีที่ถึง "เพดานบิน" คือ
ร่ำรวยมากแล้วนักธุรกิจส่วนใหญ่มักจะให้น้ำหนักกับ
"ความเหนื่อย"เท่าเทียมหรือน้อยกว่ากับ "ความเสี่ยง"
ตัวอย่างที่ดี คือ"ทักษิณ ชินวัตร" ช่วงที่ลุ่มๆ ดอนๆ
เขาจะ THINK BIG เสมอใช้กลยุทธ์ "ใหญ่กลบเล็ก"
ในการทำธุรกิจ เป็นหนี้อยู่เท่าไรจะลงทุนใหม่ใหญ่กว่าเดิม
ถ้าสำเร็จก็จะสามารถใช้ "หนี้เก่า" ได้และมี "กำไร" ด้วย
เพราะหากลงทุนครั้งใหม่ในขนาดเท่ากับการลงทุนครั้งเก่าที่ล้มเหลว
ดีที่สุดก็เพียงแค่ใช้หนี้ได้แต่ไม่มีกำไร
ในอดีต "ทักษิณ" คิดแบบนั้นแต่วันนี้หลังจาก
เป็นคนร่ำรวยที่สุดในประเทศแล้วการลงทุนของกลุ่มชิน คอร์ป
จะคิดถึง "ความเสี่ยง"มากกว่า "ความเหนื่อย" ไม่มี "ใหญ่กลบเล็ก"ให้เห็นอีกแล้ว
กลยุทธ์สู่ "ความสำเร็จ" นั้นเหมือน "เสื้อ"
"เสื้อ"ที่สวยขึ้นอยู่กับตัวเสื้อและคนใสเราจะหลงผิดทุกครั้งเวลา
ที่เห็นนางแบบหรือนายแบบใส่เสื้อผ้าตัวไหนสวยแล้ว
สรุปว่าถ้าเราใส่เสื้อตัวนี้ เราจะหล่อหรือสวยเหมือนที่เห็นในหนังสือ
ลืมไปว่าชีวิตใครชีวิตมัน รูปร่างใครรูปร่างมัน "กลยุทธ์"หรือ
"วิธีคิด" ของนักธุรกิจแต่ละคนก็เหมือนกับ "เสื้อ"ที่สวมพอดีตัวสำหรับคนคนนั้น
ถ้าใครจะเอามาใส่บ้างก็ต้องพิจารณาว่าตัวเราเหมาะสมกับ "เสื้อ" ตัวนั้นไหม
ความสำเร็จของคนอื่นมีให้ "เรียนรู้" ไม่ใช่ "บูชา"
เหมือนเห็น "เสื้อ" สวย ก็ต้องเอาความงามของ "แบบ"หรือ
"เนื้อผ้า" ของเสื้อสวยตัวนั้นมาประยุกต์ใช้กับตนเองไม่ใช่เอามาสวมแบบ
"เสื้อสำเร็จรูป"วันหนึ่งผมแวบไปโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง
ไปนั่งพิสูจน์ว่าเบียร์ยังรสชาติเหมือนเดิมหรือไม่วันนั้น
คาดว่าผมใส่นาฬิกาที่มีแต่เข็มนาทีไปจึงไม่รู้ว่ากี่โมงยาม
"คุยกับ "พจน์" อย่างเมามันฉลองตำแหน่ง "เพื่อนตาย"
ที่ผมมอบให้มารู้สึกตัวอีกทีก็ตอนที่ไฟเปิดสว่างเด็กเริ่มกวาดพื้นทำความสะอาด
พื้นโรงเบียร์นั้นเป็นไม้เก่าจึงมีร่องให้เศษอาหารเล่นซ่อนแอบ
กับคนกวาดระหว่างที่นั่งคุยกันอยู่นั้น "ตาที่สาม" ของ "พจน์" เริ่มทำงาน
"น้อง ขอไม้จิ้มฟันหน่อย" เด็กคนนั้นรีบหยิบไม้จิ้มฟันมาส่งให้
"พจน์" คงนึกว่าเศษมอลล์จากเบียร์สดติดฟัน
"พจน์" ไม่รับ แต่ชี้ไปที่พื้น
"ลองเอาไม้จิ้มฟันเขี่ยดูสิเศษอาหารมันจะออกไหม"
เห็นความละเอียดของ "พจน์"
แล้วผมได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่าความสำเร็จของคนเรา
นอกจาก THINK BIG หรือกล้าคิดการใหญ่แล้ว
บางครั้งก็ยังต้องลงรายละเอียดในเชิงปฏิบัติด้วย
อย่าลืมว่าเขื่อนใหญ่บางทีอาจพังทลายจากรูรั่วเพียงแค่รูเข็ม
ผมสะกิด"มด" เจ้าแม่โรงเบียร์ ลูกน้องของ "พจน์"
"รู้ชื่อจริงของพจน์หรือเปล่า"
"มด" ทำท่าแปลกใจกึ่งสงสัย"
เขาเป็นญาติกับ สุทธิชัย หยุ่น"
ผมทำท่ามีลับลมคมนัยชื่อจริง
"สุพจน์ ยิบ" ละเอียดยิบจริงๆ
"จอหงวน" ปราชญ์แห่งความอร่อย...จากฮ่องกงแท้ๆ (Review)
ที่มา: http://www.naewna.com/news.asp?ID=105046
“จอหงวน” ร้านอาหารจีนกวางตุ้งที่เรากล่าวถึงอยู่ภายใต้การบริหารของหนุ่มนักธุรกิจร้านอาหารมือดี สุพจน์ ธีระวัฒนชัย ที่ทำให้โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดงติดอยู่ในเอลิสต์ของร้านอาหารและผับชื่อดังแห่งยุค “จอหงวน” ฉีกรูปแบบร้านอาหารจีนสไตล์กวางตุ้งในบ้านเรานอกจากจะออกแบบตกแต่งบรรยากาศในร้านให้ดูทันสมัยมีกลิ่นอายของวัฒนธรรมจีนร่วมสมัยแล้ว ที่นี่ยังมีครัวเปิด 360 โชว์การทำบะหมี่สดด้วยวิธีนวดแป้งแบบโบราณให้นักชิมได้สัมผัสวัฒนธรรมการทานอาหารจีนที่ละเอียดลึกซึ้งให้ทั้งความอร่อย โภชนาการและสุขภาพไปพร้อมๆ กันนั่นเพราะอาหารกวางตุ้งมีความหลากหลายและเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจเริ่ม
ตั้งแต่การทำเส้นบะหมี่ตำรับกวางตุ้งที่แตกต่าง โดยเฉพาะวิธีนวดแป้งท่า “ขี่ม้า” ที่ใช้ไม้ไผ่ลำโตเป็นอุปกรณ์สำคัญเป็นท่านวดแป้งแบบโบราณที่ยังคงสืบทอดมาถึงทุกวันนี้
ทำให้ได้แป้งเนื้อเหนียวและแน่น เมื่อนำไปรีดเป็นเส้นบะหมี่กลมก็จะได้เส้นขนาดเล็ก เหนียวนุ่มเลยการันตีได้ว่าเส้นบะหมี่ที่ ร้าน
“จอหงวน” อร่อยไม่เหมือนใคร ไม่ต่างกับเกี๊ยวแบบกวางตุ้งมีเปลือกนอกสีขาว ห่อจีบเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว หรือที่รู้จักกันในชื่อWonton (วันดัน) ซึ่งเกาะฮ่องกงดูจะเป็นที่เดียวที่ทำเกี๊ยวชนิดนี้จนเลื่องชื่อก็มีให้ลิ้มลองที่ “จอหงวน” เช่นกัน
ทั้งบะหมี่และเกี๊ยวตำรับกวางตุ้งกลายมาเป็นเมนูเด่นของร้านเช่น บะหมี่คากิพะโล้ บะหมี่เปรี้ยวหวานเกี๊ยวฮ่องกง (ต้นตำรับ) เกี๊ยวหมูสับปวยเล้ง นอกนั้นก็เป็นเมนูใหม่ๆที่หาทานได้ยากในกรุงเทพฯ อย่างผักลวกราดซอสพิเศษจากฮ่องกงห่านย่างฮ่องกงรสเด็ด ซุปสาลี่แอปเปิ้ล โจ๊กกุ้งสดเปลือกส้ม โจ๊กสำปปั้น ก๋วยเตี๋ยวหลอดปาท่องโก๋ ไชเท้าทรงเครื่องทอด ฯลฯเป็นเมนูอาหารกวางตุ้งสุดเทรนดี้ ทานง่าย อร่อยแบบต้นตำรับที่สำคัญไม่ต้องเสียเวลาไปไกลถึงเกาะฮ่องกงลองหมุนไปสำรองที่นั่งได้ที่ 0-2631-1919
"นโยบาย" สู่ "ปฏิบัติ" คือคำตอบ
Dec 27, 2008
Happy New Year!
คอลัมน์ English Today
สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มติชน
28 ธันวาคม 2551
ในวันส่งท้ายปีเก่า (New Year"s Eve) คือวันที่ 31 ธันวาคมนั้น
ผู้คนทั่วโลกต่างพากันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขนี้กันอย่างเต็มที่
เพื่อต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง โดยจัดงานเลี้ยงหรืองานนับถอยหลังเข้าสู่วันปีใหม่
ตอนใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม (เคานต์ดาวน์)
งานฉลองเทศกาลปีใหม่ที่ทั่วโลกจับตามองมากที่สุดงานหนึ่งคือ
งานปีใหม่ที่ย่านไทม์สแควร์ ใจกลางมหานครนิวยอร์ก
ซึ่งมีผู้คนนับล้านคนมาร่วมงานในแต่ละปี โดย 1 นาทีก่อนถึงเวลาเที่ยงคืน
ลูกบอลขนาดใหญ่จะค่อยๆ ถูกหย่อนลงมา
พร้อมกับการนับถอยหลังของฝูงชนและ
เมื่อลูกบอลลงมาแตะพื้น
ข้อความปีใหม่บนจอภาพดิจิตอลขนาดยักษ์จะสว่างขึ้น
และผู้คนที่มาร่วมชุมนุมกันอยู่บริเวณนั้นจะสวมกอด จุมพิต
และกล่าวอวยพร Happy New Year!
ซึ่งกันและกันสำหรับเพลงที่นิยมร้องกัน
ในตอนเที่ยงคืนของวันขึ้นปีใหม่คือ
เพลงโอลด์ แลง ซาย (Auld Lang Syne)
ซึ่งในบ้านเรานำมาใส่เนื้อร้องเป็นเพลงสามัคคีชุมนุมที่น้องๆ หลายคนคงเคยได้ยินกัน
ส่วนชื่อเพลง Auld Lang Syne นั้น
มีความหมายว่า "the good old days"
หรือช่วงวันเวลาที่ดีๆ ในอดีตค่ะ
ส่วนในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ (New Year"s Day)นั้น
คนอเมริกันมีความเชื่อดั้งเดิมว่า
ผู้ที่มาเยือนในวันปีใหม่สามารถนำโชคดี (good luck)
หรือโชคร้าย (bad luck) มาให้ตลอดทั้งปี
และถ้าคนแรกเป็นชายผมดำรูปร่างสูงแล้วล่ะก็
จะโชคดีเป็นพิเศษทีเดียว
ส่วนอาหารที่ชาวอเมริกันจำนวนมากนิยมบริโภคในวันปีใหม่
เพราะถือว่าจะนำโชคดีมาให้ได้แก่ถั่วแบล๊คอาย (black-eyed peas)
หมู (hog) และกะหล่ำปลี (cabbage)
ซึ่งสองอย่างหลังนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง (prosperity) ค่ะ
ถึงตรงนี้ขอถือโอกาสกล่าวสวัสดีปีใหม่กับน้องๆ ว่า
May you have a very happy and prosperous New Year!
(ขอให้มีความสุขและความเจริญรุ่งเรืองในวันปีใหม่) นะคะ
หน้า 24
เพื่อความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับหลักกรรม (10) ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอยๆ ในพระพุทธศาสนา
Dec 25, 2008
วชิราวุธวิทยาลัย : Vajiravudh.ac.th
วชิราวุธวิทยาลัย อนุสรณ์แห่งพระปรีชาองค์พระมหาธีรราชเจ้า
ที่มา :
- http://archaeology.thai-archaeology.info/index.php?option=com_content&task=view&id=442&Itemid=0 (Not Active)
- http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=3794 (Not Active)
ราม ร.
แนวคิดการก่อตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงคำแปลจากพระราชบันทึก
เป็นภาษาอังกฤษของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากความในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
อันมีปรากฎนี้แสดงให้เห็นชัดเจนถึงพระราชประสงค์
ที่ทรงมีเป็นพิเศษต่อการสถาปนา
โรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นในปีพุทธศักราช 2453
หรือที่ปัจจุบันเรารู้จักกันในนาม โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
ซึ่งทางโรงเรียนก็ได้ดำเนินนโยบายภายใต้หลักการที่ทรงมีพระราชดำริตลอดมา
การก่อตั้งโรงเรียนในเบื้องต้นนั้นพระมหาธีรราชเจ้าได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์
ที่ตำบลสวนดุสิตให้เป็นที่ตั้งรวมทั้งพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างอาคาร
และโรงเรือนชั่วคราวขึ้นและต่อมาในปีพุทธศักราช 2458
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างอาคารโรงเรียนถาวร
มีรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยอันวิจิตรสง่างามโดย
พระสมิทธิ์เลขา (ปลั่ง)เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบการก่อสร้าง
พุทธศักราช 2459 ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้โอนโรงเรียนราชวิทยาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนที่สร้างขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
และโปรดเกล้าฯให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
ที่จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อสิ้นรัชกาลประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจผกผันร้ายแรง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
จึงมีพระบรมราชโองการให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
กรุงเทพฯ โรงเรียนราชวิทยาลัย และโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
เชียงใหม่เข้าด้วยกัน และได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า
"วชิราวุธวิทยาลัย" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
แด่องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
แม้ว่า วชิราวุธวิทยาลัย ในสมัยก่อนจะยึดแนวทางพับลิคสกูล (Public School)
ตามแบบฉบับของอังกฤษอย่างเคร่งครัด หากยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทยอย่างสูง
ซึ่งเอกลักษณ์นี้ได้มาจากสองสิ่งสำคัญ คือ ขนบธรรมเนียมประเพณี
และ รูปลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมิใช่เพียงความสง่างามวิจิตร
ของอาคารสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น หากยังรวมถึงการจัดวางผังบริเวณโดยรวมทั้งหมด
อาณาบริเวณของ วชิราวุธวิทยาลัย มีพื้นที่เกือบ 100 ไร่ ในเขตดุสิต
จัดแบ่งการปกครองออกเป็น "7 คณะ" คำว่า "คณะ"
หมายถึงอาคารที่พักนักเรียนและครูผู้ดูแลประจำแต่ละอาคาร
แต่ละคณะจะมีนักเรียนทุกระดับชั้นปะปนกัน ได้แก่
คณะผู้บังคับการ คณะดุสิต คณะจิตรลดา คณะพญาไท
คณะสนามจันทร์ คณะนันทอุทยาน และคณะสราญรมย์
ตัวอาคาร 4 คณะที่ก่อสร้างเป็นรุ่นแรกจัดวางผังล้อมหอประชุม
ซึ่งเป็นที่สวดมนต์ของนักเรียนไว้ลักษณะเดียวกับกุฏิสงฆ์ คือ
ตั้งอยู่ที่มุมโรงเรียนทั้งสี่มุม รูปลักษณ์และโครงสร้างสถาปัตยกรรมเป็นอาคารสองชั้น
ก่ออิฐถือปูน และวางตำแหน่งตึกกลางตามยาว
มีตึกขนาบข้างทั้งสองโดยมีทางเดินเชื่อมทั้งชั้นล่างและชั้นบน
แต่รายละเอียดงานตกแต่งแตกต่างกันออกไป
หอประชุม หรือ หอสวด ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่กึ่งกลางบริเวณ ผังอาคารมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างโบสถ์และศาลาการเปรียญของวัดไทย คือ มีแผนผังเป็นรูปไม้กางเขนทรวดทรงอาคารมีลักษณะของสถาปัตยกรรมโกธิคแฝง โดยมีลักษณะทรงสอบ สูง และมีช่องแสง
ในขณะที่มีการยกพื้นใต้ถุนสูงตามคติการก่อสร้างอาคารแบบไทย หลังคาประกอบขึ้นตามอย่างพุทธศิลป์ มีทั้งช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์หน้าบันทั้งสี่ทิศเป็นรูปแตกต่างกัน ส่วนภายในอาคารหอประชุมมีบรรยากาศโปร่งโล่งสบาย ลักษณะเหมือนโรงละคร คือ มีเนื้อที่เป็นเวทีทางด้านหน้า ส่วนด้านข้างโดยรอบมีระเบียงที่ชั้นสอง
ตึกวชิรมงกุฎ หรือ ตึกขาว เป็นอาคารที่สร้างขึ้นในยุคหลัง
พระสาโรตรัตนนิมมานก์ เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ
โดยยึดแนวคิดสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิม
และวางผังตัวอาคารให้ทั้งรับและเสริมความงามสง่า
ของตัวอาคารหอประชุม
รายละเอียดงานตกแต่งอาคารออกแบบโดย
หลวงวิศาลศิลปกรรม เป็นอาคารสองชั้นมีมุขด้านข้าง
สองด้านและมีระเบียงเดินหน้าห้อง
หน้าบันของตึกขาวเป็นเครื่องหมายศาสตราวุธของ
พระอินทร์อันเป็นเครื่องหมายประจำพระองค์ใน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่บันไดกลางตรงชานพักระหว่างชั้น มีซุ้มเสมาประดิษฐานรูปหล่อ
พระมนูแถลงสาร ซึ่งตามคติโบราณยกย่องว่าเป็นยอดแห่งศาสตราจารย์
รูปลักษณ์ที่โดดเด่นของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
เป็นที่กล่าวขวัญตลอดมาแต่ครั้งเริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
เช่นเดียวกับคำยกย่องถึงประโยชน์จากแนวทางการศึกษาที่
ทรงคัดเลือกมาเป็นแบบอย่าง
24 ชั่วโมงในรั้ววชิราวุธวิทยาลัย
คือ การหล่อหลอมชีวิตของลูกผู้ชายคนหนึ่ง
ให้เป็นสุภาพบุรุษที่มีครบถ้วนทั้งวิชาความรู้ จริยธรรม
การกล่อมเกลาวิญญาณด้วยดนตรีและศิลปะ
ไปจนถึงการสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายและจิตใจด้วยกีฬา
โดยเฉพาะ "รักบี้" ซึ่งถือเป็นกีฬาประจำชีวิตและวิญญาณ
ของเด็กวชิราวุธทุกคน
Dec 24, 2008
นายกรัฐมนตรีที่ “ไม่มีเรื่องเล่า”
นิติภูมิ นวรัตน์
ไทยรัฐ
25 ธ.ค. 51
ฐานะศิษย์เก่าออสเตรเลียเข้าเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนมัธยมเซ็นเออร์นาด รัฐวิกตอเรีย
นิติภูมิได้รับเชิญจากสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยให้ไปดูภาพยนตร์เรื่อง “ออสเตรเลีย” หรือ Australia ที่ชั้นโรงหนังบนชั้นสูงสุดของห้างสยามพารากอน
ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างสูงที่สุดในประเทศออสเตรเลีย คือ 197 ล้านดอลลาร์
ฉายเปิดตัววันแรกก็ทำรายได้มากกว่า 1.3 ล้านดอลลาร์
ผู้อ่านท่านที่เคารพ นิติภูมิไม่ได้บ้างานของผู้กำกับแถวหน้าอย่าง บาซ เลอห์มาน
หรือไม่ได้หลงใหลในผู้แสดงสุดฮอตของฮอลลีวูดอย่าง นิโคล คิดแมน และฮิวจ์ แจ็กแมน
แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงประเทศไทยในยามชื่อเสียงตกต่ำ
ซึ่งเราน่าจะมีคนที่มีจินตนาการคิดอะไรอย่างเฉกเช่นที่มีคนสร้างภาพยนตร์เรื่องออสเตรเลีย
ที่ผมดูภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นรอบพิเศษสำหรับบุคคลสำคัญซึ่งมีเพียง 34 ที่
ผมนอนดูหนังเรื่องนี้กับคุณแอนดรู บิ๊กส์ ผู้ที่เกิดที่เมืองบริสเบน ออสเตรเลีย
และเคยใช้ชีวิตเมื่อ พ.ศ.2522 เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปอเมริกา
ในห้วงช่วงปีเดียวกันนั้น ผมก็เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนจากไทยไปออสเตรเลีย
เราทั้งสองคนภายหลังมาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วยกันทั้งคู่
เราจึงมี “เรื่องเล่า” ทุกครั้งที่เจอกัน
ผมรู้สึกเหมือนว่าคุณแอนดรูมีเรื่องเล่ามากมายที่ฟังหลายปีก็ไม่มีวันจบและไม่มีวันเบื่อ
ภาพยนตร์เรื่องออสเตรเลียจะทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเยือนออสเตรเลียมากตั้งแต่ พ.ศ.2552 เป็นต้นไป
การเดินดำเนินเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ใช้พวกอะบอริจิน
ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของทวีปออสเตรเลียเป็นตัวเอก
ต้องขอบคุณรัฐบาลออสเตรเลียในยุคของนายเควิน ไมเคิล รัดด์
เป็นนายกออสเตรเลียและหัวหน้าของสหพันธ์พรรคแรงงานออสเตรเลียครับ
ท่านเป็นคนหนุ่มเกิดเมื่อ พ.ศ.2500 แต่กล้าคิดนอกกรอบ
เหตุผลที่ชนะนายกรัฐมนตรีเก่ามาได้ เพราะนายรัดด์คิดนอกกรอบ
เช่น สัญญากับประชาชนว่า ถ้าชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล
แกจะถอนทหารจากอิรัก จะลงนามในพิธีสารเกียวโต
เพื่อลดกระแสโลกร้อน จะวางโครงสร้างบรอดแบนด์ระดับชาติ
และที่สำคัญที่สุดคือจะให้เกียรติชนเผ่าพื้นเมืองของพวกอะบอริจิน
จะสร้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับคนพวกนี้
ภาพยนตร์เรื่องออสเตรเลียก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการสร้าง
“ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ให้กลับคืนมาสู่ความเป็นออสเตรเลียเช่นกัน
แต่จะเป็นตอนไหนอย่างไร ผู้อ่านท่านกรุณาไปดูกันเอาเองเถิด
ผู้อ่านท่านที่เคารพ นิติภูมิเดินทางไปเยือนและพบปะสนทนากับ
นักเรียนนักศึกษาไทยในทวีปออสเตรเลียในปัจจุบันทุกวันนี้
ผมพบว่าหลายท่านเอาแต่เรียนอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงเรื่องจิตวิญญาณ
ทุกวันนี้คนไทยที่เป็นนักเรียนเก่าออสเตรเลียจำนวนมากไม่มีเรื่องเล่า
ตอนอยู่ที่ประเทศโน้นเช้ามาก็ถือหนังสือเดินจากหอพักไปยังมหาวิทยาลัย
ตอนเย็นก็เดินหอบหนังสือจากมหาวิทยาลัยไปที่หอพัก
อยู่ในประเทศออสเตรเลียห้าปีสิบปีก็มีมิติเรียนหนังสือเพียงอย่างเดียว
แต่ไม่มี “วิญญาณร่วม” กับชาวออสเตรเลียมากและลึกซึ้งเหมือนในสมัยในอดีต
ไปนครเมลเบิร์นและนครซิดนีย์ในสมัยนี้
ผมเห็นแต่นักเรียนไทยเดินกันขวักไขว่และพูดกันแต่ภาษาไทย
เห็นแล้วก็เสียดายเงินทองของพ่อแม่ที่ส่งลูกไปเรียน
พ.ศ.2548 ผมลองทดสอบถามนักเรียนไทยยุคใหม่ในนครเมลเบิร์นกลุ่มหนึ่ง
ถึงเพลงที่ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ร้องได้อย่าง Advance Australia Fair
ปรากฏว่าไม่มีนักเรียนในกลุ่มนั้นรู้จักเลยแม้แต่คนเดียว
แม้แต่ผมจะเริ่มต้นร้องนำว่า Australia all let us rejoice, for we are young and free.. ก็ปรากฏว่าไม่มีใครในกลุ่มต่อเพลงนี้ได้
หรือแม้แต่เพลงที่นักเรียนต่างชาติที่เข้าไปเรียนในแผ่นดินออสเตรเลีย
ควรจะร้องได้อย่าง Waltzing Matilda หรือ
Kookaburra Sits on the Old Gum Tree
นักเรียนกลุ่มนั้นก็ยังร้องไม่ได้และทำท่างงๆ
เมื่อปีก่อน พ.ศ.2548 ผมไปเยือนออสเตรเลียอีก 2 ครั้ง
ได้รับเชิญให้ไปดูงานการศึกษาและการเกษตรที่รัฐออสเตรเลียตะวันตก
และรัฐออสเตรเลียใต้ และก็ได้ไปเยี่ยมนักเรียนไทยอีกหลายกลุ่ม
โดยเฉพาะกลุ่มครูอาจารย์ที่ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการไทย
ให้ไปเรียนภาษาอังกฤษที่นั่น ผมแปลกใจมากที่นักเรียนและคุณครูไทยจำนวนหนึ่ง
ไม่รู้จักเวจีไมต์ Vegemite ซึ่งเป็นอาหารโปรดของคนออสเตรเลียของแท้
ทุกผู้ทุกนาม มีสีดำคล้ายกับกะปิของเรา มีรสเค็มเหมือนกะปิ
ผลิตออกมาขายโดยบริษัทคราฟท์ ต่อมากลายเป็นอาหารประจำชาติออสเตรเลีย
เหมือนต้มยำกุ้งของไทย นักศึกษาไทยเหล่านี้
แม้รัฐบาลหรือพ่อแม่จะเสียเงินเสียทองส่งไปเรียนออสเตรเลียกันคนละ 5 ปี 10 ปี
พวกนี้มีแต่ความรู้ในตำรา ไม่มีเรื่องเล่า
ชาติบ้านเมืองอื่นจะไม่ยอมเอาคนที่ไม่มีเรื่องเล่าเหล่านี้มาใช้งานสำคัญ
ยกเว้นก็เพียงแต่ราชอาณาจักรไทย ที่กล้าเอาคนที่ดูเหมือนมีความรู้
มีปริญญาตรีโทชั้นดีจากมหาวิทยาลัยระดับโลก
แต่ไม่มีเรื่องเล่า มาเป็นนายกรัฐมนตรี
ประเทศไทยของเราขณะนี้
จึงเป็นประเทศขาดเรื่องเล่า และขาดเสน่ห์.