Custom Search

Jun 30, 2007

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รมช.ศึกษาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ได้กล่าวหลังจากที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปรากฏในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 ว่า

"การได้เข้ามาทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. ถือเป็นโอกาสดีที่ผมจะตอบแทนประเทศอีกทางหนึ่ง เพราะผมเคยเป็นนักเรียนทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งเงินที่ส่งไปเรียนก็เป็นเงินจากภาษีประชาชน ในระยะเวลาทำงานที่ยังเหลืออีกเพียง 9 เดือนข้างหน้านี้ผมจะทำงานอย่างเต็มที่ 100% ผมถือว่าในเวลา 9 เดือนข้างหน้าเป็นโอกาสที่ท้าทายผม เป็นโอกาสใช้หนี้ทางใจที่ผมเคยได้รับทุนจากเงินภาษีประชาชน เพราะเงินที่ส่งผมไปเรียนอาจจะใช้สร้างโรงพยาบาลเล็กๆ ได้แห่งหนึ่งเลยทีเดียว การทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. ถือเป็นการทำงานเพื่อรับใช้สังคมตามภาระผูกพันทางใจจริงๆ ไม่ใช่แค่พูดให้ดูเก๋ๆ แต่เป็นความรู้สึกจริงๆ "
- รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่าจากผลการวิจัยร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เรียนในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษามีความสนใจในการอ่านเพิ่มขึ้นถึง 15 ล้านคน นักเรียนอ่านหนังสือวันละ 360 บรรทัดต่อวัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในอนาคตการอ่านจะมีการกระจายไปสู่กลุ่มชนทุกวัยและทั่วประเทศ ประโยชน์ของการอ่านมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. การอ่านเพื่อความบันเทิง ผ่อนคลายความเครียด
2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้
3. ทำให้เกิดแรงจูงใจสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆ
4. การอ่านจนเป็นนิสัยยังสามารถเชื่อมโยงทำให้เกิดทักษะในการเขียนพัฒนาขึ้น

- รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่ออีกว่ากระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐานมีแนวความคิดที่จะนำวิชาย่อความ เรียงความมาบรรจุในหลักสูตรวิชาภาษาไทย โดยจัดโครงการนำร่องฝึกฝนครูให้เน้นการสอน
เพื่อฝึกเด็กให้สามารถอ่านหนังสือได้เข้าใจและตอบคำถามได้อย่างมีทักษะกล่าวได้ว่า “อ่านหนังสือแตก”
- รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ในฐานะครูคนหนึ่งมองว่า การเป็นครูสิ่งสำคัญที่สุดคือการอบรมสั่งสอนเด็กโดยมีเป้าหมายผลิตคนดีมีคุณภาพ นี่ต่างหากคือเป้าหมายของคนเป็นครู ครูจำนวนไม่น้อยไม่อยากเป็นครูดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะหาอุดมการณ์ของความเป็นครู ให้เกิดแก่ครูทุกคน การเป็นครูในความรู้สึกคือต้องทุ่มเทเพื่อสร้างเยาวชน เราต้องให้การอบรม สั่งสอนลูกหลานของผู้เสียภาษี ซึ่งก็คือเงินเดือนครูให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามคงต้องใช้เวลายาวนาน ภายใต้อุดมการณ์ที่ถูกต้องในอาชีพครูเพราะเราเลือกแล้วที่จะอยู่ในอาชีพนี้ เราจึงควรต้องเป็นตัวอย่างแก่เด็กและเยาวชนในความพอเพียง พอประมาณ ต้องมีความศรัทธาในความดีงาม การเป็นครูต้องมีหลักการ ต้องรู้ตัวว่าเราเป็นครูเพราะอะไร รู้เป้าหมาย มีเหตุมีผลไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป สิ่งสำคัญต้องมีคุณธรรมในใจ รักเด็ก มีมุทิตาจิตต่อเด็ก รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
ขอย้ำว่าเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในทุกอณูของชีวิต