Custom Search

Jun 15, 2007

วิชชาแปดประการ


หนังสือวิชชาแปดประการ
ผู้แต่ง พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

ประวัติ: http://www.thaiwriter.org/writers/wijit_watakarn/wijit.htm


ในชั้นต้น เราต้องจำไว้ว่า คนทุกคนมีกระแสดวงจิต
และกระแสดวงจิตของทุกคนย่อมมี

กำลังอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ
แต่กำลังบางชนิด เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา
แต่บางชนิด เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะมีไว้
เมื่อเราแบ่งอย่างหยาบ ๆ กระแสดวงจิตมีอยู่ 2 จำพวก คือ
1. จำพวกที่ดูดเข้ามา

2. จำพวกที่ดันออกไป

ทั้งสองจำพวกนี้ มีทั้งดีและร้ายปนกันอยู่
ซึ่งถ้าเราแบ่งให้ละเอียดออกไปอีกก็จะเป็นอย่างนี้

ก. จำพวกดูดที่เป็นอย่างดี ก็คือกระแสที่ดูดดึงเอาหัวใจคน
เข้ามารักใคร่ตัวมนุษย์ที่มีกระแสชนิดนี้
ใครได้เห็นมักจะอดรักไม่ได้ ถึงแม้จะไม่มีรูปโฉมงดงาม
หรือมิได้แสดงคุณความดีอะไรให้ปรากฏเลยก็ดี

ข. จำพวกดูดที่เป็นอย่างไม่พึงปรารถนา ก็คือกระแสดวงจิต
ที่ดูดดึงหัวใจคนเข้ามาหาตัว
เหมือนกัน
แต่ไม่ใช่สำหรับให้มารัก ที่จริงก็ไม่ใช่สำหรับให้มาเกลียด
แต่ว่าดึงเข้ามาสำหรับทำความรำคาญให้แก่ตัวเอง

คนที่มีกระแสดวงจิตชนิดนี้ มักจะมีคนชอบพบปะพูดจาด้วย
แต่แทนที่จะดี กลับจะต้องเป็นเป้าสำหรับให้คนอื่นล้อเลียน ยั่วเย้า
และบางครั้งข่มเหงเสียด้วยซ้ำ
ในโรงเรียนเราจะเห็นอยู่บ่อย ๆ
ที่นักเรียนคนหนึ่งประพฤติตนเรียบร้อย

ไม่เกะกะระรานกับใคร
และบางทีไม่อยากคบหาสมาคมกับใคร
ไม่มีใครเกลียดและไม่มีใครรัก
แต่มีคนชอบมาล้อเลียนยั่วเย้า แม้แต่เราเองถ้าได้พบคนชนิดนี้
ก็รู้สึกอยากจะข่มเหงให้ร้องไห้ คนนั้นก็ไม่เข้าใจว่า
ทำไมจึงมีคนชอบมาล้อเลียนตัว
คนที่ล้อก็ไม่รู้ว่าเหตุไรจึงชอบล้อคนคนนั้น
แต่เมื่อเรารู้จักลักษณะของกระแสดวงจิต

เช่นนี้แล้วเราก็หมดสงสัย
และเข้าใจได้ว่าเป็นเพราะคนชนิดนั้น
มีกระแสที่ดูดดึงหัวใจคนเข้ามาทำความรำคาญให้ตัวเอง
กระแสดวงจิตชนิดนี้ ไม่ได้มีเฉพาะพวก
เด็ก ๆ
อาจมีได้ในบุคคลที่อายุมาก ๆ เพราะฉะนั้น
บางคนถึงแก่จวนตายก็ยังไม่พ้นที่จะ
ถูกล้อเลียนยั่วเย้าอยู่ตลอดกาล

ค. จำพวกดัน ที่นับเป็นอย่างดีนั้น

คือเป็นดวงจิตที่มีอำนาจ
ใครเข้ามาใกล้ย่อมจะเกรงขาม
จนในบางครั้งไม่ค่อยมีคนกล้าเข้าใกล้
เพราะความกลัวอย่างเดียว ไม่ใช่ความเกลียดชัง
ผู้ที่มีอำนาจวาสนาย่อมมีกระแสชนิดนี้อยู่มาก ๆ
และบุคคลชนิดนี้ถึงแม้เรารู้ดีอยู่ว่า
จะไม่ใช้อำนาจแก่เราเลย เราก็ยังเกรง
และถึงแม้เรารักเราก็ไม่อยากเข้าใกล้

ง. จำพวกดัน ที่เป็นอย่างไม่พึงปรารถนานั้น
ได้แก่กระแสดวงจิตที่ไม่สามารถจะกลมเกลียว
เข้ากับกระแสของคนอื่นได้ คนที่มีกระแสชนิดนี้
ถึงแม้จะไม่ได้ทำอะไรให้ใคร ก็ยังไม่มีใครชอบ
โดยมากมักจะถูกเกลียดเสียแต่เมื่อได้เห็นหน้าครั้งแรก แต่
จ. กระแสดวงจิตที่นับว่าดีที่สุด และที่พึงปรารถนาที่สุดนั้น
คือกระแสที่เป็นอย่าง ก. กับ ค. ผสมกันเข้า

เป็นกระแสที่ทำให้คนรัก และคนกลัวด้วย
ทั้งสองประการในเวลาเดียวกัน
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุให้ดวงจิตของคนเรา
มีกระแสผิด ๆ กันเช่นนี้
เราต้องจำไว้ว่า

ดวงจิตเป็นเหมือนดวงไฟสีขาวบริสุทธิ์
กระแสดวงจิตเหมือนแสงไฟที่ส่องออกมา
แสงนั้นจะเป็นสีอะไร และมีกำลังเพียงไร
ก็สุดแต่ว่าเราจะเอากระจกอันไหนส่อง
และกระจกสำหรับส่องดวงไฟ
คือหัวใจของเรานั้นมีอยู่ดังนี้
ในชั้นต้นเรามีกระจกสองอันก่อน
สำหรับจะให้กระแสอ่อน
หรือแรงตามที่เราต้องการ

กระจกสองอันนี้คือ
1. ความพยายาม (สำหรับช่วยให้กระแสแรง)
2. ความท้อถอย (สำหรับทำให้กระแสอ่อน)
กระจกสองอันนี้ จะทำให้กระแสแรงหรืออ่อนได้
ทั้งในทางที่ดี และในทางที่ไม่ดี
กล่าวคือคนที่มีความพยายาม ถ้าเป็นคนทำดีก็ดีเลิศ
ถ้าทำชั่วก็ชั่วอย่างที่สุด เช่นผู้ร้ายฆ่าคน
ส่วนคนที่ท้อถอย จะทำดีก็ไม่ดีนัก

และถึงแม้จะทำชั่วก็ไม่ร้ายแรงเกินไป
ทั้งสองอันนี้เป็นกระจกชั้นต้น
ส่วนกระจกที่จะเปลี่ยนสีของกระแสดวงจิต ให้เป็น 5 อย่าง
ตั้งแต่ ก. ถึง จ. ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น มีอยู่ 6 แผ่น
ที่วางคู่กันดังนี้

คู่ที่ 1 ความเมตตา-ความริษยา
คู่ที่ 2 ความกล้าหาญ-ความขาดกลัว
คู่ที่ 3 ความเข้มแข็ง-ความใจอ่อน

ความเมตตา
ส่งให้เกิดผลในข้อ ก.

กล่าวคือคนที่มีความเมตตาอยู่เป็นปกติ
ย่อมจะเป็นที่รักของคนทั้งหลาย
ไม่ว่าทางพุทธศาสนา จิตวิทยา
หรือลัทธิใด ๆ มีหลักสำคัญอยู่เสมอเหมือนกันว่า
ถ้าเราอยากให้ใครรักเรา เราต้องรักเขาก่อน
ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า

ทำบุญแล้วให้แผ่เมตตาให้แก่คนทุกคน
แม้แต่ศัตรู ในทางคริสต์ศาสนาก็มีหลักเช่นนี้
มีคำสอนที่น่าฟังอยู่ข้อหนึ่งเป็นใจความว่า
"ท่านรักคนที่เขารักท่านที่จริงไม่แปลกอะไรเลย
ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่ที่แปลกและทำได้ยาก
และ
เป็นผลดีที่สุดนั้น คือต้องรักคนที่เขาเกลียดท่านด้วย"
นี่แหละเป็นผลของความเมตตาที่เราอาจหาได้ในตัวเราเอง
ความขลาดกลัว กับ ความใจอ่อน
เป็นกระจกที่ส่องให้เกิดผลในข้อ ข.
ดังที่เราจะเห็นได้ว่า คนที่ถูกล้ออยู่โดยปรกติ
ย่อมมีลักษณะเป็นคนขลาดกลัว
และใจอ่อนอยู่โดยปรกติเหมือนกัน
ความกล้าหาญ และ ความเป็นผู้มีใจเข้มแข็ง
เป็นกระจกที่ส่องให้เกิดผลในข้อ ค.
และความริษยา
เป็นกระจกส่องให้เกิดผลในข้อ ง.
ขอให้ลองสังเกตดู
คนที่ไม่มีใครชอบ คนที่ถูกเกลียดจากบุคคลโดยมาก คนชนิดนี้

ย่อมมีความริษยาอยู่ในหัวใจตัวเองเป็นปรกติ
เป็นผู้ที่ไม่อยากให้ใครได้ดี
คนชนิดนี้ถึงจะพยายามซ่อนเร้นความในใจสักเพียงไรก็ไม่สำเร็จ
เพราะกระแสแห่งความริษยานั้นแรงกว่ากระแสอื่น
ผู้มีกระแสเช่นนี้ ย่อมจะถูกคนเกลียดตั้งแต่ได้เห็นหน้ากันเป็นครั้งแรก
และพึงทราบว่า กิริยาวาจาต่าง ๆ เราอาจจะซ่อนได้
แต่กระแสดวงจิตนั้นซ่อนไม่ได้เลยเป็นอันขาดในที่สุด
เมื่อคุณสมบัติทั้งมวล
คือความเมตตา
ความกล้าหาญ
และความเข้มแข็ง 3 ประการนี้
มาผสมกันเข้าแล้ว ก็เกิดผลในข้อ จ.
ซึ่งเป็นกระแสที่ดีและพึงปรารถนา
และเมื่อเราเอาความพยายามอีกอันหนึ่ง
เข้าช่วยทำให้กระแสแรงขึ้นได้อีกแล้ว

ก็นับว่าเป็นอย่างประเสริฐ"
"เมื่อเราพิจารณามาถึงเพียงนี้
การที่จะพิจารณาต่อไปถึงปัญหาที่ว่า
ทำอย่างไรกระแสดวงจิตของเราจึงจะมีกำลังแรงนั้น
ก็ง่ายขึ้นเป็นอันมาก เขามีหลักวางไว้ดังต่อไปนี้ :-
1. พยายามละทิ้งกระจกแผ่นที่ไม่ดีทั้ง 4 แผ่น คือ
ความท้อถอย ความริษยา ความขลาดกลัว
และความใจอ่อน ออกเสียให้หมด คงไว้แต่ 4 แผ่น
คือ ความพยายาม, ความเมตตา, ความกล้าหาญ
และความเข้มแข็ง
2. เวลาพูดกับใคร ให้มองดูตาคนที่พูดกับเราหรือคนที่ฟังเราพูด
ตราบใดนัยน์ตาของเรายังไม่
แข็งพอที่จะดูตาใครตรง ๆ ได้แล้ว
ตราบนั้นกระแสดวงจิตของเราจะแข็งแรงไม่ได้
3. แนะนำตนเอง เรื่องแนะนำตนเอง (Autosuggestion) นั้น
เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง ในทางจิตวิทยา
และเป็นวิธีที่นักปราชญ์ในสมัยนี้ ลงความเห็นร่วมกันว่า
เป็นบันไดขั้นที่แน่นอนที่สุด สำหรับจะให้บุคคลก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จ

การแนะนำตนเองนั้น มีหลักอยู่ว่า ให้เรานึกหรือพูดเอาเองว่า
เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตามที่เราต้องการ
ในเมื่อเราปลุกกำลังดวงจิตเราต้องนึกหรือพูด (คนเดียว)
ว่าดวงจิตของเรามีกำลัง การนึกหรือพูดเช่นนี้
เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะทำให้กระแสดวงจิตมีกำลังแรงขึ้น
และนำไปสู่ความสำเร็จทั้งปวง


สารบัญ
ข้อความเบื้องต้น
ก.หลักของโยคี
ข.หลักเรื่องกสิณและฌาน
วิชชาประการที่หนึ่ง วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา)
วิชชาประการที่สอง มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
วิชชาประการที่สาม อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้)
วิชชาประการที่สี่ ทิพโสต (หูทิพย์)
วิชชาประการที่ห้า เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น)
วิชชาประการที่หก ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
วิชชาประการที่เจ็ด ทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
วิชชาประการที่แปด อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป)