ย้อนมุมคิดนักสู้ชีวิต"ไทฟ้า ชยวรประภา"เจ้าพ่อถนนข้าวสาร
"ถ้ามีคนเหยียบ เราต้องจมลงดินเพื่อชีวิตรอด"
ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน
นักเขียนผู้ใช้นามปากกาว่าหนุ่มเมืองจันท์
ณ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ
มติชนสุดสัปดาห์ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์
ไทฟ้า ชยวรประภา
และนำมาเขียนในหนังสือ ฝันใกล้ใกล้ ไปช้าช้า
จึงทำให้เราได้ทราบหลายเรื่องราวในชีวิตของเขา
ชีวิตที่หลายคนคิดว่าจะหวือหวา
เหมือนการขับรถของเขาหรือเปล่านั้น
แท้จริงไม่เป็นเช่นนั้นเลย
อุบัติเหตุบนทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ครั้งล่าสุดกลายเป็น"ข่าวใหญ่"ส่วนหนึ่งเพราะเข็มวัดความเร็ว
บนรถปอร์เช่ที่หยุดนิ่งที่ตัวเลข 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนหนึ่งเพราะผู้เสียชีวิตล้วนแต่เป็นคนที่มีชื่อเสียง
คนหนึ่ง คือ ลูกชายอดีตรัฐมนตรี"ชาญชัย ปทุมมารักษ์"
และอีกคนหนึ้่งเป็นนักธุรกิจใหญ่
"ไทฟ้า ชยกรประภา"
คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นชื่อ"ไทฟ้า"เพราะเขาออกสื่อน้อยมาก
ทั้งที่เขาเป็นนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่ง
โดยเฉพาะบนถนนข้าวสาร
"ไทฟ้า"ใหญ่มาก
ถ้าดูจากรถและความเร็ว คนส่วนใหญ่คงคิดว่า
ชีวิตของ"ไทฟ้า"จะหรูหรา ไฮโซและทำธุรกิจแบบหวือหวา
แต่จริงแล้วเส้นทางชีวิตของเขาแตกต่างจากความเร็ว 280 กม./ชม.มากนัก
ไม่ว่าจะเป็นการดิ้นรนต่อสู้ชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก การทำธุรกิจ หรือวิธีคิด
ไทฟ้า ชยวรประภา เกิดเมื่อวันที่่ 17 มกราคม พ.ศ. 2501
"ไทฟ้า"จบการศึกษาแค่ชั้นม.ศ.5 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์แต่ด้วยฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน
"ไทฟ้า"บอกว่าเขาต้องศึกษาต่อที่ Royal Field University
หรือ"มหาวิทยาลัยสนามหลวง"
ขายของตั้งแต่กระดาษหอม ถุงโชคดี แหวน และกระเป๋านักเรียน
ดิ้นรนแบบ"นักสู้ข้างถนน"จนกระทั่งเริ่มมาทำธุรกิจ
ที่ถนนข้าวสารตั้งแต่ยังไม่มีใครรู้จัก
ปัจจุบัน "ไทฟ้า"เป็นประธานกรรมการบริษัท บัดดี้ กรุ๊ป จำกัด
มีโรงแรมในเครือ 6 แห่ง ทั้งที่ถนนข้าวสาร นนทบุรีและเกาะสมุย
นอกจากนั้นยังมีร้านอาหารกินลมชมสะพาน และธุรกิจอื่นๆอีกมากมาย
"ไทฟ้า"เป็นคนปิดตัว ไม่ค่อยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเท่าไรนัก
ทั้งที่เป็นคนที่มุมคิดที่คมคาย
ครั้งหนึ่ง เคยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันอาทิตย์เมื่อหลายปีก่อน
เป็นครั้งเดียวที่ทำให้คนรู้จัก"ไทฟ้า"มากขึ้นในหลายแง่มุม
เรื่องหนึ่ง คือ ทำไมถนนข้าวสารจึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
"ไทฟ้า"บอกว่า"นักท่องเที่ยวเหมือนนกนางแอ่น
บังคับไม่ได้ มันจะเลือกที่ทำรังของมันเอง"
แต่เขาเชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะ"ทำเล"ของถนนข้าวสารที่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว
ที่มีชื่อเสียง อย่างวัดพระแก้ว วัดโพธิ และวัดต่างๆในละแวกนี้
เช่นวัดชนะสงคราม ใกล้สนามหลวงและท่าพระจันทร์ที่ต่อเรือไปเที่ยวได้
นักท่องเที่ยวถนนข้าวสารรัก"ความอิสระ"
"เขาชอบอิสระ ไม่ใช่เที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ที่เป่านกหวีดปรี๊ดไปตลาดน้ำ
แบบนั้นเขาไม่ชอบ"
เขาชอบเดิน ต่อรถเมล์ นั่งเรือ ชอบชีวิตเรียบง่าย
ที่สำคัญ ทุกคนเปิดกว้างรับเพื่อนใหม่
"มันเป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ต่างคนต่างภาษาแต่เป็นเพื่อนกัน
ชาวอังกฤษกับฝรั่งเศสไม่เคยคุยกันก็มาคุยกันที่นี่
พูดกันไม่รู้เรื่องแต่เป็นเพื่อนกันได้"
นักท่องเที่ยวถนนข้าวสารไม่ใช่"ไม่มีเงิน"
"ขากลับทุกคนตัดสูทคนละ 5-6 ชุด"
"ไทฟ้า"บอกว่าปัญหาธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย
เรื่องหนึ่งคือคิดแต่จำนวนนักท่องเที่ยว
แต่ลืมเรื่องความพยายามให้นักท่องเที่ยวใช้เงินให้มากที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นการเที่ยว หรือการซื้อสินค้า
เพราะพฤติกรรมของ"นักท่องเที่ยว"นั้นทุกคนมีวงเงินที่พร้อมจ่าย
เขาวางแผนแล้วว่ามาครั้งนี้จะมีวงเงินใช้จ่ายเท่าไร
"ทำอย่างไรให้เขาใช้เท่ากับที่เขาตั้งใจ ไม่ต้องหมดกระเป๋า แต่ใกล้ๆหมดก็พอ"
เป็นมุมมองที่น่าสนใจมาก
...............
อีกเรื่องหนึ่งคือวิธีคิดในเรื่องการใช้ชีวิต
ในฐานะคนที่ผ่านประสบการณ์"มหาวิทยาลัยสนามหลวง"ที่ต้องดิ้นรนและต่อสู้
วิธีคิดของ"ไทฟ้า"จะมีแง่มุมที่แตกต่างจากคนที่ประสบการณ์ชีวิตที่ราบรื่น
เมื่อถามว่าใครเป็นต้นแบบของเขา
"ไม่มี"ไทฟ้าบอกแบบมั่นใจ"ความอยู่รอด คือ ต้นแบบของผม"
"ถ้ามีตระกูล ผมก็เหมือนต้นไม้ที่มีรากแก้ว
แต่ผมไม่ได้เกิดในตระกูลดัง เป็นแค่เมล็ด มีเปลือกบางๆ"
สิ่งที่เขาเรียนรู้จากประสบการณ์ ก็คือ ถ้าดินเป็นกรด เขาจะเติบโตอย่างไร
"ถ้ามีคนเหยียบ เราต้องจมลงดินเพื่อมีชีวิตรอด
คนที่ไม่เติบโตเพราะเมื่อโดนเหยียบ ไม่ยอมจม"
ถามว่าการบริหารธุรกิจเล็กๆกับธุรกิจใหญ่ๆ แตกต่างกันอย่างไร
คำตอบของเขาชัดเจนด้วนประสบการณ์
"หลักการบริหารเงิน 1 บาท 100 บาทหรือ 1 ล้านบาทเหมือนกัน คือ การใช้เงิน"
อีกประโยคหนึ่งก็น่าสนใจ
"มีคนบอกว่าเริ่มต้นยาก สำเร็จยาก แต่รักษาความสำเร็จยากกว่า
ผมว่าไม่จริง การรักษาความสำเร็จไม่ยาก
เพียงแค่ว่าเราอย่าคิดว่าต้องเป็น..ที่สุด แค่นั้นก็รักษาได้แล้ว "
หรือ ทฤษฎี 3 เหลี่ยม ของการใช้ชีวิต
"ไทฟ้า"บอกว่าคนเราเมื่อรู้สึกว่ายืนอยู่บนยอดสุดของสามเหลี่ยมเมื่อไร จะ..ตัน
เพราะพื้นที่บนยอดสามเหลี่ยมน้อยเกินกว่าจะยืนหยัดอยู่ได้
จุดที่ดีที่สุดของการยืน คือ ตรงประมาณ 75% ของสามเหลี่ยม
สูงพอประมาณ และมีพื้นที่กว้างพอที่จะยืนแบบไม่โดดเดี่ยว
ทุกครั้งที่ต้องการยืนให้สูงขึ้นในระดับสูงสุดของสามเหลี่ยม
เราต้องสร้าง"สามเหลี่ยมใหม่"ที่ฐานกว้างขึ้น
เพราะฐานเมื่อกว้างขึ้น ปลายสุดของยอดสามเหลี่ยมใหม่ก็จะสูงกว่าเดิม
จุดสูงสุดของ"สามเหลี่ยมเก่า"ที่เราต้องการก็ตรงกับ 75 % ของ"สามเหลี่ยมใหม่"
เราก็จะได้ยืนสูงขึ้น โดยที่ยังมีพื้นที่ให้กับคนอื่น
นี่คือ หลักคิดของ"ไทฟ้า ชยวรประภา"
ข้อมูลธุรกิจของ"ไทฟ้า"
จากการตรวจสอบข้อมูล ไทฟ้า เป็นนักธุรกิจโรงแรมพันธุ์ไทยรายใหญ่
ฐานธุรกิจของเขาเริ่มต้นที่ถนนข้าวสาร บริษัท บัดดี้ กรุ๊ป จำกัด
เดิมชื่อ บริษัท ไทฟ้าและเพื่อน จำกัด ก่อตั้งในปี 2539
วันนี้ นาย ไทฟ้า ชยวรประภา และเพื่อน คือ
นายประสิทธิ์ สิงห์ดำรงค์ นายมาโนช วงษ์มาก
ขยายเครือข่ายธุรกิจมีกิจการในรูปบริษัท 25 บริษัท
ครบวงจรธุรกิจโรงแรมบูติค ท่องเที่ยว อาหารและเครื่องดื่ม รวมแม้แต่ธุรกิจสิ่งพิมพ์
1 บริษัท บัดดี้ กรุ๊ป จำกัด
2 บริษัท ไซด์วอล์ค คาเฟ่ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอเรจ จำกัด
3 บริษัท บัดดี้ ลอดจ์ จำกัด
4 บริษัท ฟ้าละไม จำกัด
5 บริษัท ฟ้าอรุณ จำกัด
6 บริษัท ภูมิฟ้า จำกัด
7 บริษัท มิส มอลลี่ จำกัด
8 บริษัท วังวารี สิริเจ้าพระยา จำกัด
9 บริษัท ข้าวสารเนอร์ จำกัด
10 บริษัท คุ้มสามพระยา จำกัด
11 บริษัท ชยวรประภา จำกัด
12 บริษัท ซามูดี จำกัด
13 บริษัท ไซด์วอร์ค ราชดำเนิน จำกัด
14 บริษัท ต้มยำกุ้ง จำกัด
15 บริษัท บัดดี้ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด
16 บริษัท บัดดี้ บูติก อินน์ จำกัด
17 บริษัท บัดดี้ บูติค โฮเต็ล กรุงเทพ จำกัด
18 บริษัท บัดดี้ มารีน จำกัด
19 บริษัท บางกอก รอยัล อาร์ต จำกัด
20 บริษัท บ้านหินทราย เฉวงน้อย บูติค รีสอร์ท จำกัด
21 บริษัท บำรุงเมือง จำกัด
22 บริษัท พังการีสอร์ต จำกัด
23 บริษัท หินตา หินยาย บีช รีสอร์ท จำกัด
24. บริษัท บัดดี้ โฮลดิ้ง จำกัด
25.บริษัท มิลเลี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
ศูนย์บัญชาการทางธุรกิจของ ไทฟ้าคือ
สำนักงานเลขที่ 265 ถนนข้าวสาร แขวงตลาดยอด
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ตั้งแต่ปี 2539
ต้นปีที่ผ่านมา ผู้บริหาร บัดดี้กรุ๊ป เปิดสถานะทางธุรกิจของกลุ่มว่า
ปัจจุบัน บัดดี้ กรุ๊ป เป็นโรงแรมระดับ 3-4 ดาว
ลงทุนโดยคนไทยและเป็นโรงแรมแบรนด์ของคนไทย
ซึ่งมองว่าโรงแรม 3-4 ดาวเป็นตลาดใหญ่
จุดต่างที่สำคัญของโรงแรม คือ ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป
แต่ละแห่งไม่เกิน 70-80 ห้อง สามารถดูแลลูกค้าได้ทั่วถึง
ประกอบกับการใช้กลยุทธ์แบบคนไทย เช่น
นำเสนอห้องพักในราคารวมอาหารเช้า หรือ ที่ บัดดี้ ลอดจ์ จะฟรีมินิบาร์
นอกจากนั้น ทุกโรงแรมของ บัดดี้ กรุ๊ป ยังมีบริการฟรี wifi
ตอบสนองไลฟ์สไตล์การเดินทาง เพราะลูกค้าที่เข้าพักโรงแรมรูปแบบนี้ส่วนใหญ่
เป็นคนรุ่นใหม่ กว่า 90% ใช้ช่องทางการจองผ่านอินเทอร์เน็ต
ขนาดห้องพักเฉลี่ย ของบัดดี้ กรุ๊ป จะอยู่ที่ 25 ตร.ม.
ปัจจุบันบัดดี้ กรุ๊ป เป็นเจ้าของโรงแรม 6 แห่ง
ครอบคลุมตั้งแต่ 3-5 ดาว ได้แก่ โรงแรมบัดดี้ ลอดจ์ (กรุงทพฯ)
โรงแรมโฮเต็ล เดม๊อค (กรุงเทพฯ) โรงแรมบัดดี้ บูติค อินน์ (กรุงเทพฯ)
โรงแรมบัดดี้ โอเรียลทอล ริเวอร์ไซด์ ปากเกร็ด (นนทบุรี)
โรงแรม บัดดี้ โอเรียลทอล สมุย บีช รีสอร์ท และมาร์โคโปโล โฮสเทล (กรุงเทพฯ)
ในระยะสั้นยังไม่มีแผนลงทุนเพิ่ม แต่ก็เตรียมมองหา
โลเกชั่นเพื่อขยายการลงทุน มองที่พัทยา และ ภูเก็ต เป็นหลัก
เพราะ 2 พื้นที่ดังกล่าว เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของต่างชาติ
ที่เดินทางมาประเทศไทย โดยเน้นที่ตั้งที่เป็นโลเกชั่น
สะดวก มีระบบสาธารณูปโภค พร้อมสรรพ
http://teetwo.blogspot.com/2010/11/blog-post_17.html
พล.ต.ท.จรัมพร เปิดเฟซบุ๊ก เผยภาพชุด 13 ภาพ
คดีปอร์เช่ชนฟอร์จูนเนอร์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน
จากเหตุการณ์อุบัติเหตุชนสยองระหว่าง
รถปอร์เช่ชนท้ายรถฟอร์จูนเนอร์
เข้าอย่างจังบนโทลเวย์ขาออก ช่วงบริษัท เดลินิวส์
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
จนเป็นเหตุให้ นายไทฟ้า ชยวรประภา อายุ 54 ปี
เจ้าของโรงแรมบัดดี้ วิลเลจ คนขับรถปอร์เช่
และ พ.ต.ศักดิภัทร ปทุมารักษ์ ผู้ขับรถโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์
เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ
เมื่อวันที่ 27 เมษายน เวลา 00.30 น.
ล่าสุดวานนี้ (17 พฤษภาคม)
ในเฟซบุ๊กของ พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.)
https://th-th.facebook.com/PoliceNews1
ได้นำภาพคดีดังกล่าวมาเรียบเรียงรวมทั้งสิ้น 13 ชิ้น
ซึ่งเป็นการรวมรวบหลักฐาน และเหตุการณ์ทั้งหมด
โดยเฉพาะภาพในกล้องวงจรปิดถึง 16 ตัว
ที่ระบุเวลาในการขับรถแต่ละคันในที่จุดเกิดเหตุ
และคำนวณความเร็วของรถแต่ละคัน นอกจากนี้
ยังได้ลำดับเหตุการณ์ ระบุว่า สามารถจับความเร็วคงที่ได้
ตั้งแต่กล้องตัวที่ 3
รถที่เกิดเหตุทั้ง 3 คันขับมาในเลนเดียวกัน คือ เลนกลาง
เริ่มต้นโดยรถฟอร์จูนเนอร์ขับมาด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมงจากนั้น รถปอร์เช่ขับตามมาด้วยความเร็วสูงถึง 280
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
และชนท้ายฟอร์จูนเนอร์ด้วยลักษณะเสย
ทำให้รถปอร์เช่เบี่ยงไปทางซ้าย
ส่วนรถฟอร์จูนเนอร์นั้น แรงกระแทกทำให้รถขวางเลนเอาไว้
ต่อมารถมาสด้าที่ขับมาด้วยความเร็วร้อยกว่า ๆ ขับตามมา
และไม่เห็นไฟท้าย
จึงชนรถฟอร์จูนเนอร์เข้าอย่างจัง
และรถฟอร์จูนเนอร์ก็กระเด็นไปอีกทิศทางหนึ่ง
เป็นเหตุให้คนขับรถปอร์เช่ และฟอร์จูนเนอร์
เสียชีวิตทันที อย่างไรก็ตาม
พล.ต.ท.จรัมพร ยังได้เผยภาพซากรถรถปอร์เช่และ
โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์พร้อมกับอ้างอิงข้อกฎหมายว่า
ห้ามขับรถยนต์ขณะเมาสุราเพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่
ประชาชนทุกคน เนื่องจากผู้เสียชีวิตทั้งสองคนนั้น
พบแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
พล.ต.ท.จรัมพร เปิดเฟซบุ๊ก เผยภาพชุด 13 ภาพ
คดีปอร์เช่ชนฟอร์จูนเนอร์ เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน
จากเหตุการณ์อุบัติเหตุชนสยองระหว่าง
รถปอร์เช่ชนท้ายรถฟอร์จูนเนอร์
เข้าอย่างจังบนโทลเวย์ขาออก ช่วงบริษัท เดลินิวส์
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
จนเป็นเหตุให้ นายไทฟ้า ชยวรประภา อายุ 54 ปี
เจ้าของโรงแรมบัดดี้ วิลเลจ คนขับรถปอร์เช่
และ พ.ต.ศักดิภัทร ปทุมารักษ์ ผู้ขับรถโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์
เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ
เมื่อวันที่ 27 เมษายน เวลา 00.30 น.
ล่าสุดวานนี้ (17 พฤษภาคม)
ในเฟซบุ๊กของ พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.)
https://th-th.facebook.com/PoliceNews1
ได้นำภาพคดีดังกล่าวมาเรียบเรียงรวมทั้งสิ้น 13 ชิ้น
ซึ่งเป็นการรวมรวบหลักฐาน และเหตุการณ์ทั้งหมด
โดยเฉพาะภาพในกล้องวงจรปิดถึง 16 ตัว
ที่ระบุเวลาในการขับรถแต่ละคันในที่จุดเกิดเหตุ
และคำนวณความเร็วของรถแต่ละคัน นอกจากนี้
ยังได้ลำดับเหตุการณ์ ระบุว่า สามารถจับความเร็วคงที่ได้
ตั้งแต่กล้องตัวที่ 3
รถที่เกิดเหตุทั้ง 3 คันขับมาในเลนเดียวกัน คือ เลนกลาง
เริ่มต้นโดยรถฟอร์จูนเนอร์ขับมาด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมงจากนั้น รถปอร์เช่ขับตามมาด้วยความเร็วสูงถึง 280
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
และชนท้ายฟอร์จูนเนอร์ด้วยลักษณะเสย
ทำให้รถปอร์เช่เบี่ยงไปทางซ้าย
ส่วนรถฟอร์จูนเนอร์นั้น แรงกระแทกทำให้รถขวางเลนเอาไว้
ต่อมารถมาสด้าที่ขับมาด้วยความเร็วร้อยกว่า ๆ ขับตามมา
และไม่เห็นไฟท้าย
จึงชนรถฟอร์จูนเนอร์เข้าอย่างจัง
และรถฟอร์จูนเนอร์ก็กระเด็นไปอีกทิศทางหนึ่ง
เป็นเหตุให้คนขับรถปอร์เช่ และฟอร์จูนเนอร์
เสียชีวิตทันที อย่างไรก็ตาม
พล.ต.ท.จรัมพร ยังได้เผยภาพซากรถรถปอร์เช่และ
โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์พร้อมกับอ้างอิงข้อกฎหมายว่า
ห้ามขับรถยนต์ขณะเมาสุราเพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่
ประชาชนทุกคน เนื่องจากผู้เสียชีวิตทั้งสองคนนั้น
พบแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
พล.ต.ท.จรัมพร สุระมณี
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผช.ผบ.ตร.)
แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊คกรณีเกิดอุบัติเหตุ
รถปอร์เช่ รุ่น 911 จีที2ชนรถโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์
และรถมาสด้า 2 บนโทลล์เวย์ขาออก
ช่วงหน้าอาคารที่ทำการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
เป็นเหตุให้นายไทฟ้า ชยวรประภา อายุ 54 ปี
เจ้าของโรงแรมบัดดี้ วิลเลจ
คนขับรถปอร์เช่ เสียชีวิต พร้อม พ.ต.ศักดิภัทร ปทุมารักษ์
บุตรชายนายชาญชัย ปทุมารักษ์
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผู้ขับรถโตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน เวลา 00.30 น.
ทั้งนี้พล.ต.ท.จรัมพร
เสนอแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
บนโทลล์เวย์ซ้ำซากใน3แนวทาง ด้วยกัน
1) การป้องกันอันตรายจากรถ / วัสดุ ตกจากถนนยกระดับ :
เนื่องจากกำแพงขอบทางของโทลล์เวย์สูงประมาณ 1 เมตร
ออกแบบไว้รองรับความเร็วการจราจรในเมืองหรือ
City Limit (80 กม./ชม.)
...แต่ปัจจุบันผู้ใช้โทลล์เวย์มักใช้ความเร็วสูงเกินกว่าที่กำหนด
จึงควรยกระดับรั้วขอบทาง (Guard Rail) ให้สูงขึ้น
เพื่อกันรถตกลงไปด้านล่างเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
2) จัดให้มีระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ :
เรื่องนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
สั่งการหน่วยเกี่ยวข้องให้ดำเนินการเพื่อ
ป้องปรามผู้ขับรถเร็วแนวเดียวกับ
ระบบการใช้กล้องจับความเร็ว
(Red Light Camera)
จะมีการส่งหมายเรียกไปยังบ้านผู้ฝ่าฝืน ให้มาเสียค่าปรับ
3) จัดให้มีสายด่วนบริการขับรถส่งบ้าน (Car Service)
หรือโครงการ “คุณเมาเราขับ”
เป็นแนวทางการจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร
หรือเจ้าหน้าที่องค์กรสาธารณประโยชน์
ที่ผ่านการฝึกอบรมเพื่อให้บริการขับรถ
นำบุคคลที่มีแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกำหนด
(50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ -mg%) ส่งที่หมาย
โดยคิดค่าบริการอย่างเหมาะสม
เป็นธรรม ผ่านสายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ที่จำได้ง่าย
"ไม่ได้ส่งเสริมคนเมา..
แต่เป็นการมุ่งรักษาชีวิตและทรัพย์สิน
ของเหยื่อความเมา"พล.ต.ท.จรัมพรระบุในเฟซบุ๊ค
พล.ต.ท.จรัมพรระบุถึงแนวทางการสอบสวนคดีซิ่งชน
บนโทลล์เวย์ว่า
การแสวงหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์เหตุการณ์
ต้องนำหลักวิชาทางวิทยาศาสตร์
และผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขามาบูรณาการเพื่อให้
ได้คำตอบและเกิดความเป็นธรรมทุกคดีต้องดำเนินการด้วย
ความรวดเร็วมีจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ
และปราศจากอคติใดๆ จึงจะเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือศรัทธา
"ข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิสูจน์ทราบทางวิทยาศาสตร์
กรณีรถชนบนโทลล์เวย์
เป็นเพียงส่วนหนึ่งในองค์ประกอบ
ของสำนวนการสอบสวนทั้งนี้การนำเสนอข้อเท็จจริง
ดังปรากฎก็เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน
โดยมิก้าวล่วงต่อดุลยพินิจของ
พนักงานสอบสวน อุทธาหรณ์ของเหตุการณ์นี้ผู้เกี่ยวข้อง
ต้องแสวงหาแนวทางป้องกันและ แก้ไข"
พล.ต.ท.จรัมพรโพสต์ในเฟซบุ๊ค
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.จรัมพรโพสต์
ความเห็นทั้งหมดนี้ลงในเฟซบุ๊ค
พร้อมกับนำภาพเหตุการณ์การ สอบสวน
และวิเคราะห์หาสาเหตุของเหตุการณ์ซิ่งชนสยองบนโทลล์เวย์
ดังที่"มติชน ออนไลน์"นำเสนอ
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 55 ที่ผ่านมา