Custom Search

May 2, 2012

ปูมชีวิต 'กรณ์ จาติกวณิช' กว่าจะมาเป็นรัฐมนตรี 'หล่อโย่ง'


โดย รุ่งโรจน์ วรรณศูทร





 




  

 


ไกรศรี จาติกวณิช นักบุกเบิกแห่งกระทรวงการคลัง
สายสกุลข้างบิดา
 
ต้นตระกูลทางฝ่ายบิดาของ นายกรณ์ จาติกวณิช เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาตั้งรกรากในประเทศสยาม กรณ์มีเชื้อสายดัชท์ แต่เกิดที่กรุงลอนดอน และเดินทางกลับมาประเทศไทยตั้งแต่อายุ 3 ปี และปักหลักเป็นชาวกรุงเทพมหานครมาจนถึงปัจจุบัน ยายเป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยขณะที่ย่าเป็นคนเหนือจาก จังหวัดลำปาง

นามสกุล "จาติกวณิช" หรือ "Chatikavanij" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 1211 ที่พระราชทานแก่พระอธิกรณประกาศ (หลุย) เจ้ากรมกองตระเวณในขณะนั้นโดยระบุว่าพระอธิกรณประกาศมีปู่คือ พระอภัยวานิช (จาด) และเนื่องจากเป็นสกุลพ่อค้าจีงมีคำว่า "วณิช" ในนามสกุล

ปู่ ของนายกรณ์คือ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช หรือ ซอเทียนหลุย) ได้เข้ารับราชการและดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีกรมตำรวจคนที่ 2 ของไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีในสภากรรมการองคมนตรี ในวันที่ 4 เมษายน 2466 สมัยรัชกาลที่ 7 พระยาอธิกรณ์ประกาศมีภรรยา 2 คน โดยคุณหญิงองุ่น อธิกรณ์ประกาศ ภรรยาคนแรก มีบุตรชาย คือ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช คุณหญิงเสงี่ยมภรรยาคนที่สองมีบุตรธิดารวม 6 คน คือ นายเกษม จาติกวณิช, นายเกษตร จาติกวณิช, นางโกศล จรัลชวนะเพท, นายไกรศรี จาติกวณิช, นางสาวโกสม จาติกวณิช และ นางสาวโกสัลดิ์ จาติกวณิช

พระยาอธิกรณ์ประกาศรับ ราชการในตำแหน่งสูงสุดเป็น อธิบดีกรมตำรวจภูธร (ปัจจุบันคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2472 เงินเดือน 1,100 บาท ตราบจนกระทั่งการอภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2475 จึงถูกพักราชการ ถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2475 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ปลดออกราชการ รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ มีอายุราชการได้ 33 ปี 7 เดือน 18 วัน

ใน ช่วงก่อนเกิดกบฏบวรเดชฝ่ายที่ยังคงจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว และระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เริ่มเคลื่อนไหวโดยมีการประชุมหารืออยู่บ่อยครั้ง แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวหาได้เล็ดรอดไปจากการเฝ้าสังเกตจับตาโดยคณะราษฎร แต่อย่างใด และเพื่อเป็นการปรามแนวคิดที่จะก่อการยึดอำนาจคืนจากคณะราษฎร พันโท หลวงพิบูลสงคราม ทำหนังสือไปถึงคณะบุคคลที่กำลังเคลื่อนไหวกันอย่างเป็นความลับนั้น ดังมีใจความว่า

".....ในฐานะที่ข้าพเจ้า เป็นผู้รับผิดชอบรักษาความสงบเรียบร้อย จึงขอเตือนให้ท่านจงสงบจิตสงบใจ หากท่านยังจุ้นจ้านอีก คณะราษฎร์ตกลงจะทำการอย่างรุนแรง และจำต้องถือเอาความสงบของบ้านเมืองเป็นกฎหมายสูงสุดในการทำแก่ทาน ที่กล่าวมานี้มิใช่เป็นการขู่เข็ญ แต่เป็นการเตือนมาด้วยความหวังดี"

คำ ขาดที่ว่านี้มีไปถึงบุคคลที่คิดก่อการ ดังเช่น พระองค์เจ้าบวรเดช, พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์, หม่อมเจ้าวงศ์ เนรชร, หม่อมเจ้าไขแสง ระพีพัฒน์, หม่อมเจ้าโสภณ ภาราไดย์, พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช), พระศราภัยพิพัฒน์ (เลื่อน ศราภัยวานิช) ทุกพระองค์และทุกคนพากันเข้าพบหลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ที่วังปารุสกวันเพื่อเคลียร์ตัวเอง เว้นพระองค์เดียว คือ พระองค์เจ้าบวรเดช

สำหรับ นายไกรศรี จาติกวณิช บิดาของนายกรณ์เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน กับ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและ ดร.อำนวย วีรวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากรและกรมสรรพากรอดีตผู้อำนวยการสำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท ผาแดงอินดัสทรี้ส์จำกัด ที่เป็นผู้นำในวงการอุตสาหกรรมทองแดงของไทย อีกด้วย ปัจจุบัน นายไกรศรีดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมีจำกัด (มหาชน) หรือ TCCC ที่เป็นบริษัทปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ชั้นนำรายหนึ่งของประเทศไทย

ลุง คนแรก คือ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช สมรสกับ ท่านผู้หญิงสุมาลี (ยุกตะเสวี) จาติกวณิช บุตรสาวของ หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ (สิระ ยุกตะเสวี) อดีตอธิบดีกรมโยธาเทศบาลในสมัยรัฐบาล พอ.อ.สฤษดิ์ กับ คุณหญิงยุกตเสวีวิวัฒน์ (ถนอมศรี ยุกตะเสวี) มีบุตรสาว 1 คน คือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับคุณหญิงกษมาสมรสกับหม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ บุตรีของนางจิตราวรวรรณ ณ อยุธยา (พี่สาวคนที่ 4 ของนายอานันท์ ปันยารชุน) กับ หม่อมเจ้าโวฒยากรวรวรรณ พระโอรสองค์ที่ 20 ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

ลุงอีกคนคือ นายเกษม จาติกวณิช หรือ "ซูเปอร์เค" เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ว่าการคนแรกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเป็น ประธานรถไฟฟ้า BTS เป็นเพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนเซ็นต์สตีเฟ่นฮ่องกงกับนายพิชัย รัตตกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายเกษมสมรสกับคุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (ล่ำซำ) ผู้บริหารกลุ่มล็อกซเล่ย์ ในระหว่างเป็นผู้ว่าการ กฟผ.นายเกษมได้รับการทาบทามให้ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ แต่นายเกษมได้ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าตำแหน่งที่ กฟผ. สำคัญกว่า ต่อมาในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายเกษมได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และในรัฐบาลเกรียงศักดิ์ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษานายกฯ หลังจากลาออกจาก กฟผ. นายเกษมได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารรัฐวิสาหกิจในคราวเดียวกันถึง 4 แห่งคือเป็นกรรมการอำนวยการไทยออยล์, ประธานกรรมการบางจากปิโตรเลียม, ประธานกรรมการบริษัทปุ๋ยแห่งชาติและประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร แบงก์เอเชียทรัสต์

นายไกรศรีสมรสกับ นางรัมภา จาติกวณิช (นามสกุลเดิม พรหโมบล) มีบุตรชายสองคน คือ นายกรณ์ และน้องชาย คือ นายอนุตร จาติกวณิช ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันมาก ขนาดที่มีคนจำผิดมาแล้วมากมาย

สายสกุลข้าง
มารดา

นาง รัมภาเป็นบุตรีลำดับที่ 11 ในจำนวนบุตรและบุตรี 19 คนของ พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) ต้นสกุล "พรหโมบล" (เขียนเป็นตัวอักษรโรมันว่า Brahmopala) เพราะท่านเป็นผู้ขอและได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2457 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 1404

พระยาบุ เรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) (30 เมษายน 2424 - 30 มกราคม 2509) เกิดที่อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2424 เป็นบุตรของ นายขำ และนางบุญรอด ซึ่งสืบเชื้อสายโดยตรงจากราชตระกูลเวียงจันทน์ (เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์) โดยนายขำเป็นหลานตาของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ มีมารดาชื่อ เจ้าหนูจีน เป็นธิดาลำดับที่ 18 ในจำนวน 23 คน ของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อพระเจ้าอนุรุทราชถูกถอดถอนจากการเป็นกษัตริย์ลาว และถึงแก่พิราลัยเมือ พ.ศ. 2371 แล้ว บุตร ภริยา บริวารที่ถูกกวาดต้อนควบคุมตัวมาจากเวียงจันทน์ ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ลงพระราชอาญาแก่ผู้ใด ดังนั้น บุตร ธิดา ของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ก็แตกกระจายพลัดพรากกันไป แต่มีญาติทางฝ่ายลาวที่ครอบครัวของพระยาบุเรศผดุงกิจได้ติดต่อโดยใกล้ชิด สมัยเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ มีอยู่ 2 คน คือ เจ้าคลี่ (บุตรคนที่ 7 ของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ บิดาของเจ้าจอมมารดาดวงคำในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระราชธิดาเป็นหญิง 2 พระองค์) และ เจ้าเสือ (บุตรคนที่ 9 ของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ มีบุตรคือเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ เจ้าผู้ครองเมือง "อุบลราชธานี" และมีศักดิ์เป็นลุงของพระยาบุเรศผดุงกิจ)

พระ ยาบุเรศผดุงกิจสมัครเป็นตำรวจ เพราะพี่เขยซึ่งเป็นสามีพี่สาวคนโตทั้งสองคนคือ นางปลั่ง และนางผ่อง ซึ่งเป็นภริยาตำรวจ โดยปี 2441 เริ่มรับราชการในตำแหน่งพลตำรวจเสมียน พลตระเวนประจำสถานีตำรวจนครบาลสามยอด และตำแหน่งสูงสุด คือ ได้รับแต่งตั้งเป็น อธิบดีกรมตำรวจ สืบต่อจาก พลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2475

ชีวิตวัยเรียน

 
http://teetwo.blogspot.com/2008/12/blog-post_1397.html


ทั้ง กรณ์ จาติกวณิช และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถือกำเนิดในตระกูลเก่าแก่ มีบรรพบุรุษทางบิดาเป็นชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศสยามทั้งนามสกุล "จาติกวณิช" และ "เวชชาชีวะ" ต่างก็เป็นนามสกุลพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ 6

บิดา ของทั้งคู่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในระดับประเทศ ทั้งกรณ์และอภิสิทธิ์เกิดในประเทศอังกฤษในปี 2507 ต่อมาทั้งคู่กลับมาเข้าเรียนหนังสือระดับประถมศึกษาที่ประเทศไทยเหมือนกัน กรณ์กลับไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุ 11 ปี ขณะที่อภิสิทธิ์ก็กลับไปเรียนต่ออังกฤษในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยอภิสิทธิได้เข้าเรียนมัธยมที่โรงเรียนอีตันส่วนกรณ์เรียนที่โรงเรียนวินเชสเตอร์ (Winchester College) ซึ่งเป็นโรงเรียนคู่แข่งกัน

ต่อมา อภิสิทธิ์และกรณ์ได้มาเรียนด้วยกันที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด และมีโอกาสรู้จักสนิทสนมกัน ต่อมาอภิสิทธิ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ส่วนกรณ์ก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเดียวกันด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2

หลัง จากสำเร็จการศึกษากรณ์และอภิสิทธิ์ได้แยกย้ายกันไปทำงานแตกต่างกัน โดยอภิสิทธิ์ทำงานเป็นอาจารย์ส่วนกรณ์ทำงานในสายการเงิน แต่ทั้งคู่ยังมีความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอีกเมื่อกรณ์แต่งงานเนื่องจากนางวรกร จาติกวณิช ภรรยาของกรณ์เป็นญาติกับอภิสิทธิ์ นามสกุลเดิมของเธอคือสูตะบุตร เช่นเดียวกับมารดาของอภิสิทธิ์ นอกจากนี้ภรรยาของกรณ์ยังสนิทกับงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ที่เป็นพี่สาวของอภิสิทธิ์อีกด้วย

สายสกุลข้าง
ภรรยา

http://teetwo.blogspot.com/2009/01/blog-post_17.html

นาง วรกร จาติกวณิช เป็นบุตรีของ นายประการ สูตะบุตร ซึ่งมีพี่น้อง 3 คน คือ นายประเทศ, นายประมุท (อดีตผู้อำนวยการคนแรกของ "องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย" หรือ อ.ส.ม.ท. ตั้งแต่ปี 2520 ในรัฐบาลหอยของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และอยู่ในตำแหน่งนานถึง 8 ปี จนถึงรัฐบาลคณะรัฐมนตรีชุดที่ 43 นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีและประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) นายประการ สมรสกับ ม.ร.ว.มัลลิกา วรวรรณ หลานตาของหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากรกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเขียน

นาง วรกรผ่านการสมรสมาแล้วกับหนุ่มพนักงานการบินไทย นายกฤษณะพงษ์ มหาเปารยะ บุตรชายของนายพงษ์เทพ มหาเปารยะ อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้หย่าขาดจากกันโดยฝ่ายหญิงได้สิทธิผู้เลี้ยงดูบุตรชาย 2 คน นายพงศกรและนายพันธิตร แต่เพียงผู้เดียว

นายกรณ์และนางวรกรมีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ ด.ญ.กานต์ (แจม) และ ด.ช.ไกรสิริ (จอม)

ใน ที่สุดทั้งอภิสิทธิ์และกรณ์ได้เข้าสู่วงการเมือง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกันและได้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารพรรคด้วย กันในเวลาต่อมา และล่าสุดอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะที่กรณ์เพื่อนรักดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง