Custom Search

Apr 7, 2011

โทษของการดื่มสุรา


แอลกอฮอล์นั้น นักเคมีเรียก ethyl alcohol หรือ ethanol (CH3CH2OH) แอลกอฮอล์ธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลงเหลือจากการหมัก มนุษย์เรารู้จักแอลกอฮอล์มานานนับพันปีแล้ว ในรูปแบบของเหล้าองุ่น เบียร์ และนํ้าผึ้ง ในสมัยคริสต์ศตวรรษ ที่ 16 นักกายวิภาคศาสตร์ชื่อ Vesalius ได้ตรวจพบว่า คนที่ดื่มแอลกอฮอล์มากมักจะเป็นโรคร้ายนานาชนิดที่สําคัญๆ ได้แก่ โรคตับวาย เป็นต้น

คนติด สรุายาเมามักจะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย

มะเร็งกระเพาะ ตับแข็งและเส้นเลือดในสมองแตก คนขับรถที่เมามักจะขาดพลังควบคุมสติสัมปชัญญะ ทําให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หญิงมีครรภ์ที่ดื่มแอลกอฮอล์จะแท้งลูกในท้อง หรือหากไม่แท้งทารกที่คลอดออกมาจะมีร่างกายและสติปัญญาที่บกพร่อง

ภัยอันตรายทั้งหลายเหล่านี้ทําให้แพทย์สรุปได้ว่า แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสําคัญอันดับสองรองจากบุหรี่ที่ทําให้คนเราเสียชีวิตก่อนถึง

เวลาอันควร

งานวิจัยของ Pakhen Erg แห่ง Neurological Research Laboratory ที่เดนมาร์ก ฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet ประจําเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ได้ชี้ให้เห็นว่า แอลกอฮอล์มิได้ฆ่าหรือทําลายเซลล์ประสาทในสมองแต่อย่างใด มันเพียงแต่ทําให้เนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทเหล่านั้นเสื่อม สมรรถภาพเท่านั้นเอง เขาพบ

ว่า จํานวนเซลล์เนื้อเยื่อในสมองของคนติดเหล้าจะน้อยกว่าจํานวนเซลล์เนื้อเยื่อในสมองของคนไม่กินเหล้า 11%
และในสมองส่วนที่ทําหน้าที่จํานั้น จํานวนเซลล์เนื้อเยื่อสมองของคนติดเหล้าน้อยกว่าของคนที่ไม่ติดเหล้า 80%
กลไกการออกฤทธิ์ต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

การออกฤทธิ์ของสุรา คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าสุรานั้นจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายเมื่อถูกดูดซึมเข้า กระแสเลือดเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วมันออกฤทธ์ทำลายตั้งแต่อวัยวะแรกที่สำผัสจนตลอดตามเส้นทาง เดินของ

สุราที่ผ่านเข้ามาในร่างกาย ซึ่งสามารถอธิบายตามลำดับขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้

1.ปากและลำคอ

เมื่อสุราเข้าปากและลำคอจะไปออกฤทธิ์ต่อผิวอวัยวะภายในช่องปากทำให้เกิด การระคายเคืองชิ้นเยื่อบุที่ละเอียดอ่อนในปากและหลอดอาหาร มักมีอาการร้อนซู่เมื่อผ่านลงไป

2.กระเพาะอาหารและลำไส้ สุราเมื่อผ่านลงสู่กระเพาะจะมีผลกับผนังชั้นนอกสุดที่เป็นชั้นที่จะปก ป้องกระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ถ้าอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

เกิดอาการอักเสบของเยื่อบุชั้นในสุดของผนังหรือกระเพาะอาหารหรืออาจทะลุ ลำไส้เล็กได้ นอกจากนั้นสุรายังเป็นอุปสรรคกับการดูดซึมอาหารบางชนิด เช่น วิตามินB1, กรดโฟลิก ,ไขมัน วิตามินบี6,วิตามินบี 12 และกรดอะมิโนต่าง ๆ

3.กระแสเลือด ร้อยละ95 ของสุราที่เข้าสู่ในร่างกาย จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด โดยผ่านเยื่อบุในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนดูโอดีนั่มอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงกระแสเลือดจะเข้าไปในเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ

ในร่างกายอย่างรวดเร็ว แอลกอฮอล์ทำให้เซลล์ของเลือดเกาะเป็นก้อนเหนียว การไหลเวียนจึงช้าลง และปริมาณออกซิเจนลดต่ำลงด้วย สุราทำให้โลหิตจาง โดยจะไปลดการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ความเม็ดเลือดขาวทำลายแบคทีเรียช้าลง และทำให้การแข็งตัวของเกล็ดเลือดช้าลงด้วย

4. ตับอ่อน แอลกอฮอล์จะทำให้เซลล์ของตับอ่อนระคายเคือง และบวมขึ้น สุราทำให้การไหลของน้ำย่อยไม่สามารถที่จะเข้าไปในลำไส้เล็กได้ ทำให้น้ำย่อยย่อยตัวตับอ่อนเอง ทำให้เกิดเลือดออกอย่าง

เฉียบพลันและการอักเสบของตับอ่อน พบว่า 1ใน5 จะเสียชีวิตไปในครั้งแรก เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน การสร้างอินซูลินขาดหายไป และทำให้เป็นเบาหวานในที่สุด

5. ตับ แอลกอฮอล์มีอิทธิพลต่อเซลล์ของตับ ทำให้เกิดการบวม ทำให้น้ำดีซึมผ่านไปทั่วตับ เป็นเหตุให้ตัวเหลือง รวมทั้งส่วนขอบตาและผิวหนังเป็นสีเหลืองด้วย ทุกครั้งที่ดื่มสุรานั้น เซลล์ของตับจะถูก

ทำลายเป็นผลให้ตับแข็ง การเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับมีถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา

6. หัวใจ แอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจบวม ทำให้เกิดเป็นพิษกับหัวใจมีการสะสมของไขมันมากขึ้น และทำให้การเผาผลาญช้าลงไปด้วย


7. กระเพาะปัสสาวะและไต แอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะบวม ทำให้ไม่สามารถยืดได้ตามปกติ การระคายเคืองของไตทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น


8. ต่อมเพศ ต่อมอัณฑะจะบวม ทำให้ความสามารถทางเพศลดลง


9. สมอง เป็นอวัยวะที่ไวต่อฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ซึ่งเห็นได้ชัดเจน ก่อให้เกิดพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง


9.1 พิษแบบเฉียบพลัน ได้แก่ Alcoholic intoxication แบ่งออกเป็นพิษในระดับมากน้อยแตกต่างกันไป ตามระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดดังนี้

ระดับแอลกอฮอล์ (มิลลิกรัม/100มิลลิลิตร)
30 mg% - ทำให้เกิดการสนุกสนานร่าเริง
50 mg% - เสียการควบคุมการเคลื่อนไหว
100 mg% - แสดงอาการเมาให้เห็น เดินไม่ตรงทาง
200 mg% - เกิดอาการสับสน
300 mg% - เกิดอาการง่วงซึม
400 mg% - เกิดอาการสลบ และอาจถึงแก่ชีวิตได้

9.2 พิษเรื้อรัง

แอลกอฮอล์มีพิษโดยตรงต่อสมอง ทำให้เซลล์สมองเสื่อม ในผู้ติดสุราพบว่ามีการฝ่อลีบของสมองส่วนคอร์เทกซ์ ซึ่งจะมีผลต่อการเสื่อมทางจิตด้วยหลายประการ เช่น ขาดความรับผิดชอบ ความจำเสื่อม เมื่อเป็นมากเกิดประสาทหลอน หูแว่ว หลงผิด หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง และแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท โดยกดศูนย์ควบคุมระบบต่าง ๆ เช่นกดศูนย์หายใจและศูนย์ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตในสมอง ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้