Custom Search

Apr 1, 2011

๒ เมษายน ๒๕๕๔



ทรงพระเจริญ





ดร.สุเมธ เล่าวิธีทรงงานของ"สมเด็จพระเทพฯ" ไขเบื้องหลังแบรนด์"ภัทรพัฒน์"

มติชน
วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2554


แม้”ภัทร พัฒน์“(PAT PAT) จะเป็นผลิตภัณฑ์
ที่เพิ่งเกิดได้แค่ 2 ปีกว่า

แต่ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง

ทำให้มูลนิธิชัยพัฒนาผู้รับผิดชอบ ที่มี
”ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล” เป็นเลขาธิการ

เป็นปลื้มเพราะได้ช่วยชาวบ้านให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

อันเป็นไปตามพระราชประสงค์ของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

องค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา
ซึ่งพระองค์ท่
านพระราชทานชื่อ”ภัทรพัฒน์”
ดร.สุเมธ ย้อนถึงสาเหตุที่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ทรง
ตั้งแบรนด์”ภัทรพัฒน์“ว่า
เนื่อง จากสินค้าของชาวบ้านมีจุดอ่อน 2 – 3 ประการ
คือเมื่อผลิตออกมาแล้วมีปัญหาตลาด
อีกทั้งมาตรฐานอะไรต่างๆ ก็ไม่มีการควบคุม ประเด็นที่ 2

ที่เป็นจุดอ่อนคือเรื่องแพคเกจจิ้ง หีบห่ออาจจะไม่ดึงดูดนัก
และยุคนี้เรื่องแบรนเป็นเรื่องสำคัญ สินค้าดีไม่ดีพอแบรนด์ดี ๆ
ก็อาจจะไปได้ก็ได้
ฉะนั้นเลยเข้าไปแก้ปัญหาตรงนี้ให้กับชาวบ้าน

พูดง่าย ๆ ทางมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นตัวกลางแทนชาวบ้าน
และแทนที่จะเงินเข้ากระเป๋าก็นำเงินส่วนนั้น
ให้กับชาวบ้านที่ได้มูลค่าเพิ่มขึ้นไปอีก

ที่ผ่านมา สินค้าของ”ภัทรพัฒน์“ขายดีทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น
เสื้อยืด สินค้าแปรรูปทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ผ้า
หรือเครื่องจักรสาน ฯลฯ
บางอย่างผลิตไม่ทันความต้องการบของตลาด
เพราะเป็นวานแฮนด์เมดที่ต้องใช้เวลา
ซึ่งตอนนี้ข้าวของ”ภัทรพัฒน์“มีวางขายที่ห้างบิ๊กซีทุกสาขา

สมเด็จพระเทพฯทรงอยากให้ภัทรพัฒน์ทำอีคอมเมิร์ซ
เราก็ต้องพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ
ตอนนี้เราทำอยู่แต่ยังไม่เต็มรูปแบบ
เพราะเจ้าหน้าที่มูลนิธิน้อยมาก งานเต็มมือตลอด”
ดร.สุเมธบอกและว่า
แนวทางการพัฒนาภัทรพัฒน์เป็นรูปแบบง่าย ๆ

เพราะว่ามองสิ่งที่น่าสนใจไม่ใช่รูปแบบของร้าน
เนื่องจากรูปแบบร้านอาจจะมี
ภาระในเรื่องของการบริหารเรื่องของการจัดการมากขึ้น
ดังนั้นต่อไปอาจจะคิดให้มีรถเข็น เล็ก ๆ
มีกระจุกกระจิกทุกอย่างอยู่บนนั้น
ไปตั้งไว้ที่โน่นที่นี่แล้วแต่ใครหน่วยงาน
หรือองค์กรไหนจะเปิดโอกาสให้ภัทร พัฒน์ไปขาย

ใน ฐานะที่ดร.สุเมธเป็นผู้หนึ่งที่ติดตาม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ในวโรกาสที่เสด็จไปทรงงานตามที่ต่างๆ นานหลายสิบปี
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนายังทึ่งใน
พระมานะอดทนของและความตั้งพระทัยของ พระองค์ท่าน

“คำ ถามที่เราถามกันเองเหมือนกันว่าสมเด็จพระเทพฯ
ทรงเอาเรี่ยวแรงมาจากไหน เพราะเราเองก็เหนื่อย
คราวก่อนไปเชียงรายภาษาชาวบ้านเรียกหืดขึ้นคอแล้วไปบนภูเขา
พระองค์ท่านก็เหนื่อยไม่ใช่ไม่เหนื่อย
แต่ว่าสิ่งที่ทรงสนพระทัยงานที่จะต้องให้เสร็จ
แล้วชาวบ้านรอให้ช่วยเหลืออยู่แล้ว
ด้วยหน้าที่ด้วยเจตนารมย์อย่างแรงกล้า
เพราะไม่มีอะไรบังคับพระองค์ท่าน

ท่านอยากจะหยุดเมื่อไรอยากจะพักเมื่อไหร่ก็เป็นอิสระ
แต่ไม่ทรงเคยเลย มีแต่เติมงานขึ้นมา
เวลาช่องว่างบางทีเราหยุดถอนหายใจ
มีช่องว่างตรงนี้ พระองค์ท่านจะได้ทรงพัก
แต่พอว่างก็ทรงเติมงานเข้ามา
ทรงหาอะไรมาเติม
คือจะทรงทำให้มีงานอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งผมว่าน่าจะเป็นแบบอย่างให้กับพวกเรา

แท้ที่จริงสิ่งที่พระองค์ท่านทำให้เรา ทำให้ประเทศชาติในส่วนรวมดีขึ้น
เพราะเหตุไฉนเราจะอยู่เฉย ๆ
ธรรมชาติของพระองค์ท่านก็เป็นกันเองไม่ถือพระองค์
และสนพระทัยทุกเรื่อง และทรงตามเรื่องตลอด
ไม่ลืม ภาพที่เราเห็นพระองค์ท่านจะทรงบันทึกตลอดจำ
ซึ่งถ้าเราไม่รักอะไรเราก็ไม่จำ แต่พระองค์ท่านจำได้หมดเลย
ชื่อคนชื่อสถานที่ แสดงว่าพระทัยฝังอยู่ตรงนั้น
ใฝ่พระทัยตามติด ยากที่จะหาใครปฏิบัติอย่างพระองค์ท่านได้

ที่ผ่านมาใครทำงานผิดไปช้าไปพลาดไปก็ทรงดุบ้าง
เป็นเรื่องธรรมดาแต่ก็ไม่ได้ กริ้ว
อาจจะพระอารมณ์ขึ้นหน่อยหนึ่งแล้วก็ว่ากันใหม่
พระองค์ท่านไม่เคยเอาอะไรจากใคร ทรงให้ตลอด
เป็นธรรมชาติของพระองค์ท่าน
ด้วยเหตุนี้จึงทรงเป็นที่รักของประชาชนทั่วไป
แล้วบารมีอันนี้ก็ตกลงมาถึงพวกเราด้วย
ไปที่ไหนชาวบ้านชาวช่องก็ต้อนรับขับสู้

ผมอยู่ใกล้พระองค์ท่านก็ พลอยซึมซับไปด้วย
เราทำตามก็เป็นสิ่งที่ดี และเป็นที่รักใคร่ของผู้คน

พระองค์ ท่านสนใจทุกอย่างเกษตร วิทยาศาสตร์ สุดจะเจียรนัย
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเยอะมาก
ผมตามเสด็จมาตั้งแต่ปี 2524 รวม 30 -31 ปี
ก็สนุกดีได้เรียนรู้เยอะ
พระองค์ท่านมีพระอารมณ์ขันตลอดเวลา
ทรงงานเป็นธรรมชาติ”