Custom Search

Oct 19, 2010

สมคิด เลิศไพฑูรย์ ลอยลำ อธิการบดีคนใหม่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://teetwo.blogspot.com/2010/08/blog-post_8004.html
http://teetwo.blogspot.com/2009/09/blog-post_6589.html

สมคิด เลิศไพฑูรย์ ลอยลำ อธิการบดีคนใหม่
ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยม.ธรรมศาสตร์เลือกด้วยคะแนน 25 เสียง
มติชนออนไลน์
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553


ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ในช่วงเช้าวันที่ 18 ตุลาคม
มีการประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยมีวาระที่สำคัญคือ การเลือกอธิการบดี คนใหม่
แทน ดร. สุรพล นิติไกรพจน์
ที่จะพ้นวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 25 ตุลาคม ศกนี้

ผลการลงคะแนน ผลปรากฏว่า
ศ. ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 25 เสียง


ขณะที่ รศ. ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม ได้คะแนน 5 เสียง
และมีกรรมการ งดออกเสียง 1 คน
ส่วน รศ.กําชัย จงจักรพันธ์"
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้ถอนตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว


ก่อนหน้า ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ เปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่า
อาจารย์สมคิด เป็นเพื่อนของตนจริง
แต่ไม่ใช่ทายาทของตนเองแน่นอน
ไม่มีใครเป็นทายาทของใครได้ในธรรมศาสตร์
ส่วนตนเองจะกลับไปสอนกฎหมายที่คณะนิติศาสตร์
เช่นเดิม
สำหรับ วิสัยทัศน์ของ ดร.สมคิด
ในช่วงหาเสียงอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์
มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
"มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประกาศตัวว่า
เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย
ดังนั้นผมจึงอยากเห็นธรรมศาสตร์เน้นการวิจัย
เน้นวิชาการและพัฒนาให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ซึ่งคงต้องรับอาจารย์วุฒิปริญญาเอกเข้ามามากๆ
และมีอาจารย์ระดับศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และผู้ช่วยศาสตราจารย์ให้มากด้วย มธ.
จึงจะอยู่ได้ด้วยคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกศิษย์มีคุณภาพดีตามไปด้วย
ผมอยากให้ธรรมศาสตร์เป็นแหล่งชุมนุมของผู้มีความรู้
ทั้งอาจารย์ นักศึกษาและผู้ที่ต้องการเข้ามาใฝ่หาความรู้
ที่สำคัญผมอยากให้ธรรมศาสตร์
กลับไปเน้นจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์
คือผลิตบัณฑิตที่รักประชาธิปไตย
กล้าตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รักความเป็นธรรม
กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้อง"


"นักศึกษาเปรียบเหมือน เมล็ดที่ตกอยู่ที่ไหนก็จะงอกเงย
ช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
ผมอยากเห็นภาพนี้อีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่า
บรรยากาศการเมืองในธรรมศาสตร์หายไป
ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากไม่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีในท่าพระจันทร์
เพราะย้ายไปอยู่ที่ศูนย์รังสิตหมด
ตอนนี้ท่าพระจันทร์เงียบมาก
แทบจะไม่เห็นบรรยากาศทางวิชาการเหมือนในอดีต
ผมจึงมีความคิดที่จะย้ายนักศึกษาชั้นปี 1-2 และบางคณะ
เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน พาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นต้น
กลับมาเรียนที่ท่าพระจันทร์เหมือนในอดีต
เพราะท่าพระจันทร์เป็นจุดเริ่มต้นของ มธ.
เราต้องธำรงรักษาสถานที่และจิตวิญญาณของท่าพระจันทร์ตลอดไป
แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัยว่า
จะมีมติอย่างไร รวมทั้งจะต้องจัดสรรทรัพยากรให้ดี
โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนที่อาจจะต้องเดินทางระหว่าง
ท่าพระจันทร์กับรังสิต อย่างไรก็ตาม
คิดว่าประชาคมนักศึกษาคงไม่มีใครต่อต้าน
เพราะส่วนใหญ่ต้องการมาเรียนที่ท่าพระจันทร์กันทั้งนั้น"


"นอกจากนี้ ผมอยากให้ มธ.มีโรงเรียนธรรมศาสตร์วิทยานุสรณ์
ลักษณะเดียวกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
เพื่อผลิตเด็กเก่งด้านวิทยาศาสตร์ระดับชั้น ม.4-6
ป้อนให้กับ มธ. ตลอดจนจะปรับปรุง มธ.ให้ทันสมัย
ในเรื่องหอพักของนักศึกษาและบุคลากร
ผมได้ยินนักศึกษาบ่นเรื่องนี้กันมาก
ซึ่งคงต้องนั่งพูดคุยกับนักศึกษาว่า
ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร จะแก้ปัญหาด้วยวิธีใด
เรื่องหอพักบุคลากร มธ.ต้องจัดให้เพียงพอ
โดยถือว่าเป็นสวัสดิการและขวัญกำลังใจของทุกคน
ทั้งนี้ การที่ มธ.อยู่ที่รังสิตเราเสียเปรียบมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเมืองพอสมควร
แต่เราไม่ควรยอมรับสภาพ เราควรพัฒนาชีวิตนักศึกษาให้ดีขึ้น
ผมอยากให้นักศึกษาที่รังสิตมีชีวิตที่ดีแบบเดียวกับที่ท่าพระจันทร์
หาอาหารกินง่าย ปลอดภัย และราคาไม่แพง
มีห้องสมุดที่ดี มีห้องเรียนที่ทันสมัย
ผมคาดหวังว่า มธ.ในอนาคตจะต้องเป็นศูนย์รวมของผู้รู้ทางวิชาการ
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
เป็น University of creative incubator
และนำความรู้ดังกล่าวไปชี้นำสังคม
มีศักยภาพในการแข่งขันกับมหาวิทยาลัย
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และบุคลากรและนักศึกษา
สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน"


"ผม อยากจะให้ธรรมศาสตร์มีวัน sport day
เพราะธรรมศาสตร์อาจเป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่มี sport complex
สมบูรณ์ภายในมหาวิทยาลัย
เรามีศูนย์กีฬาที่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถดูแลอยู่
เราจึงควรส่งเสริมให้นักศึกษา
อาจารย์และเจ้าหน้าที่เล่นกีฬา
เหมือนกับหลายหน่วยงานที่กำหนดให้มีวัน sport day
ซึ่งกีฬาจะทำให้คนธรรมศาสตร์ไม่มีโรคภัย
ส่วนโรงพยาบาล มธ.ในอนาคต
จะต้องเป็นโรงพยาบาลด้านการวิจัยควบคู่ไปกับโรงพยาบาลรักษาคนไข้
ที่สำคัญจะต้องเพิ่มบุคลากรของโรงพยาบาลในด้านต่างๆ
ให้เพียงพอด้วย รวมทั้งเพิ่มการให้บริการแก่บุคลากรของเรา
ผมจะสนับสนุนเต็มที่ให้มีศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง
โดยแรกๆ อาจมีสัก 2-3 ศูนย์ เช่น
ศูนย์ความเป็นเลิศในการตรวจพิเคราะห์โรค
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสมุนไพร
และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
แล้วค่อยขยับขยายออกไปให้มากขึ้นในอนาคต
รวมทั้งควรมีศูนย์เครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์
เราต้องหางบประมาณมาทำเรื่องพวกนี้ให้ได้
ไม่เช่นนั้นแล้วงานวิจัยของ มธ.ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวะ
แพทย์คงไม่ก้าวไกล ศูนย์เครื่องมือที่อาจมีเช่น
เครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพและอณูชีววิทยา
ศูนย์เครื่องมือวิจัยด้านการวิเคราะห์เคมีและวัสดุศาสตร์
ศูนย์เครื่องมือด้านการวิจัยทางฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น"

"ผม อยากเห็น มธ.ศูนย์รังสิตในอนาคตเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ
ทั้งด้านวิชาการ คือมีครบทุกสาขา ด้านสังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์
และสาธารณสุข สมบูรณ์แบบด้านการวิจัย คือ
มธ.จะมีศูนย์เครื่องมือ มีศูนย์ความเป็นเลิศ
มีการจดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร พร้อมร่วมมือกับทั้งสถาบัน A.I.T.
และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
และมีความสมบูรณ์แบบด้านที่พักอาศัย
ที่สามารถรองรับทั้งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และนักศึกษาอย่างเพียงพอ สมบูรณ์แบบด้านสนามกีฬา
ที่มีสนามกีฬาทุกประเภท สมบูรณ์แบบด้านการแพทย์
โดยมีจุดเน้นเฉพาะทาง ซึ่งเราจะก้าวไปอย่างนั้นได้
ตัวอธิการบดีจะต้องทำงานหนัก วิสัยทัศน์ต้องชัดเจน
โดยมีคนใน มธ.ช่วยกันขับเคลื่อนไปข้างหน้า"

"สำหรับ มธ.ศูนย์ลำปางในอนาคตจะต้องดีขึ้น
ต้องพัฒนามากกว่าในปัจจุบัน
ทุกวันนี้แม้ว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังพัฒนาได้ไม่เท่าท่าพระจันทร์ และรังสิต
ผมจะพัฒนาให้ศูนย์ลำปางเป็นที่เชิดหน้าชูตาในภาคเหนืออย่างเต็มภาคภูมิ
เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านสังคมศาสตร์
ที่ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ที่สอดคล้อง กับสภาพพื้นที่
และวัฒนธรรมของชาวภาคเหนืออย่างแท้จริง
ส่วน มธ.ศูนย์พัทยา เราวางแผนให้เป็นศูนย์ด้านการฝึกอบรม
ศูนย์ด้านการปกครองท้องถิ่น และการเรียนการสอนระดับปริญญาโท
ซึ่งทิศทางนี้ถูกต้องแล้ว ผมจะขยายจำนวนห้องของโรงแรมเพิ่มขึ้น
ปรับปรุงด้านกายภาพ และส่งเสริมให้คณะที่จัดการเรียนการสอนอยู่แล้ว
ให้พัฒนาได้อย่างเต็มที่"
"ส่วน เรื่องการผลักดัน
มธ.ออกนอกระบบราชการนั้น
ขณะนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยทำมาตั้งแต่สมัย รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร เป็นอธิการบดี
เข้าใจว่ามีการทบทวนในระดับคณะ/มหาวิทยาลัย/สภามหาวิทยาลัยหลายครั้ง
และน่าจะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วด้วย
ซึ่งขณะนี้มีมหาวิทยาลัยจำนวนมากเปลี่ยนสถานภาพ
เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของ รัฐไปแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยบูรพา ฯลฯ
ดังนั้น การจะดำรงสภาพมหาวิทยาลัยในส่วนราชการต่อไป
อาจทำให้ธรรมศาสตร์ล้าหลังกว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้
แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสภาพไปแล้ว
ก็มีปัญหามากพอสมควร
ธรรมศาสตร์จึงต้องระมัดระวังกับการเปลี่ยนสภาพไปด้วย"