Custom Search

Aug 26, 2010

ศ. ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (ว่าที่) อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์คนใหม่

มติชนออนไลน์
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553


ทำความรู้จัก "ดร.สมคิด" (ว่าที่) อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์คนใหม่ เส้นทางและความใฝ่ฝัน

ถ้าไม่มีฟ้าผ่า!!!
ว่าที่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.)คนใหม่
น่าจะได้แก่ ศ.ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดี ฝ่ายการคลัง
ซึ่งจากผลการหยั่ง 3 ฝ่ายเมื่อไม่นานมานี้
ศ.ดร.สมคิด คว้าชัยมาได้ทั้งหมด 30 หน่วย
ที่คะแนน 1,722 คะแนน จากทั้งหมด 45 จุดเสนอชื่อแซงหน้าคู่แข่งอย่าง
ศ.ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม
และ รศ.ดร.กําชัย จงจักรพันธ์ อดีตรองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์
ไปได้ตามความคาดหมาย
และแม้ว่า การหยั่งเสียงดังกล่าวจะยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องฝ่าด่าน สภามหาวิทยาลัยอีกครั้ง
เพื่อชี้ขาดเป็นขั้นตอนสุดท้าย
แต่เชื่อว่า ชั่วโมงนี้ หลายคนคงอยากจะทำความรู้จัก
ว่าที่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โดมผู้นี้กันมากขึ้นอย่างแน่นอน
ถ้าอย่างนั้นมติชนออนไลน์ขอนำเสนอประวัติคร่าวๆของ ศ.ดร.สมคิด
หรืออาจารย์ตู่ ของเหล่านักศึกษา
รวมถึงขออนุญาตหยิบยกข้อมูลการแนะนำตัวของเขาต่อ
ลูกแม่โดมมานำเสนอมาให้ได้ทราบกัน
ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์
เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ที่กรุงเทพมหานคร
จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ใน พ.ศ. 2520
และคว้าปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อ พ.ศ. 2525 จากนั้นก็สำเร็จด้านเนติบัณฑิตไทย
พ.ศ. 2527
รวมถึงไปศึกษาต่อด้าน D.E.A. de droit public interne (Paris II, FRANCE)
และได้ประกาศนียบัตรว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น
จากสถาบัน IIAP. จากประเทศฝรั่งเศส
ด้านสถานะครอบครัว สมรสกับนางฉัตรแก้ว นิธิอุทัย
มีบุตรฝาแฝด 2 คน คือ ด.ช.ฐากร และ ด.ช.ฐากูร เลิศไพฑูรย์
ดร. สมคิด เริ่มรับรับราชการที่ มธ. เมื่อวันที่ 11 ตุลาค
ม 2526

ซึ่งจนถึงปัจจุบันเขาทำงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้ว 27 ปี
โดยตำแหน่งปัจจุบัน คือ รองอธิการบดี ฝ่ายการคลัง
และคณบดีคณะนิติศาสตร์ รวมถึงยังเป็น
ศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน ระดับ 1
0 คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ดร.สมคิด ได้เขียนไว้ในคำแนะนำตัวการสมัคร
เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เนื่อง
ด้วยที่เขามีความมั่นใจว่า เขามีความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์เพียงพอที่จะนำพามหาวิทยาลัยไปยังจุดหมายปลายทางที่ประชาคม ธรรมศาสตร์ตั้งความหวังไว้
"ผมภูมิใจในความเป็นธรรมศาสตร์ ไม่เคยคิดย้ายมหาวิทยาลัยไปอยู่ที่อื่น
แม้แต่ วินาทีเดียว ในวันที่รุ่นพี่รับเพื่อนใหม่
รุ่นพี่ถามถึงคำขวัญของธรรมศาสตร์
ผมตอบรุ่นพี่คนนั้นอย่างเต็มปากเต็มคำว่า
ที่ผมตั้งใจมาอยู่ธรรมศาสตร์เพราะ ผมรักธรรมศาสต
ร์
เพราะ “ธรรมศาสตร์สอนให้ผมรักประชาชน
สี่ปีที่ผมอยู่ในธรรมศาสตร์ในฐานะนักศึกษา
ผมไม่ได้พอใจแต่เพียงการสะสมความรู้ทางวิชาการกฎหมายเท่านั้น
นอกเหนือจากวิชาการที่อาจารย์ทั้งหลายได้สั่งสอน
ผมได้ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเข้มแข็งกับพรรคแสงธรรม
พรรคนักศึกษาที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น อมธ.ตลอดสมัยที่ผมเป็นนักศึกษา ผมได้ซึมซับจิตวิญญาณธรรมศาสตร์
จิตวิญญาณที่รักความ เป็นธรรม
กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้อง
กล้าท้าทายสิ่งใหม่ๆ ที่ดีที่งาม..."
ว่าที่อธิการบดี มธ. คนใหม่ระบุไว้เมื่อครั้งที่ ศ.ดร.สมคิด เข้ามาเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ในปี 2526
เขาก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์
ควบคู่ไปกับการสอนหนังสือ หลังจากนั้นเขาก็รู้สึกว่า
เป็น "หนี้"ธรรมศาสตร์ หลังจากถูกส่งไปเรียนปริญญาเอกด้วยทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
โดยใช้เวลา 5 ปี ที่มหาวิทยาลัยปารีส
เขาก็สามารถคว้าด๊อกเตอร์อองดัวร์กลับมาทำงานเพื่อใช้หนี้ธรรมศาสตร์เมื่อ อายุ 30 ปี
จากนั้นก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา
ของผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต
และผช.ศาสตราจารย์ ดร. พนม เอี่ยมประยูร
เป็นบรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์ เป็นประธานสภาอา
จารย์
เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและ
ให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TURAC)
คนแรก เป็นผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย
เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคลและกฎหมายเป็นประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นประธานกรรมการระเบียบและกฎหมายของมหาวิทยาลัย
และเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์คนปัจจุบัน
นอกจากงานของมหาวิทยาลัยและคณะนิติศาสตร์ดังกล่าวแล้ว
ศ.ดร.ยังได้รับเชิญจากหน่วยงานภายในธรรมศาสตร์
ให้ดำรงตำแหน่งอีกหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น
กรรมการสถาบัน SIIT กรรมการประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์
กรรมการประจำวิทยาลัยนวัตกรรม
กรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์
กรรมการบริหารสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคมกรรมการหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นที่ปรึกษาชุมนุมเทนนิสในอดีตและชุมนุมกรีฑาในปัจจุบัน
ซึ่งการได้ทำงาน "หลายหน้า" ในธรรมศาสตร์
ทำให้ ว่าที่อธิการมธ.ผู้นี้ เชื่อว่า
เขาเป็นคนที่เข้าใจและรู้จักธรรมศาสตร์มากที่สุดคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน
ประสบการณ์ดังกล่าวน่าจะนำไปผลักดันให้ธรรมศาสตร์ก้าวไปข้างหน้าได้อย่าง เต็มภาคภูมิ
ในทางกฎหมาย ศ.ดร.สมคิดได้รับโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(ต่อมาหน่วยงานนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็นศาลปกครอง)
ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
ในปี 2540 ,เลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2550
ในปัจจุบันยังได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10
ซึ่งเป็นแหล่งรวมนักคิดทางกฎหมายของประเทศ
ในทางการบริหารมหาวิทยาลัย ศ.ดร.สมคิดได้รับโปรดเกล้าฯ
เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทามหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์
และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาสถาบันพระปกเกล้า
เป็นผู้ก่อตั้งและรักษาการคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ส่วนบริหารวิชาการ
เป็นกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของมรภ.สวนสุนันทา
มรภ.ภูเก็ต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยทัก
ษิณ ฯลฯ
ภารกิจด้านอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศยังมีอีกหลายประการ เช่น
การเป็นกรรมการปฏิรูประบบราชการ กรรมการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจคือเป็นกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
จากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เรื่องกฎหมายการปกครองท้องถิ่น
ตำราเรื่องกฎหมายการปกครองท้องถิ่นที่ศ.ดร.สมคิดเขียนขึ้นในปี 2546 ซึ่งถือได้ว่า
เป็นตำรากฎหมายการปกครองท้องถิ่นที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย
ทำให้เขาได้รับโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชนเมื่อปี พ.ศ. 2547
ศ.ดร.สมคิด กล่าวถึงตัวเองเอาไว้
"ยี่สิบหกปีที่ผมอยู่ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ผมไม่เพียงแต่สอนหนังสือ ทำงานบริหาร
แต่ผมยังทำงานวิชาการด้วยการเขียนบทความ ตำรา
และงานวิจัยอีกเป็นจำนวนมาก (ตำราและหนังสือ 19 เล่ม
งานวิจัย 54 เรื่อง บทความ 126 ชิ้น) เพราะผมถือว่า
“งานวิจัยคือหัวใจของการพัฒนา” และ“งานวิชาการทำให้อาจารย์ไม่เป็นแก้วที่มีน้ำล้น”
สิ่งเหล่านี้สะท้อนได้จากการได้รับยกย่องจาก
ทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงาน ภายนอก เช่น
การได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขานิติศาสตร์ประจำปี 2541
จากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลชมเชยผลงานวิจัยสาขารัฐศาสตร์
และรัฐประศาสนศาสตร์ประจำปี 2546 จากสภาวิจัย
แห่งชาติ
รางวัลโครงการวิจัยดีเด่นด้านนโยบายสาธารณะ
ของคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับ สนุนการวิจัย
ประจำปี 2538 และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัย
ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3 ปีซ้อน
(2550 - 2552) "
การได้รับการยอมรับจากองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัยก็ทำให้
ศ.ดร.มีโอกาสผลักดัน ให้เกิดกฎหมายหลายฉบับที่เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540
รัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย
อำนาจ
ให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

งานวิจัยหลายชิ้นของว่าที่อธิการ มธ. คนใหม่
ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูประบบกฎหมายและการบริหารงานภาค
รัฐหลายกรณี เช่น การเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติประกอบรัฐ
ธรรมนูญ
การยกเลิกงบพัฒนาจังหวัด
การเกิดขึ้นของคณะกรรมการพิทักษ์
ระบบคุณธรรมในกฎหมาย ก.พ. ฉบับใหม่ พ.ศ. 2550
การปรับปรุงยกฐานะวิทยาลัยชุมชนให้มีความเป็นอิสระ
อย่างแท้จริงตามร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยชุมชนฉบับใหม่ที่กำลังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา

นี่คงเป็นส่วนหนึ่งที่พอจะเป็นเครื่องยืนยันและการันตีได้ว่า
"ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์" เหมาะสมด้วยคุณสมบัติครบถ้วน
และคับไปด้วยการเป็นคนคุณภาพแบบเน้นๆ ที่จะนั่งเก้าอี้อธิการบดีมาหวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนต่อไปอย่างแท้จริง

*******************************

ตำแหน่งปัจจุบัน

* คณบดีคณะนิติศาสตร์ และศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน
ระดับ 10 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ประธานกรรมการบริหารสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่
อประชาธิปไตย
* กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 และคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
* รองประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
* กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
และกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระปกเกล้า
* อกพ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ สำนักงาน ก.พ.
* อนุกรรมการเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และจรรยา
บรรณ
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
* อกพร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการจัดและพัฒนาระบบโครงสร้างราชการ
และ อกพร. วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐสำนักงาน ก.พ.ร.
* คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทย
าลัยราชภัฎสวนสุนันทา
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฯลฯ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และรางวัลที่ได้รับ
* มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.),ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.),
ประถมาภรณ์มงกฎไทย (ป.ม.),จตุตถดิเรกคุณาภรณ์
(จ.ภ.)
* เหรียญจักรพรรดิมาลา
* รางวัลโครงการวิจัยดีเด่นด้านนโยบายสาธารณะของคณะกรรมการ
นโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี 2538
* รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขานิติศาสตร์ ประจำปี 2541 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
* รางวัลชมเชยผลงานวิจัยสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศ
าสนศาสตร์ประจำปี 2546 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
* รางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2550 – 2552)
* ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2550

ผลงานทางวิชาการ
ตำราและหนังสือ 19 เล่ม
* กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
* กฎหมายรัฐธรรมนูญ : หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540* ตุลาการรัฐธรรมนูญ
* รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน : ข้อสังเกตพร้อมเชิงอรรถเรียงมาตรา
* คำบรรยายกฎหมายการคลังและภาษีอากร
* สิทธิและเสรีภาพของประชาชน
* กฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
* การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผ
นและ
ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
* การปกครองส่วนท้องถิ่น
* การปกครองท้องถิ่นประเทศฝรั่งเศส
* คำอธิบายกฎหมายการคลัง พร้อมด้วยภาคผนวกรวม
กฎหมายการคลังและการงบประมาณ
* การตรวจสอบนักการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับปั
จจุบัน
* การตรวจเงินแผ่นดิน
* หลักการใหม่ในกระบวนการการนิติบัญญัติ
* รวมบทความกฎหมายการปกครองท้องถิ่น
* รวมบทความกฎหมายการคลังและงบประมาณ (บรรณาธิการ)
* ศาลปกครอง (บรรณาธิการ)* รวมกฎหมายปกครอง (บรรณาธิการ)
* รวมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายสำคัญ
ที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (บรรณาธิการ)
งานวิจัย 54 เรื่อง

* ระยะเวลาหนึ่งปีของงบประมาณ เสนอต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกับบทบัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่น
งานวิจัยเสริมหลักสูตร เสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.)
ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และรางวัลโครงการวิจัยดีเ
ด่นโดยสำนักงานกองทุนสนับ สนุนการวิจัย, 2538
* แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น (วิจัยร่วม)
เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา
* การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาประชาธิปไ
ตย : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบล (วิจัยร่วม)
เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541
* งบพัฒนาจังหวัดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
* คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับคดีปกครอง เสนอต่อส
ถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541
* การจัดการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ ศึกษากรณีจังหวัดภูเก็ต (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541
* ความเหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแผนการดำเนินงานในการโอนกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครเสนอต่อกระทรวงคมนาคม (วิจัยร่วม) (งานวิจัยดีเด่นด้านนิติศาสตร์ ของสภาวิจัยแห่งชาติปี พ.ศ.2540)
* Education Management and Financing in Thailand (วิจัยร่วม) เสนอต่อ UNESCO
* เขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264
และมาตรา 266 (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2543
* Medium Term Recovery Strategy Assessment and Recommendations :
NESDB’s Ninth Plan Strategies (วิจัยร่วม) เสนอต่อ
National Economic and Social Development Board and Asian Development Bank, 2543
* การคลังรัฐบาลเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพและสร้
างความเป็นธรรมในสังคม (วิจัยร่วม), 2544
* สถานภาพและบทบาทของราชการบริหารส่วนภูมิภาคในอนาคต (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อสถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2544
* แนวทางพัฒนากฎหมายในบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอให้เอื้อต่อประสิทธิภาพการบริหารราชการส่วนภูมิภาค, 2544
* งานวิจัยกฎหมายข้อมูลข่าวสารทางปกครองของ
ประเทศฝรั่งเศส เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2545
* การเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิจัยร่วม)
เสนอต่อกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2545 (โครงการวิจัยร่วมกันระหว่างไทย
และญี่ปุ่น ภายใต้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA))
* การจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหา
ชน (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, 2545
* ประสิทธิผลของรัฐสภาไทย (วิจัยร่วม) ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสถาบันพระปกเกล้า, 2546
* การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอาศัยกลไกของ
สำนักงานคลังเขตและสำนักงานคลังจังหวัด (หัวห
น้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง, 2546
* ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายที่
เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, 2546
* การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญ (วิจัยร่วม)
โดยศูนย์การศึกษาพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยา
ลัยธรรมศาสตร์, 2546
* การพัฒนาการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐาน
การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2546
* การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการ
ดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล (วิจัยร่วม)
สนับสนุนทุนการวิจัยโดยสำนักงาน ป.ป.ช. และ The United States Agency for International Development, 2546
* โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดสภาพความเป็นนิติบุคคลของส่วนราชการ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), 2547
* การศึกษาสภาพปัญหา แนวทางการปรับปรุงรูปแบบการบริหาร และแนวทางการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุย (วิจัยร่วม)
เสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, 2547
* โครงการศึกษาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2547
* โครงการศึกษาเพื่อทบทวนกระบวนการทำงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา
และแนวทางที่พึงปฏิบัติในอนาคต (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2548* คณะตุลาการรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศส เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2548
* ข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เสนอต่อสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย, 2548
* การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการสาธารณะที่เ
ชื่อมโยงระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น (วิจัยร่วม)
เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2549
* แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างและระบบการทำงานสำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)เสนอต่อสำนักงานประกันสังคม, 2549
* โครงการศึกษาเพื่อวางระบบวิธีพิจารณาด้านพิทักษ์ระบบคุณธรรมและดำเนินการ
เพื่อออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ ร้องทุกข์ ร้องเรียน
และเตรียมความพร้อม (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2549
* ศึกษาและจัดทำพระราชบัญญัติวิทยาลัยชุมช
น เสนอต่อสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน, 2549
* โครงการวางระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับคณะกรรมการ (ก.พ.ค.) และเตรียมความพร้อมในการสรรหาคณะกรรมการ ก.พ.ค.
และองค์คณะวินิจฉัย (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2549
* ศึกษาเพื่อพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการงบปร
ะมาณในบระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์ในเชิงนโยบาย (Agenda)
มิติโครงสร้างหน้าที่ (Function) และมิติพื้นที่ (Area) (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงบประมาณ, 2549
* พัฒนาเครือข่ายศูนย์ความรู้สาธารณะด้านก
ารจัดการทุนมนุษย์ (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2549
* เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะ รวมทั้งเสริมสร้างระบบงานติดตามและประสานงานเกี่ยวกับความเห็น
และข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เสนอต่อคณะ รัฐมนตรี (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549
* แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา เสนอต่อสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549
* ศึกษาวิจัย วิเคราะห์ และปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิจัยร่วม) เสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2550
* พัฒนาระบบบริหารงานและศักยภาพของคณะกร
รมการและผู้บริหารระดับสูง เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2550
* ศึกษาวิจัยเพื่อยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยธรรมาภิบาลทางการคลังที่ดี เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2550
* เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้นำการบริหารก
ารเปลี่ยนแปลง (Chief Change Officer : CCO)
เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2550
* การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่รัฐ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง, 2550
* การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของส
ภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 2 (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550
* การศึกษาวิจัยกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ (วิจัยร่วม) เสนอต่อกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2550
* โครงการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของท้อง ถิ่น (วิจัยร่วม)เสนอต่อกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2551
* การศึกษาทัศนคติของสังคมต่อศาลยุติธรรมภายหลังการแยกศาลยุติธรรมออก จากกระทรวงยุติธรรม (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)เสนอต่อสำนักงานศาลยุติธรรม, 2551
* การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
หรือการกระทำของบุคคลตามรัฐธรรมนูญซึ่งเสนอโดยศาลหรือผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา เสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2551* โครงการศึกษาวิจัยเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อรองรับการ
ดำเนินงานของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2551
* การถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ของรัฐให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอต่อสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรร
มศาสตร์, 2551
* โครงการวิจัยประเมินผลสัมฤทธิ์ขององค์การมหาชน (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2551
* โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบและแนวทางการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรณีศึกษาเปรียบเทียบแนวทางของต่างประเทศ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2551* โครงการระบบบริหารราชการแผ่นดินเพื่อการจัดการงบประมาณในระบบงบประมาณแบบ
มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในเชิงมิติพื้นที่ (Area) (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงบประมาณ, 2552


บทความในวารสารทางวิชาการ 59 ชิ้น
* วุฒิสภาไทย เพื่อประชาธิปไตยหรือเพื่อใคร ?, รพี, 2528
* งบประมาณขององค์การปกครองท้องถิ่นในประเทศฝรั่งเศส วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2531* การควบคุมรัฐวิสาหกิจโดยศาลบัญชีในประเทศฝรั่งเศส วารสารนิติศาสตร์, กันยายน 2531
* ข้อความคิดเกี่ยวกับการควบคุมกำกับทางปกครอง ใน 60 ปี ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ รวมบทความเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ, 2532
* ข้อสังเกตบางประการในทางกฎหมายเกี่ยว
กับคำว่า “ภาษี” วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2532
* รายได้จากภาษีขององค์การปกครองท้องถิ่นในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (แปล) วารสารอัยการ, พฤศจิกายน 2532
* องค์กรวิชาชีพ วารสารอัยการ, พฤศจิกายน 2532
* การควบคุมกำกับทางปกครอง (แปล) วารสาร
อัยการ, ธันวาคม 2532
* ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “องค์การมหาชนอิสระ” วารสารนิติศาสตร์, ธันวาคม 2532
* นิติกรรมทางตุลาการ วารสารกฎหมายปกครอง เล่ม 9, เมษายน 2533
* การก่อตั้งหรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดขององค์กรปกครองท้องถิ่น วารสารนิติศาสตร์, มิถุนายน 2533* หลักแห่งความได้สัดส่วน (แปล) วารสารนิติศาสตร์, ธันวาคม 2533
* การควบคุมกำกับของรัฐเหนือองค์กรปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย วารสารกฎหมายปกครอง, เมษายน 2534
* รัฐธรรมนูญกับบทบัญญัติเรื่องการกระจายอำนาจ
วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช, กรกฎาคม 2534
* ปัญหาการนำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุมาใช้กับสัมปทาน บริการสาธารณะ, รพี 34
* ทฤษฎีว่าด้วยหนี้สาธารณะ วารสารนิติศาสตร์, กันยายน 2534
* การสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารด้วยการบัญญั
ติเรื่องวุฒิสภาไว้ใน บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ จุลสารไทยคดีศึกษาฉบับพิเศษ, ธันวาคม 2534
* องค์กรที่ปรึกษาในประเทศฝรั่งเศส (แปล) วารสารกฎหมายปกครอง, กรกฎาคม 2535
* การปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน วารสารนิติศาสตร์, กรกฎาคม 2535
* ศาลรัฐธรรมนูญ ข่าวเนติบัณฑิตยสภา, สิงหาคม 2535
* องค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในประเทศไ
ทย ในรวมบทความทางวิชาการ
เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม พ.ศ. 2535
* ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาทางปกครอง รพีสาร, ตุลาคม – ธันวาคม 2535
* หลัก “ระยะเวลาหนึ่งปีของงบประมาณ” ในกฎหมาย
การคลัง วารสารนิติศาสตร์, ธันวาคม 2535
* กระบวนการวินิจฉัยสั่งการของฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์
และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2536
* การปรับปรุงประกาศของคณะปฏิวัติ รพีสาร เมษายน - มิถุนายน 2536
* ความคืบหน้าของการปรับปรุงประกาศของคณะปฏิวัติ รพีสาร, กรกฎาคม - กันยายน 2536
* การจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในคณะกรรมการกฤษฎีกา รพีส
าร มกราคม – มีนาคม 2537
* การจัดตั้งสำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด รพีสาร, เมษายน – กันยายน 2537
* จากสภาตำบลสู่สภาตำบลนิติบุคคล รพีสาร, กรกฎาคม – มิถุนายน 2537
* สภาตำบลนิติบุคคลและองค์การบริหารส่วนตำบล วารสา
รนิติศาสตร์, กันยายน 2537
* การรวมกลุ่มขององค์การปกครองท้องถิ่นเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ
เอกสารนิทรรศการสัมมนาฝรั่งเศส - ไทย เรื่องการปกครองท้องถิ่น, ธันวาคม 2537
* ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศฝรั่งเศส รพีสาร, มกราคม - มีนาคม 2538
* หลักการใหม่ๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รพีสาร, มกราคม – มีนาคม 2538
* พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศส ใน
อาจาริยบูชา
รวมบทความทางวิชาการแด่ ศ.ไพโรจน์ ชัยนาม, มีนาคม 2538
* กระบวนการนิติบัญญัติในประเทศฝรั่งเศส เอกสารประกอบการอบรม
เรื่องรัฐสภาและกระบวนการนิติบัญญัติเปรียบเทียบ สถาบันพระปกเกล้า วันที่ 22 มีนาคม 2538
* เขต (arrondissement) ในปารีส ลียอง และมาเซย์
(แปล) วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2538
* รัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปการเมือง รพี 38
* กระบวนการงบประมาณแผ่นดินในประเทศฝรั่งเศส วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2539
* การรวมกลุ่มขององค์การปกครองท้องถิ่น เพื่อจัดทำบริการสาธารณะ : สหการ วารสารนิติศาสตร์, มิถุนายน 2539* ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ : สิ่งใหม่ๆ ในร่างรัฐธรรมนูญ วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2540
* กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วารสารนิติศาสตร์, กันยายน 2540
* สถานะทางกฎหมายของสภาตำบลนิติบุคคล ในรวมบทความเนื่องในโอกาสครบรอบ 84 ปี
ศ.ดร.ประยูร กาญจนดุล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2540
* การคลังท้องถิ่น : ทัศนะในทางกฎหมายมหาชน วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2541
* การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในรวมสาระรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มติชน, มิถุนายน 2541
* รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2541
* หลักการใหม่ในกระบวนการนิติบัญญัติ สารานุกรมฉบับชาวบ้าน สถาบันพระปกเกล้า, 2542
* การปกครองส่วนท้องถิ่น สารานุกรมฉบับชาวบ้าน สถาบันพระปกเกล้า, 2542
* เทศบาลในประเทศฝรั่งเศส นิติสยามปริทัศน์, 2543
* รัฐธรรมนูญในอุดมคติของปรีดี พนมยงค์ เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ
เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของ ศ.ดร.ปรีดี พ
นมยงค์, 2543
* หลักความเสมอภาค วารสารนิติศาสตร์, มิถุนายน 2543
* การเมืองของรัฐกับการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เอกสารประกอบการสัมมนาของสถาบันพระปกเกล้า
* 3 ปี แห่งการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นตามบทบั
ญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 เอกสารประกอบการสัมมนา “สามปีแห่งการปฏิรูปการเมือง : ปฏิรูปได้แค่ไหน?”, 2543
* การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ใน นรนิติ เศรษฐบุตร 60 ปี กีรติยาจารย์, 2544* ภาษีมรดก วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 2, มิถุนายน 2544
* การควบคุมและตรวจสอบ Double Standard ที่กระทำโดยหน่วยงานของรัฐ ในอาจาริยบูชา
รวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 72 ปี ศาสตราจารย์ดร.อมร จันทรสมบูรณ์, 2545
* คดีทางปกครองที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกสารประกอบการประชุมใหญ่
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 46, 2546
* การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศไ
ทย รพี 46

* คดี ป.ป.ช. : มิชอบด้วยกฎหมาย Vs ไม่ชอบด้วยกฎหมาย วารสารศาลรัฐธรรมนูญ ปีที่ 7 เล่มที่ 21 กันยายน–ธันวาคม 2548 *
รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง กฎหมายทั้งหลายสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่ www.pub-law.net 23 พฤศจิกายน 2549
บทความอื่นๆ อีก 67 เรื่อง เช่น
* งบพัฒนาจังหวัดปัญหาในทางกฎหมายการคลังและกฎหมายรัฐธรรมนูญ สยามโพสต์ 17 สิงหาคม 2537
* แผนแม่บทกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ฐานสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับที่ 181 วันที่ 11 - 17 ตุลาคม 2540
* การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ฐานสัปดา
ห์วิจารณ์ ฉบับที่ 225 วันที่ 15 - 21 สิงหาคม 2541
* ดูการเมืองฝรั่งเศสแล้วย้อนดูปฏิรูปการเมืองไทย วัฎจักร ฉบับที่ 3782 วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2540
* มหาวิทยาลัยไทยกับการฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ วัฎจักร 28 สิงหาคม พ.ศ. 2540
* การแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน มิติใหม่ของนักการ
เมืองไทย วัฎจักร 9 ตุลาคม พ.ศ. 2540
* คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีไทยที่ถูกใจประชาชน วัฎจักร 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
* รัฐธรรมนูญภาคพิสดารว่าด้วยชาวนากับงูเห่า วัฎจักร 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
* โรคทุจริตรักษาไม่หายจริงหรือ? กรุงเทพธุรกิจ เมษายน 2553 ฯลฯ
ประสบการณ์การทำงาน
งานสอน
* อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายการคลังและภาษีอากร กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายปกครอง
กฎหมายภาษีทรัพย์สินและความ
มั่งคั่ง และกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น)
* อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บรรยายวิชาการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ
สัมมนาการเมืองการปกครองของไทย และรัฐธรรมนูญพิสดาร)
และคณะวารสารศาสตร์ (บรรยายวิชาสั
มมนากฎหมายและจริยธรรมของสื่อสารมวลชน)
* อาจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยบูรพา โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ
* อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิ
ทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยพายัพ
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วิทยาลัยรัตนบัณฑิต

งานบริหารในธรรมศาสตร์* คณบดีคณะนิติศาสตร์
* รองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคลและกฎหมาย
* ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU–RAC)
* ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาส
ตร์
* บรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์
* กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ประธานกรรมการบริหารสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย
* ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ประธานคณะกรรมการพิจารณาระเบียบและหลั
กเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน
* กรรมการประจำคณะนิติศาสตร์และคณะสาธารณสุขศาสตร์
* กรรมการประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม วิทยาลัยนวัตกรรม
* กรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์
* หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์* ผู้อำนวยการโครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์

งานภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและอุดมศึกษา
* คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย
* กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาสถาบันพระปกเกล้า
* คณะกรรมการบริหารงานพนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ
* กรรมการยกร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลั
ยทักษิณ
* กรรมการบริหารหลักสูตรของวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
* ประธานคณะกรรมการวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
* คณะกรรมการวิชาการสถาบันพระปกเกล้า
* เลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
* อนุกรรมการกองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียน
เอกชน
* อนุกรรมการจัดทำและบริหารหลักสูตรกฎหมายปกครองสำหรับวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ
* อนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
* อนุกรรมการเกี่ยวกับอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และจรรยาบรร
ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
* กรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
* กรรมการเสนอรูปแบบและกระบวนการในการจัดสรรทรัพยากรและการลงทุน เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

งานด้านกฎหมายและนิติบัญญัติ
* กรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 10 และกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
* กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะกรรมการกฤษฎีกา
* ที่ปรึกษากฎหมายนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานรัฐสภา* สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชน พ.ศ. 2540
* เลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
* กรรมการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาทางปกครอง
* ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการคลังการธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร
* กรรมการพิจารณาปรับปรุงประกาศของคณะปฏิวัติ
และประกาศหรือคำสั่งอื่นในลักษณะเดียวกัน
* กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
* คณะกรรมการศึกษาการจัดตั้งสำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด รัฐสภา
* คณะทำงานและอนุกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา
* คณะอนุกรรมการศึกษาพิจารณาเรียบเรียงบทบัญ
ญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย
* ผู้เชี่ยวชาญกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
* คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการปฏิรูปงบประมาณของคณะกรรมาธิการนโยบายและติดตามผล

งานงบประมาณรายจ่ายประจำปี สภาผู้แทนราษฎร* ผู้เชี่ยวชาญประจำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาลรัฐธรรมนูญ
* กรรมการปรับปรุงกฎหมายการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น
* คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติพระราชบัญญัติของรัฐสภา
* อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบราช
การ สำนักงาน ก.พ.
* คณะกลุ่มงานด้านกฎหมาย สำนักงานปฏิรูปการศึกษา
* อนุกรรมการกฎหมายและระเบียบ ป.ป.ช.
* อนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อปฏิรูประบบราชการ
* อนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตามการปฏิรูประ
บบงบประมาณ
* ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร
* อนุกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
* กรรมการกฎหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
* ประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
* กรรมการปฏิรูปการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา สำนักงานเลขาธิก
ารรัฐสภา

งานบริหารอื่นๆ
* กรรมการปฏิรูประบบราชการ
* กรรมการและประธานอนุกรรมการกฎหมาย การทางพิเศษแห่
งประเทศไทย
* คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของข้าราชการองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาลและเมืองพัทยา และพนักงานส่วนตำบล
* คณะอนุกรรมการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น คณะกรรมการปรับปรุงระบบบริหารการปกครองท้องถิ่น* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
* คณะกรรมการพัฒนาระบบกระจายอำนาจและการมอบอำนาจระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
และส่วนท้องถิ่นคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ
* กรรมการอำนวยการตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผ
นและขั้นตอนการกระจายอำนาจ กรุงเทพมหานคร
* ที่ปรึกษาสมาคมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
* ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการบริหารสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
* อนุกรรมการด้านการถ่ายโอนบุคลากรและอำนาจหน้าที่
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
* คณะทำงานพิจารณาปรับโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งระบบ
* อนุกรรมการจัดทำคู่มือผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
* คณะอนุกรรมการองค์กรกลาง
* คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกระจายอำนาจการบริหาร คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดิน
* คณะอนุกรรมการฝ่ายมาตรการป้องกันและวางแผน คณะกรรม
การ ป.ป.ป.
* เลขานุการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
* เลขานุการและกรรมการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาการเมือง
* คณะกรรมการสถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
* คณะอนุกรรมการพิจารณาการคัดค้านการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้ง
* ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานศาลปกครอง* กรรมการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาการเมือง
* อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ สำนักงาน ก.พ.
* อนุกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์ของพนักงาน/ลูกจ้าง บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)* คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน
* อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
* อนุกรรมการเฉพาะกิจจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อลดช่องว่างทางการคลังฯ
* กรรมการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุข
สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ