Custom Search

Aug 21, 2010

"จาง ซิ่น" : กับวิถีเศรษฐกิจจีน จาก "สาวโรงงาน" สู่ "เศรษฐีพันล้าน"

ปิยมิตร ปัญญา piyamitara@gmail.com
มติชน
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553



จาง ซิ่น




วิถีของปัจเจกบุคคล ย่อมแตกต่างอย่างใหญ่หลวงกับวิถีแห่งประเทศ ทั้งในแง่ของขนาดและความสลับซับซ้อน ด้วยนัยดังกล่าว วิถีของปัจเจก จึงเพียงสะท้อนได้แต่ในบางแง่มุมของวิถี แห่งประเทศหนึ่งประเทศใดออกมาได้ เท่านั้น ด้วยนัยเดียวกัน วิถีของปัจเจกกับ วิถีของประเทศหนึ่งประเทศใด จึงยากที่จะสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว แต่ความข้อนี้ย่อมมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึง ก้าวย่างในชีวิตของคนอย่าง "จาง ซิ่น"
จาง ซิ่น ลืมตาดูโลกในช่วงเวลาที่จีน กำลังตกอยู่ท่ามกลางกระแส "ปฏิวัติวัฒนธรรม" อันเป็นยุคที่สังคมจีนสับสนอย่างถึงที่สุดยุคหนึ่ง เมื่อเธอตัดสินใจตามมารดาออกไปดิ้นรนเอาชีวิตรอด และพยายามกำหนดอนาคตตัวเอง ที่ฮ่องกงนั้น สังคมจีนก็ถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ เมื่อ "เติ้ง เสี่ยว ผิง" ประกาศการทดลองทางสังคมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ของโลก นั่นคือการนำระบบเศรษฐกิจ "ทุนนิยม" มาใช้ ภายใต้การกำกับอย่างเข้มงวดของรัฐ และพรรคสังคมนิยม-การดิ้นรนเอาชีวิตรอด ในขนาดที่ขยายใหญ่ขึ้นมาเป็นระดับรัฐ ระดับประเทศ ตอนที่ จาง ซิ่น ซึมซับเอาทุนนิยมตะวันตก เข้าสู่ตัวเองเต็มรูปแบบใน มหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ และ เคมบริดจ์ ในประเทศอังกฤษนั้น ระบบตลาดเสรีภายใต้กรอบสังคมนิยมในจีน ก็แสดงให้เห็นถึงผลของการดูดซับเอา ประสบการณ์และรูปแบบตลาดทุนนิยมออกมา ในรูปของการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างก้าว กระโดดและต่อเนื่อง เดือนมีนาคม ปีนี้ ชื่อ "จาง ซิ่น"
ติดอยู่ในอันดับมหาเศรษฐีพันล้าน ของโลกของ ฟอร์บส์
มิถุนายน ปีเดียวกันนี้ ฟอร์บส์ ยกย่องเธอให้เป็น 1 ใน 10 อภิมหาเศรษฐีสตรีของโลก ที่สร้างฐานะขึ้นมาด้วยตัวเอง


อู๋ ย่าจุน, ซิ่น ลี่ หอเกิ้น, ฉู ลัมยิ่ว
ระบุเอาไว้ว่ามูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด
ของเธออยู่ที่ 2,000 ล้านดอลลาร์ น่าสนใจที่ กลางเดือนสิงหาคมถัดมา ขนาดของเศรษฐกิจจีนที่ริเริ่มทดลองโดยเติ้ง เสี่ยว ผิง เมื่อกว่า 30 ปีก่อน เติบใหญ่มีมูลค่าที่วัดกันด้วย ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นเป็นเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ขนาดของเศรษฐกิจจีนในเวลานี้ ขยายตัวใหญ่โตกว่าเมื่อปี 1978
ที่เติ้ง เสี่ยวผิง เริ่มวางเดิมพันไว้มากกว่า 90 เท่าตัว และอาจบางที ในท่ามกลาง ความทันสมัย มั่งคั่ง ที่รายล้อม จาง ซิ่น และจีนทั้งประเทศ อาจเผชิญสิ่งเดียวกันอยู่ในเวลานี้


หยัน เฉิง, ฉาน ไหลหว่า, เหล่ย จูฟ่าง
ความแปลกแยกในตัวเองและ ความไม่แน่นอนในอนาคตข้างหน้าว่าจะลงเอยอย่างไรกัน! จาง ซิ่น เกิดเมื่อปี 1965 พ่อกับแม่เป็นชาวจีน ที่อพยพกลับประเทศมาจากพม่า เพราะศรัทธาในความหวังอันเรืองรองว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีนจะนำพา ซึ่งความสุข สันติ และรุ่งโรจน์มาให้คนสามัญอย่างพวกเขา ทั้งคู่ลง เอยด้วยการกลายเป็นล่ามให้กับทางการ เป็นปากเป็นเสียงแทนคนอย่าง "เหมา เจ๋อ ตุง" และ "โจว เอิน ไหล" ฝันเรืองรองมลายหมดสิ้น เมื่อการปฏิวัติวัฒนธรรมมาถึง ครอบครัวถูกจับแยกย้ายไปคนละทิศ จาง ซิ่น กับแม่ ลงเอยด้วยการกลายเป็น "ปัญญาชนผู้รับใช้ชนชั้นแรงงาน" ในชนบทอย่าง เหอหนาน แม่หอบหิ้ว จาง ซิ่น ออกมาถึงฮ่องกงได้ในปี 1979 ในสภาพตัวเปล่าๆ ใช้ชีวิตอยู่ในห้องเล็กๆ ขนาดพอบรรจุเตียงสองชั้นได้สองเตียง ที่เธอกับแม่ต้องพักอาศัยอยู่ร่วมกับ ครอบครัวอื่น 5 ปีเต็มที่ จาง ก้มหน้าก้มตาทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ อย่างน้อย 12 ชั่วโมงต่อวัน อยู่ในโรงงานเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในฮ่องกง เธอเย็บแขนเสื้อ ปก เข้าซิป และประกอบชิ้นส่วนแปลกตา ซ้ำๆซากๆ เหนื่อยล้า และไร้ความคิดอ่านใดๆ เว้นเสียแต่ความมุ่งมั่นในการไล่ล่าดอลลาร์ เข้ามาเก็บสะสมในกระเป๋าให้มาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้ "มันเหมือนไร้ชีวิตจิตใจ พูดง่ายๆ ว่า คุณย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกโรงงานหนึ่งแล้วก็อีก ตามแต่ว่าใครจะจ่ายเงินให้คุณเพิ่มมากขึ้นอีกนิดหน่อยเท่านั้น" อายุ 19 จาง เก็บหอมรอมริบได้มาก สำหรับค่าเครื่องบินเที่ยวเดียวไปยังกรุงลอนดอน เหลือเงินอีกเล็กน้อยไว้ยังชีพ ระหว่างเรียนภาษาอยู่ที่โรงเรียนฝึก เลขานุการิณีแห่งหนึ่ง แต่เธอไม่ได้มาลอนดอนเพียงเพื่อเรียนภาษา อังกฤษ สำหรับจาง ประเทศอังกฤษคือโอกาส และเธอไม่ยอมปล่อยทุกโอกาสให้หลุดมือ ดิ้นรนจนสามารถได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จากที่นั่นเมื่อปี 1991 เท่านั้นไม่พอ จาง ซิ่น ยังผลักดันตัวเองจนจบปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา จากมหาวิทยาลัยอย่างเคมบริดจ์ในปีถัดมา แบ ริ่งส์ ธนาคารเพื่อการลงทุนหรือวาณิชธนกิจ ที่มีฐานอยู่ในลอนดอนว่าจ้างเธอแทบจะทันทีให้ทำหน้าที่ นักวิเคราะห์การแปรรูปวิสาหกิจของรัฐในจีน แผนกของจาง ถูกขายกิจการให้กับ โกลด์แมน แซคส์ ไม่นานหลังจากเธอเริ่มงานได้ไม่มากมายนัก สภาพแวดล้อมของการทำงานแบบ "วอลล์สตรีท" ไม่เอื้อให้เธอติดอยู่กับมันเนิ่นนานนัก จาง ตัดสินใจผละออกมาในโอกาสแรกที่มีในปี 1994 และหลังจากลองเปลี่ยนไปทำงานกับ บริษัทท่องเที่ยวขนาดใหญ่อยู่ชั่วประเดี๋ยว ประด๋าว จาง ซิ่น ตัดสินใจกลับมาตุภูมิ "ที่วอลล์สตรีท ค่านิยมทุกอย่างดูเหมือนกลับตาลปัตรไปหมด ผู้คนพูดจาหยาบคาย งี่เง่า ปฏิบัติต่อคนอื่นเลวร้ายได้ไม่มีขีดจำกัด ความยากจนถือเป็นเรื่องต้องหยาม แน่นอน ความรวย ความมั่งคั่งเท่านั้นคือสิ่งที่วอลล์สตรีทบูชา" จาง บอก เธอ บอกด้วยว่า ที่นั่นทำให้เธอหวนนึกถึง เมื่อครั้งเป็นสาวโรงงานในฮ่องกง สภาพแทบไร้ความแตกต่าง ทุกผู้คนเหมือนหุ่นยนต์ไร้ชีวิตจิตใจ เหมือนถูกเปลี่ยนไปไม่เหมือน"คน" "ที่ต่างกันอยู่หน่อยก็คือ โรงงานที่ฮ่องกง เปลี่ยนคนให้เป็นหนูถีบจักรสายตาสั้น แต่วอลล์สตรีทจะเปลี่ยนคุณให้เป็นหมาป่าเจ้าเล่ห์ หรือไม่ก็เสือหิว" ปี 1995 จาง ซิ่น ผละจากทุนนิยมสุดขั้ว กลับมาเพื่อเผชิญหน้ากับทุนนิยมอีกรูปแบบที่จีน สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนจีนเมื่อตอนที่ จาง ซิ่น ผละจากไปนั้น ทุกอย่างดูเหมือนเป็นสีเทาๆ ไปทั้งหมด ตึกรามเป็นสีเทา ทึมทึบเป็นแท่งสี่เหลี่ยมในสไตล์สถาปัตยกรรมโซเวียต ผู้คนชายหญิงล้วนอยู่ในชุดเหมาสีเทา น้ำเงิน เหมือนกันหมด แต่งตัวเหมือนๆ กัน ทรงผมยังเป็นแบบเดียวกัน "คุณจะบอกความแตกต่างระหว่างคนนึงกับอีกคนได้ ก็ด้วยการสังเกตว่าคนนั้นเสยผมหรือปล่อยมันลงมาตรงๆ เฉยๆ เท่านั้นเอง" แต่ เมื่อเธอเหยียบกลับมาอีกครั้งนั้น คำประกาศของ เติ้ง เสี่ยว ผิง ที่ว่า "แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้ก็พอ" และ "การร่ำรวยถือเป็นเกียรติ" ผ่านเลยไปนานกว่าสิบปี จีนแต่งแต้มสีสัน ความทันสมัยให้กับตัวเองไปมากโข เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องในระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เมืองกำลัง ขยายตัว-เพื่อนคนหนึ่งแนะนำว่า จาง น่าจะเข้าไปติดต่อร่วมงานกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ชื่อ ปักกิ่ง ว่านทง ที่ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนสำคัญชื่อ "พ่าน สืออี้" เธอนัดหมายและ ไปพบพูดคุยกับ พ่าน สืออี้ น่าแปลกที่ว่าอีก 4 วันหลังจากนั้น พ่าน สืออี้ ที่สูงวัยกว่า 2 ปี รูปร่างผอมบาง ศีรษะเถิก สวมแว่นกรอบหนาๆ จะเอ่ยปากขอเธอแต่งงาน! น่าแปลกยิ่งไปกว่านั้นก็คือ จาง ซิ่น ตกปากรับคำ! "มันเหมือนแรงดึงดูดซึ่งกันและกันตั้งแต่แรกว่า เราคงต้องเป็นหุ้นส่วนกันทั้งในทางธุรกิจและชีวิต" จางบอก แต่ง งานได้หมาดๆ พ่าน สืออี้ ลาออกจากว่านทง ทั้งคู่ร่วมกันจดทะเบียนตั้งบริษัทเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อ "หงซื่อ" (หินแดง) ขึ้น ที่ต่อมากลายเป็น "โซโห ไชน่า" บริษัทอสังหาฯที่ "ดัง" ที่สุดในจีนในเวลานี้ พ่าน เป็นประธาน ส่วน จาง นั่งแป้นเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือ ซีอีโอ โซโห ไชน่า สร้างชื่อจากการโครงการสร้างอาคารทันสมัย รูปทรงแปลกใหม่ ออกแบบด้วยสถาปนิกชื่อดังระดับนานาชาติจากทั่วโลก แต่ในเวลาเดียวกันก็ยึดถือประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก ทั้งเป็นอาคารสำนักงานหรือ ที่พักอาศัย หรือทั้งสองอย่าง ตามชื่อ "โซโห" ของบริษัท "มันเติบ ใหญ่อย่างค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลานานทีเดียว" จางพูดถึงบริษัทของตนเอง "ฉันยังจำวันเก่าๆ ได้ ตอนที่เราต้องดิ้นรนหาเงิน มาจ่ายเงินเดือนและบิลล์เรียกเก็บเงินแบบเดือนชน เดือน แล้วค่อยๆ กลายเป็นบริษัทที่เต็มไปด้วยหนี้ ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด จากนั้นถึงค่อยๆ มีกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่อนปรนกันมากขึ้น จากที่เคยต้องควานหาตั๋วเครื่องบินที่ถูกที่สุด เท่าที่จะหาได้ กลายเป็นการเดินทางชั้นบิซิเนสได้" ปี 2007 ก่อนวิกฤตอสังหาฯในสหรัฐเพียงไม่กี่เดือน โซโห ไช่น่า จดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกง มูลค่ารวมทั้งหมดของบริษัทถูกประเมินไว้ว่าอยู่ที่ 6,000 ล้านดอลลาร์! แม้ ความมั่งคั่งจะยังไม่ทำลายตัวตนของ จาง ซิ่น เธอยังคงเป็นตัวของตัวเองเหมือนเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ตรงไปตรงมา ไม่หวือหวาฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมเหมือนเศรษฐีใหม่อีก หลายต่อหลายคน กระนั้นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ก็ดูเหมือนยังไม่เป็นไปอย่างที่เธออยากเห็น อยากให้เป็น อาจบางที จาง ซิ่น ก็อาจเป็นเช่นเดียวกับจีนทั้งประเทศเวลานี้ มีทิศทางที่มุ่งมั่นให้เดินไป แต่กลับสับสนและแปลกแยกอยู่ในตัวเอง ใน ทางหนึ่ง เธอยึดถือตัวเองว่าเป็นนักปฏิรูป ที่ต้องการเห็นจีนปกครองด้วยตัวบทกฎหมายมากกว่าอำนาจอิทธิพล และสิ่งที่จางทำมาทั้งในอดีต จนถึงปัจจุบันและอาจเลยไปในอนาคต ก็คือการโอนอ่อนผ่อนตามอำนาจอิทธิพลและคำบงการเหล่านั้น เพราะมันเอื้อต่อการแสวงหาผลกำไรสูงได้อย่างต่อเนื่อง ในทางหนึ่ง โซโห ไชน่า ก็เป็นเหมือนอีกหลายกิจการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่ช่วยกระพือโหมสภาวะ ฟองสบู่อสังหาฯ ที่นี่ให้โป่งพองมากขึ้นตามลำดับ ไม่เพียงแต่โครงการแต่ละโครงการของมันจะราคาสูงเกินกว่าที่ ชาวจีนส่วนใหญ่จะ ซื้อหาได้เท่านั้น แต่กลับเหมาะกับนักเก็งกำไรและผู้คนเพียงส่วนน้อย ในยอดสุดของสังคม เธอรู้ว่า ฟองสบู่ ไม่ดีต่อประเทศ แต่ก็ย้ำว่า ในฐานะผู้ผลิต ตราบเท่าที่มีผู้ซื้อ เธอก็จะยังทำอยู่ดี ไม่ว่า "ดีมานด์" ในสินค้าของเธอจะเป็นเพียงดีมานด์เทียมก็ตาม จาง ซิ่น เจ็บปวดเมื่อถูกตราหน้าว่าเป็นคนเพียงหยิบมือ ที่กดขี่ ขูดรีด สร้างความร่ำรวยจากโครงการพัฒนาอสังหาฯ ที่มีที่มาจากการบังคับไล่ที่คนยากจน ยิ่งร้าวรานเมื่อความมั่งคั่งที่มีอยู่ถูกมองว่า เป็นหนึ่งเดียวกับการฉ้อ ราษฎร์บังหลวง "คอร์รัปชั่นเกิดขึ้นทุกหนแห่ง ไม่น่าแปลกใจที่ผู้คนจะมองเงินที่อยู่ ในมือคุณว่ามีค่าเท่ากับการคอร์รัปชั่น" นั่น อาจทำให้ในทรรศนะของจาง ซิ่น จีนในอนาคตไม่แจ่มชัดและสดใสเหมือนในปัจจุบันนี้นัก เธอเชื่อว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะตอบสนอง สร้างความพึงพอใจให้กับความคาดหวังของผู้คนที่เพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจ จีนในเวลานี้ไต่ขึ้นไปอยู่อันดับ 2 ของโลก รัฐบาลจีนในเวลานี้ก็เผชิญกับปัญหาสารพัดมากมายกว่า ที่รัฐบาลจีนในอดีตเคย เจอ กรอบความคิดของคนจีนเปลี่ยนแปลง กรอบอ้างอิงของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน ในเวลาเดียวกันนั้น คนจีนก็กล้ามากขึ้น เสรีมากขึ้นในแง่ของการแสดงความคิดเห็นของตัวเอง " ผลก็คือ รัฐบาลในเวลานี้สับสนอย่างยิ่ง 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรมากกว่าการกำหนดเป้าจีดีพี แต่ตอนนี้มีปัญหามากมายที่รัฐบาลเมินเฉยไม่ได้อีกต่อไป" อนาคตข้างหน้าของ จาง ซิ่น และจีนแผ่นดินใหญ่น่าสนใจอย่างแท้จริง!