https://www.facebook.com/varakornsamakoses
วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มติชนออนไลน์
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่าเมื่อประเทศมีความกินดี อยู่ดีขึ้น
ขนาดของครอบครัวจะเล็กลงซึ่งส่งผลกระทบอย่างสำคัญ
ต่อขนาดของประชากรและสัด ส่วนของประชากรในวัยต่างๆ
จนอาจส่งผลกระทบต่อภาระการดูแลประชาชนของภาครัฐในอนาคต
อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาที่มีหลักฐานสนับสนุนว่า
สิ่งที่เข้าใจกันมาแต่เดิมนั้นไม่ถูกต้องสำหรับ สัตว์ทั่วไปนั้นเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
มีความกินดีอยู่ดีขึ้น การเจริญพันธุ์ก็จะสูงขึ้น
แต่สำหรับมนุษย์แล้วกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม
หลักฐานมีมากมายว่าเมื่อกระบวนการพัฒนาติดไฟ
ประเทศเหล่านี้จะประสบกับสิ่งที่เรียกว่า
การเปลี่ยนผ่านของประชากร (demographic transition)
อัตราการเจริญพันธุ์ (fertility rate)
ซึ่งหมายถึงจำนวนลูกซึ่งเกิดจากหญิงคนหนึ่ง
ตลอดอายุขัยของเธอจะเริ่มลดลง
ตัวเลขนี้มีการลดลงตั้งแต่ 8 ถึง 1.5
หากอัตราเจริญพันธุ์ต่ำเช่น อยู่ในระดับ 1.5
และถึงแม้อัตราตายของทารกจะลดลงเมื่อประเทศมีความกินดีอยู่ดีขึ้น
แต่ในหลายกรณีก็ไม่ทำให้ประชากรอยู่ในจำนวนคงที่ยั่งยืนได้ ตัวอย่างเช่น
ญี่ปุ่น แคนาดา และอีกหลายประเทศประสบปรากฏการณ์นี้
จนทำให้จำนวนประชากรลดลง
การพัฒนาประเทศมิได้ทำให้การเจริญพันธุ์ลดลงเท่านั้น
ยังสร้างปัญหาในอีกลักษณะหนึ่ง
กล่าวคืออายุขัยเฉลี่ยของประชากร (life expectance) เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ ต่ำมาก
อัตราการตายของทารกลดน้อยลง และประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น
สิ่งที่เกิดตามมาก็คือโครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนไป
ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนสูงขึ้นซึ่งหมายความว่า
ประชากรในวัยทำงานจะต้องจ่ายภาษีเพื่อดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้
พูดง่ายๆ ก็คือต้องทำงานกันหนักเพื่อเลี้ยงดูคนสูงอายุ
ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ
ประสบปัญหาการลดลงของประชากร
หากไม่มีการอพยพประชาชนจากประเทศอื่นเข้ามาช่วย
(ในตอนกลางศตวรรษนี้ประชากรของประเทศพัฒนาแล้ว
ส่วนใหญ่จะลดลงพร้อมกับสัด ส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นมาก)
ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริงดังที่เข้าใจกันในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ Mikko Myrskyla
แห่ง University of Pennsylvania
และพวกได้ศึกษาและเขียนบทความในนิตยสาร Nature
เมื่อปีที่แล้ว โดยพิสูจน์ว่าเมื่อประเทศต่างๆ มีการพัฒนาไปในระดับหนึ่งแล้ว
อัตราเจริญพันธุ์จะเพิ่มขึ้นอย่างกลับทิศทางกับความเชื่อเดิม
ศาสตราจารย์ Myrskyla
ใช้ข้อมูลอัตราการเจริญพันธุ์และ
ดัชนี HDI (Human Development Index ของ UN
ซึ่งสร้างบนพื้นฐานข้อมูลอายุขัยเฉลี่ย รายได้ต่อหัว
และระดับการศึกษา โดยมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1)
ของหลายประเทศทั่วโลกของ 2 ปี คือ
ค.ศ.1975 และ 2005
เมื่อเอาข้อมูลทั้งสองชุดของปี 1975 และ 2005
มาคำนวณหาความสัมพันธ์ก็พบว่า
ในปี 1975 ข้อมูลของ 107 ประเทศ
แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ชัดเจนที่ HDI สูงขึ้น
และอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง
กล่าวคือเป็นเส้นเกือบตรงที่ลากลงจากซ้ายมาขวา
เมื่อแกนตั้งคืออัตราการเจริญพันธุ์และแกนนอนคือ HDI
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาข้อมูลของ 240 ประเทศของปี 2005
ก็พบว่าความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับของปี 1975
แต่สำหรับกลุ่มประเทศที่มีค่า HDI สูงเกินกว่า 0.90 แล้ว
อัตราเจริญพันธุ์จะกลับสูงขึ้น
ข้อมูลของปี 2505 ชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์
เป็นไปในลักษณะตัวยู คือ ลากจากซ้ายมาขวา
(เมื่อ HDI สูงขึ้น อัตราเจริญพันธุ์ลดลง)
แต่เมื่อมาถึงค่า HDI = 0.90 เส้นดังกล่าว
ก็จะทอดขึ้นจากขวาขึ้นไปซ้าย
ซึ่งหมายความว่ามีจุดผกผัน
กล่าวคือเมื่อพ้น HDI = 0.90 ไปแล้วอัตราเจริญพันธุ์จะสูงขึ้น
(ยกเว้นคานาดาและญี่ปุ่น)
ทางโน้มนี้เห็นได้ชัดเจนการศึกษาของ Myrskyla การ
ค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญเพราะส่งผลกระทบต่อ
การกำหนดนโยบายของภาครัฐสำหรับ อนาคต
ไม่ว่าจะเรื่องการรับคนอพยพเข้าประเทศ
การวางแผนดูแลผู้สูงอายุ การวางแผนครอบครัว ฯลฯ
และถือได้ว่าเป็นข่าวดีสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว
ว่ายังมีความหวังที่ประชากรอาจไม่ลดน้อยลงไป
แต่อาจคงตัว กล่าวคือจำนวนคนตายและคนเกิดเท่ากันในแต่ละปี
เหตุใดอัตราการเจริญพันธุ์จึงต่ำลงและกลับสูงขึ้นอีกครั้ง?
คาดว่าไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับคำตอบต่อไปนี้
แต่คำตอบของการลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์น่าจะเป็นว่า
(1) เมื่อประเทศรวยขึ้นสัดส่วนหญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานสูงขึ้น
จึงไม่ต้องการมีลูกมาก
(2) เมื่อพอมีเงินมีความรู้ก็มีปัญญาวางแผนครอบครัว
(3) หญิงมีปากมีเสียงมากขึ้น
ในการควบคุมจำนวนลูกที่ตนเองต้องการมี
(4) ต้นทุนในการมีลูกสูงขึ้น
จึงมีลูกน้อยลงเป็นธรรมดา
(5) โอกาสลูกตายมีน้อยลง
จึงไม่จำเป็นต้องมีลูกมากเพื่อตาย
ดังในสมัยที่ประเทศยังไม่พัฒนา
(6) เมื่อมีการศึกษามากขึ้นก็รู้ว่าการมีลูกน้อย
แต่มีคุณภาพสูงดีกว่ามีลูกมาก
แต่คุณภาพด้อยกว่าสำหรับการผกผันของอัตราเจริญพันธุ์
เมื่อประเทศพัฒนาขึ้นมากนั้น
อาจมาจากการมีนโยบายการจ้างงาน
ที่สนับสนุนให้หญิงมีลูกมากคนขึ้น เช่น
ในประเทศพัฒนาแล้วอนุญาตให้ลางานได้นานขึ้น
บางประเทศยอมให้สามีลางานมาช่วยเลี้ยงลูกได้ด้วย
อย่างไรก็ ดี คำถามที่น่าสนใจกว่า
เพราะเป็นจริงกับครอบครัวเกือบทั่วโลก
นั่นก็คือเหตุใดมนุษย์จึงปรารถนา
ที่จะมีลูกน้อยลงในขณะที่มีเงินทองมากขึ้น
คำตอบอาจโยงใยกับจิตวิทยาของการสืบทอดชาติพันธุ์ของสัตว์
โดยอาจเห็นว่าทาง เลือกแรกคือการมีลูกมากๆ
และหวังว่าคงมีรอดบ้างเพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์
ทางเลือกสองคือมีลูกน้อยและดูแลเป็นอย่างดีเพื่อให้อยู่รอด
ทางเลือกแรกเป็นของเผ่าพันธุ์สัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมไม่มั่นคง
(ถูกกิน ถูกฆ่าง่าย)
และสำหรับสัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ "นิ่ง" พอควรและปลอดภัย
จากศัตรูในระดับหนึ่งนั้นจะใช้ทางเลือกสอง
เมื่อ เปรียบเทียบกับสัตว์อื่นแล้ว
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมไม่เป็นภัยจึงใช้ทางเลือกสอง
แต่กระนั้นก็ตามในขณะที่ยังจนอยู่ดังเช่น
ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา
ก็จำเป็นต้องมีลูกมากๆ คล้ายทางเลือกแรก
และเมื่อร่ำรวยขึ้นรู้สึกปลอดภัยขึ้นก็ใช้ทางเลือกสอง
โดยดูแลอุ้มชูลูกน้อย เป็นอย่างดี
แต่เมื่อกินดีอยู่ดีมากยิ่งขึ้น
จนรู้สึกว่าการมีลูกมากขึ้นมิได้ทำให้
ลูกคนอื่นสูญเสียการอุ้มชูดูแลลงไป
สัญชาตญาณเดิมของการมีลูกไว้สืบเผ่าพันธุ์ก็ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
และนั่นก็คือจุดผกผันดังกล่าว
สิ่งที่ต้องไม่ลืมก็คือจิตวิทยา
ของการสืบสานเผ่าพันธุ์เป็นปัจจัยเบื้องหลัง
ประกอบการตัดสินใจต่างๆ ของมนุษย์
ทางโน้มของการมีอัตราเจริญพันธุ์สูงขึ้น
เมื่อประเทศพัฒนาไปมากๆ ขึ้น
ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วอุ่นใจขึ้นมาก
แต่ก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่าเป็นจริงกับทุกประเทศ
และเมื่อข้ามเวลาออกไปอีกปรากฏการณ์เช่นนี้
จะยังคงเป็นจริงอยู่หรือไม่
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นลักษณะที่เรียกว่า cross section
กล่าวคือเสมือนกับการถ่ายภาพนิ่ง 2 ครั้ง
ข้ามเวลากัน คือ 1975 ที่ไม่มีจุดผกผัน
และปี 2005 ที่มีจุดผกผัน
มิได้เป็นการศึกษาข้อมูลของประเทศ
ข้ามระยะเวลายาวนาน (time series data)
ในแนวลึกว่าอัตราการเจริญพันธุ์เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อกินดีอยู่ดีมากขึ้นจริง หรือไม่
ถึงอย่างไรก็เป็นงานศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะกระตุ้นให้มีการถกเถียงกันและศึกษากันลึกซึ้งยิ่งขึ้น
วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มติชนออนไลน์
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่าเมื่อประเทศมีความกินดี อยู่ดีขึ้น
ขนาดของครอบครัวจะเล็กลงซึ่งส่งผลกระทบอย่างสำคัญ
ต่อขนาดของประชากรและสัด ส่วนของประชากรในวัยต่างๆ
จนอาจส่งผลกระทบต่อภาระการดูแลประชาชนของภาครัฐในอนาคต
อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาที่มีหลักฐานสนับสนุนว่า
สิ่งที่เข้าใจกันมาแต่เดิมนั้นไม่ถูกต้องสำหรับ สัตว์ทั่วไปนั้นเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
มีความกินดีอยู่ดีขึ้น การเจริญพันธุ์ก็จะสูงขึ้น
แต่สำหรับมนุษย์แล้วกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม
หลักฐานมีมากมายว่าเมื่อกระบวนการพัฒนาติดไฟ
ประเทศเหล่านี้จะประสบกับสิ่งที่เรียกว่า
การเปลี่ยนผ่านของประชากร (demographic transition)
อัตราการเจริญพันธุ์ (fertility rate)
ซึ่งหมายถึงจำนวนลูกซึ่งเกิดจากหญิงคนหนึ่ง
ตลอดอายุขัยของเธอจะเริ่มลดลง
ตัวเลขนี้มีการลดลงตั้งแต่ 8 ถึง 1.5
หากอัตราเจริญพันธุ์ต่ำเช่น อยู่ในระดับ 1.5
และถึงแม้อัตราตายของทารกจะลดลงเมื่อประเทศมีความกินดีอยู่ดีขึ้น
แต่ในหลายกรณีก็ไม่ทำให้ประชากรอยู่ในจำนวนคงที่ยั่งยืนได้ ตัวอย่างเช่น
ญี่ปุ่น แคนาดา และอีกหลายประเทศประสบปรากฏการณ์นี้
จนทำให้จำนวนประชากรลดลง
การพัฒนาประเทศมิได้ทำให้การเจริญพันธุ์ลดลงเท่านั้น
ยังสร้างปัญหาในอีกลักษณะหนึ่ง
กล่าวคืออายุขัยเฉลี่ยของประชากร (life expectance) เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ ต่ำมาก
อัตราการตายของทารกลดน้อยลง และประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น
สิ่งที่เกิดตามมาก็คือโครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนไป
ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนสูงขึ้นซึ่งหมายความว่า
ประชากรในวัยทำงานจะต้องจ่ายภาษีเพื่อดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้
พูดง่ายๆ ก็คือต้องทำงานกันหนักเพื่อเลี้ยงดูคนสูงอายุ
ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ
ประสบปัญหาการลดลงของประชากร
หากไม่มีการอพยพประชาชนจากประเทศอื่นเข้ามาช่วย
(ในตอนกลางศตวรรษนี้ประชากรของประเทศพัฒนาแล้ว
ส่วนใหญ่จะลดลงพร้อมกับสัด ส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นมาก)
ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริงดังที่เข้าใจกันในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ Mikko Myrskyla
แห่ง University of Pennsylvania
และพวกได้ศึกษาและเขียนบทความในนิตยสาร Nature
เมื่อปีที่แล้ว โดยพิสูจน์ว่าเมื่อประเทศต่างๆ มีการพัฒนาไปในระดับหนึ่งแล้ว
อัตราเจริญพันธุ์จะเพิ่มขึ้นอย่างกลับทิศทางกับความเชื่อเดิม
ศาสตราจารย์ Myrskyla
ใช้ข้อมูลอัตราการเจริญพันธุ์และ
ดัชนี HDI (Human Development Index ของ UN
ซึ่งสร้างบนพื้นฐานข้อมูลอายุขัยเฉลี่ย รายได้ต่อหัว
และระดับการศึกษา โดยมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1)
ของหลายประเทศทั่วโลกของ 2 ปี คือ
ค.ศ.1975 และ 2005
เมื่อเอาข้อมูลทั้งสองชุดของปี 1975 และ 2005
มาคำนวณหาความสัมพันธ์ก็พบว่า
ในปี 1975 ข้อมูลของ 107 ประเทศ
แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ชัดเจนที่ HDI สูงขึ้น
และอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง
กล่าวคือเป็นเส้นเกือบตรงที่ลากลงจากซ้ายมาขวา
เมื่อแกนตั้งคืออัตราการเจริญพันธุ์และแกนนอนคือ HDI
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาข้อมูลของ 240 ประเทศของปี 2005
ก็พบว่าความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับของปี 1975
แต่สำหรับกลุ่มประเทศที่มีค่า HDI สูงเกินกว่า 0.90 แล้ว
อัตราเจริญพันธุ์จะกลับสูงขึ้น
ข้อมูลของปี 2505 ชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์
เป็นไปในลักษณะตัวยู คือ ลากจากซ้ายมาขวา
(เมื่อ HDI สูงขึ้น อัตราเจริญพันธุ์ลดลง)
แต่เมื่อมาถึงค่า HDI = 0.90 เส้นดังกล่าว
ก็จะทอดขึ้นจากขวาขึ้นไปซ้าย
ซึ่งหมายความว่ามีจุดผกผัน
กล่าวคือเมื่อพ้น HDI = 0.90 ไปแล้วอัตราเจริญพันธุ์จะสูงขึ้น
(ยกเว้นคานาดาและญี่ปุ่น)
ทางโน้มนี้เห็นได้ชัดเจนการศึกษาของ Myrskyla การ
ค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญเพราะส่งผลกระทบต่อ
การกำหนดนโยบายของภาครัฐสำหรับ อนาคต
ไม่ว่าจะเรื่องการรับคนอพยพเข้าประเทศ
การวางแผนดูแลผู้สูงอายุ การวางแผนครอบครัว ฯลฯ
และถือได้ว่าเป็นข่าวดีสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว
ว่ายังมีความหวังที่ประชากรอาจไม่ลดน้อยลงไป
แต่อาจคงตัว กล่าวคือจำนวนคนตายและคนเกิดเท่ากันในแต่ละปี
เหตุใดอัตราการเจริญพันธุ์จึงต่ำลงและกลับสูงขึ้นอีกครั้ง?
คาดว่าไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับคำตอบต่อไปนี้
แต่คำตอบของการลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์น่าจะเป็นว่า
(1) เมื่อประเทศรวยขึ้นสัดส่วนหญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานสูงขึ้น
จึงไม่ต้องการมีลูกมาก
(2) เมื่อพอมีเงินมีความรู้ก็มีปัญญาวางแผนครอบครัว
(3) หญิงมีปากมีเสียงมากขึ้น
ในการควบคุมจำนวนลูกที่ตนเองต้องการมี
(4) ต้นทุนในการมีลูกสูงขึ้น
จึงมีลูกน้อยลงเป็นธรรมดา
(5) โอกาสลูกตายมีน้อยลง
จึงไม่จำเป็นต้องมีลูกมากเพื่อตาย
ดังในสมัยที่ประเทศยังไม่พัฒนา
(6) เมื่อมีการศึกษามากขึ้นก็รู้ว่าการมีลูกน้อย
แต่มีคุณภาพสูงดีกว่ามีลูกมาก
แต่คุณภาพด้อยกว่าสำหรับการผกผันของอัตราเจริญพันธุ์
เมื่อประเทศพัฒนาขึ้นมากนั้น
อาจมาจากการมีนโยบายการจ้างงาน
ที่สนับสนุนให้หญิงมีลูกมากคนขึ้น เช่น
ในประเทศพัฒนาแล้วอนุญาตให้ลางานได้นานขึ้น
บางประเทศยอมให้สามีลางานมาช่วยเลี้ยงลูกได้ด้วย
อย่างไรก็ ดี คำถามที่น่าสนใจกว่า
เพราะเป็นจริงกับครอบครัวเกือบทั่วโลก
นั่นก็คือเหตุใดมนุษย์จึงปรารถนา
ที่จะมีลูกน้อยลงในขณะที่มีเงินทองมากขึ้น
คำตอบอาจโยงใยกับจิตวิทยาของการสืบทอดชาติพันธุ์ของสัตว์
โดยอาจเห็นว่าทาง เลือกแรกคือการมีลูกมากๆ
และหวังว่าคงมีรอดบ้างเพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์
ทางเลือกสองคือมีลูกน้อยและดูแลเป็นอย่างดีเพื่อให้อยู่รอด
ทางเลือกแรกเป็นของเผ่าพันธุ์สัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมไม่มั่นคง
(ถูกกิน ถูกฆ่าง่าย)
และสำหรับสัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ "นิ่ง" พอควรและปลอดภัย
จากศัตรูในระดับหนึ่งนั้นจะใช้ทางเลือกสอง
เมื่อ เปรียบเทียบกับสัตว์อื่นแล้ว
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมไม่เป็นภัยจึงใช้ทางเลือกสอง
แต่กระนั้นก็ตามในขณะที่ยังจนอยู่ดังเช่น
ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา
ก็จำเป็นต้องมีลูกมากๆ คล้ายทางเลือกแรก
และเมื่อร่ำรวยขึ้นรู้สึกปลอดภัยขึ้นก็ใช้ทางเลือกสอง
โดยดูแลอุ้มชูลูกน้อย เป็นอย่างดี
แต่เมื่อกินดีอยู่ดีมากยิ่งขึ้น
จนรู้สึกว่าการมีลูกมากขึ้นมิได้ทำให้
ลูกคนอื่นสูญเสียการอุ้มชูดูแลลงไป
สัญชาตญาณเดิมของการมีลูกไว้สืบเผ่าพันธุ์ก็ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
และนั่นก็คือจุดผกผันดังกล่าว
สิ่งที่ต้องไม่ลืมก็คือจิตวิทยา
ของการสืบสานเผ่าพันธุ์เป็นปัจจัยเบื้องหลัง
ประกอบการตัดสินใจต่างๆ ของมนุษย์
ทางโน้มของการมีอัตราเจริญพันธุ์สูงขึ้น
เมื่อประเทศพัฒนาไปมากๆ ขึ้น
ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วอุ่นใจขึ้นมาก
แต่ก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่าเป็นจริงกับทุกประเทศ
และเมื่อข้ามเวลาออกไปอีกปรากฏการณ์เช่นนี้
จะยังคงเป็นจริงอยู่หรือไม่
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นลักษณะที่เรียกว่า cross section
กล่าวคือเสมือนกับการถ่ายภาพนิ่ง 2 ครั้ง
ข้ามเวลากัน คือ 1975 ที่ไม่มีจุดผกผัน
และปี 2005 ที่มีจุดผกผัน
มิได้เป็นการศึกษาข้อมูลของประเทศ
ข้ามระยะเวลายาวนาน (time series data)
ในแนวลึกว่าอัตราการเจริญพันธุ์เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อกินดีอยู่ดีมากขึ้นจริง หรือไม่
ถึงอย่างไรก็เป็นงานศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะกระตุ้นให้มีการถกเถียงกันและศึกษากันลึกซึ้งยิ่งขึ้น