Custom Search

Oct 16, 2010

เรื่องจริงของอาหลิว

http://teetwo.blogspot.com/2010/06/21.html
ปิยมิตร ปัญญา มติชนออนไลน์ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เมืองจิ้นโจว มณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ไม่มีอะไรพิเศษพิสดารไปจากอีกหลายเมืองในมณฑลรอบนอกของประเทศ ที่นี่มีเรือนจำของรัฐ-เรือนจำจิ้นโจว-ห้องขังขนาดมาตรฐานอีกเช่นกัน แต่ละห้องมีขนาดเนื้อที่ 30 ตารางเมตร หนึ่ง ในห้องขังของเรือนจำจิ้นโจว มีนักโทษใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน 6 คน 5 คนเป็นอาชญากร อีกคนแตกต่างออกไป เขาบอกกับใครๆ ว่า เป็นนักวิชาการด้านปรัชญา กิจวัตรที่ทั้ง 6 ทำร่วมกันบ่อยๆ ใน "เรือนนอน" แห่งนี้ ก็คือเล่นไพ่ ทุกๆ วัน พวกเขามีโอกาสได้ออกจาก ห้องไปใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้ง บนพื้นสนามของเรือนจำ 1 ครั้ง นักปรัชญาพยายามรักษาสภาพร่างกายของตัวเองด้วยการจ๊อกกิ้ง หรือไม่ก็ชวนเพื่อนร่วมชะตากรรมเล่นแบดมินตัน เวลาส่วนใหญ่ที่เหลือ ของเขานอกเหนือจากนั้น ถูกใช้ไปกับการอ่าน นวนิยายภาษาฝรั่งเศส หนังสือประวัติศาสตร์ วรรณกรรมจีน ญี่ปุ่น ฯลฯ หนังสือพิมพ์เป็นของต้องห้าม เช่นเดียวกับตำรับตำราทางการเมืองทั้งหลาย ระหว่างนี้เขากำลังทุ่มเทให้กับการอ่านงานหลายเล่ม ของนักเขียนญี่ปุ่นที่ชื่อ ฮารูกิ มูราคามิ ทุก เดือน ภรรยาจะเดินทางมาเยี่ยมอย่างน้อย 1 ครั้ง นำเอาหนังสือเล่มใหม่มาให้ เงินสดจำนวนหนึ่งสำหรับใช้ซื้อบุหรี่ คุกกี้ และไข่เค็ม จากตู้ขายอัตโนมัติในเรือนจำ นั่นเนื่องเพราะ อาหารเรือนจำก็ยังคงเป็นอาหารเรือนจำ แย่เสมอต้นเสมอปลาย เนื้อแทบไม่มีให้เห็น ระยะ เวลาการเยี่ยมจำกัดเพียงแค่ 1 ชั่วโมง และเริ่มนับวินาทีแรกในทันทีที่ก้นของเขาสัมผัสเก้าอี้ คำสนทนาถูกกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งเอาไว้บันทึกอยู่ตลอดเวลา กระนั้นก็ยังมีผู้คุม 2 คนคอยตรวจสอบอยู่ในระยะประชิด พร้อมที่จะเข้ามาขัดจังหวะในทันทีที่เนื้อความ เริ่มเบี่ยงเบนออกไปจากเรื่อง ราวส่วนตัว หรือการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป แต่การเยี่ยมเมื่อ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นเรื่องผิดแปลกออกไปจากปกติ เธอเดินทางมาเยี่ยมเขาเป็นกรณีพิเศษ ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ เธอเดินทางมา เพื่อแจ้งให้เขาทราบว่า เขา-หลิว เสี่ยวปอ-ได้รับเลือกให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพประจำปี 2010 น้ำตาอาหลิวคลอเบ้า แล้วก็ไหลรินลงมาอย่างช่วยไม่ได้ หลังจากอึ้งไปชั่วขณะ เขาบอกกับภรรยาด้วยเสียงสั่นเครือว่า เขา ขออุทิศรางวัลที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกนี้ ให้กับบรรดานักศึกษาเยาว์วัยที่ เสียชีวิตไปจากการปราบปรามของทางการ ในเหตุการณ์เมื่อปี 1989 ใจกลางกรุงปักกิ่ง เหตุการณ์ซึ่งรู้จักกันไปทั่วโลกในชื่อ "การสังหารหมู่ที่เทียนอันเหมิน"! เหตุการณ์ ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 1989 คือเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตของหลิว เสี่ยวปอ ไปทั้งชีวิต เปลี่ยนเขาจากนักเขียน นักวิจารณ์วรรณกรรม นักปรัชญา ให้กลายเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองตราบจนทุกวันนี้ อาหลิว เป็นคนฉางชุน เขาเกิดที่เมืองเอกของมณฑลจี้หลิน เขตอุตสาหกรรมสำคัญทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนแห่งนี้ เริ่มเรียนประถมในห้วงเวลาของการเกิด "ปฏิวัติวัฒนธรรม" ขึ้นในจีน (ระหว่างปี 1966-1967) ห้วงเวลาที่เขาบอกใครต่อใครบ่อยครั้งว่าเป็นช่วงของการ "ปลดแอกจากกระบวนการทางการศึกษาชั่วคราว" เมื่อเติบใหญ่ เขากลายเป็นหนึ่งในคนรุ่นแรกของจีน ที่ได้กลับเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยอีก ครั้งหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมหนนั้น สำเร็จปริญญาตรีจากภาควิชาภาษาจีนของมหาวิทยาลัยจี้หลิน เขาถูกคัดเลือกเข้าเรียนต่อระดับปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่เขาเลือกเรียนวรรณกรรมวิจารณ์และปรัชญา มีนักเขียนและนักปรัชญาเพียง 2 คน ให้ศึกษาอย่างปรุโปร่ง หนึ่งคือ เหมา เจ๋อ ตุง หนึ่งคือ คาร์ล มาร์กซ์ หลิว เสี่ยว ปอ ศึกษางานทั้ง 40 เล่ม ของ มาร์กซ์ นักปรัชญาเยอรมัน เขาเคยสรุปทั้งหมดให้คนใกล้ชิดฟังภายหลังว่า ลัทธิ มาร์กซิสม์ "สรรค์สร้างโอกาสวิเศษสุดให้รัฐบาลจีนกดขี่ประชาชนของตนเอง" อาหลิว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในที่สุด มหาวิทยาลัยเลือกให้เขาทำหน้าที่อาจารย์สอนอย่างต่อเนื่อง เขาสร้างชื่อให้กับตัวเองในหมู่นักศึกษาและปัญญาชนจีนด้วย คำบรรยายที่แหลมคม การวิพากษ์วิจารณ์ที่เผ็ดร้อน และการเรียกร้องให้ทุกคนบีบเค้นเอาข้อเท็จจริง ออกมาให้ได้จากประวัติศาสตร์ ที่เชิดชูเหมาจนเกินจริง ปริญญานิพนธ์ระดับดอกเตอร์ของเขา ชื่อ "สุนทรียะกับเสรีภาพแห่งมนุษย์" องอาจ หาญกล้าเสียจนจวนเจียนจะทำให้ผู้ทำชวดปริญญา! ชื่อ เสียงของนักปรัชญาหนุ่มขจรขจายไปถึงต่างแดน ปี 1988 เขาได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐกในการแสดงปาฐกถาต่างแดน ต่อเนื่องยาวนาน 8 เดือนเต็ม เริ่มจากนอร์เวย์ ไปลงเอยส่วนใหญ่สหรัฐอเมริกา ที่ฮาวาย และนิวยอร์ก เขาบอกในภายหลังว่า 8 เดือนที่ว่านี้ คือห้วงเวลาสำคัญของการบ่มเพาะทางความคิด การทำความเข้าใจใหม่ๆ นี่คือห้วงเวลาที่ทำให้เขาได้ตระหนักว่า "ประชาธิปไตย" ที่แท้ไม่ใช่เพียงแค่รูปแบบ ของระบบการเมืองระบบหนึ่งเท่านั้น "แต่แท้จริงแล้วประชาธิปไตยคือบรรทัดฐานแห่งมนุษยชาติ มันคือรูปแบบของชีวิตและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนด้วยกัน" นอกจากพูด อาหลิวยังเขียนไม่หยุดยั้งในห้วงเวลาดังกล่าวนี้ หนึ่งในความเรียงยุคนี้สะท้อนตัวตนของเขา ออกมาชัดเจนแม้ในชื่อเรื่อง ความเรียงชิ้นนั้นชื่อ "เหมา เจ๋อ ตุง : ปิศาจในคราบมนุษย์"! หลิว เสี่ยว ปอ ได้ยินเรื่องการประท้วงของนักศึกษา ตามท้องถนนและเริ่มปักหลักที่เทียนอันเห มิน เรียกร้องหาประชาธิปไตยและยุติการคอร์รัปชั่นในปี 1989 ตั้งแต่ยังทำหน้าที่อาจารย์รับเชิญอยู่ที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เขายอมรับว่าสองจิตสองใจในตอนแรก ลังเลมากเสียจนแทบจะหันหลัง กลับระหว่างรอเปลี่ยนเครื่องบินที่ญี่ปุ่น แต่ในที่สุด ก็ตัดสินใจกลับถึงจีนเมื่อปลายพฤษภาคม ตอนที่การประท้วงระบาดไปทั่วประเทศ ต้นมิถุนายน เมื่อชัดเจนแล้วว่าทางการเตรียมใช้กำลังเข้ากวาดล้าง อาหลิวกับปัญญาชนมีชื่อเสียงอีก 3 คน ประกาศอดอาหารเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ในทางหนึ่งเขาเพียงต้องการสร้างความไว้วางใจ จากขบวนการนักศึกษาที่กำลังเบน เข้าหาความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ในอีกทางหนึ่งมันช่วยให้เขามีสถานะที่จะเจรจาต่อรอง กับทางกองทัพเพื่อขอให้ เปิดทางให้นักศึกษาล่าถอย สลายการชุมนุมได้อย่างสันติ การกวาดล้าง เริ่มขึ้นไม่นานหลังจากการเจรจาดังกล่าว แกนนำหลายคนเผ่นหนีออกนอกประเทศ หลิว เสี่ยว ปอ ถูกจับส่งเรือนจำรัฐในฐานะ "ผู้ทรยศ" และ "ปฏิปักษ์ปฏิวัติ" กั๊ว ะ หยู เพื่อนร่วมขบวนการที่ถูกจับกุมก่อนหน้า เขาไม่กี่ชั่วโมงที่ต่อมากลายเป็นผู้สื่อข่าว บอกถึงผลลัพธ์ในการเจรจาของ หลิว เสี่ยวปอ และคนอื่นๆ ในวันนั้นเอาไว้ภายหลังว่า ถ้าไม่มีการเจรจาครั้งนั้น เทียนอันเหมินคงกลายเป็นลานเลือด! อา หลิว เป็นอิสระในปี 1991 เขาถูกถอดจากตำแหน่งอาจารย์ ห้ามสอนหนังสือ ห้ามตีพิมพ์ผลงาน ห้ามพูดจาปราศรัยในที่สาธารณะ แต่เขายังคงทำหน้าที่ตัวเองต่อไปอย่างทะนง ยื่นคำร้อง ยื่นฎีกาเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และวิพากษ์ข้อเท็จจริงจากคำตัดสิน กรณีเทียนอันเหมินของทางการไม่หยุดหย่อน ปี 1995 การเคลื่อนไหวต่อเนื่องทำให้เขาระเห็จเข้าคุกอีก 8 เดือน ปี 1996 เขาถูกพิพากษาให้ส่งเข้าค่ายใช้แรงงานเป็นเวลา 3 ปี จากความเรียงวิพากษ์รัฐ และเรียกร้องให้ยุติคอร์รัปชั่น ภาพที่เจนตาในเวลานั้นก็คือ ภาพของหลิว เสี่ยว ปอ ขี่จักรยานข้ามเมืองไปยังพื้นที่ที่ตั้งสำนักงาน และที่พักอาศัยของคนต่างชาติ เพื่อส่งแฟกซ์ความเรียงของเขาออกไปตีพิมพ์ยังต่างแดน จาง ซู่ หวา อดีตยุวชนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ต่อมากลายเป็นหนึ่งในแกนนำเคลื่อนไหว เพื่อประชาธิปไตยคนสำคัญผู้หนึ่งใน เวลานี้บอกว่า ทศวรรษ 1990 มีเพียง หลิว เสี่ยว ปอ เท่านั้นที่ยังคงยืนหยัด เคลื่อนไหวในแนวทางของตนอย่างมุ่งมั่น ในขณะที่คนอื่นถูกความกลัว ชีวิตในต่างแดน และความทะยานอยากต่อความมั่งคั่งส่วนตน เบียดบังจนเงียบกริบ มีบ้างบางคนที่ทำงานเชิงทฤษฎีและนโยบาย แต่ไม่มีใครลงมือประท้วง วิพากษ์ และทำโน่นทำนี่อย่างจริงจังเหมือน หลิว เสี่ยว ปอ ปี 1999 อาหลิวเป็นอิสระอีกครั้ง จีนเปลี่ยนแปลงไปในเชิงรูปธรรมมากมาย คอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาท และเปลี่ยนรูปแบบของการต่อต้านไปไม่น้อย เขาต่อต้านคอมพิวเตอร์ในตอนแรก แต่ลงเอยด้วยการศึกษาทำความเข้าใจและได้ข้อสรุปว่ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตคือ "ของขวัญจากพระเจ้าถึงชาวจีน"! "ชา ร์เตอร์ང" หรือ "คำประกาศประชาชนปี 2008" ได้รับการขนานนามจากนักวิชาการ นักปรัชญาบางคนว่าเป็น "หนึ่งในเอกสารต่อต้านทางการเมืองที่น่าประทับใจที่สุดในโลก" มันไม่ได้เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิวัติ ล้มล้างรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ถามหา "ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน" ถามหา "เสรีภาพในการแสดงออก ในการชุมนุม สมาคม ในการหยุดงาน ในการประท้วง" มันไม่ได้ยุยงส่งเสริมการปฏิวัติ แต่เป็นเพียงเรียกร้อง "การเปลี่ยนแปลงอย่างระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไป" หลิว เสี่ยว ปอ และพวกใช้เวลานานกว่า 3 ปี ร่าง แก้ไข เขียน ปรับปรุงแล้วปรับปรุงอีก ก่อนนำ "ชา ร์เตอร์ང" ไปนำเสนอและโน้มน้าวจนมีผู้ลงชื่อสนับสนุนเบื้องต้น 303 คน มีทั้งปัญญาชน แรงงาน และกระทั่งสมาชิกพรรค มันถูกส่งขึ้นเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต มีชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาเพียงสั้นๆ ก่อนที่จะถูกทางการตรวจสอบพบและลบทิ้ง แต่ก็สามารถสร้างกลุ่มผู้สนับสนุนได้สูงถึงกว่า 10,000 รายชื่อ "ชา ร์เตอร์ང" ได้ชื่อมาจาก "ชาร์เตอร์ 77" เอกสารทำนองเดียวกันที่ตีพิมพ์ในเชโกสโลวะเกีย หนึ่งในจำนวนผู้เขียนคือ วาคลาฟ ฮาเวล นักเขียนที่ต่อมาก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดี และเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ ได้แรงบันดาลใจมาจาก "คำประกาศเสรีภาพและรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา" กับ "คำประกาศแห่งปวงชนฝรั่งเศษว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเรือน" นี่คือ แนวทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่กลั่นกรอง แล้วว่ามีความเป็นไปได้ในทาง ปฏิบัติในจีน -น่าเสียดายที่พรรคและรัฐของจีนไม่เห็นพ้อง 303 คนที่เริ่มต้นลงชื่อ ถูกเชื้อเชิญ "ไปร่วมรับประทานน้ำชา" กับเจ้าหน้าที่ ก่อนถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ แต่จำเป็นต้องมี "ไก่" ถูกเชือดให้เป็นเยี่ยงอย่างของ "ลิง" ทั้งหลายเหล่านี้ หลิว เสี่ยว ปอ ถูกเลือกให้เป็น "ไก่" ตัวนั้น! 2-3 เดือนหลังจากที่แขกบ้านแขกเมืองร่ำลา จากมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง อาหลิวถูกนำตัวออกจากอพาร์ตเมนต์ในกรุงปักกิ่งอย่างเงียบๆ ถูกกักตัวชนิดที่ไม่มีใครรู้เห็นนานหลายเดือน ธันวาคม 2009 เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐาน พยายามต่อต้านและล้มล้างรัฐบาล ใช้เสรีภาพในการแสดงออกเกินเลย ข้อกำหนดของกฎหมาย จาก "ชาร์เตอร์ང" และความเรียงอีก 6 ชิ้น เนื้อความของทุกชิ้นคล้ายคลึงกัน ชาวจีนนับสิบ นับร้อยล้านคนทอดร่างพลีให้กับรัฐบาลและ การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์มาเนิ่น นานเต็มทีแล้ว ถึงเวลาที่รัฐต้องชดใช้ด้วยการให้ "เสรีภาพ" และ "สิทธิขั้นพื้นฐาน" แก่พวกเขา ศาลลงโทษให้จำคุกนาน 11 ปี เกือบ 2 ปีให้หลัง วาคลาฟ ฮาเวล ทะไล ลามะ และ เดสมอนด์ ตูตู คือแรงผลักดันในการนำเสนอชื่อ อาหลิวให้คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลสันติภาพแห่งนอร์เวย์ ในวัย 54 ปี หลิว เสี่ยว ปอ กลายเป็นคนจีนคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ และเป็นคนที่ 3 ต่อจากคาร์ล ฟอน ออสเซียทสกี้ ชาวเยอรมัน ในปี 1935 และออง ซาน ซูจี ในปี 1991 ที่ได้รับรางวัลสันติภาพขณะถูกจองจำ ถูกจองจำโดยรัฐบาลของตนเอง! อาจ บางที ความยิ่งใหญ่ของ หลิว เสี่ยว ปอ ไม่ได้อยู่ที่การต่อสู้อย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่อยู่ที่ "ความรัก" ที่เขามีอย่างล้นเหลือต่อทุกผู้คน เขาไม่เพียง มีความรักให้กับหลิว เซี่ย ภรรยาช่างภาพ และกวีวัย 49 ปี ชนิดที่ "แม้ร่างถูกบดป่นเป็นผุยผง ธุลีนี้จักโอบกอดเธอ" เท่านั้น หลิว เสี่ยว ปอ ยังมีความรักให้ประชาชนจีน รัฐบาลจีน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้พนักงานอัยการ มีความเข้าใจและเคารพในวิถีของทุกผู้คน เขาเรียกร้องความรัก ถามหาสัจจะ และอ้อนวอนขอเสรีภาพเท่านั้น ใน "คำแถลงปิดคดี" ระหว่างการพิจารณาคดีหลังสุด ในเวลา 2 ชั่วโมง เขาประกาศไว้กลางศาลว่า "...แต่ ข้าฯขอบอกไปยังผู้ปกครองที่ลิดรอนเสรีภาพของข้าฯว่า ข้าฯยังคงยืนหยัดในความเชื่อซึ่งได้แสดงออกไว้ ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ในคำประกาศอดอาหารประท้วง 2 มิถุนายน ว่าข้าฯปราศจากศัตรู ข้าฯปราศจากความเกลียดชัง... "...เพราะความเกลียดชัง คือตัวกัดกร่อนทำลายปัญญา และสำนึกแห่งผู้คน "ความ คิดเห็นเป็นศัตรู คือพิษร้ายที่บ่อนทำลาย จิตวิญญาณแห่งความเป็นชาติ ยุยงส่งเสริมให้เกิดการทำลายล้างชีวิต ให้เกิดการดิ้นรนต่อสู้ด้วยความตาย ทำลายขันติธรรมและมนุษยธรรมในสังคม และปิดกั้น ขัดขวางการรุดหน้าของเสรีภาพ และประชาธิปไตยของชาติ "ดังนั้น ข้าฯได้แต่ตั้งความหวังว่า จะมีความสามารถผันแปรทุรกรรมแห่งตนเอง ให้กลายเป็นความเข้าใจอันจะนำไปสู่ พัฒนาการแห่งรัฐ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม "เปลี่ยนแปรความเป็นปรปักษ์ให้ กลายเป็นความปรารถนาดีที่สุดให้กันและกัน ปลดชนวนความชิงชังรังเกียจด้วยความรัก..." นี่คือ หลิว เสี่ยว ปอ เสี่ยวที่แปลว่า ตะวัน ปอ ที่หมายถึงแรกปรากฏ เสี่ยวปอ ที่หมายถึง ตะวันแรก หรือ อรุณรุ่ง นั่นเอง ! (จากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 16 ต.ค.2553)