Custom Search

Apr 22, 2007

คุยกับประภาส # 4 : PRAPAS.COM






http://www.prapas.com/




3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

"ประภาส ชลศรานนท์" ต้นฉบับนักคิดติดกรอบ


เกาะติดเรื่องราว "ประภาส ชลศรานนท์"
นักแต่งเพลง นักคิด นักเขียน
และมันสมองของเวิร์คพอยท์
กับหลายมุมความคิดที่ภาคธุรกิจน่าเรียนรู้และคิดต่อ

"ประภาส ชลศรานนท์" นักแต่งเพลง นักคิด นักเขียน
ผู้ร่วมก่อตั้งเวิร์คพอยท์ และเป็นระดับมันสมองที่ผลักดันให้
บริษัทประสบความสำเร็จเช่นทุกวันนี้
หลายคน รับรู้หลายแง่มุมของเขาถึง “วิธีคิด”
และงานที่ผ่านการยอมรับจากหลายเวทีจากเกมโชว์ของเวิร์คพอยท์
ที่พาเหรดประสบ ความสำเร็จในระดับเอเชีย
ทั้งเกมทศกัณฐ์ หรือคุณพระช่วย
ซึ่งเป็นรูปแบบของรายการเกมโชว์ที่ขายไอเดียและมีความเป็นไทยสูง
แต่กว่าจะได้แต่ละรูปแบบรายการมา นั้น
ประภาส สะท้อนให้เห็นแล้วว่าต้องผ่านกระบวนการคิด
และความ คิดของมนุษย์นี่แหละที่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

"3 สไตล์ คิด" ในแบบฉบับของ ประภาส
ฟังดูง่าย แต่กว่าการจะทำได้นั้น ไม่ง่ายเลย

"คิด แบบเป๊ะ เป๊ะ" ความ คิด ที่ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง
เช่น หากซื้อของในราคา 50 บาท
จ่ายเงินไป 100 บาท จะได้ตังค์ทอน 50 บาท

"คิด แบบกะ กะ" เป็นความคิดซับซ้อนขึ้นมาหน่อย
คือคิดแบบกะประมาณเอา เช่น เวลาตักข้าวเข้าปาก
เราไม่ได้บอกว่าจะตักปริมาณเท่านั้นเท่านี้
แต่กะ ประมาณนี้ หรือจะดื่มน้ำก็ไม่ได้บอกว่าต้องดื่มกี่ซีซี
หรือ จะไปหัวหินก็เอาเงินไปประมาณนี้
ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่ากี่บาท กี่สตางค์

สุดท้าย ...

"คิด สร้างสรรค์" สำหรับเขาแล้ว
แนวทางนี้เป็นแนวทางที่สำคัญ พร้อมยกตัวอย่างให้ฟังว่า

"แค่ เราเลือกกินก๋วยเตี๋ยวแทน ข้าวก็ ถือว่าสร้างสรรค์แล้ว"

ทันทีที่มีทางเลือกเกิดขึ้น เช่นวันนี้ไม่กินข้าวจะกินก๋วยเตี๋ยว
ใน อดีตนายพรานเห็นกระต่ายวิ่งชนหินตอนออกจากโพรง
จึง เอาหินสองก้อนไปวางไปวางหน้าโพรงกระต่าย

หรือการที่เรามีชักโครกใช้ ในปัจจุบันก็
เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของคน
เมื่อก่อนคนวิ่งเข้าป่า ขุดหลุม กลายเป็นส้วมซึม
กลายเป็นชักโครง ทุกอย่างมันมีวิวัฒนาการ

เขา บอกว่า แต่กว่าจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้
ต้องมาจากทั้งประมวลความคิดเป๊ะ เป๊ะ เข้ากับความคิดกะ กะ
เพราะความคิดสร้างสรรค์นั้น เปรียบ เสมือนจินตนาการ
ซึ่งคนอาจจะคิดแบบเดิมมาก่อน แล้ว
จึงคิดหาทางออกในรูปแบบต่างๆ

"ความคิดทางเลือกหรือความ คิดสร้างสรรค์
เปรียบเสมือนประกายไฟ ในขณะที่ความคิดแบบเป๊ะ เป๊ะ
และความคิดกะ กะ เปรียบ เป็นเชื้อเพลิง
ซึ่งเชื้อเพลิงอาจเป็นความรู้ตั้งแต่เราเรียนมา
เป็นประสบการณ์ในชีวิต เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
ดังนั้นเมื่อมีความคิดทางเลือกเกิดขึ้น
จึง กลายเป็นไฟกองใหญ่หรืองานครีเอทีฟชั้นดี"

ประภาส ยังบอกอีกว่า เขาเป็นคนคิดในกรอบ
ต่างจากครีเอทีฟคนอื่นๆ ที่บอกให้คิดนอกกรอบ

"ผม ว่าเราทำงานภายใต้กรอบ ผมเองก็ทำ งานในกรอบ เช่น
โฆษณา 30 วินาที หรือที่ดินขนาด 50 ตาราง วา
กรอบก็เป็นเหมือนโจทย์ที่เรา ได้รับมา
คนเรามีกรอบหรือบทบาทก็ ยังคงสร้างสรรค์งานออกมาได้
ครีเอทีฟ สามารถคิดในกรอบได้
แต่ต้องเป็นกรอบที่เราสร้างขึ้นมาเอง ไม่ ใช้กรอบที่คนอื่นสร้างขึ้น"

เมื่อมีกรอบเดินแล้ว อาจทำให้คนพยายามคิดหาทางออกอื่น ๆ เพิ่มเติม
ประภาส บอกว่า เขามีเพื่อนคนหนึ่งที่ชอบคิดย้อนศร
ด้วยการทำงานเป็นครีเอทีฟที่ต้องคิดงาน แก้ไขงานของ
ลูกค้าบ่อยครั้ง จึงคิดวางแผนจะพัฒนารถยนต์ให้เป็น
โมบายออฟฟิศแล้วนำไปจอดหน้าออฟฟิศลูกค้า
เมื่อเข้า ไปเสนองานแล้วลูกค้าไม่พอใจจะได้กลับลงมาแก้ไขงานได้ทันท่วงที

"ผมเรียกความคิดแบบนี้ว่าคิดย้อนศร เช่น กรณีของแบรนด์มูจิ (Muji)
จากญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่าไม่มีแบรนด์ แต่ทำไปทำมา
ชื่อแบรนด์กลับเป็นที่รู้จักโด่งดังทั่วโลก
ในขณะที่บางแบรนด์พยายามออกแบบโลโก้บนเสื้อให้ใหญ่จน
เกือบจะเต็มตัวเสื้อ เพื่อโชว์แบรนด์"

ชีวิตในกรอบของประภาส ยังมีอีกหลายมุมที่
น่าสนใจ สิ่งหนึ่งที่เขาได้ยินมาแล้วมองว่าเป็นแนว
คิดในการทำงานหรือการคิดงานที่ดี นั่นก็คือ หนามยอกเอาหนามบ่ง

นานมาแล้วในประเทศ ญี่ปุ่นประสบปัญหาน้ำท่วม
ชาวบ้านแถบนั้นไม่มีทรายสำหรับใส่กระสอบ
เป็นคันกั้นน้ำจึงเอาน้ำใส่ถุงแล้ว ใส่กระสอบเป็นคันกั้นน้ำแทน ซึ่งก็ได้ผล

"เมื่อครั้งทำเทปให้ นรีกระจ่าง ช่วงแรก
ด้วยความที่นรีกระจ่างมีโทนเสียงต่ำ
ต่างจากนักร้องหญิงในยุคนั้น โปรดิวเซอร์บอกจะไหวเหรอ
ผมเลยสั่งให้นักดนตรีเปลี่ยนคีย์ต่ำลง
เรียกว่าใช้ วิธีหนามยอกเอาหนามบ่งเลย
สุดท้าย นรีกระจ่างก็ดัง หรือ อย่างช่วงถ่ายทำระเบิดเถิดเถิง
ตอนนั้นฝนตกหนัง กระทบหลังคาโรงถ่ายเสียงดังมาก
เราจึงให้ตัวละครถือ ร่มทั้งตอน บอกว่าเป็นช่วงหน้าฝน
ผมว่าก็เหมือนชาวเอสกิโม ที่เอาน้ำแข็งมาทำบ้านกันหนาวนั่นแหละ"

ข้อสำคัญของ การคิดงานแต่ละ ครั้ง ประภาสบอกว่า
อย่าลืมจดหรือเขียนไว้ เพราะ
บางครั้งการที่พูดระดมความคิดแล้วเขียนไว้จะได้งานที่ดี

เหมือนเช่นมีคนคิดชื่อรายการว่าโอ้ว มาย กอด
เราก็กลับมาแปลเป็นไทยว่า คุณพระช่วย
เป็น รายการที่เสนอวัฒนธรรมไทยที่มุมมองที่จับต้องได้ง่าย
เข้าถึงทุกคน ซึ่งก็ตรงกับแนวทางการทำงานของเราอยู่แล้ว

แม้การทำในช่วงแรกจะมีอุปสรรคว่า วัฒนธรรม ไทยเป็นสิ่งสูงส่ง เช่น
การเล่นโขน จะมาทำง่ายๆ สั้นๆ ไม่ได้
ต้องมีพิธีรีตอง แต่เราก็ยืนยันว่าต้องการทำให้คนเข้าใจได้ง่าย และ เราก็ทำได้

คุณพระช่วย จึงเป็นรายการเกมโชว์ของไทย
ที่สามารถส่งออก วัฒนธรรมให้กับคนไทยและชาวต่างชาติได้รับรู้
ท่าม กลางคู่แข่งอย่างวัฒนธรรมตะวันตก ญี่ปุ่นและเกาหลี
ที่ สังคมบ้านเรากำลังคลั่งไคล้กันอยู่ในขณะนี้

ประภาส ออกตัวในตอนแรกว่าเขาพูดไม่เป็น
ต้องมีคนตั้งคำถาม ถึงตอบได้ นั่นอาจเป็น
เพราะเขาใช้สมองทำงาน มากกว่าคำพูด
แค่นี้ก็น่าเป็นตัวอย่างของการคิดงานอย่างสร้างสรรค์แล้ว