Custom Search

Aug 19, 2006

อาจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ : A49.COM

From T2

From นิธิ สถาปิตานนท์

http://teetwo.blogspot.com/2010/08/blog-post_9499.html
http://teetwo.blogspot.com/2009/02/49.html
http://teetwo.blogspot.com/2009/02/architects-49-25th-anniversary.html
lhttp://teetwo.blogspot.com/2008/02/blog-post_9392.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/10/blog-post_28.html
http://teetwo.blogspot.com/2008/02/blog-post_26.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/08/blog-post_17.html
http://teetwo.blogspot.com/2010/08/blog-post_12.html

"เป้าหมายของเราอยู่ที่ผลงานไม่ใช่ธุรกิจ"
ประชาชาติธุรกิจ
วันเวลากลายเป็นตัวบ่มเพาะให้ "สถาปนิก 49" หรือ A49 แข็งแกร่งขึ้น
โดยเฉพาะแม่ทัพใหญ่ "นิธิ สถาปิตานนท์" ยิ่งแกร่งขึ้นอีก
เมื่อนำพาบริษัทให้กลับมายิ่งใหญ่
ในฐานะผู้ก่อตั้งและผลักดันผลงานของกลุ่มให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ "นิธิ" เป็นสถาปนิกอาวุโส ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) ประจำปี 2545

พลังและกำลังใจจึงเกิดท่วมท้น
วันนี้เขาเปิดโอกาสให้ "ประชาชาติธุรกิจ"
ได้สัมภาษณ์พิเศษทุกแง่มุม
เรื่องราวของ A49 มีความคืบหน้าอย่างไร
เชิญติดตามได้ในบรรทัดถัดไป...

- กว่าจะมาเป็นบริษัทสถาปนิก A49

ผมเคยทำงานอยู่ที่ดีไซด์ 103 ของคุณชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว มาก่อน
อยู่มา 12ปี ตอนนั้นพนักงานมีร้อยกว่าคนมันเป็นเรื่องธรรมดาของคน
ที่อยากจะมีกิจการของตัวเอง เป็นความฝันของทุกคน ผมอยู่ที่นั่นจนอิ่มตัวแล้ว
และตอนนั้นก็นั่งตำแหน่ง เอ็ม ดี ได้เรียนรู้จากคุณชัชวาลย์ เยอะทีเดียว
แล้วจึงออกมาตั้งบริษัท สถาปนิก A49 ตั้งแต่ปี 2526
ตอนออกมาก็มีกันอยู่ 3 คน มีเพื่อนอีกคนเป็นหุ้นส่วน ช่วงนั้นเศรษฐกิจกำลังดาวน์
แต่ก็ดีไปอย่าง ทำให้เรารอบคอบมากขึ้น ค่อยๆ ประคับประคอง
ผมมองว่าถ้าตั้งบริษัทช่วงเศรษฐกิจดี เราอาจตั้งหลักไม่ทัน
ตอนนั้นจึงกระเตาะกระแตะไปเรื่อยๆ
รับงานออกแบบบ้านพักอาศัย เริ่มต้นจากคนรู้จัก เพื่อประคองให้บริษัทอยู่ได้
ใช้เวลา 4-5 ปี ก่อนขยายออกไปเรื่อยๆ
และส่วนตัวผมเป็นคนลงมือทำงานออกแบบเอง
คนจึงเชื่อถืออยู่พอสมควร 
- ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจหลายครั้งมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
ตั้งบริษัทมา 21 ปีแล้วผ่านมาหลายยุค ก็ต้องปรับตัวให้ทันสถานการณ์
เพราะธุรกิจนี้ผูกกับเศรษฐกิจของประเทศ อย่างครั้งล่าสุด
เศรษฐกิจตกมากๆตอนปี 2539 ผมก็ต้องแก้สถานการณ์
ตอนนั้นมีคนอยู่เฉพาะ A 49 บริษัทเดียว 130 คน ต้องลดเหลือ 60 คน
ถ้ารวมทั้ง 6 บริษัทก็ร่วม 500 คน จึงต้องตัดค่าใช้จ่าย ลดเงินเดือน
อะไรที่มีอยู่ขายหมด เพื่อให้บริษัทอยู่ได้ ใครอยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ไป
บางคนออกไปขายน้ำยังมี ตอนนั้นผมขายสินทรัพย์เกือบหมด
รถยนต์ก็คืนเขาหมด เพิ่งจะ 1-2 ปีนี่เอง ที่เริ่มดีขึ้น 
- ตอนนี้บริษัทในเครือกี่บริษัท
8 บริษัท คือ
1.บริษัทสถาปนิก A49
2.บริษัทอินทีเรีย A 49
3.บริษัท คอนเซาท์ติ้ง แอนด์ แมนเนจเมนท์ 49
4.บริษัทแลนด์สเคป A49
5.บริษัทกราฟฟิก 49
6.บริษัทสถาปัตย์ เอ็นจิเนียริ่ง 49
7.บริษัทเอ็ม & อี เอ็นจิเนียริ่ง 49 และ
8.บริษัท 49 ไลท์ทิ่ง ดีไซด์ คอนเซาท์แทนต์

ถือได้ว่าเรามีบริษัทที่ทำงานครอบคลุมธุรกิจด้านการก่อสร้างครบวงจร
สำหรับพนักงานตอนนี้มีทั้งหมดกว่า 300 คน แต่ละบริษัทจะอยู่ใกล้ๆ กัน
อยู่ตึกนี้ (A49) บ้าง ตึกใกล้ๆ กันบ้าง วิธีการบริหารก็พยายามดึง
ผู้บริหารทุกๆบริษัทมาประชุมร่วมกันทุกๆ เดือน
ถ้าว่างก็จะมานั่งทานข้าวกลางวันกันบ้าง
บางครั้งต้องใช้จิตวิทยานิดหน่อย พาผู้บริหารทั้ง 8 บริษัท
ไปเที่ยวต่างประเทศด้วยกัน เพื่อให้ทุกคนสนิทสนมกัน
มีอะไรจะได้พูดกันได้ง่ายขึ้น 
- รับงานประเภทไหนเป็นหลัก มีงานต่างประเทศมากไหม
งานต่างประเทศประมาณ 10% ล่าสุดก็ที่มัลดีฟส์ ส่วนงานในประเทศ
คิดเป็นสัดส่วนราว 90% สำหรับประเภทงานเราถนัดทุกเรื่อง
ตอนนี้ทำตึกสูงแต่บ้านส่วนตัวก็ยังทำอยู่ พูดง่ายๆ ในเมืองไทย
ถ้าจะออกแบบบ้านส่วนตัว
ส่วนใหญ่จะมาจ้างเราออกแบบค่อนข้างเยอะ
- งานต่างประเทศเป็นโครงการประเภทไหน
หลายอย่างมีทั้งงานรีสอร์ต โรงแรม อย่างที่มาเลเซีย สิงคโปร์
เป็นเฮาส์ซิ่งโปรเจ็กต์ ที่เวียดนามเป็นโรงแรมกับออฟฟิศ บิลดิ้ง
ที่จีนเป็นเฮาส์ซิ่ง โปรเจ็กต์ ที่มัลดีฟส์เป็นโรงแรม รีสอร์ต
และที่พม่าเป็นบ้านส่วนตัว
- เทรนด์ในการออกแบบสไตล์ไหนมาแรง
ตอนนี้สปามันเป็นเทรนด์ของโลก อย่างที่มัลดีฟส์ก็เป็นรีสอร์ต เป็นสปาทั้งนั้น
ไม่มีอาคารอื่น เพราะเทรนด์ของโลกเป็นอย่างนั้น
แต่งานของ A49 ไม่ได้ไปถึงยุโรป หรืออเมริกานะ เราจะอยู่ในเอเชีย
หรืออย่างอินเดีย เขาก็ติดต่อเราให้ไปออกแบบ ตอนนี้อยู่ในช่วงเจรจา
เพราะเขารู้สึกว่าสถาปนิกไทยออกแบบโรงแรมได้ดี
- ข้อจำกัดของสถาปนิกไทยในการรับงานต่างประเทศ
คิดว่าจุดอ่อนน่าจะอยู่ที่การประชาสัมพันธ์ตัวเอง เรื่องของการตลาด
ซึ่งคนไทยไม่เก่ง อีกเรื่องคือเรื่องภาษา เพราะสถาปนิกไทยไม่เก่งภาษา
เหมือนชาวสิงคโปร์ หรือออสเตรเลีย อย่างสิงคโปร์เขาบุกไปตะวันออกกลาง
ไปอินเดีย เพราะภาษาเขาดีกว่าเรา การตลาดก็เก่งกว่า
คนไทยยังเก็บตัวเองเยอะมาก สำหรับเรื่องใบอนุญาตรับงานคิดว่าไม่เป็นปัญหา

- การรับงานออกแบบต่างประเทศ จำเป็นต้องมีพันธมิตรหรือไม่
ต้องมีบ้าง แต่เราจะเป็นตัวหลักในการออกแบบ
เพราะเขามาซื้อความคิดจากเรา local architect ของประเทศนั้นๆ
จะช่วยแนะนำในเรื่องกฎหมายท้องถิ่น ลูกค้าเขาก็จะจัดมาให้
เราไม่ต้องไปหา เร็วๆ นี้เราอาจจะตั้งอีกบริษัทหนึ่งคือ
อาร์ชีเตค 49 อิน เตอร์เนชั่นแนล ให้มีสตาฟเป็นฝรั่ง
เพื่อรับงานต่างประเทศโดยเฉพาะ
- จะแนะนำสถาปนิกไทยอย่างไรบ้าง
ผมว่าก็ควรจะทำแบบผมคือ ทำหนังสือประชาสัมพันธ์งานของตัวเองให้เป็นที่รู้จัก
ด้วยวิธีที่มีศักดิ์ศรี ไม่ใช่ออกไปโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์
อีกวิธีหนึ่งคือการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์


- ผลกระทบจากการทำข้อตกลงเปิดเสรีทางการค้า
คิดว่าสถาปนิกไทยต้องปรับตัว ไม่ใช่ให้เขาบุกอยู่ฝ่ายเดียว
เราต้องบุกออกไปข้างนอกด้วย เพราะตอนนี้เราถูกบีบมาก
จากข้อตกลงขององค์การการค้าโลกหรือ WTO
จากข้อตกลงเปิดเสรีทางการค้าและการบริการ FTA
ตอนนี้สมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็พยายามผลักดันเรื่องเอเปกไลเซ่นส์
เพราะฉะนั้นเราจะต้องปรับตัว ต้องดูมาตรฐานวิชาชีพของแต่ละประเทศ
และพยายายามปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานเหล่านั้น
- คิดว่าสถาปนิกไทยมีความพร้อมขนาดไหน
ผมว่าความรู้เรามีความพร้อม แต่มาตรฐานเรากำลังพยายามอยู่
- ผลงานเราสู้ต่างประเทศได้ไหม
ได้แน่นอน แต่มาตรฐานการทำงาน การศึกษา เขาเรียนกันอย่างไรบ้าง
สอนกันอย่างไร เป็นไปตามมาตรฐานของโลกหรือเปล่า
อันนี้ต้องนำมาพิจารณากัน และผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
- มองเป้าหมายในอนาคตของบริษัท สถาปนิก A49 อย่างไรบ้าง
เราจะพัฒนาคุณภาพงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และพยายามปรับตัวให้ทันสถานการณ์
ผมเป็นคนรักงานสถาปัตยกรรมมาก อยากจะทำงานดีๆ ไม่อยากจะทำงานชุ่ยๆ
เพราะงานสถาปัตยกรรมอยู่เป็นร้อยๆ ปี ถ้าทำไม่ดีก็เป็นขยะ
สร้างไปแล้วก็อยากให้ตึกอยู่เป็นร้อยๆ ปี ไม่อยากให้ถูกทุบทิ้ง
วันดีคืนดีถ้าเขาอนุรักษ์ตึกของเราก็ยิ่งดี
เป้าหมายของผมอยู่ที่ผลงานมากกว่าไม่ได้อยู่ที่ธุรกิจ 
- ผลงานที่ภาคภูมิใจ
ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องบ้าน เพราะตึกนี่มันธรรมดามาก ออกแบบมาอย่างไรก็ไปอย่างนั้น
แต่บ้านมันเหมือนกับงานประติมากรรม ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัว
สามารถครีเอทีฟได้อย่างสนุกสนาน ยิ่งถ้าเจอเจ้าของบ้านเข้าใจ
มันสามารถออกแบบแตกต่างกันได้ตลอด
ถ้าบ้านต้องไปเข้ากับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย ก็ยิ่งสนุกกันไปใหญ่
- ฝันอยากจะทำงานออกแบบอะไรเป็นพิเศษ
อยากออกแบบรัฐสภาแห่งใหม่ ผมว่าสถาปนิกทุกคนฝันนะ
อยากทำให้ประเทศชาติ อยากให้เป็นแลนด์มาร์คของประเทศชาติ
หรือหอศิลป์แห่งชาติอะไรอย่างนี้ แต่ต้องไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกนะ
นี่คืออีกฝันหนึ่งที่ "นิธิ สถาปิตานนท์" อยากให้เป็นจริงขึ้นมา



ผลงานบริษัท A49 : http://www.property-report.com/em_archives.php?date=0604&id=405





81 Sukhumvit 26,
Bangkok 10110 Thailand
Tel. : +66(0) 2259-3533
Fax : +66(0) 2661-2186
Website : www.49group.com