Custom Search

Mar 16, 2011

Tsunami อาหารญี่ปุ่นเป็นพิษ


อาหารสมอง

วีรกร ตรีเศศ

Varakorn@dpu.ac.th


มติชนรายสัปดาห์

วันที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2548

ปีที่ 25 ฉบับที่ 1273

ความวิบัติจากคลื่นยักษ์ Tsunami ชี้ให้เห็นความสำคัญของข่าวสาร และความรู้
สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมนับแสนล้านบาท
ที่เกิดขึ้นทั้งหมดโยงใยกับการไม่ใส่ใจกับข่าวสารและความรู้
ถ้าหมุนเวลากลับไปได้ ทันทีที่เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย
ซึ่งถึงแม้จะไม่มีเครื่องตรวจจับมากมาย เหมือนมหาสมุทรแปซิฟิก
แต่ก็ตรวจวัดได้จากพื้นที่ไกล การเตือนภัยก็เกิดขึ้นในเวลา ไม่เกิน 15 นาที
มีเวลาเพียงพอสำหรับการหนีภัยของคนจำนวนมากมาย
เพราะมีช่วงเวลาระหว่างแผ่น ดินไหว
และคลื่นซัดฝั่งภูเก็ตและพังงานานเกือบสองชั่วโมง
แต่ที่การเตือนภัยไม่เกิดขึ้นใน ประการแรก
ก็เพราะเราเป็นสังคมของพวก reactive คือวัวหายแล้วล้อมคอก
ไม่ใช่ proactive ที่คิดล่วงหน้า พยายามป้องกันภัยก่อนที่จะเกิดขึ้น
ทายก็ได้ว่าหลังเหตุการณ์ครั้งนี้แล้ว ต้องออกแรงกันอีกมากกว่า
จะมีระบบเตือนภัยเกิดขึ้นหรืออาจไม่มีเลยก็ได้
เพราะเรามักลืมสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาไม่นาน
และก็ใช้วิธีการจัดการแบบไทยๆ กล่าวคือ
มั่วๆ ไป และหวังว่าข้างหน้าคงจะแก้ไขไปได้หรือไม่
มันก็ดีไปเอง เหตุการณ์ร้ายจะไม่เกิดขึ้นอีก
เพราะบ้านเรามีพระคุ้มครอง

ประการ ที่สอง สังคมเรามิใช่สังคมที่ชื่นชมความรู้
เราชื่นชมคนมีความรู้ แต่เราอย่างงั้นๆ กับความรู้
คนส่วนใหญ่นิยมฐานานุภาพของการได้ปริญญาสูงๆ
แต่ไม่แคร์ว่าจะได้รับความรู้จากการเรียนปริญญานั้นหรือไม่
(การวิ่งเข้าเรียนปริญญาสูงๆ
โดยไม่สนใจคุณภาพ ขอเพียงให้จบจึงเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด)

ถ้า เราชื่นชมความรู้จริง รายการสารคดีในโทรทัศน์คงมีคนชมมากกว่า
ละครน้ำเน่าและ เกมส์โชว์ซ้ำซาก ใครๆ ก็รู้
โดยไม่ต้องเป็นผู้จัดรายการสถานีโทรทัศน์ว่ามิวสิกวิดีโอสร้างกำไรมากกว่า
รายการที่เป็นสาระให้ความรู้

ถ้า สังคมเราเผยแพร่ความรู้และซึมซาบความรู้กันอย่างกว้างขวางคงรู้ว่า
Tsunami ไม่ใช่ชื่ออาหารญี่ปุ่นแต่เป็นคลื่นยักษ์อันตรายยิ่ง
ที่เกิดภายหลังการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของ
พื้นมหาสมุทร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิด
(Tsunami ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าคลื่นสู่อ่าว หรือ Harbor Wave)

ถ้า เราชื่นชมความรู้ เราคงมีความรู้กันพอที่จะเตรียมตัวหลัง
เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรทันที
เราคงจะไม่ลงไปจับปลาหรือถ่ายรูปกันบนหาด
เมื่อน้ำเริ่มลดลงไปอย่างรวดเร็ว
ก่อนที่คลื่นยักษ์ที่ทรงพลังมหาศาลจะมาถึง

ถ้า เราให้คุณค่าแก่ข้อมูลข่าวสาร หน่วยราชการที่รับผิดชอบคงจริงจัง
กับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเตือนให้ ระวัง Tsunami
และประชาชนผู้เชื่อมั่นในความรู้คงหาทางหนีภัยกันจ้าละหวั่นเป็นแน่
ภัยวิบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากความไม่รู้จักธรรมชาติของ
แผ่นดินไหวในมหาสมุทร และของ Tsunami
(คนต่างชาติจำนวนหนึ่งที่รอดชีวิตเข้าใจว่า
เป็นคนช่างสังเกตการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ
และมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของ Tsunami จึงรีบขึ้นฝั่งก่อนคนอื่นๆ)

ประการ ที่สาม สังคมของเรามีคนกล้าหาญกล้ากระทำสิ่งที่คิดว่าถูกต้องน้อย
คนมีกระดูกสันหลัง ที่ไม่ได้ทำด้วยเส้นสปาเกตตี้จะกล้ากระจายข่าวการอาจถูกกระทบโดย Tsunami
แก่สาธารณชนโดยไม่กังวลว่าจะถูกด่า
เพราะอาจทำให้เสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หาก Tsunami ไม่เกิดขึ้นจริง

เรา คงต้องยอมรับว่าความเสียหายต่อชีวิตจำนวนมหาศาล
(ผมคาดว่าในที่สุดไม่ต่ำกว่า 3-4 พันคน
และเกินกว่าครึ่งคือชาวบ้านไทยที่จำนวนมากอาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลที่รถเข้าไม่ ถึง)
และความโศกเศร้าอันเกินจะพรรณนาครั้งนี้
สามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้ามีคนกล้าหาญ ทางจริยธรรมในระบบราชการของเรา

ความ กลัวถูกตำหนิ กลัวถูกปลดจากตำแหน่ง
หากคำเตือนไม่ต้องโสตทำให้ความหวาดเกรงเข้าทางประตู
และความกล้าหาญทางจริยธรรมออกทางหน้าต่าง
สิ่งที่เหลืออยู่ในบ้านก็คือกระเป๋าสตางค์ที่ว่างเปล่าและน้ำตา

ประการ ที่สี่ สื่อโทรทัศน์ของเราขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ไม่สามารถตีความได้ว่า การเกิดแผ่นดินไหวจะนำไปสู่ Tsunami
และผลลัพธ์รุนแรงอย่างไร จึงต้องคอยแต่คำเตือนจากทางราชการอยู่ฝ่ายเดียว
เพื่อเอามาสื่อสารต่อ และแถมถูกควบคุมโดยราชการอีกด้วย
และถึงจะสื่อก็ทำอย่างพอแก้บน อย่างไม่เข้าใจความสำคัญของบทบาทตนเอง

ถ้า เรามีสื่อโทรทัศน์ที่เป็นอิสระและมีความรู้
เราคงเห็นบทวิเคราะห์ทันทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหว
ถึงแม้จะไม่กล้าฟันธงว่า Tsunami จะเกิดขึ้น
ผู้ชมอย่างน้อยก็พอใช้วิจารณญาณของแต่ละคนเองได้ว่า
จะทำอย่างไรต่อไปกับตน เองดี
ซึ่งดีกว่าที่ได้เกิดขึ้นแล้วที่เกือบทุกช่องในช่วงเวลาวิกฤติ
ตอนแรกมีแต่ ละครน้ำเน่าและมิวสิควิดีโอ

การเขียนอย่างนี้ไม่ใช่อยู่ในประเภทเก่งเมื่อมองอดีต
แต่เป็นการประเมินการเป็นสังคมแห่งความรู้
(ดังที่เรียกว่า Knowledge-Based Society)
ของสังคมไทยอันแสนจะเป็นอยู่อย่างน้อยนิด

ภัยพิบัติครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเพียงข่าวสารหรือความรู้เล็กน้อย
ก็สามารถช่วยชีวิตตนเองให้ทำงานหาเงินต่อไปได้อีกหลายปี
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าเพียงชิ้นเดียวของข่าวสารความรู้ก็มีผลกระทบ
อย่างกว้างไกลในเชิงเศรษฐกิจของครอบครัว

บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ก็คือไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าธรรมชาติ
สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นไม่สามารถหยุดธรรมชาติ ที่ดำรงมานับล้านปีได้
เราอาศัยอยู่ในโลกก็ต้องยอมรับสภาพความจริง
และจงถ่อมตัวให้มากโดยเคารพธรรมชาติ

ยาม เมื่อคลื่นเป็นฟองขาววิ่งเข้าฝั่งนั้นต่อให้ซุปเปอร์มหาเศรษฐีต้องการเอา
เงินนับพันหรือหมื่นล้านบาทมาติดสินบนเพื่อหยุดมันก็ไม่สามารถทำได้

อย่างน้อยก็มีหนึ่งอย่างละที่เงินซื้อไม่ได้ในบ้านเรา

เครื่องเคียงอาหารสมอง

ก่อน หน้า 26 ธันวาคม ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีพายุยักษ์ Tsunami
ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟ ที่อยู่ใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย
(เท่าที่ทราบมาก่อนในประวัติศาสตร์สมัยใหม่)
Tsunami ที่เกิดครั้งนี้รุนแรงขนาด
คลื่นวิ่งข้ามผ่านมหาสมุทรอินเดียยาวไปถึงทวีป แอฟริกาทีเดียว

ใน ค.ศ.365 เมือง Alexandria ที่มีห้องสมุดใหญ่
สะสมภูมิปัญญาของมนุษย์ชาติที่สำคัญโดน
Tsunami ถล่มจนคนตายไป 50,000 คน ความรู้สูญสลายไปมหาศาล
ผู้บันทึกชื่อ Ammianus Marcellinius
บรรยายเหตุการณ์ไว้แทบไม่ต่างไปจากเหตุการณ์ที่พังงา หรือภูเก็ต
โดยเริ่มจากได้ยินเสียงเหมือนฟ้าผ่าและแผ่นดินไหว
จากนั้นน้ำทะเลลดลงไปมากจนคนลงไปจับหอย ปู ปลา และแล้วคลื่นยักษ์ก็โถมเข้าใส่

ร้อย ละ 95 ของแผ่นดินไหวเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก
ดังนั้น รอบมหาสมุทรแปซิฟิกจึงมีศูนย์ตรวจสอบแผ่นดินไหวเพื่อเฝ้ามอง Tsunami
อยู่เต็มไปหมดเพื่อเตือนประชาชนก่อนพายุยักษ์ถึงฝั่ง
ซึ่งตรงกันข้ามกับกรณีของมหาสมุทรอินเดีย
เมื่อมันไม่เคยเกิดจึงมีศูนย์เตือนภัยอยู่ไม่มากนัก

การ ศึกษา Tsunami ก้าวไกลถึงขนาดมีสูตรพยากรณ์ว่าคลื่นจะมีความเร็วเท่าใด
และจะใช้เวลาในการแพร่กระจายเร็วเพียงใด กล่าวคือความเร็วของ Tsunami
จะเท่ากับ (ค่าถอดรูตกำลังสองของ 9.8) x (ความลึกของมหาสมุทรที่คลื่นวิ่งไป)
ศูนย์เหล่านี้สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรได้ภายใน 3-15 นาที
หลังจากที่มันเกิด และประเมินขนาดของ Tsunami
ทิศทางของการเดินทาง และเวลาที่จะถึงฝั่งได้ในเวลาอีกไม่กี่นาที

ถึง แม้ Tsunami ในมหาสมุทรอินเดียไม่มีศูนย์ตรวจจับเข้มข้น
แต่ข่าวมีว่าทางการไทยได้รับข้อมูลว่าอาจเกิด Tsunami
จากศูนย์ตรวจจับในภูมิภาคใกล้เคียงหลังจากได้ทราบว่า
มีแผ่นดินไหวครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย
แต่ไม่กล้าประโคมข่าวผ่านสื่อ
ได้แต่เตือนไปอย่างแกนๆ เพราะกลัวว่าหากผิดพลาดแล้วจะเจ็บตัว

ถ้า ทางการไทยทำอย่างนี้จริงก็แสดงว่ามีความรับผิดชอบต่ำมาก
เพราะมีเวลาอาจถึงเกือบสองชั่วโมง ที่จะเตือนประชาชนที่อยู่ริมฝั่งทะเลภาคใต้ให้ระวังภัย
(แผ่นดินไหวก่อน 8 โมงเช้าเล็กน้อยและ Tsunami เข้าถึงฝั่งไทยประมาณ 10.00 น.)

ทำไม จึงต้องคอยให้สื่อรับข่าวไปประโคมเพื่อเตือนภัย
เหตุใดจึงไม่ยกหูโทรศัพท์ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้จัดรายการสถานีโทรทัศน์ต่างๆ
และวิทยุประเทศไทยทันที หน่วยงานทางการผู้รับผิดชอบ
จะขาดความรู้พื้นฐานถึงขนาดไม่รู้ว่าเมื่อเกิด
แผ่นดินไหวขนาดใหญ่เช่นนี้แล้วจะไม่เกิด Tsunami
ขนาดใหญ่ตามมาและมีโอกาสมาในทิศทางบ้างเราทางใต้เชียวหรือ

ถ้า รับผิดชอบกันมากกว่านี้อาจไม่เสียหายและไม่เสียน้ำตาเท่านี้ก็เป็นได้
นายกรัฐมนตรีน่าให้มีการสอบสวนหาความจริงครับ
จะได้ไม่มีการผิดพลาดซ้ำสองอีก

น้ำจิ้มอาหารสมอง

One of the worst things that can happen in life
is to win a bet on a horse at an early age. (Danny McGoorty)

สิ่งเลวร้ายที่สุดอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดกับชีวิต
ก็คือการชนะได้เงินพนันจากการแทงม้าตั้งแต่อายุยังน้อย

หน้า 20