Custom Search

Feb 5, 2010

คิดใหม่ ให้ชีวิตใหม่ โอเค - เรวัต พุทธินันทน์- เพลงไทยที่ฟังก่อนตาย

Related: http://teetwo.blogspot.com/2007/04/blog-post.html



http://www.facebook.com/rewat.forever



คิดใหม่ ให้ชีวิตใหม่ โอเค - เรวัต พุทธินันทน์ (1) เพลงไทยที่ฟังก่อนตาย (13)


"เต๋อ" เรวัต พุทธินันทน์ “พี่ชายใจดี” นิยามที่คนใกล้ชิด
ไปจนถึงแฟนเพลง และใครต่อใครพูดถึง คนดนตรี
นวดงามคนนี้
ผู้ชายที่อยู่หน้าเวที หรือแม้กระทั่งสื่อต่างๆ
ไม่มีภาพชินตากับเครื่องดนตรีคู่กาย
ภาพที่อยู่ในความทรงจำกลับเป็นภาพที่อยู่กับผู้ชายไว้หนวด
หน้าตายิ้มแย้ม เสียงร้องแหบ ไมโครโฟนและการเอ็นเตอร์เทนคนดูมากกว่า

คนดนตรีมักมีสัมผัสพิเศษและ
พรสวรรค์ในการเล่นเครื่องดนตรีต่างๆ อยู่แล้ว

ตั้งแต่แซกโซโฟน ที่เป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก
ทำให้มีทักษะ ความสามารถ และความมุ่งมั่น ตั้งใจ
ที่ส่งผลให้ชายคนนี้ไปใด้ไกล และไกลกว่าใครๆ
ฉายแววให้เห็นตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 18 ที่ตั้งวงดนตรีกับเพื่อนๆ

รับเล่นตามงานต่างๆ จนเข้าประกวดวงดนตรี

และคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีประเภทวง
ของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย


ในระดับมหาวิทยาลัยได้เพื่อนที่รักดนตรีเหมือนกัน
ก็ยิ่งส่งเสริมให้ชีวิตเข้าไปสัมพันธ์กับดนตรีลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีกระดับ
อ.ดนู ฮันตระกูล, จิรพรรณ อังศวานนท์

ด้วยความที่เป็นนักดนตรีหัวก้าวหน้า ทำให้มีแนวคิด
และการใช้ชีวิตที่มีดนตรีเป็นตัวตั้ง และความสำ
เร็จอื่นๆ ก็ตามมา
ครั้งหนึ่งที่วง The Impossible วงดนตรีสตริงคอมโบวงแรก

และวงเดียวของประเทศที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อน
ได้รับการเซ็นสัญญาไปเล่นที่ฮาวาย

ด้วยความที่เรวัต พุทธินันทน์ สามารถร้องเพลงสากลได้ดี
จึงถูกชวนมาร่วมกับโปรเจกท์นี้

ในตำแหน่งนักร้องนำ และเล่นคีย์บอร์ด ในปี 2515
และหลังจากนั้น ปี 2516-2519 วงดิ อิมพอสซิเบิ้ล
ตระเวนแสดงคอนเสิร์ตในประเทศแถบยุโรป สแกน
ดิเนเวีย เช่น
สวีเดน นอร์เวย์ และฟินแลนด์ รวมระยะเวลา 4 ปี
ของการเล่นดนตรีในต่างประเทศ
เป็นประสบการณ์ที่เพาะบ่มให้ชีวิตนักดนตรีเข้มข้นมากขึ้นไปอีกหลายเท่า
จาก The Impossible สู่ The Oriental Funk ปี 2520-2524
สมาชิกหลักๆ คือ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร, ศรายุทธ สุปัญโญ, วินัย พันธุรักษ์,
ไพฑูรย์ วาทยะกรนอกจากเล่นประจำที่แมนฮัตตันคลับ สุขุมวิท 15,
โรงแรมมณเฑียร แล้ว

ยังตระเวนเปิดการแสดงในยุโรปและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
ช่วงท้ายของวงมีอัสนี โชติกุล
เข้ามาเสริมทัพ ในตำแหน่งกีตาร์ ช่วงปลายของวง

ด้วยความสามารถและประสบการณ์ทางด้านดนตรีที่สั่งสมมาเนิ่นนาน

กอปรกับแนวคิดที่จะพัฒนาวงการเพลงไทย

ให้ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ
เรวัต พุทธินันทน์ ได้ร่วมงานกับ
คุณไพบูลย์ ดำรงชั
ยธรรมก่อตั้ง
บริษัทแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ขึ้นในปี 2526
เพื่อสร้างสรรค์งานเพลงและผลิตศิลปิน ตลอดจนผลักดันวงการดนตรี
ที่เคยถูกมองว่าเป็นอาชีพเต้นกินรำกิน
ให้กลายเป็นธุรกิจบันเทิงที่ได้รับการ ยอมรับอย่างล้นหลาม

ครั้งหน้าเราจะไปเจาะลึกผลงานในอัลบั้มเดี่ยวซึ่งมีอยู่หลายอัลบั้ม
ที่ใช้คำว่า ต้องฟัง ไม่ใช่แค่น่าฟัง หรือควรฟัง

ผลงานเพลง
ปี 2525 อัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน เรวัต พุทธินันทน์ และคีตกวี
ปี 2526 อัลบั้ม เต๋อ 1

ปี 2528 อัลบั้ม เต๋อ 2
ปี 2529 อัลบั้ม เต๋อ 3

ปี 2529 อัลบั้ม บันทึกการแสดงคอนเสิร์ตปึ้กกก
?! (อัลบั้มพิเศษ)
ปี 2530 อัลบั้ม ชอบก็บอกชอบ
ปี 2535 เพลงประกอบละครเรื่อง รักในรอยแค้น (ททบ.5) เพลงรักเธอมากกว่า

ชาตินี้ ยังไงก็ฟังเพลงทั่วไป ได้ไม่หมด
ขอเลือกเพลงโปรด ฟังก่อนตาย ดีกว่า

"โชคชัย เจี่ยเจริญ" Chokchai@Mac.com



คิดใหม่ ให้ชีวิตใหม่ โอเค - เรวัต พุทธินันท์ (2) เพลงไทยที่ฟังก่อนตาย (14)

ผู้ชายคนนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง
ในการผลักดันให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น

พร้อมกับการสร้างงานของตนเอง
ให้เป็นบรรทัดฐานให้แก่นักร้องรุ่นหลังอีกด้วย

2525 งานอินดี้ไทยรุ่นแรกๆ อินดี้กันตั้งแต่ไก่โห่
และเป็นอินดี้ที่มีกึ๋นนำเสนองานดนตรีทดลอง
ที่ เรวัต พุทธินันท์ ทำงานร่วมกับสมาชิกบัตเตอร์ฟลาย
ขณะนั้นเรียกว่า คีตกวี ซึ่งประกอบไปด้วย
ดนู ฮันตระกูล อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ จิรพรรณ อังศวานนท์
สุรสีห์ อิทธิกุล กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
อัสนี โชติกุล และ เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์


หลายเพลงจากอัลบั้มชุดนี้ไม่ธรรมดา

เป็นเพราะประสบการณ์ แนวคิดล้ำหน้า
บวกความสามารถ ผ่านชั้นเชิงของผู้ร่วมอุดมการณ์
ถูกนำเสนอผ่านอัลบั้มชุดนี้ อาจหาฟังต้นฉบับยากสักหน่อย

แต่ก็คุ้มค่าที่จะค้นหามาฟัง หลายเพลงถูกนำมาทำใหม่โดย
อัสนี โชติกุล และบรรจุในอัลบั้มต่างๆ อัลบั้มละเพลง
(มียกเว้นบางอัลบั้ม) อย่าง เพลง ไม่เป็นไร,

เรามาร้องเพลงกัน, ทุกๆ คน(เป็นคนดี),
ทำอยู่ทำไป, วีณาแกว่งไกว, ขลุ่ยผิว, ดอกไม้ไปไหน
2526 เปิดบริษัท Grammy
และมีอัลบั้มเดี่ยวชุกแรก เป็น ฟังกี้
ใช้ชื่อว่า “เต๋อ 1”
หนวดงามถูกนำเสนอบนหน้าปกอัลบั้ม

ที่บ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อย่างชัดเจน
เปิดตัวด้วยเพลง ดอกฟ้ากับหมาวัด

ที่ฟังดูแปลกจากเพลงไทยสมัยนั้น

หลายเพลงในอัลบั้มชุดนี้ที่ได้รับความนิยมมากๆ คือ
เพลงเจ้าสาวที่กลัวฝน ยิ่งสูงยิ่งหนาว และที่แล้วก็แล้วไป
กลายเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในยุคนั้นอย่างน่าทึ่ง

ด้วยท่วงทำนองไพเราะเนื้อเพลงกินใจด้วยความหมายลึกซึ้ง
ถือได้ว่าเป็นงาน คลาสสิกของวงการเพลงไทยสากลที่ยังคง
ได้รับการยอมรับการจดจำ และสร้างความประทับใจมาโดยตลอด

นับเป็นการเริ่มศักราชใหม่ของวงการเพลงไทยในขณะนั้น
นักแต่งเพลงหลายคนมาร่วมงาน เช่น
อัสนี โชติกุล กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
วิชัย อึ๊งอัมพร ไพฑูรย์ วาทยะกร
จาตุรนต์ เอมบุตร อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ
เป็นทีมทำนอง และบันทึกเสียง
ส่วนเนื้อเพลง พี่เต๋อ ล้วนๆ


2528 สองปีต่อมา
อัลบั้ม “เต๋อ 2” ก็ตามมาสร้างปรากฏการณ์

เพียง สองปี คุณภาพการบันทึกเสียง
เปลี่ยนไปในทางที่ดีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นักแต่งเพลง และนักดนตรี ล้วนเป็นทีมเดิม
แต่อัลบั้มชุดนี้ ในวันนั้น
หากมีเครื่องเสียงดีๆ ฟังจะได้อรรถรสมากขึ้นตามลำดับ
อกหักไม่ยักกะตาย มันแปลกดีนะ ถูกดีเจ

นำไปเปิดในดิสโก้เธค ลานสเก็ต กันให้สนั่น
มุมที่เรียกว่า เพลงแมส (สำหรับวงกว้าง)
ก็นำเสนอแบบเข้าถึงคนหมู่มากได้เป็นอย่างดี
มุมที่เป็นเชิงสังคม ก็ลึกซึ้งได้ใจคน
หาคนในความหมายของเพลงกันไป
ล้ำหน้าไปอีกขั้นกับเพลง มันแปลกดีนะ

ที่มีกลิ่นของการ Rap เข้ามาในเพลง

โดยมีทั้งร้องทั้งรับกับคอรัส ได้อย่างน่าสนใจ
จนถึงวันนี้กลับไปฟังหลายเพลงจากชุดนี้
ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าล้าสมัยไปแม้ แต่น้อย


2529 “เต๋อ 3” ก็ตามมาติดๆ ได้เริ่มสร้างทิศทางใหม่ในการนำเสนอ
มิวสิก วิดีโอไว้ดูเพิ่มเติมจากการฟังอีกทางด้วย
สองเราเท่ากัน เมืองใหญ่เมืองนี้ ปากคน คงจะมีสักวัน
เพลงที่เป็นกำลังใจที่เติมเต็มได้เสมอ

ยามที่หัวใจต้องการ น่าฟังทั้งอัลบั้ม อีกเช่นเคยครับ

ปีถัดมา นำเพลงจากอัลบั้มที่ผ่านมา
ที่มีเนื้อหาดีๆ มาเรียบเรียงและบันทึกเสียงใหม่ ใสปิ๊ง
เต๋อ ชอบก็บอกชอบ
เพลง Title Track
ชอบก็บอกชอบนั้น กีตาร์โซโล่

สั้นๆ แต่จี๊ดเหลือเกิน ผมชอบมาก
ก็ขอบอกว่า ชอบมาก

2549ฺ Beloved Memories of Rawat Buddhinan
อัลบั้มที่รวมเพลงทุกชุดของพี่เต๋อไว้แบบเกือบครบถ้วน
แม้จะมีความผิดพลาดในอัลบั้ม ชอบก็บอกชอบ
ที่นำเพลงจาก Version เก่ามาลงก็ตาม
แต่ก็ถือว่ารวมมามากที่สุดตั้งแต่เคยมีมา
โดยเฉพาะเพลงประกอบละครที่ยังไม่เคยมีการรวบรวมมาก่อน
และที่สำคัญดีวีดีคอนเสิร์ต ปึ๊กกกก
ที่หาดูยากมากแล้วอีกด้วย

ครั้งหน้าผมจะมาคุยให้ฟังถึงคอนเสิร์ตนี้กันครับ
ต้องถือว่า เรวัต พุทธินันท์
คือผู้เป็นส่วนสำคัญของเพลงไทยสากลยุคกลาง
ที่สามารถวัดความสำเร็จได้จากยอดเทปเป็นล้านตลับ
สำหรับหลายๆ ศิลปิน ที่เค้าสร้างขึ้น
ซึ่งเวลานั้นไม่ใช่เรื่องยากสำหรับความสำเร็จในวันนั้น
แต่จากนี้ไป สิ่งเหล่านี้จะไม่มีวันเหมือนเดิมไปตลอดกาล
เพราะยุคสมัยผ่านไปแล้ว

ฉะนั้น คนรุ่นใหม่ๆ ก็ต้องสร้างยุคดิจิทัลทองคำของตัวเองขึ้นมา
เพื่อฝากผลงานให้ไว้เป็นอนุสรณ์ แก่คนรุ่นหลังๆ ต่อไป
ตอนที่เราได้จากโลกนี้ไปแล้ว
ชาตินี้ ยังไงก็ฟังเพลงทั่วไปได้ไม่หมด
ขอเลือกเพลงโปรดฟังก่อนตายดีกว่า

"โชคชัย เจี่ยเจริญ"
Chokchai@Mac.com