เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Jan 31, 2025
ขอใช้คำว่าแฟน OST. เพลงพยัคฆ์ | แซ็ค ชุมแพ & ฮาย ชุติมา | Official MV
First Things First Every Day: Daily Reflections- Because Where You're Headed Is More Important Than How Fast You Get There by Stephen R. Covey (January 31)
The 7 Habits of Highly Effective People - Stephen Covey
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระสงฆ์แห่งจังหวัดหนองคาย
ที่มีอาวุโสที่ชาวพุทธควรกราบไหว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง
ผู้มีปัญญาย่อมแสวงบุญ ธรรมะเทศนาโดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
Jan 30, 2025
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เชียงใหม่
f การท่าเรือแห่งประเทศไทย
f PR Chiangmai
ตี่จู๋เอี๊ยะ (土地公)
ที่มา :https://www.sansiri.com/content/view/homedeco-chinese-spirit-house/th
ตี่จู้เอี๊ยะ คือ ศาลเจ้าที่ตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเลเชื่อกันว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้าที่มีนามว่า "โถงตี่กง" หรือที่รู้จักกันในนาม เทพเจ้าแห่งพื้นดิน ตี่จู้เอี๊ยะมักจะถูกตั้งไว้ติดกับพื้นภายในบ้าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ท่านช่วยปกป้องคุ้มครองผู้อยู่อาศัย ให้อยู่เย็นเป็นสุข และปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าการไหว้ตี่จู้เอี๊ยะสามารถช่วยบรรเทาทุกข์และนำพาโชคลาภมาสู่ครอบครัวได้อีกด้วย ความสำคัญของตี่จู้เอี๊ยะมีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มแรกๆ ที่อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาในประเทศไทย เพราะจากบ้านมาไกล จึงมองหาที่พึ่งทางใจและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องคุ้มครอง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้กับผู้อยู่อาศัย จึงมีการทำตี่จู้เอี๊ยะขึ้นมาจากกระดาษสีแดงเขียนด้วยหมึกดำว่า “ตีจู้ซิ่ง” แปลว่าที่สถิตของเทพเจ้า หลังจากนั้นตี่จู้เอี๊ยะก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็นแบบที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
Jan 28, 2025
Jan 26, 2025
บทสัมภาษณ์ บางส่วนของพี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ ที่พูดถึง พี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์
Jan 20, 2025
Inauguration of Donald J. Trump 47th President 🇺🇸
Donald J. Trump Inauguration 2025 in Washington DC
The 60th Presidential Inauguration is scheduled for Monday, Jan. 20,
at the U.S. Capitol. Monday is also Martin Luther King Jr. Day,
a federal holiday.
Jan 19, 2025
นักแต่งเพลงแกรมมี่ในยุค 10 ปีแรก
Jan 18, 2025
Jan 16, 2025
16 มกราคม วันครูแห่งชาติ
โบราณนานมา โบราณนานมา
วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568
“...ครู คือ ปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ครู คือ มนุษย์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กนักเรียนที่จะพัฒนาคุณลักษณะของตนเองและสร้างค่านิยมต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น
.
ไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ สามารถมาแทนที่ครูได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว นั่นคือว่าทำไมครูที่ดีจึงสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกศิษย์ได้ ด้วยการพัฒนาพวกเขาให้เป็นพลเมืองที่ดีและมีความสามารถ ทั้งในระดับชาติและระดับเป็นพลเมืองของโลกด้วย...”
.
พระราชดำรัส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ ๓ ปี ๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๒
Jan 14, 2025
#ตายดี #ผู้ป่วยระยะสุดท้าย #TheActive #ThaiPBS
f The Active
ถ้าสักวัน...วาระสุดท้ายของชีวิตมาถึง สิ่งที่หลายคนปรารถนา คงไม่มีอะไรที่ต้องการมากไปกว่า การได้อยู่รายล้อมไปด้วยคนในครอบครัวอันเป็นที่รัก แล้วใช้ชีวิตทุกวินาทีร่วมกันให้มากที่สุด
คุณค่าที่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำเป็นต้องได้รับจึงหนีไม่พ้น การดูแล จัดการในรูปแบบประคับประคอง เพื่อไม่ทำให้ผู้ป่วย และครอบครัว ต้องทนทุกข์ ทรมาน กับความเจ็บปวดทั้งทางกาย และทางใจ
The Active ชวนติดตามบทบาทของ ทีมแพทย์ประคับประคอง ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น กับภารกิจเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ตัดสินใจ เลือกช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตสู่การตายดี อย่างเป็นสุข และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
"พระราชพิธีสมมงคล" ในหลวงรัชกาลที่ 10 พระชนมายุ 26,469 วัน เท่ารัชกาลที่ 1
รัฐบาลจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคล เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุได้ 26,469 วัน เป็น สมมงคล พระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วันนี้ (14 ม.ค.2568) ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคล เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุได้ 26,469 วัน เป็น สมมงคล (สะ - มะ – มง - คน) พระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
โดยรัฐบาลได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในวันที่ 14 ม.ค.2568 ซึ่งประกอบด้วย
7 กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคล
โดยรัฐบาลกำหนดจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ 7 กิจกรรม
(1) การจัดพิธีสืบพระชะตาหลวง ณ สวนสราญรมย์ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม และกรุงเทพมหานคร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม คณะสงฆ์หนเหนือ ร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม และกรุงเทพมหานคร จัดพิธีสืบพระชะตาหลวง ระหว่างวันที่ 13 - 20 ม.ค.2568 ณ สวนสราญรมย์ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งเป็นประเพณีมงคลของชาวล้านนา
ประกอบด้วยกิจกรรม ได้แก่ พิธีฮอมบุญถวายเจ้าเหนือหัว พิธีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ การสาธิตภูมิปัญญาในการจัดเตรียม เครื่องประกอบพิธีกรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของงานพิธี การจัดสาธิตกาดมั่วหรือตลาดพื้นบ้านล้านนา (พิธีฮอมบุญ* คือพิธีร่วมกันทำบุญเป็นกรณีพิเศษ)
(2) การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี โดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากรจะดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง จ.อุทัยธานี ภายในเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ได้แก่ พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย ซึ่งบริเวณพระเศียรบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ผู้เป็นต้นพระบรมราชจักรีวงศ์
(3) การจัดแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ โดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และกรุงเทพมหานคร กรมศิลปากรจะจัดแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ในวันที่ 14 ม.ค.2568 สถานที่จัดการแสดงคือ ณ ลานพระปฐมบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
(4) การจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
(5) การจัดพิธีทางศาสนาและกิจกรรมถวายพระราชกุศล ณ ศาสนสถาน อันเป็นพระบรมราชานุสรณ์ หรือเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และกรุงเทพมหานคร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดจัดพิธีทางศาสนาและกิจกรรมถวายพระราชกุศล เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ ศาสนสถานอันเป็นพระบรมราชานุสรณ์ หรือเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดสระเกศ วัดราชบูรณะ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดคูหาสวรรค์ วัดราชสิทธาราม วัดกาญจนสิงหาสน์ วัดราชาธิวาส วัดโมลีโลกยาราม วัดยานนาวา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดอรุณราชวราราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดชนะสงคราม และวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
(6) การจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พิจารณาให้วัดทุกวัดในประเทศไทยจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตตภาวนาถวายพระราชกุศล สำหรับวัดไทยในต่างประเทศให้พิจารณาการจัดพิธีตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม
(7) การจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ความสำคัญของพระราชพิธีสมมงคล
ในวันที่ 14 ม.ค.2568 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 26,469 วัน เป็นวันสมมงคลเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราช แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่ง การบําเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระบรมราชบูรพการี เป็นราชประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบกันมาช้านาน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะทรงอนุสรณ์คํานึงถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชบูรพการี ในวาระต่าง ๆ เช่น ในวันที่ตรงกับการครองราชย์ มีทั้งโอกาสที่เวียนมาเป็นครั้งแรกมักเรียกว่า "สมมงคล" หมายถึง เสมอกัน หรือ "สมภาคา" บ้าง ถ้าเวียนมาเป็นครั้งที่สองก็เรียกว่า "ทวิภาคา" บ้าง หรือ "ทวีธาภิเษก" บ้าง จะปรากฏแนวปฏิบัติเกี่ยวกับพระราชพิธีลักษณะนี้ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พระราชกุศลที่บําเพ็ญถวายแด่สมเด็จพระบรมราชบูรพการีของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์
นอกจากโอกาสวันดํารงสิริราชสมบัติเวียนมาพ้องกับวันสําคัญดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีพระราชประเพณีที่ทรงถือปฏิบัติในอีกหลายวาระ และวาระหนึ่งที่สําคัญ คือ วันที่พระชนมพรรษาเวียนไปเสมอเท่ากัน และ วันที่พระชนมพรรษามากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งในรัชกาลที่ล่วงไปแล้วด้วย ถือเป็นภาพลักษณ์ แสดงวัฒนธรรมที่ดีงามของพระมหากษัตริย์ของชาติไทยในการที่ทรงสร้างแบบอย่างความกตัญญูกตเวทิตา แสดงความเคารพรําลึกถึงบรรพชนปู่ย่าตายายที่ประกอบคุณความดีไว้แก่บ้านเมือง ให้ราษฎรยึดถือเป็นแบบแผน
พระราชประวัติ พระปรีชาสามารถ พระราชกรณียกิจ รัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง ประสูติในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ตรงกับแรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง จุลศักราช 1098 ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พุทธศักราช 2275 - 2301) ทรงเป็นบุตรพระอักษรสุนทร (ทองดี) ข้าราชการกรมอาลักษณ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีกรมพระคลัง ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับท่านหยกธิดาเศรษฐีจีน ในปีพุทธศักราช 2311
ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์ในกรมพระตํารวจหลวง ได้โดยเสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปปราบเจ้าพิมายเป็นครั้งแรก ต่อจากนั้นทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นแม่ทัพไปปราบหัวเมืองต่าง ๆ ของเขมรและลาวได้สําเร็จอีกหลายครั้ง และในปีพุทธศักราช 2314 ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก และพุทธศักราช 2319 ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหึมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศราชสุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลกากร บวรรัตนปรินายกรับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม
ครั้นพุทธศักราช 2324 ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี เนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชอัธยาศัยผิดปกติไปจากเดิม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ราษฎรและพระภิกษุทั้งหลาย พระยาสรรค์จึงก่อกบฏขึ้นแล้วควบคุมสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปกักขังไว้ ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างฝ่ายบ้านเมืองกับฝ่ายกบฏ เหตุการณ์ดังกล่าวทําให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งยกทัพไปปราบจลาจลที่เมืองเขมรต้องยกทัพกลับกรุงธนบุรีทันที เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูกสําเร็จโทษแล้วมุขอํามาตย์ราชมนตรีและราษฎรทั้งหลายก็พร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ให้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์สืบไป เมื่อวันที่ 6 เม.ย.2325 ในขณะที่มีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ต่อมาได้ทรงประกอบการพระราชพิธีปราบดาภิเษก เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2325 และทรงสถาปนาพระราชวงศ์จักรีตามโบราณราชประเพณี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ย้ายพระนครมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องกับกรุงธนบุรีพระนครแห่งเดิม ด้วยมีพระราชดําริว่าฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีลักษณะภูมิประเทศเป็นชัยภูมิดีกว่าฝั่งตะวันตก ทั้งการป้องกันข้าศึกและการขยายพระนครในอนาคตซึ่งจะสามารถทําได้โดยสะดวก ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด) กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดที่เตรียมสร้างพระนครใหม่ทางฝั่งตะวันออก ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 1144 เวลา 06.54 นาฬิกา ตรงกับวันที่ 21 เม.ย.2325
และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้น และสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร การสร้างพระนครใหม่นี้แล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช 2328 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร พร้อมกับการสมโภชวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเวลา 3 วัน พระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องด้วยนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรอันเป็นมงคลยิ่งต่อบ้านเมืองว่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิท" เรียกโดยย่อว่า "กรุงรัตนโกสินทร์"
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในการทะนุบํารุงและรักษาราชอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองและดํารงอยู่อย่างมั่นคง ทรงฟื้นฟูขนบธรรมเนียมและราชประเพณีต่าง ๆ ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประเพณีเทศน์มหาชาติ ประเพณีเสด็จพระราชดําเนินไปพระราชทานผ้าพระกฐิน เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พุทธศักราช 2352 พระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิบัตินั้น กล่าวได้ว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งด้วยเป็นรากฐานและแบบอย่างของการพัฒนาความเป็นชาติไทยสืบต่อมาจวบจนปัจจุบัน
รัฐบาลเตรียมจัดงานพระราชพิธีสมมงคลยิ่งใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ร.10
f สถานีตำรวจภูธรคลองลึก
ความสำคัญของพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
Jan 12, 2025
วันเด็กแห่งชาติ 2568
ในหลวงร.10 พระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568
Jan 10, 2025
3 เรื่องที่น่าเสียใจในชีวิต
Jan 9, 2025
Jan 8, 2025
8 มกราคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
Jan 1, 2025
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๘
"ในหลวง" พระราชทานพรในโอกาสปีใหม่ 2568
วันนี้ (31 ธ.ค.2567) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2568 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ความว่า
เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2568 ข้าพเจ้าขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีมาอำนวยพรแก่ทุก ๆ ท่าน ให้มีความสุขกาย สุขใจ มีสติปัญญาแจ่มใสและเข้มแข็ง ตลอดจนสุขภาพที่แข็งแรง ประสบแต่ความสุขความเจริญด้วยทั่วกัน
ในปีที่แล้วมีเรื่องน่ายินดีเกิดขึ้นหลายอย่าง เรื่องที่ควรแก่การชื่นชมเป็นพิเศษ คือ ความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก อันเป็นกีฬานัดสำคัญที่สุดของโลก
แต่ก็มีเรื่องที่น่าเป็นห่วงหลายเรื่อง เช่น อุทกภัย ซึ่งทำให้ประชาชนหลายจังหวัดต้องประสบกับความเดือดร้อน ข้อนี้น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจอย่างสำคัญว่าวิถีชีวิตของคนเรานั้น ย่อมมีทั้งความสุขและความทุกข์ผ่านเข้ามาเสมอ แต่ถ้าเราทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ตั้งใจปฏิบัติภาระหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุด เท่าที่แต่ละคนจะสามารถกระทำได้แล้ว ก็จะช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ และดำเนินชีวิตได้ด้วยความผาสุขสวัสดี
ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวัง โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิดอยู่ตลอดเวลา ผู้ใดมีหน้าที่อย่างไรในบ้านเมืองก็พึงกระทำให้สำเร็จผล เพื่อความเจริญมั่นคงและความสุขร่มเย็นของประชาชนและประเทศชาติ
กอปรด้วยศรัทธาในความดี เชื่อมั่นในสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง ย่อมก่อให้เกิดความสุข ความเจริญที่แท้จริงและยั่งยืน ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเคารพนับถือคุ้มครองทุกท่านให้ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และปรารถนาสิ่งที่ดีงามตลอดศกหน้าโดยทั่วกัน
พร้อมกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี พระราชทานบัตรพระราชทานพรปีใหม่ ประจำปี พุทธศักราช 2568 แก่ปวงชนชาวไทย
ด้านหน้าของบัตรพระราชทานพรปีใหม่ มีตราประจำพระราชวงศ์จักรีอยู่กึ่งกลาง ด้านล่างซ้ายเป็นพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. และด้านล่างขวาเป็นพระนามาภิไธย ส.ท.
เมื่อเปิดบัตรพระราชทานพร ด้านซ้ายมีข้อความว่า “พระราชทานพรปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๘” พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย
ส่วนด้านขวาของบัตรพระราชทานพร เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงฉายคู่กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในกรอบลวดลายสีทอง ด้านบนของกรอบบัตรพระราชทานพร มีตราประจำพระราชวงศ์จักรี ส่วนด้านซ้ายของกรอบบัตรพระราชทานพร เป็นพระปรมาภิไธย วปร. ด้านขวาของกรอบบัตรพระราชทานพร เป็นพระนามาภิไธย สท.