Custom Search

Aug 12, 2023

ความจริงที่โหดร้าย

 

พงศ์พัฒน์ คิดประเสริฐ

ท้ายสุดก็ต้องเจอกันทุกคนหนีไม่พ้นหรอก

'ควรจัดบ้าน' ก่อนเจ็บหนัก หรือ ก่อนตาย

สถานการณ์ที่คนส่วนใหญ่ประสบก็คือ 'ของล้นบ้าน' ไม่รู้ว่า…ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นกับของที่สะสมไว้, เบื่อหน่ายกับของที่มีอยู่เต็มไปหมด,

ไม่กล้าย้ายบ้าน เพราะกลัวต้องขนย้ายของ ที่มี, ฯลฯ ที่เลวร้ายสุด...หากตายไปแล้ว…ของเหล่านี้…จะไปอยู่ที่ไหน …และจะทำอะไรกับมันดี…ก่อนที่จะถึงวันนั้น …มีหนังสือเล่มหนึ่งให้คำแนะนำที่น่าสนใจ

~ ทุกคน…ที่เป็นผู้สูงวัย…ล้วนมีสิ่งของที่รักและหวงแหน… ไม่ว่าจะเป็นของธรรมดา……เครื่องแก้ว …พระเครื่อง…ปืน…แสตมป์…นาฬิกา…แหวน…ตุ้มหู…กำไล…หนังสือ …อัลบั้มรูปภาพครอบครัว …มีด…ปากกา …ไฟเช็ค ฯลฯ ที่เก็บเอาไว้…หรือสะสม…มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก…หรือ…ตอนเป็นหนุ่มสาว

~ ความจริงที่โหดร้าย…คือ…เมื่อท่านจากโลกนี้ไปแล้ว…ไม่มีอะไร…จะประกันได้ว่า…คนอื่นเขาจะรักใคร่ใยดี …ทะนุถนอม…เห็นคุณค่า…ของสิ่งของเหล่านี้เหมือนตัวท่าน…เพราะเขาไม่ใช่ท่าน…ย่อมมีรสนิยมที่แตกต่างไป

~ รูปภาพบางรูป…เช่น…รูปที่ถ่ายกับพ่อ/แม่…ที่ท่านรักดังดวงใจ …อาจถูกโยนทิ้งลงถังขยะไปก็ได้…เพราะคนอื่น…เขาไม่เห็นว่ามีความหมาย …

~ หนังสือชื่อThe Gentle Art of Swedish Death Cleaning (2018) เขียนโดย Margareta Magnusson ให้คำตอบแก่สถานการณ์ดังกล่าว…เพื่อความสุขของท่านและลูกหลาน…และเพื่อปิดบังสิ่งที่ท่านไม่ต้องการให้ลูกหลานรู้…หรืออาจทำให้ลูกหลานหมางใจกัน…หรือทำให้เกิดความรู้สึกดูแคลนท่าน

~ เกือบทุกคน…ล้วนมีของติดตัวมาตั้งแต่เด็ก…ตั้งแต่เป็นหนุ่มสาว …ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า…เอกสาร…หนังสือ …เฟอร์นิเจอร์ …ถ้วยโถโอชาม… อัลบั้มรูปภาพ …ของสะสมเก่าใหม่…เก็บซ่อนสะสมในกล่อง…ในตู้…ในเซฟ…หรือ…กองไว้ที่ไหนสักแห่งในบ้าน …แค่คิดจะรื้อโยนทิ้งไปบ้าง…เพราะรกบ้าน…ก็อ่อนใจแล้ว …

~ ลองคิดดู…ถ้าท่านตายไป…ลูกหลานจะเหนื่อยเป็นภาระแค่ไหน…กับการที่ต้องรื้อสิ่งของเหล่านี้ …ต้องเสียเวลา…และแรงงาน…คัดเลือกของ…หรือไม่ก็โยนทิ้งไปเสียทั้งหมด

~ Magnusson นักเขียนสวีเดนบอกว่า ตนเองมีอายุอยู่ 80 แล้ว อยู่มาทั่วโลก ย้ายบ้าน 17 หน มีลูก 5 คน เมื่อสามีจากไป แต่งงานกันได้ 48 ปี ก็ต้องย้ายจากบ้านมาอยู่อพาร์ทเม้นท์ ทำให้เธอนึกถึงคำว่า 'death cleaning'…กระบวนการจัดบ้านให้เรียบร้อย…เมื่อตระหนักว่าตนเองเป็นไม้ใกล้ฝั่ง เธอให้คำแนะนำดังนี้

(1) ก่อนเริ่มจัดบ้าน ยอมรับก่อนว่าความตาย…เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกคน…โดยเฉพาะผู้สูงวัยมีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งไม่ต้องการให้ความตายของตนเองเป็นภาระแก่ผู้อื่น

(2) วัยที่ควรเริ่ม 'จัดบ้าน' คือ 65 ปี ยังแข็งแรงพอจัดการได้ …หรือ การจากไปของคนรัก …กำลังจะเลิก…หย่าร้าง…หรือมีบ้านที่เล็กลง เตรียมตัวไปอยู่บ้านคนชรา

(3) death cleaning ไม่ใช่แค่จัดให้เป็นระเบียบ แต่หมายถึง พิจารณาสิ่งของที่มีทั้งหมดอย่างละเอียด ว่า…อะไรจะทิ้ง…อะไรจะมอบให้ใคร…อะไรจะขาย...อะไรจะเก็บไว้…เพื่อการมีชีวิตอยู่จนถึงบั้นปลาย

(4) เริ่มต้น 'จัดบ้าน' …โดยมุ่งไปที่ของใหญ่…ที่เก็บไว้โดยไม่ใช้ก่อน…เช่น ตู้เสื้อผ้า …เฟอร์นิเจอร์ …ตู้พลาสติก 4 ลิ้นชัก…อุปกรณ์กีฬา…ที่ไม่ใช้แล้วมอบให้คนที่ต้องการ...ลูกหลาน…คนชอบพอกัน

…อย่าเริ่มที่สิ่งเล็กๆ เช่น จดหมายเก่า …รูปเก่า …ภาพเก่า …เพราะใช้เวลานาน …การอ่าน…การเลือกทิ้งของเหล่านี้…ทำให้นึกถึงความหลัง …เกิดความรู้สึกเก่าๆ…จนเหนื่อยใจเสียก่อน'จัดบ้าน'ได้สำเร็จ

(5) เมื่อจัดการของชิ้นใหญ่ได้…โดยตัดใจเรื่องความผูกพันทางใจกับสิ่งของเหล่านี้ที่มีมาแต่อดีต...จงคิดว่า…ตายไป…ก็ไม่พบมันอีก…และไม่รู้ชะตากรรมของมัน …จัดการมันตอนนี้…ยังกำหนดได้ว่าให้ใครเป็นเจ้าของ

(6) สิ่งสำคัญคือ…จงทำลายจดหมาย…บันทึกเอกสาร…สิ่งพิมพ์…รูปถ่าย…ข้อเขียน…สิ่งของ…ที่เปิดเผยความลับส่วนตัว…เพราะทำให้ตนเองดูไม่ดี…ไม่อยู่ในทำนองครองธรรม…ในสายตาลูกหลาน...สร้างความรู้สึกลบ…เกี่ยวกับตนเองโดยไม่จำเป็น

(7) รูปภาพทั้งหมด…แปรให้อยู่ในไฟล์ดิจิทัล…เพื่อความคงอยู่ต่อไป…หากลูกหลานสนใจ …หากเก็บไว้เป็นภาพอย่างเก่า…อาจผุพัง…และถูกโยนทิ้ง…เพราะไม่เห็นความสำคัญ

(คุยกับลูกหลานในเรื่องความตายอย่างเปิดเผยว่า …จะให้สิ่งใดแก่ใคร…เมื่อตายไปแล้ว …พร้อมด้วยเอกสารแสดงเจตจำนง…เพื่อไม่ให้ลูกหลานทะเลาะกัน…อิจฉาริษยากัน …ต้องใส่ใจประเด็นนี้…ไม่สมควรให้การตายของตน…เป็นสิ่งบั่นทอนความรักสามัคคีของลูกหลานต่อไปในอนาคต

~ Magnusson บอกว่า…ลูกหลานอยากได้ของดีๆ บางชิ้น…ที่ได้เลือกสรรมาแล้วแต่…ไม่ต้องการของทั้งหมด …เพราะในสายตาของเขานั้น…ส่วนหนึ่งเป็นขยะ

~ ให้คิดว่า…เมื่อเกิดมา…ก็ไม่ได้มีอะไรติดมือมา…ตอนจากไป…สิ่งของที่เราสะสมมานั้น…เป็นสมบัติชั่วคราว…ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เราอยู่บนโลกนี้ …ไม่ควรทำให้มันตกเป็นภาระของลูกหลาน…มันควรเป็นสิ่งสร้างสรรค์สำหรับลูกหลานในชั่วคนต่อไป

 Cr. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ