Custom Search

Apr 16, 2024

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง

16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนา

วลัญช์ สุภากร

16 เม.ย. 2024




ที่มา วันสังขานต์ล่อง วันเนา วันพญาวัน สามวันสำคัญของ
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” (ประเพณีปีใหม่เมือง) ในวัฒนธรรมชาวเหนือ
หรือวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งหมายถึง “เทศกาลสงกรานต์”
ของภาคกลาง ชาวเหนือหรือชาวล้านนาดั้งเดิม
เรียก "เทศกาลสงกรานต์"
ว่า ประเพณีปีใหม่เมือง
หรือที่ออกเสียงตามสำเนียงพื้นถิ่นว่า
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ประกอบด้วยวันสำคัญ 3 วัน คือ

วันสังขานต์ล่อง
คือ วันแรก ของประเพณีสงกรานต์ หรือ
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง”
คำว่า สังขานต์ คือคำเดียวกับ “สงกรานต์”
ในภาษาสันสกฤต
แปลว่า “ก้าวล่วงแล้ว”
วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนาตรงกับภาคกลางคือ
“วันมหาสงกรานต์” ถือเป็นวันสิ้นสุดปีเก่า
วันสังขานต์ล่อง คนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่
จุดประทัดทำเสียงดังเพื่อขับไล่เสนียด จัญไร
ให้ไหลล่องไปกับ “ปู่-ย่าสังขานต์”
ซึ่งจะแบกรับสิ่งไม่ดีไม่งามในชีวิตไปทิ้งที่มหาสมุทร
การไล่สังขานต์ด้วยเสียงดังแต่เช้าจะ
ทำให้ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนซัก
ที่นอนหมอนมุ้ง
อาบน้ำชำระร่างกายให้ผ่องใส

วันเนา หรือ”วันเน่า”วันสังขานต์ล่อง
16 เม.ย. วันพญาวัน วันเถลิงศกป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
วัฒนธรรมสงกรานต์ล้านนาอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกจากพระวิหารลายคำ
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่
เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำในประเพณีปีใหม่เมืองแบบล้านนา
เมื่อ 13 เม.ย.2567 (credit photo: TAT Contact
Center เพื่อนร่วมทาง)
คือ วันแรก ของประเพณีสงกรานต์ หรือ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง”
คำว่า สังขานต์ คือคำเดียวกับ “สงกรานต์” ในภาษาสันสกฤต
แปลว่า “ก้าวล่วงแล้ว”
วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนาตรงกับภาคกลางคือ
“วันมหาสงกรานต์” ถือเป็นวันสิ้นสุดปีเก่า
วันสังขานต์ล่อง คนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่
จุดประทัดทำเสียงดังเพื่อขับไล่เสนียด จัญไร ให้ไหลล่องไปกับ
“ปู่-ย่าสังขานต์” ซึ่งจะแบกรับสิ่งไม่ดีไม่งามในชีวิตไปทิ้ง
ที่มหาสมุทร การไล่สังขานต์ด้วยเสียงดังแต่เช้าจะทำให้
ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือน
ซักที่นอนหมอนมุ้ง อาบน้ำชำระร่างกายให้ผ่องใส

วันเนา หรือ”วันเน่า”
คือ วันที่สอง ของประเพณีสงกรานต์ หรือ
“ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” วันเนายังไม่ถือว่าเป็นวันปีใหม่
เนื่องจากเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยังอยู่ระหว่างราศีมีน
กับราศีเมษโหราศาสตร์ถือเป็นวันไม่ส่งเสริมมงคล
เชื่อว่าหากใครก่อการทะเลาะวิวาทด่าทอ
จะเป็นอัปมงคลไปตลอดทั้งปี
ใน “วันเนา” ชาวล้านนาจะเตรียม สวยดอก(กรวยดอกไม้)
ตุง ข้าวตอก หมากเหมียง เพื่อใช้ในการทำบุญ ตลอดทั้งวัน
เด็กๆ คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าคนแก่ พากันไปขนทราย
ที่แม่น้ำเข้าวัด เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทรายเล็กๆ เท่าจำนวนอายุ
หรือเท่าจำนวนสมาชิกในครอบครัว แล้วประดับด้วยตุง
สวยดอกให้สวยงามเป็นพุทธบูชา

วันพญาวัน
คือ วันที่สาม ของ "ประเพณีปีใหม่เมือง" ถือเป็น วันเถลิงศก
เปลี่ยนศักราช เริ่มต้นปีใหม่ กิจกรรมในวันนี้มีการทำบุญ
ทางศาสนาตั้งแต่สรงน้ำพระพุทธรูป-เจดีย์
อุทิศส่วนบุญกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ หรือที่เรียกกันว่า
“ทานขันข้าว” ช่วงบ่ายไปรดน้ำดำหัวเพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่
พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้มีบุญคุณ ผู้ซึ่งให้ความเคารพนับถือ
เนื่องจากปีที่ผ่านมาอาจทำให้ท่านโกรธเคือง
หรือได้ล่วงล้ำด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งที่พลาดพลั้งทำไปและมิได้
ตั้งใจ ข้าวของที่นิยมนำไปรดน้ำดำหัว ได้แก่ สวยดอก ธูปเมือง
ผ้านุ่ง (เสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว)
ขนม-อาหาร-ผลไม้มงคล
ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ มีกิจกรรมแห่ ไม้ค้ำศรี
ออกเสียงอย่างล้านนาว่า “ไม้-ก๊ำ-สะ-หลี” ศรี
หมายถึง ต้นโพธิ์ ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอาศัยร่มเงา
ในคืนที่ทรงพิจารณาสภาวธรรม
และก่อนการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม้ค้ำศรี มีลักษณะเป็นไม้ง่าม อาจทำจากไม้ประดู่ ไม้ฉำฉา
หรือไม้เนื้อแข็ง แกะสลักหรือประดับประดาให้สวยงาม
เนื่องจากบางวัดมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามากมาย
เป็นโอกาสที่จะได้ใช้ "ไม้ค้ำศรี" ยึดค้ำกิ่งก้านสาขา
ไม่ให้โน้มลงมาจนกิ่งหักได้ จึงเรียกอีกอย่างได้ว่า “ไม้ค้ำโพธิ์”
การทำ "ไม้ค้ำศรี" มีความหมายเป็นนัยว่า
เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนา และค้ำชูอุดหนุนให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
พญาวัน ยังเป็นวันที่นิยมเริ่มต้นเรียนศาสตร์ศิลป์ต่างๆ
อาทิ มนต์คาถา สักยันต์ ทำพิธีสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ไหว้ครู