Custom Search

May 17, 2021

ทำไมต้องบริจาคโลหิต?


ที่มา https://www.redcross.or.th/news/information/13117/

“โลหิต” หรือ “เลือด” เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญในการใช้รักษาผู้ป่วย

ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใดมาใช้ทดแทนโลหิตได้

จึงจำเป็นต้องมีการรับบริจาคโลหิตจากคน เพื่อให้ได้มาซึ่งโลหิตสำหรับใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย

“การบริจาคโลหิต” คือ การสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ให้กับผู้ป่วย

ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโลหิต เพราะร่างกายของแต่ละคนมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ

ร่างกายจะใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น

ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้

โดยสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน

เมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน

ทำให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม หากไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุ

ทั้งนี้ กระบวนการในการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนจนบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที

ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำบริเวณแขน

แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG)

ประมาณ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

การบริจาคโลหิตเป็นเรื่องจำเป็น และยังไม่มีสิ่งใดทดแทนได้

ผู้ป่วยต้องการโลหิตทุกวินาที

ได้ทราบข้อมูลสุขภาพของตัวเอง

ได้ทราบระบบหมู่โลหิต ทั้งระบบ ABO และ Rh

ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และทำให้มีความสุข ส่งผลให้สุขภาพดี

บริจาคโลหิต 1 ถุง ช่วยผู้ป่วยได้อย่างน้อย 3 ชีวิต

โลหิต 1 ถุง นำไปช่วยผู้ป่วยได้อย่างไรบ้าง?

การจัดหาโลหิตบริจาคให้เพียงพอและปลอดภัยต่อทั้งผู้ให้และผู้รับ

จากผู้มีจิตศรัทธาที่มีสุขภาพดี

แบ่งเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาด้วยการรับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิตกว่าร้อยละ 23

และอีกร้อยละ 77 สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเพื่อใช้ในการผ่าตัด

ซึ่งมักจะเป็นการใช้โลหิตในปริมาณมากและเร่งด่วน รวมถึงโรคนานาชนิด

อีกประการหนึ่ง คือ ในบางช่วงอาจเกิดโรคระบาดที่ต้องการใช้โลหิต เช่น โรคไข้เลือดออก

ทำให้ปริมาณการใช้โลหิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การบริจาคโลหิตแต่ละครั้งสามารถปั่นแยกเป็น

ส่วนประกอบโลหิตได้มากกว่า 3 ส่วน ช่วยชีวิตได้มากกว่า 3 ชีวิต

และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิตได้อีกมากมาย

เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

เกล็ดเลือด นำไปรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

โรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดแดง นำไปรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ไขกระดูกฝ่อ

ผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากการ ผ่าตัดหัวใจ อุบัติเหตุ ตกเลือดจากการคลอดบุตร

พลาสมา นำไปรักษาผู้ที่มีอาการช็อกจากการขาดน้ำ ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี

และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต 3 ชนิด ได้แก่

แฟกเตอร์ 8 (Factor VIII) รักษา

โรคฮีโมฟีเลีย เอ อิมมูโนโกลบูลิน (IVIG)

รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง อัลบูมิน (Albumin)

รักษาไฟไหม้น้ำร้อนลวก และโรคตับ

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย