ประภัสสร เสวิกุล
สกุลไทย ฉบับที่ 2416 ปี ที่ 47 ประจำวัน อังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 นักเขียนสนทนาซึ่งสกุลไทยได้
นำเทปการสนทนาระหว่างนักเขียนกับนักเขียน
โดยมี ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้ซักถามนำ
การสนทนาออกอากาศทางวิทยุสราญรมย์
มาลงพิมพ์โดยละเอียดทั้งหมดในสกุลไทย
กำลังได้รับความสนใจจากผู้อ่านมากขึ้นเป็นลำดับ
ฉบับนี้เป็นอีกวันหนึ่งของรายการวงวรรณกรรมซึ่ง
ประภัสสร เสวิกุล ได้สนทนากับ
ศาสตราจารย์ ดร.วิทยา นาควัชระ
จิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงเจ้าของคอลัมน์
“คุยกันเพื่อชีวิต” ในสกุลไทย
เป็นประจำและเจ้าของหนังสือที่สง่างามอีกเล่มหนึ่งคือ
“อยู่อย่างสง่า”
ประภัสสร ผมจะคุยกับอาจารย์วันนี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตแพทย์และเรื่องการเขียนหนังสือของอาจารย์
ก่อนอื่นขอเรียนถามว่าจิตแพทย์คือใครครับ
ดร.วิทยา จิตแพทย์คือ แพทย์ที่มีความชำนาญ
ที่เป็นผู้รักษาให้แก่ผู้ที่มีทุกข์ทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก
เรียกว่าพฤติกรรมทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในใจ
มีปมด้อย ปมปลอบ
รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความรู้เท่าไร
ซึ่งเกิดได้จากหลายๆสาเหตุ
สาเหตุทางเศรษฐกิจคิดอย่างไร
ที่จะให้เกิดความทุกข์น้อยลง
“มีอยู่ ๔ อย่างในชีวิตของคนเรา ก็คือ
การงาน ครอบครัว สังคม และตนเอง
ความทุกข์ที่จิตแพทย์
จะช่วยก็จะช่วยเกี่ยวกับเรื่อง ๔ เรื่องนี้”
ศ.ดร.วิทยา นาควัชระ
กรณีสามีไปมีภรรยาน้อย หรือปัญหาเรื่องลูก
เรื่องยาเสพย์ติด หรือเรื่องพ่อแม่ลูกที่เข้ากันไม่ได้
ปัญหาการเข้ากับสังคมไม่ได้
คนเราจะมีอยู่ ๔ อย่างในชีวิตของคนเรา
ก็คือ การงาน ครอบครัว สังคม และตนเอง
ความทุกข์ที่จิตแพทย์จะช่วย
ก็จะช่วยเกี่ยวกับเรื่อง ๔ เรื่องนี้
ประภัสสร พูดอย่างง่ายๆ ก็คือแพทย์รักษากาย
จิตแพทย์คือผู้รักษาจิตใจ
ในสังคมไทยจิตแพทย์มีบทบาทมากไหมครับ
ดร.วิทยา จริงๆ แล้วจิตแพทย์ต้อง
จบแพทยศาสตรบัณฑิตก่อน
ซึ่งรักษาโรคทางกายได้ทั้งหมด
เมื่อได้รับปริญญาแล้ว
จึงจะไปเรียนวิชาเฉพาะอย่าง คือ
จิตเวชศาสตร์เรียนอีก ๓ ปี
เพื่อจะเป็นผู้ชำนาญหรือผู้เชี่ยวชาญ
เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าจิตแพทย์
จะมีความรู้ทางด้านร่างกายโรคภัยไข้เจ็บ
สรีระทุกส่วนจะรู้หมด
แต่ไม่ได้เป็นผู้ชำนาญเท่านั้น
รักษาก็ได้ให้ยาก็ได้
แล้วจึงมาเรียนทางด้านจิตใจของคนปกติ
และคนที่ผิดปกติ พร้อมทั้งวิธีการรักษา
พัฒนาจิตใจให้ดีขึ้น
ป้องกันไม่ให้จิตใจเกิดความรู้สึกที่อ่อนแอ
ศ.ดร.วิทยา และ แพทย์หญิงประภาพรรณ นาควัชระ
ในวันที่บุตรสาวคนเดียว - วรประภา
รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต
เกียรตินิยม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในวันที่บุตรสาวคนเดียว - วรประภา
รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต
เกียรตินิยม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ถามว่าเมืองไทยมีเยอะไหม
ตอบว่าไม่เยอะเพราะคนไม่ค่อยเรียนกัน
คือเรียนเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางฝ่ายกายเวลารักษา
แล้วจะมองเห็นชัดว่า
แต่แผลใจกว่าคนจะยอมรับว่ามีความทุกข์ใจ
จะรู้สึกอาย คนจะไม่ยอมมาหาแพทย์ทางด้านจิตใจ
เขาก็จะไปหาหมอดู หมอพระ
ไปปรึกษากันเองซึ่งอาจทำให้เกิดทุกข์ยิ่งขึ้น
ซึ่งหลายคนอาจจะเป็นบ้าไปเลย
ตอนนั้นก็ต้องเข้าโรงพยาบาลโรคจิต
ซึ่งคนที่โรงพยาบาลโรคจิต
หรือโรคบ้าเต็มจนล้นไปหมดเลย
แต่ก่อนที่จะถึงโรงพยาบาลเขาจะอายเขาจะไม่กล้ามา
เพราะฉะนั้นแพทย์ก็น้อยไปเพราะคนไม่นิยม
เมื่อเรียนจบมาแล้วไม่มีคนมาหาเพราะอาย
ซึ่งเป็นแนวคิดคนตะวันออก
ซึ่งผิดกับคนตะวันตกในยุโรปหรืออเมริกา
เขาจะรู้สึกว่าจิตแพทย์คือเพื่อนที่ไว้ใจได้
และมีความรู้ทางด้านชีวิตและจิตใจซึ่งเขาจะปรึกษาได้
จะให้ช่วยอย่างไรดี เวลาที่เขามีความทุกข์ทางจิตใจ
ถ้าเมื่อไหร่คนคิดได้ว่ามีปัญหาแล้วมาแพทย์ทางด้านนี้โดยเฉพาะ
เชี่ยวชาญโดยเฉพาะก็จะได้รับคำปรึกษาอย่างที่เป็นวิชาการ
ประภัสสร ฟังที่อาจารย์พูดเหมือนกับว่าคนไข้ที่มาหามีอาการล่อแล่แล้ว
ดร.วิทยา ที่สำนักงานผมจะไม่ เพราะผมค่อนข้างเปิดตัว
เพราะฉะนั้นคนที่จะรู้ว่าการรักษาของผมคือการคุย
และการให้ยาที่เรียกว่าจิตบำบัด
แต่ถ้าหากว่าคนที่ไม่มาเขาอาจจะมีอาการหนักมากๆ
ถ้ามาหาผม ผมก็จะบอกว่าต้องส่ง โรงพยาบาล
เพราะผมไม่สามารถคุยกับคนที่อาละวาดแล้วได้
เราไม่มีคนจับ พอป่วยเป็นโรคจิตมากๆ อาจมีความระแวง
มีความหลงผิด มีหูแว่ว อาจมองเห็นพ่อแม่พี่น้องเป็นศัตรู
คนไข้เหล่านี้ก็จะบอกว่าไม่เจ็บป่วย ก็ต้องให้ตำรวจจับหรือส่งโรงพยาบาลไป
อันนั้นลำบาก เพราะฉะนั้นตามโรงพยาบาลเราจะพบผู้ป่วยหนักๆ มาก
ผมจึงมองเห็นกรณีที่มาปรึกษาชนิดที่เป็นโรคจิตยังไม่อาละวาด
ยังคุยกันรู้เรื่อง
ประภัสสร ผมนึกถึงภาพของหนังฝรั่งที่คนไข้ไปนอนคุยกับ จิตแพทย์
ดร. วิทยา ที่เมืองนอกเขาจะรักษาแบบโบราณ ก็คือ
ให้นอนบนเตียงแล้วก็ให้คุยเพราะเป็นความเชื่อว่า
เวลาคนที่นอนจะมีความเป็นเด็กสูง
เมื่อมีความเป็นเด็กก็จะกล้าเล่าเวลาเพื่อนสนิทนอนคุยจะคุยกันได้ทั้งคืน
แต่ถ้านั่งคุยจะคุยได้ไม่นานก็จะหมดเรื่องคุย
การนอนคือการให้เขาถอยหลังลงไปสู่ความเป็นเด็ก
แต่เมืองไทยก็จะนั่งคุยกันธรรมดา
เพราะการที่จะให้คนไข้มานั่งเล่านานๆ
บางทีคนไข้ก็จะไม่ค่อยมา
เพราะฉะนั้นก็ต้องคุยจับประเด็นกันเลย
ประภัสสร ปัญหาของคนไข้ในประเทศไทยที่อาจารย์พบเป็นเรื่อง เกี่ยวกับอะไร
ดร. วิทยา ปัญหามาจากความทุกข์ทางด้านจิตใจและอารมณ์ ทั้ง ๔ อย่าง คือ
การงาน ครอบครัว สังคม และตนเอง
ที่มาหาผมโดยเฉพาะในช่วงหลังๆ
เรื่องเกี่ยวกับครอบครัวเป็นอันดับหนึ่ง
กับปัญหาเรื่องสามีมีภรรยาน้อย
ปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูก
บางทีพ่อดีแม่ดีลูกเกเร
ต่อต้านพ่อแม่มากมาย
ทั้งๆ ที่พ่อแม่ก็ยืนยันว่ารักเขา
แต่ทำไมมีปัญหามากมายอย่างนี้
เราก็จะมาวิเคราะห์ว่ารักแบบไหน
รู้สึกรักแต่การแสดงออก
อาจจะไม่เหมาะสมก็ได้มากไปน้อยไป
เข้มงวดมากไป หรือบ่นลูกมากไป
ลูกจึงต่อต้าน ครอบครัวจะมาเป็นอันดับหนึ่ง
อันดับสองตามมาก็คือเรื่องการงาน
เข้ากับเจ้านายลำบาก ทุกข์มาก
เจ้านายบางคนเข้าไปว้าเหว่ ก้าวร้าว
มักจะปนๆ กันจากครอบครัวไม่ดี
ก็ทำให้การงานก็ไม่ดี
และที่พบมากตามมาก็คือเรื่องส่วนตัว
ปมด้อยทั้งหลายที่เกิดขึ้นทำให้หมดความสุข
มีความรู้สึกว่าตัวเองแบกปมด้อยไว้ทั้งชีวิต
อุตส่าห์เรียนจบปริญญาเอก
การงานดีแต่ไม่มีความสุข
ผมจะมีระดับ ดร. ที่จบปริญญาเอกมาปรึกษามาก
ที่พูดตรงนี้เพราะว่าวิศวกรถือว่าต้องเรียนเก่งและมีความคิดที่
เป็นระบบ แต่เขาจะบอกว่าเวลาเขาทุกข์เขาไม่รู้จะไปปรึกษาใคร
การเสียหน้าของเขามีมาก
แต่การที่เขาจะยอมรับว่าผมจบแพทยศาสตร์นี่เขาจะรับได้ง่ายกว่า
เขายังบอกเลยว่าถ้าให้เขาไปหานักจิตวิทยาโดยตรงเขาไม่ไป
เขาบอกว่าคงไม่เข้าใจเขาว่าเขาคิดอย่างไร
ถูกหรือผิด ผิดหรือถูกตลอดมา
ในชีวิตของเขา เขาประสบความสำเร็จตลอดมา
ทั้งหน้าที่การงาน แต่เวลาทุกข์ เราจะจับประเด็นได้ว่า
เขาทุกข์จากอะไร จากการถ่อมตัวไม่เป็นก็ได้
จากการไม่สร้างมนุษยสัมพันธ์เลย
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ใกล้ตัวเขาลูกอาจจะเกเรบ้าง
หรือเหงามากๆ ก็ตามมาส่วนเรื่องสังคม
เราก็จะมองเห็นว่าบางคนอยากมีแฟน
เหงาเหลือเกินทำอย่างไรจึงจะมีแฟนสักคน
และบางคนหาเพื่อนลำบาก
กับบุตรสาวที่สวิตเซอร์แลนด์
แล้วจะอยู่อย่างไรในสังคมนี้
อายุมากขึ้นก็กังวลอีก ก็ทุกข์จากตน
ก็มาจากเรื่องของการงาน
หน้าที่ของตน และตัวเอง
เรื่องของความทุกข์ทั้งหมดจะมาอยู่ที่ไหนครับ
อยู่ที่ความรู้สึก ความคิดแล้วจึงแสดงออกมาทางพฤติกรรม
ความรู้สึกบอกว่าตัวเองก็ดีแล้วแต่ทำไมเพื่อนคงมองว่าไม่ดี
หรือคิดว่าคนอื่นมองเราดี แต่เราคิดว่าตัวเองไม่เข้าท่าเลย
ก็ทุกข์แล้วบางคนก็จะมองคนอื่นว่าแย่เหลือเกิน
นี่ก็เริ่มระแวง พอมองว่าเขาไม่ดีกับเรา
เขายิ้มให้เราก็ว่าเขาเยอะเราแล้วมันจะสุขได้อย่างไร
การสร้างมิตรภาพก็ไม่เกิดซึ่งก็มาจากความคิดที่เริ่มแปรเปลี่ยน
เกิดจากความรู้สึกที่เริ่มแปรเปลี่ยน บางคนรู้สึกมากเกินไปเลย
แยกตัวเองออกจากสังคมกลายเป็นสร้างโลกของตัวเอง ก็เข้าข่ายโรคจิตเลย
เป็นโรคส่วนตัวที่ไม่อยากอยู่ร่วมกับผู้อื่น อันนั้นก็จะเข้าข่ายโรคจิต
ประภัสสร อาจารย์ครับความเหงาเกิดจากอะไร เกิดจากโรคหรือเกิดจากจิต
ดร. วิทยา ความเหงาธรรมดามนุษย์เรามีกันทุกคน
แต่ว่าถ้าใครมีความเหงาอยู่มากและนานมันก็จะเรื้อรัง
สิ่งเหล่านั้นจะมีการตกตะกอนของความทุกข์
อยู่เป็นประจำทำให้รู้สึกตัวเองไร้ ค่าตลอด
แล้วมองไปข้างหน้าจะรู้สึกว่ามนุษย์ไม่ค่อยเป็นเพื่อนกับเรา
ธรรมดามนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม อยากจะมีสังคม
แต่พอเข้าสังคมไม่ได้เราก็ต้องคิดว่าทำไมเขาไม่คบกับเรา
หรือทำไมเราจึงไม่คบเขา ถ้าเราไม่คบเขาก็อาจจะมองว่า
เขาไม่เป็นมิตรกับเรา หรือว่าเขาต่ำต้อยกว่าเรา
หรือถ้าเขาไม่อยากคบกับเราก็แสดงว่าเราคงแย่
ทำให้เราต้องแยกตัวออกมากตลอด คือ
คิดเอง เออเอง ทำเองคนเดียว
ใหม่ๆ ก็คงได้ แต่พอนานไป
เราจะรู้สึกโดดเดี่ยวเพราะความเหงา
เนื่องจากเราต้องการคนพูดคุย มีการปรึกษาหารือ
หรือแม้แต่ต้องการมีคำชื่นชมยกย่อง
หรือให้กำลังใจจากผู้อื่น
เพราะฉะนั้นก็จะเริ่มเกิดเป็นความเหงามากขึ้นๆ
ถ้าเหงามากๆ ก็กลายเป็นโรคซึมเศร้าตามมา
โรคซึมเศร้าเป็นโรคจิตชนิดซึมเศร้า
พอซึมเศร้ามากๆ เหงามากๆ
บางคนอาจฆ่าตัวตายก็มี ที่เราพบมากๆ
ในสังคมไทยก็คือจะเริ่มกินเหล้า
ทำให้ติดเหล้าไปเลย
บางคนก็อาจจะใช้ยาเสพย์ติดทำให้ติดยาไปเลยก็มี
เด็กๆ ก็เหงานะครับ บางคนคิดว่าคนมีอายุเท่านั้น
จึงจะเหงาเพราะลูกโตกันหมดและแยกบ้านกันไปหมด
ก็หันมากินเหล้า สมัยก่อนคนกินเหล้าคือคนแก่
แต่ปัจจุบันไม่ใช่เฉพาะแต่คนแก่เท่านั้น
ประภัสสร แล้วความก้าวร้าวของเยาวชนนี่เกิดจากความเหงาด้วย หรือเปล่าครับ
ดร. วิทยา เป็นได้ ความก้าวร้าวของเยาวชนเกิดจากประการแรกเลย
เขาเริ่มมองเห็นว่าสังคมไม่เอื้อให้เขามีความสุข
เขาก็ไม่อยากเคารพกฎเกณฑ์ของสังคมแล้ว
เพราะเขาคิดว่าเขาก็ทำดีแล้ว พ่อแม่ไม่เห็นชมเลยกลับบ่นหรือด่า
เขาจะเริ่มมีแนวคิดที่ต่อต้านสังคมแล้ว
เพราะฉะนั้นเขาก็จะไม่เกรงใจกฎเกณฑ์กติกา
แม้กฎมารยาทหรือกฎหมาย เวลาที่เขาไม่ถูกใจ
เขาก็จะใช้สันดานดิบ ซึ่งสันดานดิบก้าวร้าว
จะมีติดตัวอยู่ในตัวของทุกคนมาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว
ซึ่งสังคมจะสอนให้คนลดความก้าวร้าวลง
ด้วยการออกกำลังกายบ้าง พักผ่อนบ้าง
คิดถึงชีวิตในแง่ดีๆ เราก็จะดีขึ้น
คนเราถ้าคิดแต่สิ่งไม่ดี มองสังคมไม่ดี
ช่วงนี้แหละจะทำให้ความก้าวร้าวนี่แสดงออกมาหมดเลย
ทำได้เต็มที่เพราะไม่เชื่อว่าสังคมจะช่วยอะไรได้
ซึ่งอันตรายมากตรงนี้
ประภัสสร สังคมไทยมีส่วนกดดันคนไหมครับ เมื่อเทียบกับตะวันตก
ดร. วิทยา ผมว่ากดดันในบางเรื่อง
บางเรื่องเราไม่อนุญาตให้คนแสดงความคิดเห็นกัน
เรามีความเกรงใจกันมากไป
จนเราไม่กล้าแสดงความคิดเห็นของเรา
ซึ่งเราอาจจะรู้สึกไม่ได้เห็นด้วย
พอแสดงความไม่เห็นด้วยออกไปผู้ใหญ่กว่าก็จะว่าเราผิด
ซึ่งเราไม่ผิดหรอกแต่เราไม่ชอบตรงนั้นเอง
แต่การที่เราจะพูดออกไปว่าเราไม่ชอบเราก็ไม่กล้าพูด
เราก็จะเก็บความไม่ชอบนั้นไว้
จนถึงเวลาที่เขาเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาเขาก็จะไปกดดันคนอื่นต่อ
ในขณะเดียวกันเขาก็เกิดความรู้สึก
เป็นปมด้อยในใจว่าฉันผิดตลอดมา
ซึ่งเราอยากได้รับคำชื่นชมยกย่อง
จากผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญที่สุดในชีวิตเรา
แต่เราไม่ได้รับก็กลายเป็นความกดดันมาตลอดชีวิต
ทำให้ไม่ภูมิใจตัวเอง ก็ทำให้เกิดความรู้สึกว่า
ต้องแสวงหาสิ่งอื่นเข้ามาเพื่อทำให้ฉันเกิดความ ภูมิใจได้
เช่น พยายามเรียนให้เก่งขึ้น
แต่ถ้าเห็นใครเรียนเก่งกว่า
เราก็จะเกิดความอิจฉาเขา
ถ้าฟังใครยกๆ ใครมากๆ
เราก็ต้องหาจุดผิดของคนนั้นมาจับผิดให้ได้
ก็กลายเป็นความพยายามท้าทาย ชอบทำลายคน
เรียกว่าสร้างความเก่งกว่าโดยการทำลายคน
หรือเกิดความรู้สึกที่ว่าสร้างมิตรไม่ได้
อาจจะทำงานได้ดีแต่อาจจะทำเป็นทีมไม่ได้
ซึ่งการยอมรับซึ่งกันและกันเป็นไปได้ยาก
ก็เพราะปมที่รู้สึกว่าฉันไม่ได้รับ
การยอมรับมาก่อนจากบุคคลหรือผู้ใหญ่ในอาชีพเรา
เรียกว่ากดดัน ซึ่งคนไทยเราส่วนใหญ่จะมองดูว่าแหย
เวลาออกสังคมสากล หรือสังคมโลกเราจะไม่ค่อยกล้าพูด
เงียบอย่างเดียว หรือในการประชุมก็เหมือนกันจะนั่งเงียบเลย
แต่เวลาโกรธจะรุนแรง ซึ่งเราเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้น่ากลัวมาก
แต่คนไทยมีลักษณะอาฆาตสูง
โกรธแล้วเก็บแต่ปากบอกว่าไม่โกรธ
แต่จะอาฆาตแล้วแค้น แล้วแค้นนี่จะยาวนานมาก
แล้วใจน้อยแสนงอนก็จะตาม
ใจน้อยแสนงอนก็เป็นลักษณะของอาการโกรธชนิดหนึ่ง
ประภัสสร อันนี้คงจะหาทางปรับปรุงยาก
ดร. วิทยา อันนี้มาจากการเลี้ยงดู
ถ้าไม่ได้เริ่มเลี้ยงดูลูกให้เกิดความภูมิใจ
ตามความเป็นจริงให้ได้
เด็กไทยทุกคนจะขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง
แต่จะต้องวิ่งไปหาสิ่งอื่นมาเพื่อให้เขาได้เกิดความภูมิใจ
ประภัสสร จะมองเห็นว่าสังคมไทยปฏิเสธคนไม่เป็น
ดร. วิทยา ครับค่อนข้างเกรงใจมากเกินไป
แต่ในใจนั้นปฏิเสธจึงเกิดเป็นความกดเก็บ
เกิดเป็นความขัดแย้งและสับสนซึ่งอันตรายมาก
คนเราถ้าขาดความภาคภูมิใจ
ตามความเป็นจริงกำลังใจก็เกิดยาก
เมื่อหมดกำลังใจมันก็หมดสิ้นทุกอย่าง หมดเงินหมดได้
หมดอวัยวะแขนขาหมดได้ ทำอะไรเกิดกำลังมันก็อยู่ได้
แต่ถ้าขาดกำลังใจแล้วจะอยู่ลำบากมาก
ผมกล้าพูดได้เลยว่าคนไทยพร้อมจะขาดกำลังใจ
ถ้าปลุกก็ขึ้นขึ้นได้เดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็เกิดขึ้นใหม่
เพราะเขาขาดความภาคภูมิใจตัวเองตามความเป็นจริง
แต่เขาชื่นชมตัวเองไม่เป็น
เพราะเขาไม่จับจุดดีในตัวเขาเอง
เพราะยังนึกถึงแต่ปมด้อยในตัวเองตลอด
อย่างคนไทยใช้หลักว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
เวลาที่คนไทยตีลูกแต่ละทีจะรุนแรง
เด็กผิดนิดหน่อยก็จะตีอย่างกับตีวัวตีควาย
เพราะเอาไปปนกับคำว่าวัว ที่ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
ก็เลยตีอย่างตีวัวตีควาย ซึ่งไม่ถูกตี ที่ถูกควรเป็น
“รักวัวให้ผูก รักลูกต้องให้กำลังใจ”
ต้องสอนให้เขาให้กำลังใจตัว เองให้เป็น
พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกให้กำลังใจตัวเอง
เป็นเวลาที่พ่อแม่ไม่อยู่เขาก็จะอยู่
ด้วยตัวเองได้ตลอดไป ซึ่งกำลังใจจะมีตลอด
ประภัสสร เป็นสงครามตัวแทนหรือเปล่าครับ
บางทีพ่อแม่แข่งขันกับพ่อแม่ของเด็กคนอื่น
เลยเอาลูกมาแข่งขันเป็นตัวแทนของตัวเอง
ดร. วิทยา เป็นได้ พ่อแม่ก็มีปมอยู่ในใจ
ที่ตัวเองได้รับการเลี้ยงดูจาก
ปู่ ย่า ตา ยาย ตลอดมา
เพราะฉะนั้นเขาก็จะรู้สึกด้อยตลอดมา
เขาอยากให้ลูกเป็นตัวแทนที่จะมา
เสริมความด้อยของเขาให้เด่นขึ้น
ต้องเปลี่ยนแนวคิดนะคะ
ต้องสอนลูกแบบให้กำลังใจ
ซึ่งวิธีสอนง่ายครับ
คือให้ลูกทำอะไรสักอย่างจะดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่
ให้บอกกับลูกว่า ลูกทำเต็มที่แล้วใช่ไหม
ลูกเก่งมาก ลูกทำได้ดีมาก แม่ชอบ
แต่ถ้าลูกทำตรงนี้อีกนิดหนึ่งลูกก็จะเก่งกว่านี้ ดีกว่านี้
แม่จะชอบลูกมากกว่านี้
เพราะฉะนั้นเราสอนแค่นี้พอแล้ว
ประภัสสร การฆ่าตัวตายเกิดจากอะไรครับ
ดร. วิทยา ที่จริงคนเราต้องสร้างความหวังมาตลอด
ทำให้มีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวที่สร้างความหวัง
ให้แก่ตัวเองมาตลอดสิ่งนั้นก็จะ
อยู่กับตัวเราเหมือนกับเราแปรงฟันทุกๆ เช้า
แต่คนที่ลืม ดูแลแต่ร่างกายส่วนจิตใจไม่ทำเลย
ลืมสร้างความหวังให้กับตัวเองทุกวันๆ
ความหวังนั้นมันก็จะหมดง่าย
พอหมดง่ายสิ่งที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก
ของเขากลายเป็นความบกพร่อง
ความไม่มีหรือขาดก็ได้ เช่น ฉันลำบาก ฉันพิการ
ฉันจนสู้ไม่ได้ฉันแพ้ ก็เก็บเอาไว้
พอมีอะไรที่มากระตุ้นไม่ว่าจากการดูทีวี ละคร
หรือฟังคนพูดตอกย้ำมากๆ
อาจจะมองเห็นว่าตัวเองเหมือนกับตัวเอกในละครนั้น
ซึ่งตามบทละครอาจมีการชี้นำว่าที่สุดคือตาย
ก็เกิดความคิดว่านั่นคือเรา
เพราะฉะนั้นคนจะฆ่าตัวตายได้ง่าย
เนื่องจากจิตใจที่ไม่ได้มองว่าตัวเองมีค่าเพียงพอ
มองอนาคตที่หมดหวัง และมองว่าใครๆ ก็คงมาช่วยไม่ได้
และมีตัวอย่างของการฆ่าตัวตาย
เพราะฉะนั้นฉันฆ่าตัวตายดีกว่า
ซึ่งทุกอย่างมันก็วนๆ อยู่แค่นี้แหละครับ
ประภัสสร การสร้างความฝันนี่จะไม่กลายเป็นฝันเฟื่องหรือครับ
ดร. วิทยา ถ้าหากฝันตลอดแล้วไม่ประสบความสำเร็จเลยนี่ก็กลาย
เป็นความเพ้อฝัน ถ้าฝันว่าจะสร้างโลกของตัวเองก็เป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง
ถ้าจะฝันให้เป็นต้องเลือกฝันในสิ่งที่เป็นไปได้
มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์ คือ
ถ้าเราฝันว่าเราจะเป็นคนที่ขยันขึ้น
เราก็มองภาพว่าเราขยัน ถ้าเราฝันว่าจะให้มีคนมาชื่นชม
เราก็ต้องศึกษาก่อนว่าคนที่เขาชื่นชมนั้นเขาชื่นชมอะไร
และคนนั้นมีลักษณะอย่างไร ยิ้มแย้มเป็น
ทักทายเป็น ยกย่องชมเชยเป็น ช่วยเหลือกัน
เราก็ฝันว่าเราก็ทำได้ คนก็จะยกย่องชมเชยเราว่า เก่งมาก ดีมาก
ประภัสสร เรื่องยิ้มนี่ทุกคนน่าจะยิ้มเป็น ต้องมีการศึกษาด้วยหรือครับ
ดร. วิทยา ลักษณะของการยิ้มที่ว่ายิ้มอย่างผู้มีคุณค่าเพื่อ
ความกินดีและมีสุขแบ่งออกเป็น ๙ ส่วนก่อนคือ
ดูแลตัวเอง ตั้งแต่
ร่างกาย
จิตใจ
อารมณ์
สังคม
เศรษฐกิจ
การงาน
การศึกษา
อนาคต
ความรักเพื่อนมนุษย์
จาก ๙ อย่างนี้ก็แตกย่อยออกไปอีกข้อละ ๑๒ ข้อ
แน่นอนคนเราต้องยิ้มเป็น แต่บางคนยิ้มไม่เป็นนะครับ
ยิ้มแหยก็มี ยิ้มเยาะ และเวลาเจอคนแปลกหน้าก็จะบึ้งไปเลย
ผมเคยเจอคนบางคนที่มีการศึกษาดี
เวลาเจอคนแปลกหน้าหรือเจอคนที่เขาเกร็งหน้าเขาจะบึ้งไปเลย
ที่นี้คนเราเมื่อเจอคนเราก็ต้องส่งยิ้ม
สังเกตจากคนที่เขาประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนใหญ่เขาจะยิ้มเป็น
คนที่ยิ้มเป็นนี่จะมีความสุขและมีการเปล่งเสียงหัวเราะออกมา
เราจะยิ้มให้กับความดีของคนอื่น และที่เรียกว่ายิ้มสยาม
ก็คือยิ้มจากใจ ยิ้มในความรักเพื่อนมนุษย์ สมมุติว่าคนที่จะพูดอะไรใหม่ๆ
ก็จะติดขัดไม่ว่าจะพูดต่อหน้ามวลชนหรือต่อหน้าสิ่งใหม่ๆ
ถ้าติดขัดก็ให้หายใจเข้าลึกๆ แล้วก็ยิ้ม
แล้วจึงพูดอะไรบางอย่างออกไปก็จะง่ายขึ้น
เพราะถ้าเรายิ้มแล้วอาจจะมีคนยิ้มตอบหรือไม่ยิ้มตอบก็ได้
แน่นอนถ้าเราไม่ยิ้มให้เขา เขาก็ไม่ยิ้มตอบเราแน่
ประภัสสร หนังสือ “อยู่อย่างสง่างาม”
ของอาจารย์เล่มนี้ขายดีมากเลยนะครับ
ตีพิมพ์มาแล้ว ๖ ครั้ง เป็นหนังสือวิชาการไหมครับ
ดร. วิทยา ไม่ใช่วิชาการ เป็นหนังสือแนะนำวิธีอยู่อย่างสง่า
แบบง่ายๆ ชาวบ้านๆ
วิธีเขียนผมก็ใช้ประสบการณ์ของชีวิตที่เคยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ซึ่งเก็บรวบรวมเอาลักษณะด้อยของผู้ที่พบเห็นมา
เก็บเอาลักษณะเด่นของผู้ที่ประสบความสำเร็จมา
เอามาผสมผสาน แล้วจึงเอามาเขียน
เขียนให้คนเชื่อและชอบ
แต่บางอย่างก็จะออกมาเป็นสำนวนไทยๆ ง่ายๆ
พอให้ผู้อ่านเข้าใจและนำไปใช้ได้เลย
คือเราจะไม่ใช้ภาษาวิชาการ
เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือวิชาการ
ประภัสสร อาจารย์เขียนไว้ได้น่าสนใจ
และมีอารมณ์ขันด้วย มองโลกในแง่ดี
เป็นหนังสือที่เขียนง่าย อ่านง่าย
ดร. วิทยา ครับ เขียนเป็นข้อๆ อ่านเดี๋ยวเดียวจบ
คุณลองหลับตาแล้วเปิดหนังสือพบเรื่องอะไรก็อ่านได้เป็นเรื่องๆ
แม้จะเป็นเรื่องอารมณ์ขัน
ประภัสสร ครับ ผมเปิดเจอเรื่องอารมณ์ขัน
อาจารย์เขียนว่าสัตว์ไม่มีอารมณ์ขัน จริงหรือครับ
ดร. วิทยา จริง เพราะเราไม่เคยเห็นสัตว์หัวเราะเลย
คืออารมณ์ที่ซับซ้อนจึงจะเป็นอารมณ์ขันได้
อารมณ์ที่เป็นสัตว์สัญญาณเฉยๆ
ไม่ใช่ สัตว์ส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาณ
แม้แต่การเป็นสัตว์กันเองก็จะวนๆ กันอยู่ตรงนั้น
เพราะฉะนั้นคนที่มีความเครียดมากๆ
อารมณ์ขันก็จะไม่มี
อารมณ์ต้องเป็นอารมณ์ที่ซับซ้อนบวกกับสุนทรีย์
ถ้าซับซ้อนแต่ไม่สุนทรีย์ก็จะขำไม่ออก
ประภัสสร อาจารย์บอกว่าคนที่มีอารมณ์ขันได้ดีมักจะมีลักษณะ ดังนี้คือ
๑. ลดตัวเองสู่ความเป็นเด็กได้
ดร. วิทยา การลดตัวเองสู่ความเป็นเด็กช่วยให้เราเป็นอิสระคือ
บางทีเราจะเกร็งมากกว่าฉันคืออธิบดีไปไหนก็ต้องนั่งวางท่า
อย่างนี้ก็จะขำไม่ออก เพราะว่าเตือนตัวเองมากไป
ประภัสสร ๒. มองโลกในแง่ดี
ดร. วิทยา แน่นอนคนจะมองโลกในแง่ดีได้ก็ต้องมองว่าฉันก็ดีนะ
ถ่อมตัวเองคนอื่นเขาก็ดีนะ เขาก็ดีตามความเป็นตัวเขา
ซึ่งไม่เหมือนเราและเราก็ไม่เหมือนเขา
ซึ่งการจะมองว่าเราดีแล้วคนอื่นไม่ดี
ถือว่าไม่ได้ มองทุกอย่างดีหมดก็เท่ากับว่ามองโลกเป็น
ประภัสสร เท่ากับว่ามองโลกกว้างขึ้น
การมองโลกในแง่ดีนี่เราสร้างได้ไหมครับหรือเป็นโดยกำเนิด
ดร. วิทยา ต้องสร้างเลย สร้างโดยสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู
ถ้าสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูไม่เอื้อ เช่น
พ่อแม่เกิดมาไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ย่า ตายาย
แล้วมาสอนลูกให้ระวังนะๆ มากเกินไป
เด็กจะถูกวางกรอบให้เดิน
หรือถ้าเราพูดถึงความเลวร้ายของเพื่อนมนุษย์มากๆ
เขาจะเกิดความเชื่อว่ามนุษย์นั้นเลวร้ายและไม่น่าคบหา
ซึ่งเท่ากับเป็นการมองโลกในแง่ไม่ดี เก่งในการจับผิดมนุษย์
ซึ่งอารมณ์ขันจะมียากจะมีแต่อารมณ์นินทา
ประภัสสร ลักษณะสุดท้ายของผู้มีอารมณ์ขันก็คือ
รู้จักการอภัยตัวเองและผู้อื่นได้
ดร. วิทยา ครับ เท่ากับไม่จับผิดใคร ซึ่งบางทีคนอื่นผิดบ้างก็ไม่เป็นไร
ซึ่งคนเราจะมีขีดจำกัดความสามารถบางอย่างทำได้
บางอย่างทำไม่ได้ ทำให้เรามองดูบุคคลแบบกว้างๆ
เขาจะมีอารมณ์ขันแบบมีความสุข หากเราคาดหวังว่าเขาต้องฉาดอย่างที่เราคิด
เขาก็จะไม่มีอารมณ์ขันก็ผิดหวังตลอด เพราะเรามีความคาดหวัง
เราควรจะมองมนุษย์ตาม ความเป็นจริงที่มีอยู่และมองอยู่
พร้อมจะอภัยด้วย โลกนี้ก็จะน่าอยู่
ประภัสสร อาจารย์เขียนหนังสือมานานแล้วใช่ไหมครับ
ดร.วิทยา ๒๐ กว่าปี
ประภัสสร ตอนนี้เขียนประจำที่ไหนบ้าง
นอกจากที่สกุลไทย
ดร.วิทยา เขียนลงตามนิตยสารและหนังสือพิมพ์อยู่ ๗ ฉบับ
ทั้งรายสัปดาห์และรายปักษ์
ประภัสสร อาจารย์เครียดไหมครับ
ดร. วิทยา ไม่เครียดครับ ผมว่าเป็นงานอดิเรก
แรกๆ ผมเขียนช้าและเขียนยาว หลังๆ จะเขียนสั้นเข้า
และจุดมุ่งหมายในการเขียนแต่ละบทจะเป็นตอนเดียวๆ ตลอด
เพราะต้องการให้กระชับ
ถ้าเขียนลงตามนิตยสารจะยาวกว่านี้
ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะเขียนสั้นตอนเดียวจบ เป็นเรื่องๆ ไป
เคยมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเป็นอดีต ผอ.ช่อง ๕
ท่านอ่านหนังสือแล้วชอบมากเลย ท่านบอกว่า
คุณหมอเขียนหนังสือง่ายๆ สั้นๆ
อ่านแล้วชอบเหมือนเป็นอาหารที่พอคำทีละคำๆ สบายๆ
ประภัสสร ปัจจุบันนี้คนเรามักจะมีความเครียดมากขึ้น
จากปัญหาของเศรษฐกิจก็ดี
ปัญหาของสังคม ของการครองชีพอะไรต่างๆ
อาจารย์มีวิธีแนะนำสำหรับการบำบัดความเครียดบ้างไหมครับ
ดร. วิทยา อย่าคาดหวังกับชีวิต
ทำให้เต็มที่ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น
อยากจะบอกว่าคนที่มีความสุข
และสดความเครียดได้จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. มองตัวเองดีในสิ่งที่เป็นจริงให้ได้
หาความดี ความเก่งตามความเป็นจริงให้ได้
แล้วไม่ต้องเอาไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
๒. ให้รู้จักถ่อมตัว ถ่อมใจ
มองคนอื่นว่าเขาเก่งและดีตามความเป็นจริงของเขา
๓. และอนาคตก็จะตามมา
๔. ให้อยู่กับปัจจุบัน คือ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
อย่าอยู่กับความทรงจำโยนทิ้งไปให้หมด
เมื่อทำวันนี้ให้ดีที่สุดโดยอดีตจะไม่นึกถึงแล้ว
๕. ให้เชื่อว่าอนาคตจะดีกว่านี้ ความเชื่อนั้นยังไม่จริง
ความเชื่อเกิดจากการได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ว่า
อนาคตเราจะดีกว่านี้
แล้วเราจะมีกำลังใจมากขึ้นๆ
มันเริ่มจากความเป็นจริงเล็กๆ คือ
ฉันดี ฉันเก่ง จากในความเป็นจริงเล็กๆ
แล้วก็ตัดสิ่งที่ไม่ดีในอดีตทิ้ง
แล้วก็ยอมรับความจริงในวันนี้เสีย
อะไรก็ตามถ้าเราเชื่อแล้วสร้างสรรค์ก็จงเชื่อเถิด
แต่ถ้าเชื่อแล้วไม่สร้างสรรค์
ทำให้ชีวิตเราตกต่ำมากขึ้นก็ไม่ควรเชื่อ
อย่างคนที่เชื่อเรื่องผีเพราะว่าฟังเรื่องผีบ่อย
คุยเรื่องผีตลอด พ่อแม่พูดเรื่องผีมาตั้งแต่เกิด
คนไทยเชื่อเรื่องผีมาก และคนไทยก็กลัวผีกัน
เพราะฉะนั้นสังคมใดที่เชื่อเรื่องผีมากๆ
จะมีลักษณะเฉพาะคือจะชอบเชื่อเรื่องลี้ลับ
แต่สิ่งที่สร้างสรรค์กลับไม่เชื่อ
อันนี้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประชากร
ประภัสสร อย่างละครโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับเจ้ากรรมนายเวร อาจารย์เชื่อไหมครับ
ดร. วิทยา ผมจะเปลี่ยนช่องหนีทุกที
เพราะผมดูแล้วผมไม่มีความสุข
ผมว่าเป็นอนิจจังอาจไม่แน่นอน
แต่ขณะนี้ยังพิสูจน์ไม่ได้
แต่ถ้าถามว่าสร้างสรรค์ไหม
ผมรู้ว่าดูแล้วกลัวน่ะ ไม่สร้างสรรค์แน่
แต่ถ้าชื่อเพียงแค่ว่า
ผลของการกระทำในอดีตมันจะมีอิทธิพลต่อปัจจุบันและอนาคต
ถ้าทำดีมาในอดีตความดีก็จะตามมาทำให้เราได้ดี
และดีมากขึ้น ทำให้เราเกิดกำลังใจที่จะทำความดีมากขึ้น
แต่ถ้าเราทำความดีมาจนถึงปัจจุบันแล้วมาถูกรถชนขาขาดไปข้างหนึ่ง
เราก็ต้องถ่อมตัวถ่อมตนและทำใจให้ยอมรับว่าฉันคงมีวิบากกรรมตามมาแล้ว
และเป็นเรื่องของอนิจจังไม่แน่นอนก็ทำดีต่อไป ณ วันนี้เลย
และก็ตั้งความหวังว่าแล้วฉันจะดีขึ้น
เนื่องจากความเชื่อจะทำให้เราทำแต่ความดีตลอดเวลา
ประภัสสร ช่วงนี้เป็นช่วงสุดท้าย
อยากขอให้อาจารย์ให้กำลังใจ ผู้ฟังสักเล็กน้อย
ดร. วิทยา ครับ อยากจะบอกว่าชีวิตเราเป็นเรื่องของคุณค่า
ไม่ใช่เรื่องของความมีค่าหรือคุ้มค่า
เพราะฉะนั้นใครก็ตามแต่ถ้าทำตัวเองให้มีคุณค่า
ได้เพียงนิดเดียวคุณก็จะมีค่ามากมาย
การแสดงความมีคุณค่าคือการช่วย
หรือการให้ที่ดีที่สุด ไม่มีเงินก็ให้คำพูดที่ดีๆ
ให้กำลังใจก็ได้ถ้ามีเงินก็ไปช่วยคนที่เขาไม่มีบ้างสักเล็กน้อย
และให้ชื่นชมตัวเองให้เป็นว่าฉันอยู่อย่างมีคุณค่า
สังคมนี้ต้องช่วยกัน
การช่วยกันเป็นการแสดงความรักมนุษย์ที่ง่ายที่สุด
และอย่าหวังว่าเขาจะมาชื่นชมเรา
จงหัดชื่นชมตัวเองให้เป็นทุกครั้งที่ทำอะไร
โดยใช้ประโยชน์ที่ว่า เก่งมาก
ดีมากพูดกับตัวเองให้พูดให้พูดในใจ
แล้วเวลาใครทำอะไรที่เราเห็นว่าดีให้เปล่งเสียงออกมาดังๆ ว่า
เก่งมาก ดีมาก ทั้งลูกและเพื่อนฝูงชอบฟังคำนี้กันทั้งนั้น
แล้วกำลังใจจะเกิดขึ้นจากเราก่อนและก็คนข้างๆ เรา