Custom Search

Sep 30, 2007

ตำรวจของประชาชน ชื่อ"นพดล เผือกโสมณ"

From T2
อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช
มติชน

เสียงระเบิดดังกึกก้องขึ้นทันทีที่เท้าซ้ายสวมใส่รองเท้าคอมแบตของ
พ.ต.อ.นพดล เผือกโสมณ รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส ย่ำลงไปบนระเบิดกับดัก
ตอกย้ำการพัฒนาวัถตุระเบิดอีกขั้นหนึ่งของกลุ่มก่อความไม่สงบ
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากเดิมที่ใช้ระเบิดแสวงเครื่อง
จุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือรีโมทคอนโทรลสายชนวนลากยาว
หรือตั้งเวลาด้วยนาฬิกาดิจิตอลอานุภาพของระเบิด
และทิศทางพุ่งขึ้นตรงส่งผลให้ขาซ้ายท่อนล่างปลิวหายไป
พร้อมกับตัดมือซ้ายตั้งแต่ข้อมือขาดออก
สะเก็ดระเบิดทำอันตรายต่อร่างกายซีกซ้าย
บางส่วนหลุดเข้าไปฝังในดวงตาข้างซ้าย
โชคดีที่ร่างกายท่อนบนรวมทั้งอวัยวะภายในไม่ได้รับผลกระทบสื่อทุกประเภท
รายงานเหตุการณ์อย่างละเอียดถึงความกล้าหาญ
เสียสละของนายตำรวจผู้กล้ารายนี้
เพราะไม่ใช่ครั้งแรกที่ พ.ต.อ.นพดลต้องเสี่ยงอันตรายและประสบเคราะห์กรรม
จากการปฏิบัติหน้าที่
ย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ.2546 ขณะดำรงตำแหน่ง ผกก.สภ.อ.ระแงะ จว.นราธิวาส
เขาเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด เมื่อบุกเข้าไปช่วยเหลือ ตชด. 2 นาย
ที่พลัดหลงเข้าไปในกลุ่มชนผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโจรนินจาเหตุการณ์ครั้งนั้น
ตำรวจพลร่ม 2 นาย ต้องเสียชีวิตจากการถูกกลุ้มรุมทำร้าย พ.ต.อ.นพดล
ได้รับบาดเจ็บสาหัส สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก
ต้องพักรักษาตัวนานกว่า 2 เดือนวีรกรรมดังกล่าว
พ.ต.อ.นพดลได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พระราชทานดอกไม้และเงินขวัญถุงจำนวนหนึ่งซึ่ง พ.ต.อ.นพดล
มิได้นำมาใช้จ่ายแต่อย่างใด หากแต่ได้เก็บไว้เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
และครอบครัวครั้งนี้ก็เช่นกัน
ทันทีที่ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีรับสั่งผ่านราชเลขานุการไปยัง
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ให้ พ.ต.อ.นพดลเป็นคนไข้
ในพระบรมราชานุเคราะห์ ยังความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อ
ครอบครัว"เผือกโสมณ" และเพื่อนข้าราชการตำรวจที่รักใคร่ใกล้ชิด พ.ต.อ.นพดล
ตัวตนของ พ.ต.อ.นพดลเป็นอย่างไร สื่อมวลชนทุกประเภทได้นำเสนอแง่มุมต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนในฐานะเป็นครู, พี่,และเพื่อนร่วมงานที่รู้จักสนิทสนมกับ
พ.ต.อ.นพดลมาช้านาน


ตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2521
โดยเฉพาะในช่วง 3 ปี ของสงครามแย่งชิงประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ความสัมพันธ์ของเราเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะเพื่อนร่วมตาย (Buddy)
เพราะทุกครั้งที่ผู้เขียนลงมาปฏิบัติภารกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ต.อ.นพดลจะต้องเป็นผู้กำหนดการ วางแผน และร่วมเดินทางไปด้วย
โดยตลอดเวลาเราสองคนสวมเครื่องแบบตำรวจใช้ยานพาหนะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล
ปราศจากการเฝ้าระวังพื้นที่ในทุกจุดที่ต้องเข้าไปเยี่ยมเยียนครอบครัวตำรวจที่บาดเจ็บ
หรือเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ยะหา บันนังสตา เจาะไอร้อง ระแงะ กรงปีนัง ฯลฯ


เหตุผลที่ไม่ปิดบังอำพรางการแต่งกาย เป็นเพราะคำพูดของ พ.ต.อ.นพดล
ที่บอกกับผู้เขียนบ่อยครั้งว่า
"ตายในเครื่องแบบตำรวจ เป็นการทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์สมบูรณ์แบบ"
ทุกเส้นทาง พ.ต.อ.นพดลจะบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ณ จุดนั้นๆ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นถึงวิธีการแก้ไขปัญหา
ตัวอย่างเช่น การถูกซุ่มโจมตีเป็นเพราะการเข้า-ออกในเส้นทางซ้ำกัน
การเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเป็นระยะเวลาที่แน่นอน
เปิดช่องว่างให้ฝ่ายตรงข้ามทำอันตรายได้ข้อมูลทั้งสถานที่และตัวบุคคล
หรือแม้กระทั่งชื่อของผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัยเป็นภาษาอาหรับ
หลั่งไหลจากสมองของ พ.ต.อ.นพดลเหมือนเก็บไว้ด้วยคอมพิวเตอร์
แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ เรียนรู้ และแม่นยำในข้อมูลเป็นอย่างมาก


ที่น่าประทับใจมากก็คือ พ.ต.อ.นพดลได้รับการยอมรับจากส่วนราชการอื่น
พ่อค้าและประชาชน เพราะทุกครั้งที่ต้องหยุดพักเพื่อตั้งหลักหรือรับประทานอาหาร
จะต้องมีผู้คนมาสนทนาแสดงความดีใจที่ พ.ต.อ.นพดลได้แวะมาเยี่ยมเยียน
บ่อยครั้งจะได้รับของฝากทั้งอาหารและผลไม้จากชาวบ้าน


พ.ต.อ.นพดลมีภาวะผู้นำสูงยิ่ง
ตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจได้รับคัดเลือกจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นนักเรียนปกครอง
ที่สำคัญยังเป็นนักกีฬาระดับหัวหน้าทีมรักบี้ฟุตบอลของ ร.ร.นรต.อีกด้วย
คุณสมบัติดังกล่าวจึงหล่อหลอมตัวตนของ พ.ต.อ.นพดลให้มีจิตใจสูงรู้จัก แพ้ ชนะ
และให้อภัย
ภายหลังสำเร็จการศึกษาออกมารับราชการในพื้นที่ภาคใต้จนได้รับเลื่อนยศเป็น ร.ต.อ.
จึงได้ย้ายกลับไปเป็นนายตำรวจฝ่ายปกครองนักเรียนนายร้อยตำรวจ
ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 1นรต.รุ่นที่ 48 ใต้ปกครองดูแลของ ร.ต.อ.นพดล
กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า
"ผู้กองป๋อง" เป็นแบบฉบับของนักเรียนนายร้อยตำรวจ
ประพฤติตนเป็นแบบอย่างนักเรียนจะวิ่ง ฝึก ผู้กองป๋องวิ่งด้วย
ฝึกด้วย ถึงเวลากระโดดร่ม ผู้กองป๋องกระโดดดิ่งพสุธา (กระโดดร่มแบบกระตุกเอง)
ให้นักเรียนได้ดูก่อนเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
สร้างขวัญให้ทุกคนเห็นว่าความกลัว ระงับได้ด้วยสติ
บรรเทาได้ด้วยการฝึกอย่างหนัก อดทน เหนือสิ่งอื่นใด



ผลสะท้อนที่เกิดขึ้นภายหลังประสบเคราะห์กรรมล่าสุด
จึงทำให้ชาวอำเภอหาดใหญ่ แห่แหนกันไปบริจาคโลหิตจนล้น
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์และชาวนราธิวาสหลายร้อยได้
รวมพลังชุมนุมให้กำลังใจถือป้ายยกย่องเป็น
"วีรบุรุษของชาวนราธิวาส"
"พ.ต.อ.นพดล ตำรวจตงฉิน เสียสละเพื่อชาติ ขอให้พระเจ้าคุ้มครองคนดี"


ทั้งที่ในความเป็นจริง ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่ พ.ต.อ.นพดลจะคุยโตโอ้อวดว่า
ตนเป็นคนกล้าหาญ เป็นนักรบ เป็นวีรบุรุษ หรือเป็นผู้เสียสละ
หากแต่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติให้ผู้อื่นเห็นเป็นที่ประจักษ์
เป็นแบบอย่างของผู้ใต้บังคับบัญชาและกล่าวขวัญของประชาชนสังคมปัจจุบัน


ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีบุคคลที่
(ทึกทักเอาเองว่าตน)เป็นวีรบุรุษ ออกมาป่าวประกาศถึงความองอาจกล้าหาญ
หน้าตาเฉยต่อสาธารณชนพฤติกรรมของ พ.ต.อ.นพดลจึงเป็นเรื่องอปกติอย่างยิ่ง
เป็นอปกติที่ตรงกับคำว่า "ปิดทองหลังพระ" ซึ่งมีความหมายว่าทำความดีเพื่อความดี
และให้ความดีนั้นเตือนตน มุ่งมั่นทำความดีงามยิ่งขึ้นไป
โดยไม่จำเป็นต้องหวังผลตอบแทนจากการทำความดี
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของ ลาภ ยศ สรรเสริญ
ตราแผ่นดินหน้าหมวกตำรวจมีข้อความเป็นธรรมะว่า
สัพเพสัง สังฆภูตานัง สามัคคี วุฑฒิสาธิกา
ซึ่งแปลว่า ความพร้อมเพรียงในหมู่ชน ยังความเจริญให้สำเร็จ
และมีคำว่า "พิทักษ์สันติราษฎร์" อยู่ตรงกลางคำบาลีดังกล่าวความเสียสละทั้งอวัยวะ
หรือแม้แต่ชีวิตของ พ.ต.อ.นพดล เผือกโสมณ
จึงเป็นไปเพื่อรักษาธรรมข้างต้นโดยแท้..!

Sep 27, 2007

รำลึกถึง ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์

คิดถึงอาจารย์ป๋วย: http://www.wetu.org/Dr_puey.htm
ประวัติและผลงาน

นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นครู เป็นนักเศรษฐศาสตร์ เป็นนักพัฒนา เป็นนักเขียนนักคิด
เป็นนักมนุษยธรรม เป็นผู้ที่สนใจปัญหาสำคัญของประเทศ
มีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นายป๋วย เกิดเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ที่ตลาดน้อยใจกลางกรุงเทพมหานคร
บิดาชื่อ ชา เป็นคนจีนที่อพยพที่เข้ามาทำมาหากินในประเทศไทย
มารดาชื่อนางเซาะเซ็งเป็นคนไทย เชื้อสายจีน บิดา มารดา มีบุตรทั้งหมด ๗ คน
นายป๋วยเป็นคนที่ ๔ บิดามีอาชีพขายส่งปลา แม้ฐานะจะไม่มั่งคั่งก็ไม่ถึงกับ
อัตคัดขาดแคลน ต่อมาเมื่อนายป๋วยอายุได้ ๘ ขวบ บิดาถึงแก่กรรม
ครอบครัวเริ่มประสบความลำบาก มารดาต้องทำมาหากินเลี้ยงลูกทั้งหมด
อาศัยที่ได้ญาติผู้ใหญ่ให้ความอุปการะบ้าง ลูกๆ จึงได้รับศึกษาเป็น อย่างดี

นายป๋วยเข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เรียนเก่งในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาฝรั่งเศส
เมื่อจบมัธยม ศึกษาใน พ.ศ.๒๔๗๕ โรงเรียนรับเข้าเป็น
ครูสอนหนังสือโดยได้เงินเดือน ๔๐ บาท
นายป๋วยแบ่งให้มารดา ๓๐ บาท เก็บไว้ใช้ส่วนตัว ๑๐ บาท
ในระหว่างที่เป็นครูอยู่นั้นได้ไปสมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งในสมัยนั้นไม่ต้องเข้าชั้นเรียนเป็นประจำ
(เหมือนมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปัจจุบัน)
และเมื่อจบปริญญาธรรมศาส่ตร์บัณฑิตใน พ.ศ.๒๔๘๐
ได้ลาออกจากการเป็นครูมาทำหน้าที่ล่ามให้กับอาจารย์ฝรั่งเศส
ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ นายป๋วยสอบแข่งขันได้ทุนรัฐบาลไปเรียนต่อในสาขาเศรษฐศาสตร์
ที่ London School of Economics ประเทศอังกฤษ
จนสำเร็จปริญญาตรีใน พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยได้รับเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง
อันเป็นผลทำให้ได้ทุนเรียนต่อในระดับปริญญาเอก
เรียนยังไม่จบก็เกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ขึ้น นายป๋วยได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย
ใช้ชื่อรหัสว่า " เข้ม " ได้มาปฏิบัติการในประเทศไทยโดยกระโดดร่มลงที่
จังหวัดชัยนาท แต่ถูกจับได้ ต่อมาได้มี่โอกาสกลับไปประเทศอังกฤษอีกใน พ.ศ. ๒๔๘๘
ได้รับเลื่อนยศให้เป็น พันตรีในกองทัพอังกฤษ

นายป๋วยได้ศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกใน พ.ศ. ๒๔๙๑
ระหว่างนี้ได้ทำการสมรสกับนางสาวมาร์เกา เร็ต สมิธ (มีบุตรด้วยกัน ๓ คน)
และได้กลับมาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ เริ่มรับราชการที่กรมบัญชีกลาง
กระทรวงการคลัง และเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ ได้เข้าดำรงตำแหน่ง
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่อยู่ได้ เพียง ๗ เดือน
ก็ต้องออกไปเพราะไม่ยอมทำสิ่งที่ตนคิดว่าไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่
แต่ก็ยังคงรับราชการที่กระทรวง การคลังอยู่จนกระทั้ง พ.ศ.๒๔๙๙

นายป๋วยได้ไปขัดขวางผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจจึงต้องไปรับราชการ
ประเทศอังกฤษในตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจประจำสถานเอกอัครราชทูต
ระหว่างนี้ได้มีส่วนช่วยให้ไทยขาย ดีบุกและยางพาราให้แก่ชาติในยุโรปได้มากขึ้น
ท่านได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาดีบุกระหว่างประเทศ
ปี ๒๕๐๑ ได้กลับประเทศไทยเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ซึ่งพึ่งตั้งขึ้นใหม่ และ ในปี ๒๕๐๒
ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยู่ในตำแหน่งนี้นานถึง ๑๒ ปี
โดยได้ขอลา ออกหลายครั้งแต่ไม่ได้รับอนุมัติ ที่ขอลาออกก็เพื่อจะไปทำหน้าที่
คณบดีคณะเศรษฐศาส่ตร์ซึ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ ได้เต็มที่

นอกจากนี้นายป๋วยยังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานและ
คณะกรรมการที่สำคัญหลายชุด

การรัฐประหาร พ.ศ.๒๕๑๔ ทำให้นายป๋วยต้องหลบภัยทางการเมืองไปอยู่อังกฤษ
โดยไปสอน ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และได้กลับมาประเทศไทย
ภายหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ รับตำแหน่งที่
ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
ได้รับแต่งตั้งให้เป์นอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ก่ต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ประเทศ อังกฤษอีก
จนกระทั่งปัจจุบัน

____________________________________________________

ข้อคิดจาก 90 ปี อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์

วรากรณ์ สามโกเศศ 
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ http://www.dpu.ac.th/
มติชนรายวัน วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10232

9 มีนาคม 2549 เป็นวันคล้ายวันเกิดครบ 90 ปีของศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ปูชนียบุคคล และ "สามัญผู้ยิ่งใหญ่" คนหนึ่งของสังคมไทย ผู้ "ให้มาก และเอาไปน้อย"
วันสำคัญนี้เป็นโอกาสดีที่ผู้ที่นับว่าตนเองเป็นศิษย์อาจารย์ป๋วย
หรือศิษย์คำสอนและเลื่อมใสวัตรปฏิบัติอันงดงามของท่านอาจารย์
ได้ทบทวนบทบาทของตนเอง

นอกจากหนังสือ "เศรษฐกิจประเทศไทย" ที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นเล่มในเดือนตุลาคม 2498
(รวบรวมจากคำบรรยายวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ของท่านอาจารย์ป๋วย
สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
แล้วยังมีเอกสารคำบรรยายเกี่ยวกับหลักธรรมจริยา ซึ่งควรยึดถือในทางเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคุณหญิงสุภาพ ยศสุนทร ปิยมิตรของท่านได้ร่วมปรับปรุงแก้ไขด้วยอีก เล่มหนึ่ง

ในเอกสารคำบรรยายนี้ ผู้เขียนได้เน้นว่าธรรม และศีล
ตามหลักพุทธศาสนานั้นมีความสอดคล้องกัน ในทางเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างดี
ธรรมหมายถึงการช่วยเหลือให้บุคคลและสังคมโดยรวมดีขึ้น
ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือความยุติธรรม
ส่วนศีล หมายถึงการละเว้นจากการสร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น

ท่านอาจารย์ป๋วยได้ขยายความโดยยกตัวอย่างกรณีที่ถือว่าขัดกับหลักธรรมและศีล
หรือหลักธรรมจริยาในทางเศรษฐศาสตร์ ไว้หลายกรณี ได้แก่
(อ้างจาก อันเนื่องมาแต่ตุลาคม 2519 ป๋วย อึ๊งภากรณ์, 2523)

1.ข้าราชการผู้รับสินบนหรือใช้อำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตน
2.ข้าราชการผู้เกี่ยวโยงกับธุรกิจเอกชนในฐานะประธานหรือกรรมการบริษัท
ซึ่งมีผลประโยชน์ขัดกับหน่วยงาน ซึ่งข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติงานอยู่
ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและมิได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน
ก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจนั้นก็ตาม
3.ข้าราชการผู้ที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าจะเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตก็ตาม
4.นโยบายเศรษฐกิจซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มน้อย
ในขณะที่เป็นผลร้ายต่อคนส่วนใหญ่
5.บุคคลผู้สมรู้ร่วมคิดกับข้าราชการ เพื่อเอาเปรียบสาธารณชน
6.ข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งรัฐบาลออกบังคับใช้อย่างไม่สมเหตุสมผล
7.การหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบุคคลและบริษัทห้างร้าน
8.การกักตุนสินค้าในยามขาดแคลน โดยมุ่งค้าหากำไรในตลาดมืด
9.ราษฎรผู้ปราศจากอาชีพ ผู้ไม่พยายามหาเลี้ยงชีพโดยสุจริตหรือไม่ตระหนัก
ถึงหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองของชาติ ผู้ปราศจากสติยับยั้ง
และความรู้สึกผ่อนหนักผ่อนเบา ผู้ที่พยายามเอาเปรียบผู้อื่น
และผู้ไม่พยายามขวนขวายหาความรู้ใส่ตัว
และคอยขัดขวางความก้าวหน้า
10.ชนกลุ่มน้อยซึ่งกลายเป็นผู้ร่ำรวยอย่างมหาศาล
ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความยากจนแร้นแค้น
11.ผู้ที่ประสบความสำเร็จในทางธุรกิจและมีรายได้สูงหรือผู้ที่ได้รับมรดกตกทอด
จำนวนมาก แต่มิได้นำทรัพย์สินเหล่านั้นมาลงทุนในทางที่ก่อให้เกิดผลผลิต
อันจะช่วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
หลักธรรมจริยาทั้ง 11 ข้อข้างต้นนี้ "โดนใจ" คนหลายคนในปัจจุบัน
แต่สำหรับเหล่าบรรดาผู้นับตนเองว่าเป็น "ศิษย์อาจารย์ป๋วย"
แล้วมีหลายข้อซึ่งขัดกับหลักธรรมจริยาที่ควรใคร่ครวญดังต่อไปนี้

(ก) "ข้าราชการผู้รับสินบนหรือใช้อำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว"
เหล่าศิษย์ที่ทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และการเงินการคลังทั้งหลาย
พึงตระหนักว่าการสร้างให้มี "สองมาตรฐาน" เพื่อประโยชน์แห่งความก้าวหน้า
ในงานราชการของตน ก็เปรียบเสมือนกับการรับสินบนหรือใช้อำนาจหน้าที่
เพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างไม่ต้องสงสัย
การกล่าวเพียงเท่านี้ก็คงเพียงพอ อย่าลืมว่าสิ่งใดที่ทำไปนั้น "เพื่อนร่วมอาจารย์"
เดียวกัน ผู้อยู่ในหน่วยงานลักษณะเดียวกัน รวมทั้งผู้ที่จับตามองนั้น เขามิได้ "กินแกลบ"
(ขอใช้สำนวนคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์)

(ข) "ข้าราชการผู้ที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต
ก็ตาม" บางท่านที่ทำการดังกล่าวในข้อ (ก) มีสภาพเหมือน
"ข้าราชการผู้ที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นการผิดหลักธรรมจริยาอย่างชัดแจ้ง การละเลยมิได้ปฏิบัติหน้าที่
อันพึงกระทำก็เป็นการผิดหลักธรรมจริยาข้อเดียวกัน

(ค) "บุคคลผู้สมรู้ร่วมคิดกับข้าราชการ เพื่อเอาเปรียบสาธารณชน"
เป็นการละเมิดหลักธรรมจริยาของผู้ไม่ได้เป็นข้าราชการ ถ้าบังเอิญผู้นั้นเคยนับว่าเป็น
"ศิษย์อาจารย์ป๋วย" ก็เท่ากับกระทำสิ่งซึ่งตรงข้ามกับคำสอนและวัตรปฏิบัติ
ของท่านอาจารย์หากท่านอาจารย์ป๋วยยังมีชีวิตอยู่
คงไม่มีอะไรที่ทำให้ท่านโทมนัสใจได้เท่ากับคนที่นับว่า
ตนเองเป็นศิษย์ละเมิดธรรมจริยา 3 ข้อข้างต้นเป็นแน่
ไม่มีการบูชาคุณครูใดที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าการกระทำการสิ่งที่สมกับที่เป็นศิษย์ครู

ชีวิตของท่านอาจาย์ป๋วยนั้นเปรียบเสมือนข้อความที่ท่านอาจารย์พระยาอนุมานราชธน
ได้เขียนไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2484 ดังนี้ "จำได้เคร่าๆ ว่าได้อ่านหนังสืออังกฤษเรื่องหนึ่ง
กล่าวถึงหาดทรายชายทะเลเวลาน้ำลงตอนเย็น เขาว่าในเวลาเย็นอย่างนั้น
มีคนมาเที่ยวเล่นตามหาดทรายกันมาก บ้างนั่ง บ้างเดินกันอยู่ขวักไขว่
จะพบรอยเท้าเหยียบย่ำไปบนทราย
สันสนปนกันที่ทับรอยก็มี รอยเท้าบางรายก็เป็นรอยลึกเห็นชัด
ที่มีรอยเห็นชัดแต่ครึ่งเดียว รอยอีกครึ่งหนึ่งหายไปก็มี
รอยเท้าเหล่านี้มีทั้งรอยใหญ่รอยเล็ก สุดแต่เจ้าของผู้ที่เหยียบย่ำมาบนทราย
ครั้นแล้วรอยเท้าเหล่านั้น ก็พลันถูกทะเลในเวลาน้ำขึ้นท่วม
ลบรอยให้สูญหายไปหมดแล้ว
ก็ตั้งต้นมีรอยเท้าใหม่ในเวลาน้ำลงอีก
เขาเปรียบรอยเท้าบนหาดทรายเหมือนชีวิตของคนที่เกิดมา
ถ้าเป็นคนมีคุณงามความดี ก็เสมือนรอยที่เห็นเด่นอยู่ในทราย
ผู้ที่มีคุณงามความดีน้อยกว่า ก็เสมือนรอยในทรายที่เห็นไม่เด่น หรือ
บางทีก็สักแต่ว่าเป็นรอยเห็นรางๆ เท่านั้น
ครั้นแล้วมฤตยูซึ่งเปรียบได้ด้วยน้ำทะเลเวลาขึ้นก็มาท่วมลบรอยหายไปหมด
จะอยู่ในความจำของผู้รุ่นหลังก็แต่รอยที่เห็นเด่น....."

"ศิษย์อาจารย์ป๋วย" ทั้งหลาย เลือกได้ว่าต้องการจะเป็นรอยเท้าแบบใดครับ

Sep 23, 2007

โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ของ วรากรณ์ สามโกเศศ
















สำนักพิมพ์ openbooks:
เป็นความโชคดีของผู้อ่านที่ วรากรณ์ สามโกเศศ
เป็นนักอ่านตัวยง อ่านทุกวัน อ่านหลากหลาย อ่านมาก อ่านเร็ว และอ่านเป็น

เป็นความโชคดีของผู้อ่านที่
วรากรณ์ สามโกเศศ ใจกว้างอย่างยิ่ง
สนุกกับการเรียนรู้อย่างยิ่ง มากความสนใจอย่างยิ่ง ต่อสาขาวิชาหลากหลาย

ไม่เฉพาะวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่หลอมรวมเป็นตัวตนของเขาเท่านั้น
เป็นความโชคดีของผู้อ่านที่
วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นนักเล่าเรื่องตัวยง
ชอบเล่า ชอบสอนที่สำคัญ เล่าสนุก สอนสนุก มากด้วยสีสัน

เป็นความโชคดีของ openbooks ที่ วรากรณ์ สามโกเศศ
มอบข้อเขียนหลากรสว่าด้วยเรื่องสารพัดสารเพจำนวนกว่า 120 ชิ้น
ที่คณะบรรณาธิการคัดสรรจากข้อเขียนทั้งหมดกว่า 1,000 ชิ้น
ในรอบทศวรรษมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 3 เล่ม ได้แก่

"First"
"Best" และ "Different"
รับรองได้ว่าอร่อยทุกรส

คำนำผู้เขียน(โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี) ถึงแม้หนังสือในชุดเศรษฐศาสตร์สำหรับประชาชน
หรือเข้าใจเศรษฐศาสตร์โดยไม่ต้อง
แบกกระไดมาอ่านจะขาดตอนไปพักหนึ่ง
ไม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ
แต่ยืนยันได้ว่าใจของผู้เขียน มิได้ห่างจากการ
รับใช้ท่านผู้อ่านเลยแม้แต่น้อย
ความง่ายและธรรมดา ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์

ยังเป็นหลักในการนำเสนอ
'ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง'

หนังสือเล่มใหม่ในชุดดังกล่าวอยู่เหมือนเดิม
เศรษฐศาสตร์ได้ชื่อว่าเป็น 'Dismal Science'
หรือ'ศาสตร์แห่งความหดหู่และสิ้นหวัง'
เพราะยืนยันว่าทุกอย่างมีต้นทุน จะได้อะไรมาสักอย่าง

ต้องเอาบางสิ่งหรือหลายสิ่งไปแลกเสมอ
ดังเข้าทำนอง 'โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี'
แม้จะมีคนให้หนังสือเล่มที่ถืออยู่นี้ก็ตาม
ท่านก็มีต้นทุนที่ต้องจ่ายอยู่ดี
เพราะในโอกาสต่อไปท่านก็จำเป็น
ต้องตอบแทนผู้ให้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
สิ่งนั่นก็คือต้นทุน ถ้าท่านไม่ตอบแทนเลย

ท่านก็อาจสูญเสียมิตรภาพ
ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของต้นทุนที่ท่านต้องจ่ายอยู่นั่นเอง
ยิ่งถ้าท่านได้รับมาแล้ว และอ่าน
ยิ่งมีต้นทุนสูงขึ้น เพราะต้องเสียเวลาอ่าน
และเวลาที่เสียไปนี้ท่านอาจเอาไป

ทำอะไรอื่นๆได้มากมาย
ดังนั้น การอ่านจะเข้าท่าก็ต่อเมื่อ

ท่านได้รับประโยชน์สมกับเวลาที่เสียไป
ผู้เขียนมั่นใจว่าประโยชน์ที่ท่านจะได้รับจาก
การอ่านหนังสือเล่มนี้คุ้มกับต้นทุนเวลาที่เสียไป
ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนแถมเพิ่มขึ้นอัน
เกิดจากการจ่ายค่าหนังสือก็ตามที
อย่างไรก็ดีถ้าท่านคิดแต่จะคอยคนเอามาให้

ท่านก็จะเสียอารมณ์โดยใช่เหตุ
ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ซื้อเสียแต่ในบัดดล
ผู้เขียนขอขอบคุณสำนักพิมพ์มติชน
ผู้กรุณาคัดเลือกจข้อเขียนและดำเนินงานบรรณาธิการให้
และขอบคุณอาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ช่วยเป็นธุระให้เสร็จเรียบร้อย
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ได้ให้เกียรติแก่ผู้เขียนเสมอมา

หากมีสิ่งใดผิดพลาด
ผู้เขียนขอน้อมรับไว้ด้วยความคารวะแต่ผู้เดียว
ด้วยความสำนึกในไมตรีจิตเสมอ

วรากรณ์ สามโกเศศ

> ผลงานของ อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ : http://www.dpu.ac.th/laic/page.php?id=5752





Sep 20, 2007

เปิดชีวิตตกผลึก 'อากู๋' ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม

ที่มา: http://www.the-thainews.com/misc/journal/jn070246_1.htm
"อย่าเป็นหนี้ เพราะมันจะทำให้หัวสมองบื้อ
ถ้ามีเงินให้นั่งทับไว้ที่ก้น หัวมันจะฉลาดเอง"

พ่อสอนไว้
หากชีวิตไม่เดินพลัดหลงเข้าไป
ในอาณาจักรของนายห้างเทียม โชควัฒนา
เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ฝันในวัยหนุ่ม
ของผู้ชายคนหนึ่ง อาจไม่ปะทุ

กลายเป็นเจ้าพ่อวงการบันเทิง เฉกเช่น
วันนี้

"ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม"

เขาเป็นเพียงลูกพ่อค้าชาวจีนธรรมดาๆ
หากไม่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าว่า
"สักวันกูต้องรวย" เขาคงไม่ต่างไปจาก
"อาตี๋" ที่ต้องสืบทอดกิจการร้านขาย
"ของชำ" เล็กๆ ย่าน ถ.เยาวราชของพ่อ

"ผมเริ่มบอกกับตัวเองว่า.... กูต้องรวย
ตั้งแต่เรียนจบ (นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ)

คิดว่าถ้าเรียนจบมาแล้ว ต้องไปขายของชำ
อย่างนั้นก็ไม่ต้องไปเรียนดีกว่า
ก็ทำตั้งแต่เป็นอาตี๋ คงไม่มีอะไรแตกต่าง
ใจตอนนั้นคิดว่า เราน่าจะไปอยู่บริษัทใหญ่ๆ
เพื่อดูว่าเขาทำอะไรกัน...

พ่อเราทำงานมาทั้งชีวิตไม่เห็นรวยเลย"


ไพบูลย์ ถ่ายทอดความคิดในวัยหนุ่มให้ฟัง

อาตี๋หนุ่มได้รับการถ่ายทอดวิชาค้าขายจากพ่อ
มาตั้งแต่เป็นเด็ก พ่อของไพบูลย์เป็นคนขยัน
เขาเห็นพ่อเปิดร้านแต่เช้าตรู่
และปิดร้านดึกกว่าร้านค้าของคนอื่น
นี่คือสิ่งที่พ่อได้เปรียบร้านค้าในละแวกเดียวกัน

"บ้านผมอยู่เยาวราช ตอนเย็นพอเรียนหนังสือ
ทำการบ้านเสร็จต้องรีบกลับมาช่วยขายของ
ร้านพ่อผมเป็นร้านที่ "เปิดเร็ว-ปิดดึก"
ที่สุดในย่านนั้น เกือบจะเป็นเซเว่นอีเลฟเว่น
(เปิด 24 ชั่วโมง) อยู่แล้ว
เวลาชาวบ้านเขาปิดร้านหมด
แกขายอยู่คนเดียวแกเป็น
Monopoly (ผูกขาด) เลยนะ"

ทุนที่พ่อให้ คือ "ความรู้"
พ่อสอนลูกๆ ว่าไม่ให้เป็นคน" ทำอะไรเกินตัว"
ไพบูลย์จดจำได้ว่าพ่อของเขาสอนเสมอว่า....
ถ้าไม่จำเป็นอย่าเป็นหนี้คนอื่น เพราะการเป็นหนี้

สมองมันจะคิดอะไรไม่ออกพ่อยังสอนด้วยว่า....
ถ้ามีเงินให้นั่งทับไว้ที่ก้น หัวมันจะฉลาดเอง
ฉะนั้นในการทำธุรกิจของไพบูลย์
จึงไม่ชอบ กู้ (ถ้าไม่จำเป็น)

นี่คือหนึ่งในสิ่งที่เจ้าพ่อวงการบันเทิงเมืองไทย
บอกว่า เป็น "Key to Success"
(กุญแจแห่งความสำเร็จ)
ของเขาชีวิตที่ตกผลึกของชายผู้นี้ถูกซ่อนเร้น
อยู่ภายใต้มันสมองที่ปราดเปรื่อง


ไพบูลย์ บอกว่า เขาไม่ใช่เด็กหัวดี

แต่ชอบการค้าขาย ถ้าหัวดีกว่านี้
เขาอยากเรียนเศรษฐศาสตร์มากกว่า
เพราะสมัยก่อนคณะนิเทศศาสตร์ (จุฬาฯ)
คะแนนต่ำสุด แต่เมื่อต้อง เสี่ยง
เขาเลือก เสี่ยงน้อยที่สุด
เอาไว้ก่อนการตัดสินใจครั้งนั้น
อาจเป็นพื้นฐานความคิดของไพบูลย์
จวบจนทุกวันนี้
Key to Success"
อีกข้อหนึ่งของเขา ก็คือ
ถ้าเผื่อมีทางให้เลือก 2 ทาง

ทางแรกบอกว่า "เสี่ยงมาก....รวยมาก"

ทางที่สอง บอกว่า "เสี่ยงน้อย...รวยน้อย"

เลือกข้อหลังถ้าผมมีทุนน้อย
ผมจะเลือกทางที่เสี่ยงน้อยที่สุดไว้ก่อน
(เหมือนสมัยที่ทำแกรมมี่ใหม่ๆ)
แต่ทุกวันนี้ผมมีเงินทุนแล้ว
ผมรู้ว่าความเสี่ยงนั้นถึงจะมาก
แต่ก็ยังเสี่ยงอยู่ในขอบเขต
หลายคนอาจบอกว่าผมทำธุรกิจที่ผมไม่เคยทำ
นั่นคือ ความเสี่ยง
แต่สำหรับผมมันไม่ใช่ความเสี่ยง
เพราะผมรู้จักมัน
และอยู่ในขอบเขตที่รับได้"


ในวัยหนุ่มไพบูลย์ คิดว่า

หากเลือกได้เขาจะเรียนเกี่ยวกับการค้า
เพราะเชื่อว่า
การค้า คือ พื้นฐานของความสำเร็จ
ซึ่งก็หมายถึง "ความร่ำรวย" นั่นเอง
ตอนที่สอบได้คณะนิเทศศาสตร์
มีคนบอกว่าต้องไปทำ "ป้อจั๊ว"
คือ อะไรรู้รึเปล่าป้อจั๊ว
แปลว่านักหนังสือพิมพ์
พ่อผมยังทักว่า...
อยากรวยแล้วดันไปเรียนป้อจั๊วแล้ว
จะรวยได้ยังไง....
ผมก็บอกว่าไม่เป็นไรป๋า
เรียนจบเดี๋ยวก็รวยได้"เขาบอกว่า
การเป็นลูกพ่อค้า
ทำให้เขามีพรสวรรค์เรื่องค้าขายตั้งแต่เด็กๆ


"แม่อยากให้ผมสนิทกับพ่อ

ตอนเด็กผมต้องไปช่วยพ่อ
ตอนเย็นลูกจ้างกลับบ้านหมด
มีแกนั่งขายของอยู่คนเดียว
มันทำให้ผมได้ใกล้ชิดกับพ่อ
และได้ความรู้เรื่องการค้า
พอโตขึ้นเราก็เริ่มคุ้นเคย
ว่าค้าขายมันทำยังไง
ลูกค้าเป็นยังไง
มันรู้เองโดยธรรมชาติคำสอนของพ่อทั้งที่ตั้งใจ
และถ่ายทอดจากการกระทำให้เห็นเป็นประจำ
คือ "สมบัติ" ที่มีคุณค่ายิ่งกว่าทองคำ

เพราะพ่อไม่มี "เงิน" ให้เป็นทุน ไม่มีนามสกุล
ถูกบรรจุอยู่ในตำนาน "เจ้าสัว"ของเมืองไทย
แต่คำสอนพ่อช่วยให้ไพบูลย์มี "ความมุ่งมั่น"
ที่จะไขว้คว้าหาความสำเร็จด้วยตัวเอง
เขาไม่เคยน้อยใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อ
แม้จะไม่ได้ร่ำรวยแต่เขาก็ภาคภูมิใจ


สำหรับไพบูลย์แล้วเขาคิดเสมอว่า

สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นเพียงเงื่อนไข
แต่ปัจจัยที่ชี้ขาดความสำเร็จอยู่ที่ตัวตนภายใน
แม้การเปลี่ยนแปลงจะมีวิถีเฉพาะของมัน
แต่การเตรียมตัวรับเหตุการณ์
จะทำให้เราไม่กลัวความเสี่ยง
เงินเก็บที่มีอยู่น้อยนิด


ครั้งที่เริ่มก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

(ปัจจุบัน คือ บมจ.จีเอ็มเอ็มแกรมมี่)

กลายเป็นเงื่อนไขที่ไพบูลย์บอกว่า "ห้ามล้มเหลว"
แนวคิดการควบคุมความเสี่ยงของไพบูลย์
มาจากกรอบความคิดแบบ "สี่เหลี่ยม"
ที่บรรจุความลับแห่งความสำเร็จเอาไว้

ตอนมาทำแกรมมี่ลงทุนเริ่มแรกไปเท่าไร?
"สักสี่ซ๊า...ห้าแสนบาท" เขาตอบ

นอกจากวิชาความรู้ที่ไพบูลย์ซึมซับมาจากชีวิตวัยเด็ก
บวกกับ 5 ปีเต็มที่ไพบูลย์
ได้เรียนรู้วรยุทธ์จากนายห้างเทียม โชควัฒนา
ในบริษัท ฟาร์อีสท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง
(ปัจจุบันคือ บมจ.ฟาร์อีสท์ดีดีบี)
เขาได้ซึมซับวิธีคิดการทำธุรกิจ
และการมองตลาดอย่างทะลุปรุโปร่ง
นายห้างเทียม เปรียบดุจอาจารย์
และบริษัท ฟาร์อีสท์ คือ
โรงเรียนที่ถ่ายทอดวิทยายุทธ
ฝันของไพบูลย์ ถือกำเนิดที่นั่น

แต่เขาไม่เคยลืมสิ่งที่พ่อสอน คือ
"อย่าเป็นหนี้" เพราะมันจะทำให้หัวสมอง "บื้อ"


ไพบูลย์ เล่าให้ฟังว่า ความคิด
"อยากรวย" ของตัวเอง
มีส่วนจุดประกายความสำเร็จในวันนี้
หลังจากเรียนจบ (นิเทศศาสตร์)
ผมคิดว่า บริษัทอื่นมันรวยกันยังไงว่ะ!...
ขอไปศึกษาหน่อย ก็เลยไปสมัครงานที่ฟาร์อีสท์
(บริษัทโฆษณาในเครือสหพัฒน์)
มีโอกาสเรียนรู้งานใกล้ชิดกับนายห้าง (เทียม)


"ผมเรียนจบก็ทำงานวันละ 2-3 กะตลอดเวลา

ผมทำงานอยู่กับสหพัฒน์ 5 ปี
อายุ 23-28 ปี พออายุ 28 ปี
ก็ออกมาช่วยเขาตั้งบริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
(ในเครือโอสถสภา เต๊กเฮงหยู)
ก็ได้เป็น "เอ็มดี" (กรรมการผู้จัดการ) เลย
ตอนอายุ 28 ผมมีคนขับรถให้นั่งแล้วนะ
โก้มากครับ ตอนนั้นก็ยังคิดว่า....
กูนี่ก็เท่เหมือนกันนี่หว่า!!!"


ที่พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง ไพบูลย์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง
ผลงานที่เขาภาคภูมิใจที่ฝากไว้ที่นี่
คือ เป็นคนทำตลาดน้ำส้มสายชูกลั่น "อสร."
และทำตลาดปลาเส้น "ทาโร่" สแน็ค
ที่มีส่วนแบ่งตลาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
จนถึงปัจจุบัน

พ่อของไพบูลย์เป็นคนที่สู้งานมาทั้งชีวิต

สมัยที่ทำงานเป็นลูกจ้าง ไพบูลย์
จึงหางานพิเศษทำตลอด
"กลางวันผมทำที่สหพัฒน์ กลางคืนผมทำของตัวเอง
ผมไปเรียนจากพี่สุจิตต์ วงษ์เทศ ขรรค์ชัย บุนปาน
ทำหนังสือที่พิฆเนศ
บางช่วงเป็น บ.ก.หนังสือให้กับคุณบุรินทร์ วงศ์สงวน
ร่วมกับเพื่อนๆ ตั้งบริษัท โฟร์เอจ
ทำทางด้านวิจัย ทำด้านโฆษณา
และงานสถาปัตย์
กลางคืนผมออกไปทำงานเพิ่มหาประสบการณ์ หาเงินสะสม"
ผลจากการทำงานหนักทำให้ไพบูลย์
เริ่มมีเงินเก็บเพื่อสานต่อความฝันของเขา
ทำไมถึงต้องทำงานหนักขนาดนั้น!!! "เพราะผมกลัวจน"


เขาตอบผมสัญญากับตัวเองว่า "ต้องรวย"

แต่รวยอย่างสุจริตนะ ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร
แต่กว่าจะรวยก็เหนื่อย!!!
ผมไม่มีญาติโยมคนไหนช่วยเหลือ
ถ้าถามว่าผมทำธุรกิจแบบไหน
จะบอกว่าทำธุรกิจแบบ "กลัวจน" ครับ


ไพบูลย์
บอกว่า ชีวิตของเขาจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ทุกๆ 1 รอบ หรือ 12 ปี
ทำที่สหพัฒน์ 5 ปี ที่พรีเมียร์ 7 ปีรวมเป็น 12 ปี
ก็ออกมาตั้งบริษัท (แกรมมี่) ของตัวเอง
อีก 12 ปีต่อมาก็เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (บจม.จีเอ็มเอ็มแกรมมี่)
ไม่ได้ถือกำเนิดบนความตั้งใจของไพบูลย์


เขากล่าวว่า "พระเจ้าพาผมเข้ามา"

นี่อาจเป็นลิขิตชีวิตที่มี "ฟ้า" เป็นผู้กำกับ"

ผมเริ่มต้นจากการทำเพลง "มหาดุริยางค์ไทย"
ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ
ทำเป็นเทป 2 ม้วน นั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้นจริงๆ
ผมยังบอกกับลูกน้องบอกว่า
ผมมาทำเพลง ผมมีไหว้ครูด้วยนะ
สมัยก่อนใครเอาเพลงไทยเดิมไปออกเทป
เขาจะขอบคุณเราด้วยซ้ำ
เพราะเอางานของเขาไปเผยแพร่
แต่ของผมเคารพในสิทธิเจ้าของเพลง
ผมก็เอาเงินไปให้
(คุณหญิงชิ้นผู้ดูแลลิขสิทธิ์เพลงไทยเดิมของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ)

ขอเซ็นลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องเลยยังจำได้ว่า
เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว
แบ่งเงินให้ท่าน 2 แสนกว่าบาท
สมัยนั้นเงินเยอะมาก
คุณหญิงชิ้นบอกผมว่า...คุณคุณอยากทำเพลงอะไรคุณเอาไปเลย

แล้วผมขายได้ด้วยนะ
ตอนนั้นผมขายเพลงไทยเดิมกำไรเป็นล้าน
นั่นคือ ลิขสิทธิ์ชิ้นแรกที่ผมซื้อ"


นี่คือ ที่มาของความคิดในการก่อตั้ง

บริษัท แกรมมี่ เมื่อปี 2526
ตอนทำเทปเพลงมหาดุริยางค์ไทย
ของหลวงประดิษฐไพเราะ
ไพบูลย์มีอายุประมาณ 33 ปี
และเริ่มมาทำเทปเพลงชุดแรก
ในนามบริษัท แกรมมี่ตอนอายุประมาณ 35 ปี
(ปัจจุบันอายุ 53 ปี)
พื้นฐานความคิดก่อนเข้าสู่ธุรกิจบันเทิง
ของไพบูลย์ เขาบอกว่า
ผมประเมินดูแล้วว่า พ่อค้าที่ทำเทปตอนนั้น
(ประมาณปี 2526)
เราสู้ไหว แต่ถ้าจะทำสินค้า "คอนซูเมอร์ โปรดักส์" (อุปโภค-บริโภค)
ซึ่งผมคลุกคลีอยู่ตอนนั้น ดูแล้วไม่กล้าสู้
มีเจ้าตลาดอย่างสหพัฒน์ ยูนิลีเวอร์
ถ้าเข้าไปเป็นมดแน่นอน
ผมก็มองหาธุรกิจที่ไม่ใหญ่นัก

ก็มองที่ธุรกิจเต้นกินรำกิน
นี่แหละคิดว่ายังไงๆ เราพอสู้ได้


ตอนนั้นก็มีรายใหญ่คุมอยู่ แต่คำว่า "ใหญ่"

มันไม่ได้ใหญ่เหมือนกับโอสถสภา สหพัฒน์
หรือยูนิลีเวอร์ เออ!ยังงี้...พอไหว ดูแล้วธุรกิจนี้กำไรดี"
สิ่งที่ไพบูลย์ได้เปรียบ "เถ้าแก่"
ในธุรกิจเพลงค่ายอื่นๆ ขณะนั้น
ก็เพราะการทำเทปจำเป็นต้องทำสื่อวิทยุเป็น
ทำสื่อทีวีเป็น เราก็เรียนมาทั้งนั้น
(นิเทศศาสตร์) พวกเถ้าแก่คนอื่นไม่น่าจะชนะผม
ถึงบอกว่าเรามี Key to Success
ผมด้อยอยู่เรื่องเดียว คือ "ดนตรี"
พอได้ "พี่เต๋อ" (เรวัต พุทธินันทน์) มาเติมก็จบ
ทำให้เรามีองค์ประกอบของความสำเร็จครบทุกข้อ
หัวใจอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจบันเทิง
ก็คือ "ศิลปิน" ปัจจุบันแกรมมี่
มีศิลปินที่เซ็นสัญญาในสังกัดมากที่สุด จำนวน 415 คน


การดูแล "ทรัพย์สิน" ที่มีชีวิต
และมีค่ายิ่งกว่าสิ่งปลูกสร้าง ของบริษัท
กลับเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย
หลักการที่ไพบูลย์ยึดถือ
ในการบริหารคน คือ "ความยุติธรรม"
เพราะเรื่องคนเป็นเรื่องของ "น้ำใจ"
สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ
และความไว้วางใจ
"ถ้าคุณทำให้เขาศรัทธามันจะไม่มีปัญหาเลย
อย่าทำให้เขารู้สึกว่า เฮ้ย!!! พี่ไพบูลย์....
เอาเปรียบผมหรือนี่....
ไม่ได้เลยผมจะบอกผู้บริหารของเราว่า
พวกคุณอย่าให้น้องๆ
ศิลปินเข้าใจผิดในเรื่องผลประโยชน์
มีปัญหาอะไรต้องไปคุยกันให้เคลียร์
เพราะว่าธุรกิจของเรามันไม่ใช่สิ่งของ
แต่มันเป็นสิ่งมีชีวิต (ศิลปิน)
เขาไม่ได้โง่ โกงเขาวันนี้
ถ้ามารู้วันหลัง เราเสียคน
ผมจะบอกศิลปินว่า
ถ้าคุณดูแลงานผม ก็คือ ดูแลงานของตัวเองให้ดี....
ผมจะดูแลตัวคุณให้สุขสบายดี
และควรดูแลตัวเองด้วยจะดีที่สุด

"เมื่อมองย้อนกลับไปถึงหลักการดำเนินชีวิต
และหลักการทำงาน
ไพบูลย์ กล่าวขึ้นว่า
คนเราเวลาสำเร็จอะไรแล้ว มันจะบรรลุ


อย่างผมเพิ่งคุยกับคุณเจริญ (สิริวัฒนภักดี)

เจ้าของเบียร์ช้าง
แกเป็นคนที่ล้ำลึกมาก
ทั้งๆ ที่แกไม่ได้เรียนอะไรมากเลย
แต่ Common Sense
(สามัญสำนึก) แกสูง
แกมองภาพทั้ง Macro (ใหญ่) ทั้ง Micro (เล็ก)
ของประเทศได้หมดเลย
หรืออย่างผมนั่งฟังคุณธนินท์ (เจียรวนนท์) พูด 3 ชั่วโมง
เรียกว่า ไม่มีรุกไปฉี่
เพราะกลัวหลุด กลัวฟังไม่ครบ
อย่างนายห้างพูดอะไรนั่งฟังได้เป็นชั่วโมง
เพราะคนเราพอสำเร็จอะไรแล้ว
มันรู้เรื่องหมด วิชามันทะลุกันหมด


พอผมมาทำของตัวเอง มาทำ
"แกรมมี่"
ผมก็รู้เงื่อนไขว่าผมกู้เงินไม่ได้
เพราะไม่มีเครดิต ไม่มีทรัพย์สินที่จะค้ำประกัน
ธุรกิจเป็นเต้นกินรำกินไม่มีใครให้กู้
พ่อแม่ผมก็ไม่รวย ไม่มีญาติที่จะเอาเงินมาให้ยืม
เพราะฉะนั้นผมจะต้องทำธุรกิจ
บนเงื่อนไขที่ว่า "ต้องห้ามขาดทุน"
เพราะการขาดทุนหมายถึง
ผมจะหมดทุกสิ่งทุกอย่าง"


ปัจจุบันไพบูลย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดใน

บจม.จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำนวน 266.09 ล้านหุ้น
หรือเท่ากับ 53.22% คิดเป็นมูลค่า
ตามราคาตลาดเกือบ 4,800 ล้านบาท
เขาคือเจ้าพ่อวงการบันเทิง
อันดับหนึ่งของเมืองไทย
ที่มีศิลปินภายในสังกัดมากที่สุด
จากค่ายเทปเล็กๆ


เมื่อ 20 ปีที่แล้ว (ปี 2526)

วันนี้จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ แผ่ขยายธุรกิจ
จนกลายเป็นผู้นำธุรกิจบันเทิง
"ครบวงจร" รายใหญ่ที่สุดของประเทศ
ภายใต้ยุทธศาสตร์การรบ "ในแนวลึก"
งบการเงิน ณ 30 ก.ย.2545 (งวด 9 เดือน)


"จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" มีสินทรัพย์รวม 3,912 ล้านบาท

มี Cashflow ในมือกว่า
955 ล้านบาท มีรายได้รวม 3,850 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิ 445 ล้านบาท
หุ้นมีมาร์เก็ตแคปรวมประมาณ 9,000 ล้านบาท


ในขณะที่บริษัทในเครือ"จีเอ็มเอ็ม มีเดีย"

ที่เพิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
หุ้นมีมาร์เก็ตแคปรวมประมาณ 5,400 ล้านบาท
เป็นใบประกาศนียบัตรถึง
ความสำเร็จสูงสุดของไพบูลย์ได้เป็นอย่างดี
เรื่องราวของไพบูลย์ยังไม่จบลงง่ายๆ

ชายผู้เปลี่ยน "เสียงเพลง"
ให้มีค่ายิ่งกว่า "ทองคำ"
ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะแปรเปลี่ยนความฝัน
ให้กลายเป็น "เงิน"
เขาพยายามสานต่อความร่ำรวยด้วย
การ Diversify (การแตกธุรกิจ)
จากธุรกิจบันเทิงไปสู่ธุรกิจ
ที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยนายห้างเทียม
เคยพูดว่า "มีชื่อ...มีฐานที่มั่นคง...ก็สร้างโอกาสใหม่ได้


แนวคิดอันนี้ เป็นส่วนสำคัญของปฏิบัติการ "โตแล้วแตก"

ของเครือสหพัฒน์ สำหรับไพบูลย์ "แตกเพื่อโต"
เป็นยุทธศาสตร์การรบ "ในแนวราบ"
ใหม่ล่าสุดที่เขานำมาใช้เพื่อสร้าง
"ขาหยั่ง"ต่อยอดความมั่งคั่งให้กับตัวเอง
เริ่มตั้งแต่การซื้ออาคารโรจนะ
ทาวเวอร์บนถนนอโศก ราคา 1,100 ล้านบาท
เพื่อให้บริษัทในเครือเช่า
เขาใช้เงินกู้จาก ธ.ไทยธนาคาร
จำนวน 600 ล้านบาท

แต่ใช้หนี้หมดภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี
เฉพาะรายได้ค่าเช่าตึก
ของบริษัทในเครือแกรมมี่เพียงแห่งเดียว
ไพบูลย์ก็มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 55 ล้านบาท
(คิดค่าเช่ากับแกรมมี่ 3 ปีแรก
ประมาณ 165.6 ล้านบาท
หรือเท่ากับ 230 บาท/ตร.ม./เดือน)


ไม่รวมกับเงินปันผลที่แกรมมี่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นปีละ 10 บาท

(คิดจากราคาพาร์ 10 บาทที่จ่ายในปี 2542-2545)
ไพบูลย์จะมีรายได้ (เงินสด)
เพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 260-270 ล้านบาท
(4 ปีจะได้รับเงินปันผลรวมประมาณ 1,040-1,080 ล้านบาท)


เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมเขาจึงสามารถ

ให้คืนหนี้ 800 ล้านบาท
หมดภายในเวลาอันรวดเร็วขณะเดียวกัน
ก็ปรากฏข่าวว่า ไพบูลย์เข้าซื้อที่ดินมรดกของ
"นางสุเพี้ยน เวชชาชีวะ"
คุณย่าของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
จำนวน 9 ไร่ มูลค่าสูงถึง 120 ล้านบาท
บริเวณ ต.หนองแก อ.ปราณบุรี
เพื่อสร้างคฤหาสน์หรูริมทะเลที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


อีกนัยหนึ่ง ก็คือ อาณาจักร

ที่พักผ่อนส่วนตัวของบรรดา "ศิลปิน"
ในสังกัดบนเส้นทางที่ราบเรียบ
ก็อาจมีอันตรายซ่อนเร้นอยู่ ท้องทะเลที่เงียบสงบ
ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งโอกาสเกิดคลื่นลม
บนเส้นชีวิตที่ราบรื่นสุขสบายเฉกเช่นปัจจุบัน
ก็มิอาจคาดคะเนได้ในอนาคต
เมื่อชีวิตเดินทางมาไกลกว่าที่ฝัน
ไพบูลย์ตัดสินใจสานฝันให้ไกลออกไป
เขาตัดสินใจสร้าง "ขาหยั่ง"
เพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งอีกครั้ง
ด้วยการรุกธุรกิจถึง 4 อย่างพร้อมๆ กัน
เริ่มตั้งแต่ธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "โฟร์มี"
ธุรกิจขายตรงเครื่องสำอาง "ยูสตาร์"
ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น "โฮยู" และธุรกิจเสื้อผ้า

(ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างหาชื่อแบรนด์)
เงินลงทุนประมาณ 300-400 ล้านบาท
เดิมพันของไพบูลย์ครั้งนี้
เขาใช้เงินสดส่วนตัวมาเล่น เขาบอกว่า
"วันนี้ของผม ไม่เหมือนสมัยเริ่มต้น
ผมไม่กลัวเจ๊ง การลงทุนที่คุณเห็น
ไม่สะเทือนฐานะการเงินผมเลย


ในที่สุดถ้าธุรกิจใหม่ผมไม่สำเร็จ ก็อย่ามาสงสาร
เพราะผมไม่กระทบกระเทือน
ผมได้วางแผนทางการเงินเอาไว้หมดแล้ว"
อันนี้ที่พูด ผมไม่ได้อหังกาหรือขี้โม้นะ
ผมหมายความว่าสถานภาพ
มันเปลี่ยนแปลงแตกต่าง
จากช่วงการทำธุรกิจในตอนแรก
ตอนนี้เป็นการทำธุรกิจอย่างคนมีทุน
สามารถวางแผนได้

แต่ก็จำกัดขอบเขตไม่ให้กระทบกระเทือนตัวเรา
ถึง ล้ม ได้ ยังยึดหลักของ
ความไม่เสี่ยงแต่บนเส้นทางธุรกิจใหม่
ของไพบูลย์อาจไม่หมูอย่างที่คิด
หนทางยังยาวไกล
เห็นชัดจากธุรกิจตัวแรก "โฟร์มี" บะหมี่บันเทิง
ยอดขายก็ยังไม่เข้าเป้าแต่มีหรือ!ที่ชายผู้นี้จะยอมแพ้....


เกมธุรกิจของเขาที่ใครหลายคนต่างวิเคราะห์กันว่า

ไพบูลย์กำลังเล่นเกมที่น่าเสียวไส้
เหมือนกับเกม "รัสเชียนรูเล็ต"
(ใส่กระสุน 1 ลูกหมุนโม่วัดดวงว่า
กระสุนจะไปอยู่ตรงไหนแล้วจ่อขมับตัวเอง)
เงินที่เขาลงไปอาจตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

แท้จริงแล้วเกมที่เขาเลือกเล่นมันเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
ลูกพ่อค้าขายของชำชาวจีนย่านเยาวราช
ที่พ่อแม่ไม่มีทรัพย์สมบัติให้เป็นทุนรอน
แต่กลับสร้างตัวจนเป็น
"เดอะ เฟิร์ส เจนเนอเรชั่น"
ของตระกูลเจ้าสัวเมืองไทย
เขาย่อมไม่ใช่ธรรมดาอย่างที่
ใครหลายคนคาดเดาได้ง่ายๆ...อย่างแน่นอน!!!
จากหัวสี่เหลี่ยมเป็น"ทรงกลม"
และ"แหลมคม"ในที่สุดโลกแห่งความฝัน
และวันแห่งความสำเร็จ


สำหรับบางคน อาจไกลกันสุดหล้า

แต่ไม่ใช่ในกรณีของ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
แห่งบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

แม้ว่าธุรกิจใหม่ของเขา ทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
เครื่องสำอาง ร้านอาหารญี่ปุ่น
และเสื้อผ้า ยังไม่สามารถประกาศก้องชัยชนะ
แต่ความสำเร็จของแกรมมี่
ตลอด 20 ปี บนถนนสายบันเทิง ของเมืองไทย

ก็น่าจะพิสูจน์ถึง "ตัวตน"
ที่ไม่ธรรมดาของเขาผู้นี้
ความลับแห่งความสำเร็จ
ของเจ้าพ่อวงการบันเทิง
ถูกถอดรหัสมาจาก "วิธีคิด"
ในการทำธุรกิจที่เรียบง่ายแต่ ล้ำลึก


ใครก็ตามที่ทำเช่นนี้ได้

กรอบความคิดของเขาต้อง "ตกผลึก"
แล้วเท่านั้นไพบูลย์บอกว่า
มีกรอบความคิดแบบ "สี่เหลี่ยม"
ซึ่งเป็นวิธีคิดแบบ "ง่ายๆ" และไม่ซับซ้อน
ประดุจจอมยุทธ์ที่บรรลุวิชาขั้นสุดยอด
แต่พลิกตำราหลายตลบ
ก็อธิบายไม่ถูกว่าความคิดแบบ "สี่เหลี่ยม"
มีความหมายอย่างไร...?
กรอบคิดแบบ "สี่เหลี่ยม"
ในความหมายของไพบูลย์ เขาหมายถึง

กฎแห่งความคิดที่เป็นตรรกะ

ยกตัวอย่าง การแบ่งเงินสำหรับแต่ละส่วนของชีวิต

"ผมจะคิดว่า....เอ้อ! เรามีเงินเหลือตรงนี้
บ้านก็สร้างแล้ว เรามีเงินให้ลูกแล้ว
เรามีเงินเก็บไว้กินแล้ว แกรมมี่ก็มีเงินทุนพอแล้ว
เราแบ่งเงินเอาไว้เที่ยวแล้ว
หลังจากแบ่งเงินออกมาทั้งหมดแล้ว
เงินที่เหลือถึงมาคิดว่า
มันน่าสนุกนะที่จะไปสร้างขาหยั่ง
สร้างเสาหลักอีกสักต้นดีมั้ย! เผื่อจะสำเร็จ"


ไพบูลย์
บอกว่า การตัดสินใจลงทุน
ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า
ต้องไม่ทำให้ชีวิตเสี่ยงมากขึ้น
ธุรกิจจะโตช้าโตเร็วไม่เป็นไร
แต่ถ้าล้มเหลวขึ้นมาต้องไม่ให้
สะเทือนชีวิตหลัก ไม่สะเทือนธุรกิจหลัก


ปัจจุบันธุรกิจใหม่ของ
ไพบูลย์
จัดว่าเป็นธุรกิจขนาดกลางค่อนข้างใหญ่
ใช้เงินลงทุนเฉลี่ยอยู่ที่ธุรกิจละประมาณ 200 ล้านบาท
แต่ไพบูลย์จะลงทุนเพียง 40%
หรือธุรกิจละประมาณ 80 ล้านบาท
ล่าสุดเขาใช้เงินลงทุนใน 3 ธุรกิจหลัก
(โฟร์มี ยู-สตาร์ และธุรกิจเสื้อผ้า)

ไปแล้วกว่า 200 ล้านบาท
ในขณะที่งบประมาณการลงทุนทั้งหมด
ที่เขาตั้งเอาไว้ประมาณ 300-400 ล้านบาท


ก่อนหน้านี้ ไพบูลย์นำเงินไปลงทุนซื้อ

ตึกอาคารโรจนะ ทาวเวอร์ บน ถ.อโศก
มูลค่า 1,100 ล้านบาท
ที่ใช้เป็นสำนักงานใหญ่บริษัทแกรมมี่ในปัจจุบัน
เขาอธิบายกรอบความคิดแบบ "สี่เหลี่ยม"
ในเรื่องการซื้อตึกให้ฟังว่า

"ผมเอาเงินสดส่วนตัวมาซื้อตึก
ผมก็มีลูกน้องมาอยู่ 2,000 กว่าคน
(พนักงานในเครือแกรมมี่ทั้งหมด)
ผมก็รู้อยู่แล้วว่ามันไม่มีความเสี่ยง

เพราะผมนับชั้นว่าแกรมมี่ต้องใช้กี่ชั้น
ถ้าไม่มีคนอื่นเช่าจะขาดทุนมั้ย
เงินเราเองมีเท่าไหร่ ต้องกู้อีกเท่าไหร่
ถ้าเกินตัวผมก็ไม่ซื้อ"ที่ผมรอดมาได้ทุกวันนี้
เป็นเพราะว่าผมทำธุรกิจแบบ "ไม่ค่อยเสี่ยง"
ผมเรียนอย่างนี้ว่า
อะไรที่เกินตัวในการทำธุรกิจ
เกินตัวในการใช้ชีวิต ผมไม่ทำ"


เบื้องหลังกรอบความคิดแบบ
"สี่เหลี่ยม" ของไพบูลย์
เขาบอกว่าวิธีการทำธุรกิจของผม
จะทำแบบ "รอบคอบปลอดภัย"

"
ผมจะทำธุรกิจจากแนวคิดของคนที่ไม่มีเงินทุน"
ฟังแล้วอาจยังงงๆ แนวคิดของ
คนที่ไม่มีเงินทุนคำอธิบายจากปากของไพบูลย์
ก็คือ การทำธุรกิจจาก
แนวคิดของคนจน "ที่ไม่มีใครแบ็คอัพ" เลย

แนวคิดจากคนจนซึ่ง
"ไม่มีธนาคารให้กู้เลย"
แล้วตัวเองก็ไม่อยากกู้ ทำงานจากลำแข้งตัวเอง
ทำงานจากสิ่งที่เรามีอยู่"แฟคเตอร์ความสำเร็จของผม
ต้องย้อนกลับมาที่จุดเดิมว่าไอ้
"ความจน" นี่แหละ
และความกลัวชีวิต "ล้มเหลว"
ทำให้ผมพยายามดูธุรกิจ
ที่เราคิดว่าไม่อันตราย
ธุรกิจที่รอบคอบพอที่จะ
ไม่ทำลายเงินทุนที่ผมเหลืออยู่น้อยนิด
ผมขอให้เอาตัวรอดอย่างเดียว

ตอนที่ออกมาทำแกรมมี่ "คิดรวย"
แต่ตอนแรกไม่กะรวย
คิดว่าจะทำยังไงให้อยู่รอดได้ก่อน"
กรอบความคิดแบบ "สี่เหลี่ยม" ของไพบูลย์

ยังหมายถึงวิธีคิดเกี่ยวกับ "ความเสี่ยง"
ถ้าไพบูลย์มีทางเลือก 2 ทาง
ทางแรกบอกว่า "เสี่ยงมาก....รวยมาก"
ทางที่สองบอกว่า "เสี่ยงน้อย...รวยน้อย"
ไพบูลย์จะเลือกทางที่เสี่ยงน้อยที่สุดเอาไว้ก่อน
"ทุกวันนี้ผมมีเงินทุนแล้ว บางคนบอกว่า
ผมลงทุนธุรกิจละ 80 ล้านบาท ดูเยอะ
แต่วันนี้ผมบอกว่าเงินตรงนี้ไม่เยอะ
สำหรับผม หลายคนพูดว่ามันเสี่ยง
แต่ผมพูดว่ามันไม่เสี่ยง
เพราะผมกุมแฟคเตอร์ความเสี่ยงแล้ว"
มีนักการเงินบอกว่ากู้เงินบ้างซิ!
"ROE"
(ผลตอบแทนต่อส่วนทุน)
คุณจะได้ออกมาดี...
อย่าไปพูดแบบนี้กับ
เจ้าพ่อวงการบันเทิงของเมืองไทยเด็ดขาด
เพราะเขาจะไม่สนใจ


"พ่อผมสอนไว้ว่า....อย่าเป็นหนี้

ถ้าเป็นหนี้สินใครหัวสมองมันจะคิดอะไรไม่ออก"

เพราะฉะนั้นวิธีการทำธุรกิจของผม
จะไม่ชอบการกู้เงินเลย""รบแนวราบ"
เพิ่ม "ขาหยั่ง" ธุรกิจ ภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า
สายตาต้อง "ยาวไกล"
ความคิดกลับต้อง "ลึกซึ้ง"
ล่าสุด ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ลุยธุรกิจส่วนตัวถึง 4 ธุรกิจพร้อมกัน
ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "โฟร์มี"
ธุรกิจขายตรง "ยู-สตาร์" ร้านอาหารญี่ปุ่น "โฮยู"
(สาขาแรกเปิดที่ตึกจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อโศก)
และกำลังจะเปิดตัวธุรกิจเสื้อผ้า
ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างตั้งแบรนด์เนมในอนาคต


ไพบูลย์
ยังมีธุรกิจที่เขาอยากทำอีกอย่างน้อย 2 ธุรกิจ
คือ ธุรกิจเครื่องดื่มและเรียลเอสเตท
ไพบูลย์
บอกว่า เขาได้กัน
เงินสดส่วนตัวเพื่อนำมาใช้เป็นเงินลงทุน
ในธุรกิจใหม่ประมาณ 300-400 ล้านบาท
ใช้ไปแล้วประมาณ 200 กว่าล้านบาท
โดยทุกธุรกิจที่ไพบูลย์ลงทุน
เขามีหลักการว่าจะลงทุนเพียงแค่ 40%เท่านั้น
ความคิดการลงทุนในธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมนั้น

ไพบูลย์ อธิบายโจทย์ความคิดของเขาให้ฟังว่า
การขยายธุรกิจส่วนตัวของผม
หรือที่เราเรียกว่า Diversify (การแตกธุรกิจ)
จากธุรกิจเดิมที่เราทำอยู่
ไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
เป็นปฏิกิริยาของการทำธุรกิจ

เมื่อธุรกิจหนึ่งประสบความสำเร็จแล้ว
เราก็คงจะเดินไปในธุรกิจนั้นให้ถึงที่สุดก่อน
(ขยายตัวในแนวลึก)
คือทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ชำนาญ
ก็คงเป็นปรัชญาการทำธุรกิจของทุกคนอยู่แล้ว
แต่ปรัชญาการทำธุรกิจอีกข้อหนึ่งบอกว่า
เพื่อความไม่ประมาท
ก็ควรจะมีธุรกิจอื่นรองรับบ้าง
ตรงนั้นก็คงจะเป็นการขยายธุรกิจในเชิง
Diversify ไปสู่ธุรกิจอื่น
ซึ่งก็คือการขยายตัวในแนวระนาบ"


"วิธีคิดของผม ก็คือไปทำธุรกิจอื่น

ก็น่าจะอยู่ในปรัชญาเดิม คือเป็นธุรกิจที่เรารู้เรื่องดี
เรายังสามารถที่จะแยกแยะธุรกิจนั้นในเรื่องของ
Key to Success(กุญแจแห่งความสำเร็จ)
ว่า Key to Success
แต่ละธุรกิจที่เราไปทำนั้น
เราคุมสถานการณ์ได้ซักเท่าไหร่"


ไพบูลย์
ยกตัวอย่าง ธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร
(บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "โฟร์มี")
โดยลักษณะธุรกิจจะเป็นธุรกิจ
"คอนซูเมอร์ โปรดักท์" (สินค้าอุปโภค-บริโภค)

"ผมทำด้วยความรู้สึกสนุกที่จะทำสินค้านี้
เนื่องจากผมมีความทรงจำดีๆ
ในสมัยที่ผมทำงานอยู่ในเครือสหพัฒน์
แล้วได้ทำงานร่วมกับนายห้างเทียม โชควัฒนา....
ผมขอใช้คำว่ามันเป็น "ความสนุก"
มากกว่าความรู้สึกอย่างอื่น
"เรียกว่ามันเป็นความฝันของผู้ชายคนหนึ่งได้หรือไม่!!!


"จะเรียกอย่างนั้นก็ได้เหมือนกัน"
เขาตอบการที่ไพบูลย์กระโดดมาทำธุรกิจที่
หลายคนมองว่า มันไม่ใช่ความถนัดของตัวเขาเลยนั้น
เขาบอกว่า
"พอผมเรียนจบ (นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ)
ครั้งแรกก็ไปทำงานที่

บริษัทฟาร์อีสท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง (ในเครือสหพัฒน์)
ทำโฆษณาพวกสินค้าคอนซูเมอร์ โปรดักท์
ก็คุ้นเคยกับสินค้าเหล่านี้
พอผมไปช่วยเขาเปิดบริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
(ในเครือโอสถสภา เต๊กเฮงหยู)
ก็ทำเกี่ยวกับสินค้าพวกนี้อีก
ทำให้ผมเข้าใจว่าชีวิตผมตอนนั้น
น่าจะอยู่กับสินค้าคอนซูเมอร์โปรดักท์ด้วยซ้ำ"


สาเหตุที่มาทำธุรกิจทางด้านบันเทิง
ก็เพราะจังหวะชีวิตที่หักเห เขาเล่าให้ฟังว่า
เดิมทีคิดว่าชีวิตตัวเองคงจะเติบโตไป
ในสายธุรกิจคอนซูเมอร์ โปรดักท์มากกว่า
ที่บ้านผมก็เป็นร้านขาย "ของชำ"
ผมก็คุ้นเคย มาทำงานโฆษณาก็รู้จัก
คอนซูเมอร์ โปรดักท์
เมื่อมาทำโฟร์มีมันก็เป็นความสนุก
เพราะผมเคยมีประสบการณ์ตรงนั้นมาก่อน
ตอนที่คิดจะทำ "โฟร์มี" มีวิธีคิดอย่างไร???

"การทำธุรกิจบะหมี่สิ่งที่ผมคิด
เราต้องการโรงงานที่ดีที่สุดมาผลิตบะหมี่ให้เรา
ผมก็คิดว่าถ้าเผื่อผมได้บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์
(ผู้ผลิตบะหมี่มาม่าในเครือสหพัฒน์)
ก็เท่ากับผมได้กุม Key to Success
ไปอีกข้อหนึ่ง นอกจากข้อที่ผมคุ้นเคย
รู้จักสินค้าพวกนี้ค่อนข้างดี"

ไพบูลย์อธิบายให้ฟังว่า
ถ้าเผื่อผมไปทำธุรกิจด้านเรียลเอสเตท ผมไม่คุ้นเลย
เพราะผมไม่รู้จัก แต่สินค้าคอนซูเมอร์ โปรดักท์
ผมรู้จักดี เมื่อคุณรู้จักวิธีการ
"ทำการตลาด" คุณมี "โรงงานผลิตที่ดี"
ประการสุดท้ายก็คือ "โฆษณา"
นี่มันก็อาชีพผมอยู่แล้ว
เพราะแกรมมี่ก็มีธุรกิจด้านมีเดียอยู่ด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมมีศิลปิน (ดังๆ ในสังกัด)
ก็เป็นปัจจัยเสริมต่อธุรกิจ
เพราะฉะนั้นผมก็ลองประเมินว่าสิ่งเหล่านี้
มันเป็น Key to Success ใช่หรือไม่
คำตอบคือ "ใช่" ยิ่งผมได้หุ้นส่วน
คือ กลุ่มสหพัฒน์มาร่วมลงทุนด้วย (40%)
ยิ่งตอกย้ำเงื่อนไขที่ค่อนข้างสมบูรณ์.....


นั่นคือสาเหตุที่ผมตัดสินใจทำแต่ประเด็นข้อสงสัย
ก็คือ ทำไม!ถึงเลือกทำ "โฟร์มี"
ร่วมกับหุ้นส่วน ที่มีสถานะเป็น
"คู่แข่ง" ที่น่ากลัวที่สุดอย่าง "มาม่า"
ในมุมมองของไพบูลย์ โจทย์นี้มองได้ 2 มุม
ในฐานะนักธุรกิจที่เชี่ยวกราก
มองอย่างเปิดกว้าง สมมติผมไม่ได้ร่วมธุรกิจกับสหพัฒน์
ผมก็มีคู่แข่งอยู่ดี
ผมกับสหพัฒน์มีแนวคิดตรงกันว่า
เรามาแข่งกันเอง ยังดีกว่าเราไปแข่งขันกับคนอื่น
"นี่อาจเป็นจุดที่บ่งบอกสายตาที่ "ยาวไกล"
ภายใต้กรอบความคิดที่ "ลึกซึ้ง" ของเขา


ไพบูลย์
อธิบายวิธีคิดของเขาให้เข้าใจยิ่งขึ้นว่า
"ผมจะยกตัวอย่างเหมือนกับผมทำเทป

อย่างเทปของคุณเบิร์ด (ธงไชย แมคอินไตย์)
ทุกคนรู้ว่าแกมีศักยภาพสูง
อยู่ในวงการมานาน ส่วนแบ่งในตลาดเยอะ
ขณะที่น้องพลับ (จุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์)
เพิ่งเข้ามาในวงการไม่นาน
ส่วนแบ่งตลาดก็น้อย
แต่วิธีคิดทางธุรกิจของผมก็อยากจะมีทั้ง
คุณธงไชย และน้องพลับ
"ถ้าผมเป็นสหพัฒน์ ผมมี "ม่าม่า" อยู่แล้ว
มี "โฟร์มี" อีกยี่ห้อก็ได้
มันเหมือนกับผมได้เงินมา 100 บาท
ผมต้องแบ่งรายได้ให้คุณธงไชยเยอะที่สุด
(เมื่อเทียบกับศิลปินคนอื่นในค่าย)
ถ้าเทปของคุณธงไชยขายดี ผมก็ดีใจ

ส่วนของน้องพลับ ผมได้ส่วนแบ่งมากกว่าคุณธงไชย
ถ้าเทปน้องพลับขายดี ผมก็ดีใจ
แต่ในทางธุรกิจผมจะไม่พยายามทำให้
เทปของน้องพลับขายดีกว่าของคุณธงไชย
และไม่พยายามทำให้เทปของคุณธงไชย
ขายแย่กว่าน้องพลับ
ตราบใดที่ทั้ง 2 คนยังคงเป็น
ส่วนหนึ่งในธุรกิจของผมเหมือนกับว่าใครขายดี
ผมก็ OK ทั้งนั้น หมายความว่า
ความเป็นสหพัฒน์ เขามีสินค้าในเครือเยอะ
ถึงแม้จะแข่งขันกันเอง
แต่ภาพรวมยังเป็นความสำเร็จของเขา
ผมว่าเขาก็น่าจะยินดี
ถึงบอกว่าแข่งกันเอง ยังดีกว่าไปแข่งกับคนอื่น"


แต่การทำตลาดบะหมี่สำเร็จรูป "โฟร์มี"
ก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่ไพบูลย์คิดเอาไว้

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
เป็นตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรง
แต่ละค่ายมีการทุ่มงบโฆษณา ลดแลกแจกแถม
อย่างหนักเพื่อสกัด "ดาวรุ่ง"
ทำให้โฟร์มีสามารถแย่งแชร์ตลาดมาได้เพียง 3%
ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก
จนมีสิทธิที่จะถูกเบียดออกไปจาก
ตลาดการแก้เกมของไพบูลย์
ก็คือปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่
โดยมุ่งเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า

จะคำนึงในเรื่องของกำไร
เพราะการแจ้งเกิดของธุรกิจใหม่ในตลาดนั้น
"ที่ยืน" สำคัญกว่า "กำไร"โจทย์ธุรกิจนี้


ไพบูลย์
แก้โดยหาเอเยนซีใหม่
มารับผิดชอบงานโฆษณา

และหา Distributor
(ผู้จัดจำหน่าย) ที่เขาเชี่ยวชาญ
ทางด้านนี้มารับผิดชอบ
โดยตรงการที่ไพบูลย์กล้ากระโดดเข้ามาใน
ธุรกิจ "คอนซูเมอร์ โปรดักท์"
เป็นเพราะว่าเขามีความแนบแน่นกับครอบครัว "โชควัฒนา"
ทำให้ง่ายต่อการเข้าหาแหล่งผลิต
"ต้นทุนต่ำ" และสินค้าก็มี "มาตรฐาน"
เป็นที่ยอมรับ


ที่สำคัญไพบูลย์มีความผูกพันกับนายห้างเทียม โชควัฒนา

ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ส่วนหนึ่งยอมรับว่า
ได้รับการซึมซับมาจากนายห้างเทียม(โชควัฒนา)
"เพราะผมสนิทกับท่านมาก
แล้วผมค่อนข้างศรัทธานับถือ
ในระบบความคิดต่างๆ ของท่าน"
หลายคนอาจสงสัยว่า
ทุกวันนี้ไพบูลย์ร่ำรวยมากแล้ว
จะมาเหนื่อยทำโน่นทำนี่อีกทำไม!!!
เขาตอบข้อสงสัยนี้ว่า
ผมเรียนตามตรง ผมอยากจะสร้าง "ขาหยั่ง" อีกสักอัน
เป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับ
ฐานะทางเศรษฐกิจของตัวเอง หมายความว่า
เมื่อเราประสบความสำเร็จ
ในธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
ก็ควรจะไปหาความสำเร็จอย่างอื่น
ที่ต่างออกไปจากสิ่งที่เคยทำ
มีการตั้งข้อสังเกตว่าการทำใน
สิ่งที่แตกต่างจากความเชี่ยวชาญ
มองมุมกลับมันหมายถึง "ความเสี่ยง" ทางธุรกิจ
แต่สำหรับไพบูลย์ เขากลับมอง
มันเป็น "โอกาส" มากกว่า
"สำหรับผมการลงทุนในธุรกิจใหม่
มันไม่เป็น "ความเสี่ยง" อีกแล้ว
เพราะผมไม่ได้ไปสร้างเนื้อสร้างตัวใหม่
สิ่งที่ผมทำอยู่ 3-4 ธุรกิจ
มันอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ผมกำหนดได้เองตลอด"
ทุกครั้งที่ลงทุนธุรกิจใหม่
ไพบูลย์จะจำกัดขอบเขตการลงทุนเอาไว้ในใจ
เส้นแบ่งความเป็นเจ้าของของไพบูลย์
เขาจะกำหนดไว้ที่ 40% ต่อ 1 ธุรกิจ
เขาให้เหตุผลในการถือหุ้นในธุรกิจใหม่เพียง
40% ว่าเพื่อแสดงให้เห็นว่างานหลักยังอยู่ที่แกรมมี่
"ทุกวันนี้ผมถือหุ้นแกรมมี่เกินกว่า 50%
เพราะฉะนั้นธุรกิจอื่นผมมีกฎว่าจะถืออยู่แค่
40% เท่านั้น เพื่อให้เห็นว่า
Conflict of Interest (ความขัดแย้งทางผลประโยชน์)
จะไม่เกิด ยังไงผมก็ยังดูแลธุรกิจของแกรมมี่"
ไพบูลย์เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตอนทำแกรมมี่
เขาทำด้วยความตื่นเต้นเสียวไส้มาก

แต่ตอนนี้ทำด้วยความสนุกจริงๆ
เพราะ "ผมไม่กลัวเจ๊ง"
เราได้กำหนดขอบเขตของเงินทุนที่เราไปลง
ผมเป็นคนไม่ดื้อ
ไม่ใช่คนที่รักษาหน้าแบบคนหน้าบาง
แพ้ก็บอกว่าชนะ หรือหลอกตัวเอง
หรือยื้อธุรกิจไปเรื่อยๆ
สำหรับผม...ถ้าแพ้ บอกแพ้...ถ้าพลาด บอกพลาด"



Sep 18, 2007

พี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์

๙๙ เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ เรวัต พุทธินันทน์

เรื่องจากนิตยสาร a day ฉบับที่ 26 ตุลาคม 2545
  • 1.เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่หัดเล่นคือ แซ็กโซโฟน
  • 2. มีคนขอให้พี่เต๋อ ร้องเพลงของ ร็อด สจวร์ต ตอนที่อยู่ โอเรียนเต็ลฟังก์
  • เป็นร้อย ๆ ครั้ง เพราะเห็นว่าเสียงคล้าย ๆ กัน
  • 3. พี่เต๋อเบื่อที่จะร้องเพลงของ ร็อด สจวร์ต มาก
  • 4. เป็นลูกคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน
  • 5. เรียนมัธยมที่โรงเรียน เซนต์คาเบรียล
  • 6. เรียนปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 7. สมัยที่เรียนมหาวิทยาลัย เป็นนักฟุตบอลและนักเซปัคตะกร้อมหาวิทยาลัย
  • กีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นเป็นงานอดิเรก โดยมักจะไปเล่นประจำที่ คอร์ด 33
  • 8. เคยทำเพลงโฆษณาให้กับขนมยี่ห้อกูลิโกะในยุคแรก ๆ
  • 9. บินไปฮาวาย เพื่อเข้าร่วมวง ดิ อิมพอสสิเบิ้ล เป็นครั้งแรกโดยเล่นในตำแหน่งคีย์บอร์ด
  • 10. ตอนอยู่วง The Oriental Funk มีตำแหน่งเป็นนักร้องนำ
  • 11. อัลบั้มวง FLY ชุดแรกเป็น อัลบั้มสุดท้ายที่บรีฟงานให้
  • 12. วงดนตรีวงแรกที่เล่นคือวง Dark Eyes ซึ่งก่อตั้งสมัยที่อยู่ชั้น ม.5
  • 13. ออกอัลบั้ม เต๋อ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2526
  • 14. เป็นคนทำเพลงไตเติ้ลรายการพลิกล็อค
  • 15. เพลง ด้วยรักและผูกพัน ของพี่เบิร์ด พี่เต๋อใช้เวลาแต่งชั่วโมงเดียว
  • 16. เวลานอนเต็มที่คือ 7 ชั่วโมงครึ่ง
  • 17. เป็นคนแรกที่ค้นพบ ธงไชย แมคอินไตย์
  • 18. ตั้งใจจะหยุดทำงานเมื่ออายุ 50
  • 19. ตรวจเจอเนื้องอกในสมองเมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2538
  • 20. เคยสอบตกตอนเรียนอยู่ ม.ศ.5 เพราะไปเล่นดนตรี
  • 21. คุณพ่อพี่เต๋อหายไปกับเครื่องบิน แล้วไม่กลับมาอีกเลย ตอนพี่เต๋อเรียน ม.8
  • 22. ถูกพ่อบังคับให้เรียนดนตรีตั้งแต่อายุ 11 ขวบ
  • 23. เรียนที่ธรรมศาสตร์ 4 ปีครึ่ง เพราะไม่มีเงินสมัครสอบ
  • 24. เคยเป็นฮิปปี้ ไว้ผมยาวถึงเอว
  • 25. เล่นคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายคือ คอนเสิรต์ ปึ๊กกก !
  • 26. คุณแม่ของพี่เต๋อเจ็บท้อง (ก่อนคลอดพี่เต๋อ) เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2491
  • 27. พี่เต๋ออ่านหนังสือในรถไม่ได้
  • 28. รู้จักคุณไพบูลย์ (ดำรงชัยธรรม) โดยการแนะนำของพี่เล็กบุษบา (ดาวเรือง)
  • 29. เชื่อกันว่าพ่อของพี่เต๋อถูกเวียดกงจับตัวไป
  • 30. ตอนจากเมืองไทยไปฮาวาย มีเงินติดตัวไป 44 เหรียญ
  • 31. พ่อพี่เต๋อเป็น Secret Agent ของรัฐบาลไทยกับอเมริกัน
  • 32. ตรวจพบก้อนเนื้อในสมอง จากการหาไปหมอฟัน
  • 33. เกิดวันที่ 5 กันยายน 2491
  • 34. เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2539 เวลา 6.30 น.
  • 35. เพลง สมปองน้องสมชาย ของพี่เต๋อได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี 2529
  • 36. หมอตรวจพบก้อนเนื้อขนาด 6 ซม. ในสมองพี่เต๋อ
  • 37. บ้านเช่าเลขที่ 181 ถนนวิสุทธิกษัตริย์เป็นบ้านหลังแรกที่
  • ครอบครัวพี่เต๋อเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ
  • 38. ตอนอายุ 5-6 ขวบเคยถูกจานโซ่จักรยานบดเล็บฉีก
  • 39. ห้อง 602 โรงพยาบาลสมิติเวช คือห้องที่นอนพักรักษาตัวและเสียชีวิตที่ห้องนี้
  • 40. เคยตั้งบริษัท อาร์ เอ็น เอ โปรดักชั่น ผลิตทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
  • ทางด้านดนตรีและเพลง
  • 41. มีอัลบั้มเพลงของตัวเองทั้งหมด 4 ชุด และออกร่วมกับวงคีตกวี 1 ชุด
  • 42. เป็นคนที่ร้องเพลง ไม่เป็นไร ก่อน อัสนี โชติกุล
  • (ร้องไว้ในอัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน ของคีตกวี)
  • 43. มีผู้ร่วมวางพวงมาลาหน้างานศพพี่เต๋อทั้งหมด 887 พวง
  • 44. งานคอนเสิร์ต จากเพื่อน พี่ และน้อง แด่ เรวัต พุทธินันทน์
  • ใช้ฟิลม์ถ่ายรูปไปทั้งหมด 350 ม้วน เท่ากับ 12,600 ภาพ
  • 45. พี่เต๋อรู้จักกับภรรยา (พี่อี๊ด อรุยา สิทธิประเสริฐ) เป็นครั้งแรกในห้องเรียน A-13
  • ที่ธรรมศาสตร์
  • 46. ชอบใบยาสูบไปป์ยี่ห้อ Davidoff
  • 47. พ่อพี่เต๋อ นาวาตรี ทวี มารดาชื่อ นางอบเชย พุทธินันทน์
  • 48. ตำแหน่งสุดท้ายของพี่เต๋อคือ ประธานกรรมการบริษัท แกรมมี่
  • เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน)
  • 49. หมั้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517
  • 50.งานคอนเสิร์ต จากเพื่อน พี่ และน้อง แด่ เรวัต พุทธินันทน์
  • มีศิลปินและทีมงานกว่า 900 ชีวิต
  • 51. พี่ดี้บอกว่า "คอนเสิร์ตครั้งนี้เกือบจะครบถ้วนทุกอย่าง
  • ขาดแค่เพียงพี่เต๋อถือไมค์เดินออกมาจริง ๆ มีหลายคนบอกผมอย่างนั้น
  • ขอโทษจริง ๆ ครับทุกท่าน ผมสุดปัญญา ช่วงนี้พี่เต๋อไม่ว่างเลย"
  • 52. เป็นนายแบบให้กับนิตยสาร GM เป็นคนแรก
  • 53. ทำการผ่าตัดสมองครั้งแรกวันที่ 5 ธันวาคม 2538 ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงกว่า ๆ
  • 54. พี่เต๋อเสียชีวิต ในวันที่พี่เบิร์ดกับพี่เล็กไปสวิส
  • 55. ปี 2510 ตั้งวงดนตรีกับเพื่อน ชื่อ Yellow Red ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น The Thanks
  • 56. เป็นคนดูแลการผลิตให้กับเฉลียงชุดแรก ชุด ปรากฏการณ์ฝน
  • 57. พี่เต๋อและเพื่อน ๆ ในนามวง The Thanks
  • เคยได้รับการติดต่อให้ไปแสดงสลับกับวงสุนทราภรณ์และ ดิ อิมพอสสิเบิ้ล
  • ตั้งแต่สมัยอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 58. ตั้งวงดนตรีใหม่ชื่อ The Oriental Funk
  • หลังจากที่ The Impossibles ยุบวง
  • 59. อัลบั้มสุดท้ายออกมาเมื่อปี 2530 ชื่อ ชอบก็บอกชอบ
  • 60. อัลบั้มแรกที่พี่เต๋อเป็นโปรดิวเซอร์ คือ เทพธิดาดอย พญ.พันทิวา
  • 61. ออกอัลบั้ม เต๋อ 2 พ.ศ. 2528
  • 62. พี่เต๋อคุยกับคุณไพบูลย์ ประมาณชั่วโมงกว่า ๆ
  • ก่อนที่จะตกลงทำงานร่วมกันมาตลอดชีวิต
  • 63. มีสมญานามสำหรับคนในครอบครัวว่า ไอ้อ้วน
  • 64. พี่เต๋อเกิดที่ร้านหมอเฉียบ นิรันดร
  • 65. ครอบครัวพี่เต๋อมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่สัตหีบ
  • 66. เคยยืมเงินหม่อมอุ๋ย (ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล) แต่งงาน
  • แล้วใช้คืนหลังจากแต่งงาน 1 วัน
  • 67. น้ำหอมจีวองซี่ เป็นน้ำหอมหลังโกนหนวดที่พี่เต๋อชอบมาก
  • 68. "กลัว กลัว" คือคำพูดสุดท้ายที่พูดกับพี่ชายคนโต (กนก พุทธินันทน์)
  • 69. เคยถ่ายแบบปฏิทิน ให้โรงแรมฮิลตัน ในปี พ.ศ. 2528
  • 70. มีลูกสาว 2 คน ชื่อ สุธาสินี (แพ็ท) กับ ลิดารัศมิ์ (พีช)
  • 71. ตอนแต่งงานยังไม่มีหนวด
  • 72. ทุก ๆ เวลาเที่ยง พี่เต๋อจะมารอพี่อิ๊ดไปกินข้าวกลางวันทุกวันตั้งแต่ ปี 2 - ปี 4
  • 73. 225 คือจำนวนเพลงที่พี่เต๋อเป็นโปรดิวเซอร์
  • 74. พี่เต๋อกับเพื่อน ในนามวง Mosrite ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง
  • ในการประกวดวงดนตรีในงานของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
  • 75. Dark Eyes,Mosrite,The Thanks,The Impossibles,The Oriental Funk คือชื่อวงดนตรีทั้งหมดที่พี่เต๋อเคยร่วมเล่น
  • 76. งานคอนเสิร์ต จากเพื่อน พี่ และน้อง แด่ เรวัต พุทธินันทน์ มีศิลปินที่ร้องเพลงบนเวที 29 คน
  • 77. บัตรประจำตัวพนักงานพี่เต๋อ หมดอายุวันที่ 31 ธันวาคม 2537
  • 78. วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2529 พี่เต๋อเล่นคอนเสิร์ต ปึ๊กกก...! ที่อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก
  • 79. อัลบั้มชุด เต๋อ 1 บันทึกเสียงที่ห้องอัดเสียงทอง
  • 80. ได้รับการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกและฉายแสงทั้งหมด 34 ครั้ง
  • 81. เคยรับบทเป็น น้าแพท ร่วมกับ หนุ่ย อำพล ลำพูน และ ภัทราวดี ในภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ
  • 82. หนังสือที่อ่าน ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจ อย่าง ประชาชาติ ฐานเศรษฐกิจ
  • ผู้จัดการ และหนังสือต่างประเทศ
  • 83. พี่เต๋อและวงดิ อิมพอสสิเบิ้ล ออกตระเวนแสดงทั่วยุโรปและอเมริกา
  • 84. คำพูดแรกที่พูดกับเปเล่ (นักร้องผมยาวที่ร้องเพลง สัญญาลูกผู้ชาย) ว่า
  • "เปเล่ต้องเป็นร็อคแอนด์โรล"
  • 85. สมัยเรียนธรรมศาสตร์ เคยมีภาวะเงินสลึงเดียวกินข้าวยังไม่มี
  • 86. เป็นรุ่นพี่ พี่เล็ก บุษบา ดาวเรือง ที่ธรรมศาสตร์ 3 ปี
  • 87. งานอดิเรกคือเล่นเทนนิส
  • 88. หม่อมอุ๋ย (ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล) เป็นรุ่นพี่พี่เต๋อที่เซนต์คาเบรียลและมาเจอกันอีกทีที่ธรรมศาสตร์ เป็นคนคอยช่วยพี่เต๋อตอนตกทุกข์ได้ยาก
  • 89. ผ่าตัดสมองครั้งแรกที่ New York Hospital
  • 90. พักอยู่ที่ New York Hospital 13 วัน จึงกลับกรุงเทพ
  • 91. แต่งงานกับพี่อิ๊ด รวม 22 ปี
  • 92. วันที่ 11 มีนาคม 2539 เป็นวันครบรอบวันแต่งงานปีที่ 22
  • 93. เกิดเวลาบ่ายโมงครึ่ง
  • 94. เคยโดนน้ำขิงร้อน ๆ ราด เพราะเกาะประตูเหล็กสวิงตัวออกมาจะสมทบ
  • กับวงเต้าฮวยแต่พลาด หลุดจากบานประตู ลงบนหม้อเต้าฮวยของตาแป๊ะเจ้าประจำ
  • ที่มาขายหน้าบ้าน
  • 95. พี่ชายคนโต (กนก พุทธินันทน์) เป็นเถ้าแก่สู่ขอพี่อิ๊ดให้พี่เต๋อ
  • 96. หลังจากแต่งงาน พี่ ๆ ก็เลิกเรียกพี่เต๋อว่า ไอ้อ้วน เปลี่ยนมาเรียก เต๋อ โดยอัตโนมัติ
  • มีแต่คุณแม่ที่ยังเรียกพี่เต๋อว่า ไอ้อ้วน
  • 97. เสื้อตัวโปรดที่พี่เต๋อใส่ประจำคือ T-shirt พิมพ์ภาพครอบครัว 4 คน เขียนว่า
  • 'We Are Buddhinan'
  • 98. กับพี่อิ๊ดจะไปหาน้องแพ็ทกับน้องพีช ทุก ๆ วันที่ 15 ธันวาคม ถึง 15 มกราคมของทุกปี
  • 99. มีอายุ 48 ปี 1 เดือน 22 วัน
  • 1 เรื่องที่ใคร ๆ ก็รู้ พี่เต๋อไว้หนวด !