Positioning Magazine
กรกฎาคม 2549
จากพ็อกเกตบุ๊กเล่มเล็ก ที่ชื่อ “ธรรมติดปีก”
ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี
ที่สามารถเปลี่ยนแปลงธรรมะ ที่เรียกว่าเป็นยาขม
ให้กลายเป็นเรื่องง่ายใกล้ๆ ตัวด้วยสีสัน
และเนื้อหา ทันสมัย ใส่กลไกการตลาด
จนติดอันดับหนังสือขายดีที่สุด ต้องยอมรับว่า
พ็อกเกตบุ๊ก “ธรรมะติดปีก” ที่แต่งโดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
หรือ ว.วชิรเมธี เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันหนังสือธรรมะ
ที่ได้เคยชื่อว่าเป็นลูกเมียน้อยในวงการหนังสือ
ให้กลายมาเป็นหนังสือที่ติดอันดับหนังสือขายดีในร้านขายหนังสือ
อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ยังถูกนำไปเป็นบทละครทางสถานีโทรทัศน์
ส่งผลให้มีพ็อกเกตบุ๊กตามมาไม่น้อยกว่า 20 เล่ม
เช่น ธรรมะหลับสบาย ธรรมะดับร้อน เป็นต้น
ไม่รวมการเขียนคอลัมน์ประจำอีกไม่ต่ำกว่า 11 คอลัมน์ ในนิตยสาร
ทั้งไลฟ์สไตล์ ธุรกิจ ครอบครัว และสุขภาพ
นอกจากโลกหนังสือแล้ว ทุกวันนี้ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ยังกลายเป็นคน “เบื้องหน้า” ใช้เวลากับการ
เผยแผ่ธรรมะในรูปของการบรรยาย ปฐกถา
ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ และกลายเป็น “พระอินเทรนด์”
ที่ทำให้ตัวท่านและธรรมะเป็นที่รู้จักมากขึ้น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
บอกกับ POSITIONING ว่า พ็อกเกตบุ๊ก ธรรมะติดปีก
ถือเป็น “จุดเปลี่ยน” ของวงการเผยแผ่ศาสนาในไทย
และยังเป็นจุดเปลี่ยนของตัวท่านด้วย
“แม้ว่าอาตมาจะเผยแผ่ธรรมะมาไม่ต่ำกว่า 5-6 ปี
แต่ก็ทำอย่างเงียบๆ จนเมื่อพ็อกเกตบุ๊ก ธรรมะติดปีก
มีเสียงตอบรับ และเกิดเป็นปรากฏการณ์ธรรมะอินเทรนด์ขึ้น
จากที่เคยมีข้อสังเกตว่าหนังสือธรรมะจะไม่ได้เป็น Best Seller
เป็นแค่ลูกเมียน้อยในวงการหนังสือ
จนมีหนังสือชุด ธรรมะติดปีก ธรรมะดับร้อน ธรรมะหลับสบาย
ธรรมะบันดาลทุกข์ ได้รับความนิยม
ก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนของธรรมะ
และจุดเปลี่ยนของตัวอาตมาภาพเอง
แทนจะนั่งเขียนหนังสือเงียบๆ เพียงอย่างเดียว
ก็มีงานออกมาเบื้องหน้า งานปฐกถา งานสอน บรรยาย
เรียกว่า เยอะแยะไปหมด จนนับกันไม่ไหว”
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เจ้าของนามปากกา “ว.วชิรเมธี”
หลังเปิดฉากสนทนากับ “POSITIONING”
ด้วยคำพูดง่ายๆ ใช้ภาษาไทยชัดเจน ที่ออกควบกล้ำชัดเจน
ในช่วงเย็นบนกุฏิ ในวัดเบญจมบพิตร ท่ามกลางตู้หนังสือรายรอบ
กุญแจสำคัญที่ทำให้ธรรมะกลายเป็นเรื่องอินเทรนด์
จนกลายมาป็น “จุดเปลี่ยน” ที่สามารถปลุกเร้าให้พุทธศาสนา
ได้รับความสนใจขึ้นมาได้นั้น ถูกทำขึ้นด้วยวิธีคิด
ที่เรียกว่าเป็นการปฏิวัติทั้งเนื้อหา และรูปเล่ม
ชนิดที่เป็นการฉีกตำราการนำเสนอหนังสือธรรมะแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง
จากที่เคยออกแบบเชยๆ ธรรมดาๆ ก็เปลี่ยนให้มีสีสันสดใส
รูปเล่มน่าหยิบ น่าจับ และการใช้ภาษา
และสำนวนให้มีความทันสมัย
“จริงแล้วธรรมะไม่ใช่ของยาก แต่ถูกทำให้ยาก
ด้วยเทคนิคในการเผยแผ่ที่ไม่ร่วมสมัย
ภาษาที่ใช้ในการเผยแผ่ยังเป็นภาษาวัดอยู่
เป็นเรื่องอุดมคติเกินไป ไม่สามารถสื่อสารกับชาวบ้านได้
กลายเป็นที่อิดหนาระอาใจเบื่อหน่ายของชาวพุทธ
แทนที่จะแจกฟรีเหมือนกับหนังสือธรรมะทั่วไป
ก็เปลี่ยนมาแจกไปด้วยขายไปด้วย
เพราะกระบวนการตลาด การขนส่ง
จะทำให้หนังสือแพร่หลาย
หนังสือธรรมะจะได้ไปอยู่ในห้างสรรพสินค้า"
“ธรรมะเคลือบช็อกโกแลต” เป็นสมญานาม
ที่นักวิชาการเปรียบเปรยเมื่อหนังสือธรรมะติดปีก
ได้รับความนิยมจากคนทั่วไป ด้วยความที่อ่านเพลิดเพลิน
ยิ่งเมื่อถูกนำไปเป็น “ละครโทรทัศน์”
กลายเป็นแรงกระเพื่อมขนานใหญ่ที่กระตุ้นความสนใจ
จนมีพ็อกเกตบุ๊กเล่มใหม่ๆ ตามออกมา
แรงบันดาลใจที่ทำให้พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ลุกขึ้นมาปฏิวัติรูปแบบการเผยเผ่ธรรมะ
มาจากการเป็นคนรักการอ่านมาตั้งแต่วัยเด็ก
“อาตมาเกิดมาในบ้านที่ โยมแม่ เปิดวิทยุทิ้งไว้ทั้งวัน
เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เรียนรู้ตลอด
ทำให้รักการอ่าน เราก็รักของเราอยู่อย่างนั้นมาตลอด
พอมากรุงเทพฯ เสน่ห์ของที่นี่ คือ มีร้านหนังสือชั้นยอด
นี่แหละที่ทำให้อาตมาอยู่กรุงเทพฯมาเป็นปีที่ 10 แล้ว”
เมื่อเต็มอิ่มกับการอ่านหนังสือ
จึงเริ่มก้าวเข้าสู่โลกของงานเขียน
โดยเริ่มจากการพิมพ์บทความเกี่ยวกับธรรมะส่ง
ไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยผลงานชิ้นแรกถูกตีพิมพ์วารสารโลกทิพย์
เป็นเรื่อง กฎแห่งกรรม เมื่อได้รับความสนใจจากนิตยสาร
นำบทความไปตีพิมพ์มากขึ้น
คือแรงบันดาลใจที่ทำให้เขียนต่อเนื่อง
มีผลงานไปปรากฏในหนังสือพิมพ์ ข่าวสด สยามรัฐ เนชั่นสุดสัปดาห์
ปีนี้เป็นปีที่ 9 ด้วยความที่ไม่ชอบใจกับ
แนวทางการเผยแผ่ธรรมะรูปแบบเดิม
ที่ต้องเทศน์ด้วยภาษาโบราณ ฟังยาก
จึงเกิดความต้องการ “แหกคอก”
เพื่อสร้างความแตกต่าง ทั้งการเทศน์ งานเขียน
โดยภาษาที่เข้าใจง่ายๆ
“เราต้องรู้ว่าผู้อ่านไม่รู้เรื่องบาลี เราต้องขยำ...
ทำให้ง่ายที่สุด เพื่อส่งไปให้ผู้อ่าน มันยากมากกว่า
จะผ่านกระบวนการวิจัยมา เมื่อเขียนแล้ว
อะไรจะทำให้รกหูรกตาคนอ่าน คนฟัง คนดู
จับทิ้งให้หมด เอาแต่ส่วนที่คิดว่า
ดีที่สุด ส่งต่อถึงมือของคนอ่าน
บางเรื่องกว่าจะเขียนได้ต้องใช้เวลาหาข้อมูลอยู่นาน
เช่น โภชชงก์ ภาค 2 ของธรรมะติดปีก
กว่าจะเขียนเรื่องนี้ได้ ก็ต้องไปวิปัสนาในป่าเป็นเดือน
หรือธรรมหลับสบาย เขียนมาจากการวิจัย
ทั้งภาคทฤษฎีและภาคสนาม
ประโยคบางประโยคผู้อ่านไม่รู้หรอกว่ายากเย็นขนาดไหน
ต้องอ่านพระไตรปิฎกจนพรุนเป็น 20-30 เล่ม
เพื่อค้นหาคำอธิบายที่แท้จริงของมัน
แม้จะยึดแนวทางปฏิรูป แต่ก็เจอแรงต้านน้อยมาก"
ท่านอธิบายว่า
“ถ้าจะให้วิเคราะห์ อาจเป็นเพราะ เรียนมาโดยตรง
คือ นักธรรมตรี โท เอก ซึ่งเป็นหลักสูตรบังคับของคณะสงฆ์
เรียน “บาลี” ตั้งแต่เปรียญ 1 จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค
และที่สำคัญ คือ การที่ร่ำเรียนทางโลก
โดยจบด้านศึกษาศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประพันธ์ด้วย
และยังไปเรียนปริญญาโทอีก 1 ใบ
ทำให้สื่อสารกับคนทั่วไปได้ได้ง่าย
“ความรู้ทางธรรมะ เหมือนกับปลาที่อยู่ในกระป๋อง
ส่วนความรู้ทางโลก เปรียบเหมือนเครื่องเปิดปลากระป๋อง
เวลาสอนธรรมะ แทนที่จะใช้ภาษาวัดแบบโบราณ
เรายืมภาษาชาวโลกมาบรรยาย”
ด้วยความรู้ทางธรรมและทางโลก
บวกกับการค้นคว้าหาความรู้ด้วยการอ่านตลอดเวลา
และทุกแนว ทำให้งานเขียนของ ว.วชิรเมธี
จึงเป็นลักษณะของการประยุกต์เข้ากับศาสตร์ต่างๆ
และชีวิตประจำวัน อันเป็นที่มาของการฝากผลงานในคอลัมน์ต่างๆ ในนิตยสาร
และวารสาร ที่หลากหลาย เช่น ในมติชนสุดสัปดาห์
เนชั่นสุดสัปดาห์ we Helthcusine ในเรียลพาเรนติ้ง
ในแก้จน ทำอย่างไรให้ไกลหมอ
ในวารสาร mac ม.ปลาย
“อาตมาเห็นว่า ธรรมะ ควรเข้าไปอยู่ในทุกซอก ทุกมุม
ทุกอณูในสังคมไทย ตรงไหนก็ได้ เพราะที่ไหนมีคน
ที่นั่นควรมีธรรมะ ชื่อเสียงที่มีเข้ามา
ทำให้เวลาในแต่ละวันจากที่เคยอ่านและเขียนหนังสือ
ต้องแบ่งไปให้กับการออกไป บรรยายธรรม
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ทิ้ง คือ โลกของการอ่าน
“ยังคง ลมหายใจของอาตมาที่ไม่เคยทิ้ง”
การเสพข้อมูลในแต่ละวัน จะเริ่มจากการอ่านหนังสือพิมพ์ ข่าวสด คมชัดลึก มติชน
นานๆ จะมีบางกอกโพสต์ เดอะเนชั่นบ้าง
และนิตยสารรับประจำ คือ ศิลปวัฒนธรรม สารคดี
และเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
นอกนั้น “อาตมาเป็นพระที่เข้าร้านหนังสือบ่อยที่สุดในไทย
เวลาที่ได้รับนิมนต์ไปบรรยายต่างจังหวัดจะต้องเข้าร้านหนังสือทุกครั้ง
ดูว่ามีอะไรใหม่ๆ ทางปัญญา ถ้าเจอถูกใจจะแพงแค่ไหนก็ตาม
ไม่เคยเกี่ยงราคาเลย ไม่ได้วันนี้ก็เอาวันหน้า”
จากพ็อกเกตบุ๊กเล่มเล็ก ที่ชื่อ “ธรรมติดปีก”
ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี
ที่สามารถเปลี่ยนแปลงธรรมะ ที่เรียกว่าเป็นยาขม
ให้กลายเป็นเรื่องง่ายใกล้ๆ ตัวด้วยสีสัน
และเนื้อหา ทันสมัย ใส่กลไกการตลาด
จนติดอันดับหนังสือขายดีที่สุด ต้องยอมรับว่า
พ็อกเกตบุ๊ก “ธรรมะติดปีก” ที่แต่งโดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
หรือ ว.วชิรเมธี เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันหนังสือธรรมะ
ที่ได้เคยชื่อว่าเป็นลูกเมียน้อยในวงการหนังสือ
ให้กลายมาเป็นหนังสือที่ติดอันดับหนังสือขายดีในร้านขายหนังสือ
อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ยังถูกนำไปเป็นบทละครทางสถานีโทรทัศน์
ส่งผลให้มีพ็อกเกตบุ๊กตามมาไม่น้อยกว่า 20 เล่ม
เช่น ธรรมะหลับสบาย ธรรมะดับร้อน เป็นต้น
ไม่รวมการเขียนคอลัมน์ประจำอีกไม่ต่ำกว่า 11 คอลัมน์ ในนิตยสาร
ทั้งไลฟ์สไตล์ ธุรกิจ ครอบครัว และสุขภาพ
นอกจากโลกหนังสือแล้ว ทุกวันนี้ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ยังกลายเป็นคน “เบื้องหน้า” ใช้เวลากับการ
เผยแผ่ธรรมะในรูปของการบรรยาย ปฐกถา
ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ และกลายเป็น “พระอินเทรนด์”
ที่ทำให้ตัวท่านและธรรมะเป็นที่รู้จักมากขึ้น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
บอกกับ POSITIONING ว่า พ็อกเกตบุ๊ก ธรรมะติดปีก
ถือเป็น “จุดเปลี่ยน” ของวงการเผยแผ่ศาสนาในไทย
และยังเป็นจุดเปลี่ยนของตัวท่านด้วย
“แม้ว่าอาตมาจะเผยแผ่ธรรมะมาไม่ต่ำกว่า 5-6 ปี
แต่ก็ทำอย่างเงียบๆ จนเมื่อพ็อกเกตบุ๊ก ธรรมะติดปีก
มีเสียงตอบรับ และเกิดเป็นปรากฏการณ์ธรรมะอินเทรนด์ขึ้น
จากที่เคยมีข้อสังเกตว่าหนังสือธรรมะจะไม่ได้เป็น Best Seller
เป็นแค่ลูกเมียน้อยในวงการหนังสือ
จนมีหนังสือชุด ธรรมะติดปีก ธรรมะดับร้อน ธรรมะหลับสบาย
ธรรมะบันดาลทุกข์ ได้รับความนิยม
ก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนของธรรมะ
และจุดเปลี่ยนของตัวอาตมาภาพเอง
แทนจะนั่งเขียนหนังสือเงียบๆ เพียงอย่างเดียว
ก็มีงานออกมาเบื้องหน้า งานปฐกถา งานสอน บรรยาย
เรียกว่า เยอะแยะไปหมด จนนับกันไม่ไหว”
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เจ้าของนามปากกา “ว.วชิรเมธี”
หลังเปิดฉากสนทนากับ “POSITIONING”
ด้วยคำพูดง่ายๆ ใช้ภาษาไทยชัดเจน ที่ออกควบกล้ำชัดเจน
ในช่วงเย็นบนกุฏิ ในวัดเบญจมบพิตร ท่ามกลางตู้หนังสือรายรอบ
กุญแจสำคัญที่ทำให้ธรรมะกลายเป็นเรื่องอินเทรนด์
จนกลายมาป็น “จุดเปลี่ยน” ที่สามารถปลุกเร้าให้พุทธศาสนา
ได้รับความสนใจขึ้นมาได้นั้น ถูกทำขึ้นด้วยวิธีคิด
ที่เรียกว่าเป็นการปฏิวัติทั้งเนื้อหา และรูปเล่ม
ชนิดที่เป็นการฉีกตำราการนำเสนอหนังสือธรรมะแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง
จากที่เคยออกแบบเชยๆ ธรรมดาๆ ก็เปลี่ยนให้มีสีสันสดใส
รูปเล่มน่าหยิบ น่าจับ และการใช้ภาษา
และสำนวนให้มีความทันสมัย
“จริงแล้วธรรมะไม่ใช่ของยาก แต่ถูกทำให้ยาก
ด้วยเทคนิคในการเผยแผ่ที่ไม่ร่วมสมัย
ภาษาที่ใช้ในการเผยแผ่ยังเป็นภาษาวัดอยู่
เป็นเรื่องอุดมคติเกินไป ไม่สามารถสื่อสารกับชาวบ้านได้
กลายเป็นที่อิดหนาระอาใจเบื่อหน่ายของชาวพุทธ
แทนที่จะแจกฟรีเหมือนกับหนังสือธรรมะทั่วไป
ก็เปลี่ยนมาแจกไปด้วยขายไปด้วย
เพราะกระบวนการตลาด การขนส่ง
จะทำให้หนังสือแพร่หลาย
หนังสือธรรมะจะได้ไปอยู่ในห้างสรรพสินค้า"
“ธรรมะเคลือบช็อกโกแลต” เป็นสมญานาม
ที่นักวิชาการเปรียบเปรยเมื่อหนังสือธรรมะติดปีก
ได้รับความนิยมจากคนทั่วไป ด้วยความที่อ่านเพลิดเพลิน
ยิ่งเมื่อถูกนำไปเป็น “ละครโทรทัศน์”
กลายเป็นแรงกระเพื่อมขนานใหญ่ที่กระตุ้นความสนใจ
จนมีพ็อกเกตบุ๊กเล่มใหม่ๆ ตามออกมา
แรงบันดาลใจที่ทำให้พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ลุกขึ้นมาปฏิวัติรูปแบบการเผยเผ่ธรรมะ
มาจากการเป็นคนรักการอ่านมาตั้งแต่วัยเด็ก
“อาตมาเกิดมาในบ้านที่ โยมแม่ เปิดวิทยุทิ้งไว้ทั้งวัน
เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เรียนรู้ตลอด
ทำให้รักการอ่าน เราก็รักของเราอยู่อย่างนั้นมาตลอด
พอมากรุงเทพฯ เสน่ห์ของที่นี่ คือ มีร้านหนังสือชั้นยอด
นี่แหละที่ทำให้อาตมาอยู่กรุงเทพฯมาเป็นปีที่ 10 แล้ว”
เมื่อเต็มอิ่มกับการอ่านหนังสือ
จึงเริ่มก้าวเข้าสู่โลกของงานเขียน
โดยเริ่มจากการพิมพ์บทความเกี่ยวกับธรรมะส่ง
ไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยผลงานชิ้นแรกถูกตีพิมพ์วารสารโลกทิพย์
เป็นเรื่อง กฎแห่งกรรม เมื่อได้รับความสนใจจากนิตยสาร
นำบทความไปตีพิมพ์มากขึ้น
คือแรงบันดาลใจที่ทำให้เขียนต่อเนื่อง
มีผลงานไปปรากฏในหนังสือพิมพ์ ข่าวสด สยามรัฐ เนชั่นสุดสัปดาห์
ปีนี้เป็นปีที่ 9 ด้วยความที่ไม่ชอบใจกับ
แนวทางการเผยแผ่ธรรมะรูปแบบเดิม
ที่ต้องเทศน์ด้วยภาษาโบราณ ฟังยาก
จึงเกิดความต้องการ “แหกคอก”
เพื่อสร้างความแตกต่าง ทั้งการเทศน์ งานเขียน
โดยภาษาที่เข้าใจง่ายๆ
“เราต้องรู้ว่าผู้อ่านไม่รู้เรื่องบาลี เราต้องขยำ...
ทำให้ง่ายที่สุด เพื่อส่งไปให้ผู้อ่าน มันยากมากกว่า
จะผ่านกระบวนการวิจัยมา เมื่อเขียนแล้ว
อะไรจะทำให้รกหูรกตาคนอ่าน คนฟัง คนดู
จับทิ้งให้หมด เอาแต่ส่วนที่คิดว่า
ดีที่สุด ส่งต่อถึงมือของคนอ่าน
บางเรื่องกว่าจะเขียนได้ต้องใช้เวลาหาข้อมูลอยู่นาน
เช่น โภชชงก์ ภาค 2 ของธรรมะติดปีก
กว่าจะเขียนเรื่องนี้ได้ ก็ต้องไปวิปัสนาในป่าเป็นเดือน
หรือธรรมหลับสบาย เขียนมาจากการวิจัย
ทั้งภาคทฤษฎีและภาคสนาม
ประโยคบางประโยคผู้อ่านไม่รู้หรอกว่ายากเย็นขนาดไหน
ต้องอ่านพระไตรปิฎกจนพรุนเป็น 20-30 เล่ม
เพื่อค้นหาคำอธิบายที่แท้จริงของมัน
แม้จะยึดแนวทางปฏิรูป แต่ก็เจอแรงต้านน้อยมาก"
ท่านอธิบายว่า
“ถ้าจะให้วิเคราะห์ อาจเป็นเพราะ เรียนมาโดยตรง
คือ นักธรรมตรี โท เอก ซึ่งเป็นหลักสูตรบังคับของคณะสงฆ์
เรียน “บาลี” ตั้งแต่เปรียญ 1 จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค
และที่สำคัญ คือ การที่ร่ำเรียนทางโลก
โดยจบด้านศึกษาศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประพันธ์ด้วย
และยังไปเรียนปริญญาโทอีก 1 ใบ
ทำให้สื่อสารกับคนทั่วไปได้ได้ง่าย
“ความรู้ทางธรรมะ เหมือนกับปลาที่อยู่ในกระป๋อง
ส่วนความรู้ทางโลก เปรียบเหมือนเครื่องเปิดปลากระป๋อง
เวลาสอนธรรมะ แทนที่จะใช้ภาษาวัดแบบโบราณ
เรายืมภาษาชาวโลกมาบรรยาย”
ด้วยความรู้ทางธรรมและทางโลก
บวกกับการค้นคว้าหาความรู้ด้วยการอ่านตลอดเวลา
และทุกแนว ทำให้งานเขียนของ ว.วชิรเมธี
จึงเป็นลักษณะของการประยุกต์เข้ากับศาสตร์ต่างๆ
และชีวิตประจำวัน อันเป็นที่มาของการฝากผลงานในคอลัมน์ต่างๆ ในนิตยสาร
และวารสาร ที่หลากหลาย เช่น ในมติชนสุดสัปดาห์
เนชั่นสุดสัปดาห์ we Helthcusine ในเรียลพาเรนติ้ง
ในแก้จน ทำอย่างไรให้ไกลหมอ
ในวารสาร mac ม.ปลาย
“อาตมาเห็นว่า ธรรมะ ควรเข้าไปอยู่ในทุกซอก ทุกมุม
ทุกอณูในสังคมไทย ตรงไหนก็ได้ เพราะที่ไหนมีคน
ที่นั่นควรมีธรรมะ ชื่อเสียงที่มีเข้ามา
ทำให้เวลาในแต่ละวันจากที่เคยอ่านและเขียนหนังสือ
ต้องแบ่งไปให้กับการออกไป บรรยายธรรม
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ทิ้ง คือ โลกของการอ่าน
“ยังคง ลมหายใจของอาตมาที่ไม่เคยทิ้ง”
การเสพข้อมูลในแต่ละวัน จะเริ่มจากการอ่านหนังสือพิมพ์ ข่าวสด คมชัดลึก มติชน
นานๆ จะมีบางกอกโพสต์ เดอะเนชั่นบ้าง
และนิตยสารรับประจำ คือ ศิลปวัฒนธรรม สารคดี
และเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก
นอกนั้น “อาตมาเป็นพระที่เข้าร้านหนังสือบ่อยที่สุดในไทย
เวลาที่ได้รับนิมนต์ไปบรรยายต่างจังหวัดจะต้องเข้าร้านหนังสือทุกครั้ง
ดูว่ามีอะไรใหม่ๆ ทางปัญญา ถ้าเจอถูกใจจะแพงแค่ไหนก็ตาม
ไม่เคยเกี่ยงราคาเลย ไม่ได้วันนี้ก็เอาวันหน้า”
ภายในกุฏิจึงล้อมไปด้วยตู้หนังสือ
ที่สะสมเรื่อยมาตั้งแต่เชียงราย
จนถึงทุกวันนี้มีหลายพันเล่ม ยังไม่รวมกับหนังสือกองโต
อีกนับหลายร้อยเล่มที่รอการอ่าน
“ยิ่งอาตมามีชื่อเสียง สำนักพิมพ์เอามาให้ที 100-200 เล่ม
ตอนบวชเป็นเณรน้อย อาตมาเห็นพระผู้ใหญ่เขามีเงิน
อาตมาคิดว่า ทำไมมีเงินแล้วไม่ซื้อหนังสืออ่าน
อาตมาคิดตลอดเลยว่า ถ้ามีเงินจะซื้อหนังสืออ่านให้หมดเลย
บนโต๊ะทำงานจะมีโน๊ตบุ๊ก ที่ไว้พิมพ์งานเขียน
และเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล
ในโลกของ“อินเทอร์เน็ต” ก็เป็นอีกเครื่องมือ
ที่ใช้เสาะแสวงหาความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ
Role Model ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของพระมหาวุฒิชัย
มีตั้งแต่บุคคลทางธรรม และบุคคลทางโลก เช่น
ท่านพุทธทาส หลวงพ่อชา พระพรหมคุณากร
องค์ดาไลลามะ ท่านติสนะพัน แห่งหมู่บ้านธรรม กฤษณะมูราติ
แม้แต่ ฟูกูโอกะ นักเกษตรธรรมชาติที่ญี่ปุ่น
อังคาร กัลยาณพงศ์ เนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์
อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์
นอกจากโลกการอ่านแล้ว เป้าหมายต่อไปคือ
การทำให้ธรรมติดปีกไปถึงผู้คนทุกชาติทุกภาษา
เพื่อประโยชน์แก่สันติภาพของโลก
“ทำอย่างไร ทำให้ธรรมะของพระพทุธเจ้าเผยแผ่แก่ชาวโลกได้มากที่สุด
เพื่อทำให้โลกมีสันติภาพ ที่ไม่เฉพาะคนไทย
ชาวโลกควรได้รับธรรมะเหมือนกับคนไทย ธรรมะคือความจริงของโลก
พระพุทธเจ้าทำหน้าที่แค่ค้นพบ โดยพระสงฆ์ เป็นผู้ที่เดินทางพระพุทธเจ้า”