สมเด็จพระนเรศวร เป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
ถูกพม่าขอไปเลี้ยงไว้เป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี
และเสด็จกลับเมืองไทยเมื่อพระชนมายุได้ 15 พรรษา
ต่อมาพม่าเกิดกบฏ เมืองรุม เมืองคังแข็งเมือง
พระเจ้าหงสาวดีโปรดให้สมเด็จพระนเรศวร ไปช่วยปราบกบฏครั้งนี้
โดยมีทัพมังสาเกียด พระมหาอุปราชาและทัพพระสังขทัตยกไปด้วย
ในที่สุดสมเด็จพระนเรศวรทรงตีเมือง ทั้งสองได้
พระเจ้าหงสาวดีทรงโปรดประทานสิ่งของเป็นบำเหน็จความชอบ
ภายหลังพระเจ้าหงสาวดีหวั่นเกรง ในฝีมือของสมเด็จพระนเรศวรว่ายอดเยี่ยมยิ่งนัก
หากปล่อยไว้จะเป็นเสี้ยนศัตรูสำคัญ จึงคิดจะกำจัดเสีย
แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงรู้พระองค์ก่อน
จึงได้ประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง
แล้วยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2121สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชพระราชบิดาเสด็จสวรรคต
สมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์
ทรงสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถพระอนุชาเป็นพระมหาอุปราช
พระเจ้าหงสาวดีโปรดให้พระมหาอุปราชา
พร้อมทั้งมังจาโรพี่เลี้ยงยกทัพมาถึงกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระนเรศวรพร้อมด้วยพระเอกาทศรถ ยกทัพออกไปตั้งรับ
สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างไชยานุภาพ ทรงชนช้างกับพระมหาอุปราชา
และฟันพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
ชัยชนะอันยิ่งใหญ่จากสงครามยุทธหัตถีครั้งนี้
นับเป็นสงครามกู้ชาติบ้านเมืองครั้งแรกในประวัติศาสตร์
โปรดให้สร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์เรียกว่าอนุสรณ์ดอนเจดีย์
อยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี สมเด็จพระนเรศวร
ทรงแผ่อาณาเขตของประเทศไทย
ให้กว้างใหญ่ไพศาลทรงนำประเทศให้กลับ ตั้งตัวได้
เป็นปึกแผ่นมีอำนาจเป็นที่เกรงขามแก่ข้าศึก
และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง สมเด็จพระนเรศวร ทรงเป็นนักรบ
และออกสนามรบจนวินาทีสุดท้ายคือทรงยกทัพ ไปตีอังวะ
ยกทัพเสด็จไปทางเมืองห้างหลวง
ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไปทางเมืองฝาง
สมเด็จพระนเรศวรตั้งทัพอยู่ที่ตำบลทุ่งแก้ว
ทรงประชวรหนักเสด็จสวรรคต ณ เมืองห้างหลวงนั่นเอง
รวมอยู่ในราชสมบัติได้ 15 ปี
พระชนมายุ 51 พรรษาตรงกับพ.ศ. 2148