สิ้น "ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์" ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนจิตรลดา สิริอายุ 100 ปีเศษ
ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news
สิ้น "ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์" ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนจิตรลดา สิริอายุ 100 ปีเศษ
ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news
ที่มา : https://www.blockdit.com/posts/64965d263634954d5df9556c
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์
ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ
ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
พระองค์ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
เมื่อ พ.ศ.2483 โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วย้ายไปอยู่วัดตรีญาติเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม
ต่อมาได้ทรงเข้าพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
โดยมีพระเทพโมลี (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ.2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
และ พ.ศ.2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ต่อมา เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ.2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท
ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีสถาปนาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 16.50 น.
ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยนิมนต์สมเด็จพระราชาคณะ กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดทั่วราชอาณาจักร เข้าร่วมพระราชพิธี
ทำไมการกู้เรือดำน้ำชมซากเรือไททานิกนั้นไม่ง่าย
Ampol Janekoonthongkumbai
ภาวะสุดท้ายเมื่อใกล้สิ้นใจตามหลักทางการแพทย์
อาจารย์สุมาลีเป็นอาจารย์แพทย์ศิริราชที่มีความสามารถและมีความรู้สูงมาก น่าเสียดายอายุสั้น...อาจารย์เสียชีวิตไปหลายปีแล้ว
อย่างสงบจริงๆตอนจากไปอาจารย์ยังได้เป็นตัวอย่างและสอนเรื่องสุดท้ายเพื่อเป็นวิธีจากโลกไปอย่างสงบ...
"ร่างกาย และ จิตใจ ในภาวะใกล้ตาย"
"ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย"
เมื่อใกล้ตาย ความอ่อนเพลียเป็นสิ่งที่ควรยอมรับ
ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ
สำหรับความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น
เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้ได้พักผ่อนให้เต็มที่
คนใกล้ตาย จะเบื่ออาหาร และกินอาหารน้อยลง
จากการศึกษาพบว่า ความเบื่ออาหารที่เกิดขึ้น
เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะ
ทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น
สารคีโตนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น
และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
คนใกล้ตาย จะดื่มน้ำน้อยลง หรืองดดื่มเลย
ภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตาย
ไม่ทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้น
ตรงกันข้ามกลับกระตุ้น
ให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น
หากปาก ริมฝีปากแห้ง จมูกแห้ง และตาแห้ง
ให้หมั่นทำความสะอาด และรักษาความชื้นไว้
โดยอาจใช้สำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำแตะที่ปาก
ริมฝีปาก หรือใช้สีผึ้งทาริมฝีปาก
สำหรับตาก็ให้หยอดน้ำตาเทียม
คนใกล้ตาย จะรู้สึกง่วงและอาจนอนหลับตลอดเวลา
ผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยหลับ ไม่ควรพยายามปลุกให้ตื่น
เมื่อคนใกล้ตายไม่รู้สึกตัว
ไม่ควรคิดว่าเขาไม่สามารถรับรู้
หรือได้ยินสิ่งที่มีคนพูดกันอยู่ข้างๆ
เพราะเขาอาจจะยังได้ยินและรับรู้ได้
แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้
จึงไม่ควรพูดคุยกัน
ในสิ่งที่จะทำให้เขาไม่สบายใจหรือเป็นกังวล
การร้องครวญคราง หรือมีหน้าตาบิดเบี้ยว
อาจไม่ได้เกิดความเจ็บปวดเสมอไป
แต่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสมอง
ซึ่งแพทย์สามารถให้ยาระงับอาการเหล่านี้ได้
คนใกล้ตาย อาจมีเสมหะมาก
ควรให้ยาลดเสมหะแทนการดูดเสมหะ
ซึ่งนอกจากไม่ได้ผลแล้ว
ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานเพิ่มขึ้นด้วย
(เฉพาะคนที่ใกล้ตายเท่านั้น
ไม่รวมถึงผู้ป่วยอื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ)
"ความเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ"
โดยทั่วไปเมื่อกายป่วย ใจจะป่วยด้วยเสมอ
ยิ่งคนที่ป่วยหนักใกล้ตายด้วยแล้ว
ยิ่งต้องการการดูแลประคับประคองใจอย่างมาก
สิ่งที่คนใกล้ตายกลัวที่สุด คือ
การถูกทอดทิ้ง การอยู่โดดเดี่ยว
และสิ่งที่คนใกล้ตายต้องการ คือ
ใครสักคนที่เข้าใจ
และอยู่ข้างๆ เขาเมื่อเขาต้องการ
แต่ละคนก็อาจมีความรู้สึก
และความต้องการต่างกันไป
ฉะนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ควร
ให้โอกาสคนใกล้ตาย
ได้แสดงความรู้สึกและความต้องการ
โดยการพูดคุยและเป็นผู้รับฟังที่ดี
และควรปฏิบัติตามความต้องการของคนใกล้ตาย
ซึ่ง หมายรวมถึง
ความต้องการในด้านการรักษา
ต้องประเมินก่อนว่าความต้องการนั้น
เกิดจากการตัดสินใจบนพื้นฐานใด
หากเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของอารมณ์
ไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง
ก็ควรชะลอการปฏิบัติไว้ก่อน
และควรให้การประคับประคองใจจนสบายใจขึ้น
กับทั้งให้โอกาสผู้ใกล้ตาย
เปลี่ยนความต้องการ และความตั้งใจได้เสมอ
ความตายได้กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นแล้ว
วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์
ทำให้มนุษย์มีโอกาสตายตาม ธรรมชาติได้น้อยลง
ความตายอย่างสงบจึงไม่เกิดขึ้น
ไม่มีโอกาสได้ตายอย่างสงบที่บ้าน
แต่ตายอย่างโดดเดี่ยวและทรมานในโรงพยาบาล
โดยตายกับสายระโยงระยาง
ที่เข้า-ออกจากร่างกาย
และเครื่องมืออุปกรณ์ที่อยู่รอบตัว
Cr : ศ.พญ.สุมาลี นิมมานนิตย์
(นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 296)
https://ac127.wordpress.com/2016/03/17/12118/
เคยได้รับการยกย่องเป็น "ดาวเด่นสภาฯ" จากการตั้งฉายานักการเมืองปี 2552
นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ที่ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
เป็นบุตรของนายใจ และนางหมาย ศรีแก้ว สำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตรบัณฑิต
จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2529
(ร่วมรุ่นกับ นายแพทย์ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ และ นายแพทย์บัญญัติ เจตนจันทร์)
และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542
เป็นแพทย์และนักการเมืองชาวไทย หัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย,
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน เขต 2 ในอดีตเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย
เคยได้รับการยกย่องเป็น "ดาวเด่นสภาฯ" จากการตั้งฉายานักการเมือง ของสื่อมวลชนประจำปี พ.ศ. 2552
ประสบการณ์ที่สำคัญ
- อดีตผู้อำนวยการ รพ.นาหมื่น รพ.นาน้อย รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน
- ส.ส. 4 สมัย พ.ศ. 2544 - 2557
- อดีตผู้ช่วยเลขา รมว.สาธารณสุข
- อดีตเลขา รมว.สาธารณสุข
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2551
- มหาวชิรมงกุฎ พ.ศ. 2548
การทำงาน
นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ระหว่างปี พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2543 ต่อมาได้เข้ามาทำงานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดน่าน
สังกัดพรรคไทยรักไทย
ในปี พ.ศ. 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปี พ.ศ. 2548
เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเป็นกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล)
นอกจากนั้นแล้ว เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ในระยะหนึ่งอีกด้วย
ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภา ได้ตั้งฉายานักการเมือง โดยให้ฉายานายแพทย์ชลน่านเป็น "ดาวสภาฯ"
ด้วยบทบาทการอภิปรายโดยมุ่งเน้นข้อมูลมากกว่าการใช้วาทะศิลป์
ชลน่าน ศรีแก้ว ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[4] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 กระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[5]
ในปี พ.ศ. 2564 วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็น
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย
และได้รับเลือกตั้งมาอีก 5 สมัยต่อกันเป็นลำดับ คือ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคไทยรักไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดน่าน สังกัดพรรคเพื่อไทย
หนุ่มเมืองจันท์
ตอนบ่ายนี้มีคิวอัดรายการ The Power Game
แต่เจอเจ้า 2 ขีดบนที่ตรวจ ATK จึงต้องงดรายการ
กะว่าวันนี้จะคุยเรื่องความขัดแย้งระหว่างพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย
ที่นับวันจะรุนแรงขึ้น
โดยเฉพาะการชิงเก้าอี้ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร”
ผมชอบทวีตของ “จาตุรนต์ ฉายแสง” ที่เตือนสติทั้ง 2 พรรคว่า
“ให้นึกเสียว่ามีประยุทธ์มายืนอ้าแขนรับอยู่ข้างหลังติดๆกันเลย
พอถอนตัวก็จะเข้าสู่อ้อมกอดประยุทธ์ทันที
พอจะเย็นลงมั้ย”
สรุปว่ายังไม่เย็นครับ 555
เรื่องที่ควรปิดห้องคุยกัน
กลับมาใช้วิธีตะโกนเถียงกัน
มีประโยคหนึ่งที่เตรียมไว้ตอนจบรายการ
เป็นคำพูดของ “เต๋อ” เรวัต พุทธินันทน์
ที่บอก “ไมโคร” ตอนเริ่มทะเลาะกัน
สมาชิกวงไมโครนั้นเป็นเพื่อนกันมานาน
กินนอนในห้องซ้อมดนตรีกันเป็นปีๆ
ลำบากมาด้วยกัน
แต่หลังจากที่ประสบความสำเร็จ โด่งดัง ทั้งที่เพิ่งออกอัลบั้มได้แค่ 2 ชุด
“ไมโคร” ก็เริ่มทะเลาะกัน
เพราะทุกคนต่างมี “อีโก้”
“เต๋อ” เรียกสมาชิกในวงทุกคนมาคุย
และตั้งคำถามเตือนสติสั้นๆ
“พวกมึงนี่แปลก ทำไมร่วมทุกข์กันได้ แต่สุขร่วมกันไม่เป็น”
…แปลกจริงๆ
image from https://www.artofit.org/image-gallery/55872851616530431/thailand-travel-buddha-poster-background/
วันวิสาขบูชา ปีนี้ตรงกับวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา "วันวิสาขบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ในปีอธิกมาส