From T2 |
เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jul 28, 2012
Jul 26, 2012
มุตโตทัย โอวาทธรรมของพระอาจารย์มั่น
www.fungdham.com/download/book/.../025.pdf
มุตโตทัย บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัด ธรรมมงคล กรุงเทพฯ )
Jul 24, 2012
ยอดครู ยอดคน หนูดี วนิษา เรซ
- http://teetwo.blogspot.com/2007/09/blog-post_10.html
- http://teetwo.blogspot.com/2011/04/blog-post_20.html
ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๔.๕๕-๑๕.๒๐ น.
ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕
พิธีกร : พี่ต่อ นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล
แขกรับเชิญ ยอดคน : พี่หนูดี วนิษา เรซ
แขกรับเชิญ ยอดครู : คุณแม่ ชุมศรื รักษ์วนิชพงศ์
Jul 21, 2012
CHANGE นายก (มือใหม่) หัวใจประชาชน
ขอบพระคุณ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=445969
“ผมเคยเป็นครูประถม 5 ซึ่ง สอนเด็ก ๆ เสมอ
เวลาพวกเขาทะเลาะกัน ผมบอกให้เขาฟังคนอื่นบ้าง
เพราะเหตุผลของตัวเองใช่ว่าจะถูกต้องทั้งหมด
แต่ในโลกของการเมืองมันไม่ใช่เช่นนั้นเลย
ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกัน โต้เถียงกัน
โดยเอาแต่เหตุผลของตัวเองเป็นที่ตั้ง
บางครั้งทะเลาะกันก็มีข้อสรุป แต่บางครั้งก็ไม่มี
บางครั้งก็ต้องลงคะแนนกัน
แต่การตัดสินใจในการลงคะแนน
ก็ไม่ได้คำนึงถึงผลของการตัดสินใจนั้นเลยว่า
จะมีผลกระทบต่อประชาชนแค่ไหน
การลงคะแนนของนักการเมืองนั้นขึ้นอยู่กับพรรค
และผู้มีอำนาจในพรรคเป็นหลัก
นั่นทำให้ผมรู้สึกว่ายิ่งห่างไกลจากเมืองมากขึ้น”
“แต่ เมื่อผมถูกทาบทามให้เป็นนายกฯ
ผมยอมรับเพราะผมคิดว่าผมจะทำอะไรให้ประชาชนได้บ้าง
มีคนบอกว่า ผมควรจะรับเพราะ
ผมจะสามารถสร้างความหวังให้แก่เด็กๆได้
ตั้งแต่วันที่ผมให้สัญญากับประชาชนครั้งนั้นว่า
จะใช้มือ ใช้ตา ใช้หูและใช้ขา ทำงานอย่างเต็มที่
ผมรักษาสัญญานั้นไว้ตลอด ผมรู้สึกว่า
ผมเริ่มใกล้ชิดการเมืองเข้าไป”
“เพราะ ด้วยตำแหน่งที่ผมมี
ผมสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
ผมสามารถเปลี่ยนประเทศนี้ให้
เป็นอย่างที่ผมอยากให้เป็นได้
แต่กระนั้นอาจจะเป็นเพราะผมไม่มีประสบการณ์พอ
ผมถึงไม่สามารถทำอะไรได้เลยอย่างที่ผมต้องการ
และอย่างที่ประชาชนคาดหวัง
และยังทำให้คนที่สนับสนุนผมต้องผิดหวัง
ด้วยการคัดคนที่มีเรื่องรับสินบนมา
รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีก”
“แต่ผมเรียนรู้หลายอย่างจาก 50 วันที่เป็นนายกฯ
ผมได้เรียนรู้ว่า มีนักการเมืองที่เล่นการเมืองเพราะความโลภ
มีนักการเมืองที่เล่นการเมืองด้วยความรับผิดชอบ
มีนักการเมืองที่รู้ว่า ตัวเองทำผิดและยอมรับมัน
รู้ว่ามีข้าราชการที่ทำทุกอย่างเพื่อชาติ
รู้ว่ามีตำรวจที่พร้อมจะตายแทนประชาชน
รู้ว่านักการเมืองต้องเข้าถึงประชาชนให้ได้
เรื่องทั้งหมดนี้ทำให้ผมตัดสินใจที่จะลาออก
เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องทั้งหมด”
“แต่ขณะเดียวกัน ผม ก็ต้องการให้นักการเมือง
รัฐมนตรีและส.ส.ทั้งหมดร่วมรับผิดชอบด้วย
ผมจึงขอประกาศยุบสภาในตอนนี้เพื่อ
เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือก
ตัวแทนของเขาอีกครั้ง”
“คะแนนเสียงของทุกคนครั้งนี้สำคัญมาก
จงลงคะแนนเลือกคนที่เขาเข้ามาทำงานตามเจตนารมณ์
จงเลือกคนที่รักษาสัญญา เลือกคนที่เมื่อเข้ามาแล้ว
ไม่ลืมว่าเขาเป็นตัวแทนของประชาชน
เชื่อเถอะครับว่าเรายังมีความหวังอยู่
เราเปลี่ยนแปลงการเมืองได้ด้วยตัวของเรา
เพราะประชาชนเป็นผู้กำหนดว่า
ใครจะมาเป็นนักการเมือง
ผมขอบอกว่าใครที่คิดว่าการเมือง
เป็นเรื่องเข้าใจยากนั้นไม่จริงนะครับ(หยิบ หนังสือ)
นี่คือคู่มือการเมืองสำหรับเด็กประถมที่เราเคยเรียนกันมา
เพราะฉะนั้น การยุบสภาครั้งนี้จึง
เป็นการสร้างความหวังและ
เติมเต็มฝันให้แก่ประชาชนและเด็ก ๆ”
“ผมเคยเป็นครูประถม 5 ซึ่ง สอนเด็ก ๆ เสมอ
เวลาพวกเขาทะเลาะกัน ผมบอกให้เขาฟังคนอื่นบ้าง
เพราะเหตุผลของตัวเองใช่ว่าจะถูกต้องทั้งหมด
แต่ในโลกของการเมืองมันไม่ใช่เช่นนั้นเลย
ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกัน โต้เถียงกัน
โดยเอาแต่เหตุผลของตัวเองเป็นที่ตั้ง
บางครั้งทะเลาะกันก็มีข้อสรุป แต่บางครั้งก็ไม่มี
บางครั้งก็ต้องลงคะแนนกัน
แต่การตัดสินใจในการลงคะแนน
ก็ไม่ได้คำนึงถึงผลของการตัดสินใจนั้นเลยว่า
จะมีผลกระทบต่อประชาชนแค่ไหน
การลงคะแนนของนักการเมืองนั้นขึ้นอยู่กับพรรค
และผู้มีอำนาจในพรรคเป็นหลัก
นั่นทำให้ผมรู้สึกว่ายิ่งห่างไกลจากเมืองมากขึ้น”
“แต่ เมื่อผมถูกทาบทามให้เป็นนายกฯ
ผมยอมรับเพราะผมคิดว่าผมจะทำอะไรให้ประชาชนได้บ้าง
มีคนบอกว่า ผมควรจะรับเพราะ
ผมจะสามารถสร้างความหวังให้แก่เด็กๆได้
ตั้งแต่วันที่ผมให้สัญญากับประชาชนครั้งนั้นว่า
จะใช้มือ ใช้ตา ใช้หูและใช้ขา ทำงานอย่างเต็มที่
ผมรักษาสัญญานั้นไว้ตลอด ผมรู้สึกว่า
ผมเริ่มใกล้ชิดการเมืองเข้าไป”
“เพราะ ด้วยตำแหน่งที่ผมมี
ผมสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
ผมสามารถเปลี่ยนประเทศนี้ให้
เป็นอย่างที่ผมอยากให้เป็นได้
แต่กระนั้นอาจจะเป็นเพราะผมไม่มีประสบการณ์พอ
ผมถึงไม่สามารถทำอะไรได้เลยอย่างที่ผมต้องการ
และอย่างที่ประชาชนคาดหวัง
และยังทำให้คนที่สนับสนุนผมต้องผิดหวัง
ด้วยการคัดคนที่มีเรื่องรับสินบนมา
รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีก”
“แต่ผมเรียนรู้หลายอย่างจาก 50 วันที่เป็นนายกฯ
ผมได้เรียนรู้ว่า มีนักการเมืองที่เล่นการเมืองเพราะความโลภ
มีนักการเมืองที่เล่นการเมืองด้วยความรับผิดชอบ
มีนักการเมืองที่รู้ว่า ตัวเองทำผิดและยอมรับมัน
รู้ว่ามีข้าราชการที่ทำทุกอย่างเพื่อชาติ
รู้ว่ามีตำรวจที่พร้อมจะตายแทนประชาชน
รู้ว่านักการเมืองต้องเข้าถึงประชาชนให้ได้
เรื่องทั้งหมดนี้ทำให้ผมตัดสินใจที่จะลาออก
เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องทั้งหมด”
“แต่ขณะเดียวกัน ผม ก็ต้องการให้นักการเมือง
รัฐมนตรีและส.ส.ทั้งหมดร่วมรับผิดชอบด้วย
ผมจึงขอประกาศยุบสภาในตอนนี้เพื่อ
เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือก
ตัวแทนของเขาอีกครั้ง”
“คะแนนเสียงของทุกคนครั้งนี้สำคัญมาก
จงลงคะแนนเลือกคนที่เขาเข้ามาทำงานตามเจตนารมณ์
จงเลือกคนที่รักษาสัญญา เลือกคนที่เมื่อเข้ามาแล้ว
ไม่ลืมว่าเขาเป็นตัวแทนของประชาชน
เชื่อเถอะครับว่าเรายังมีความหวังอยู่
เราเปลี่ยนแปลงการเมืองได้ด้วยตัวของเรา
เพราะประชาชนเป็นผู้กำหนดว่า
ใครจะมาเป็นนักการเมือง
ผมขอบอกว่าใครที่คิดว่าการเมือง
เป็นเรื่องเข้าใจยากนั้นไม่จริงนะครับ(หยิบ หนังสือ)
นี่คือคู่มือการเมืองสำหรับเด็กประถมที่เราเคยเรียนกันมา
เพราะฉะนั้น การยุบสภาครั้งนี้จึง
เป็นการสร้างความหวังและ
เติมเต็มฝันให้แก่ประชาชนและเด็ก ๆ”
Jul 19, 2012
สยามวาระ: ประชาธิปัตย์
http://teetwo.blogspot.com/2009/08/blog-post_2321.html
สยามวาระ: ประชาธิปัตย์ 1 (11 ก.ค. 55)
พรรคประชาธิปัตย์ (1) : ประวัติศาสตร์ และบาดแผล
พรรคประชาธิปัตย์ประชาธิปัตย์ไม่เพียง
แต่เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงป
งานทางการเมือง แต่ยังเป็นพรรคการเมืองที่
เข้าใกล้ความเป็น 'สถาบันทางการเมือง'
มากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองของไทยในปัจจุบัน
คำถามสำคัญ คือ อะไรคือความเป็น
สถาบันของพรรคประชาธิปัตย์
และพรรคประชาธิปัตย์เป็น
พรรคประชาธิปัตย์ในแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ อย่างไร
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา จะพาท่านผู้ชมสำรวจ
'ประชาธิปัตย์' ผ่านจุดกำเนิดและเรื่องราว
ของพรรคบนถนนการเมืองไทย ร่วมพูดคุยกับ
สมบัติ ภู่กาญจน์ อดีตบรรนาธิการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ผศ.ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
พิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 4
บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรค คนที่ 6
และวีระกานต์ มุสิกพงศ์
อดีตสมาชิกเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
สยามวาระ: ประชาธิปัตย์ 2 (18 ก.ค. 55)
กว่า 3 ทศวรรษนับตั้งแต่เหตุการณ์โศกนาฏกรรม
ทางการเมืองเมื่อเดือนตุลาคม 2519
ดูเหมือนจะยังไม่มีสิ่งใดท้าทาย
สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ในยุคใหม่
เท่ากับการปรากฎตัวของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็น
คู่แข่งทางการเมืองคนสำคัญของประชาธิปัตย์
และกลายเป็นทั้งโอกาสและ
อุปสรรคในการปรับตัวสู่อนาคตของ
พรรคการเมืองเก่าแก่ ที่สุดในประเทศแห่งนี้
หาก 'แลไปข้างหน้า' อนาคตของพรรคจะเป็นอย่างไร
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา จะพาท่านผู้ชมสำรวจปัญหาของ
พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งจากมุมมองของคนในพรรค
และนอกพรรค ร่วมพูดคุยกับ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน
บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคคนที่ 6
พิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคคนที่ 4
วีรกานต์ มุสิกพงษ์ อดีตเลขาธิการพรรค
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
และอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช.และสมาชิกพรรคเพื่อไทย
รมช.เกษตรและสหกรณ์
ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชนอิสระ
ดร.ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ นักวิชาการอิสระ
และอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
Jul 10, 2012
วิธีการพูด ให้มีเสน่ห์
คุณ ว่าไหม... เวลานี้ผู้คนและสังคมไทยต่างประสบปัญหาคนพูดจาไม่ดีต่อกัน และการพูดจาไม่ดี ก็มักมีปัญหาตามมาเยอะแยะเต็มไปหมด ทั้งความขุ่นข้องหมองใจ ความไม่เข้าใจ และนำไปสู่ความแตกแยก ไม่ร่วมมือ และไม่ให้เข้ากันได้ในที่สุด เพราะเหตุนี้เอง... เราจึงควรหันหน้าเข้าหากัน พูดจาดีๆ ต่อกัน จะได้ไม่มีปัญหา ว่าแล้ว เรามาเรียนรู้วิธีการพูดการจาให้เป็นสง่าราศีแก่ชีวิตดีกว่าค่ะ
1. คนจะพูดดีได้ต้องเริ่มจากคิดดีก่อน
ไม่มี ประโยชน์ที่เราจะเริ่มต้นจากการคิดร้าย แม้กับคนที่เราไม่ถูกชะตาด้วยที่สุด ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องพูดจาไม่ดีกับเขา การคิดดี ถือเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ เป็นพื้นฐานของจิตใจที่ดีงาม ใครก็ตามที่รู้จักคิดดี เขาก็จะเห็นแง่งามของโลก ของชีวิต ของตนเอง และของผู้อื่น เมื่อเห็นแง่งามหรือแง่ดีของสิ่งต่างๆ เขาก็ย่อมมีทัศนคติที่ดี มีท่าทีที่ดี และเมื่อต้องพูดจาเสวนากัน เขาก็ย่อมพูดจาดี
"พูดดี" ในที่นี้หมายความว่า พูดเพราะ พูดคำสุภาพ มีน้ำเสียงที่สุภาพ มีหางเสียงครับ ค่ะ จ๊ะ จ้ะ เพื่อแสดงความมีมารยาท มีไมตรีจิต ไม่พูดคำหยาบ ไม่ใส่ร้าย ไม่ตะคอกตะเบ็งใส่กัน ไม่ประชดประชัน ไม่โกหกพกลม คนจะพูดดีเช่นนี้ได้จะคิดร้ายอยู่ในใจไม่ได้แน่นอน เพราะความร้ายกาจในใจจะเผยมาทางคำพูด น้ำเสียง แววตา หรือท่าทีขณะที่พูดได้ จึงจำเป็นต้องฝึกตนให้เป็นคนคิดดี
2. พูดถูกกาลเทศะ ไม่ใช่ ตลอดเวลาหรอกนะคะ ที่คนเราจะพูดได้ ต้องมีบ้างบางขณะที่เราควรหยุดพูด เพื่อเป็นผู้ฟังคนอื่นพูดบ้าง คนบางคนถูกตั้งข้อสังเกตว่า "ผีเจาะปากมาพูด" คือได้แต่พูด (พูดๆๆๆ) ฟังไม่เป็น ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นพูด ทำตัวเป็นผู้รู้ไปหมดทุกเรื่อง จึงพูดอยู่ตลอดเวลา คนแบบนี้น่ารำคาญ... จริงไหม
อย่า ทำตัวน่ารำคาญด้วยการพูดจาไม่หยุดไม่หย่อน ไม่ดูวาระและโอกาส คนพูดเป็นจะรู้ว่าโอกาสไหนควรพูด โอกาสไหนควรฟัง และโอกาสไหนควรวางเฉย หลักการพูดให้ถูกกาลเทศะทำได้ง่ายๆ คือ ดูว่าเราต้องพูดในหัวข้อไหน เรื่องอะไร พูดที่ไหน ใครฟัง ผู้ฟังกี่คน ฟังกันในที่เปิดเผย หรือในห้องจำกัด พูดสั้นหรือพูดยาว จริงจัง หรือกันเอง ใครอ่านสถานการณ์ออกเตรียมตัวพร้อม ก็สามารถพูดจาได้น่าจดจำตามวาระและโอกาสนั้นๆ ได้เสมอ
3. พูดมีเนื้อหาสาระ ห้ามพูดเรื่อยเปื่อย ไม่ว่าจะคุยกันกับเพื่อน ผู้ร่วมงาน พ่อแม่ หรือพูดในที่ประชุมหรือที่สาธารณะ ก็ต้องมีเป้าหมายในการพูด พูดอย่างมีสาระ มีขอบเขตชัดเจนว่าต้องการสื่อสารเรื่องอะไร หรือต้องการจะบอกกับผู้ฟังว่าอะไร
4. พูดจาให้น่าฟังน้ำ เสียงที่กังวานแจ่มใส ดังพอประมาณ พูดจาฉะฉานชัดเจน จะดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้มาก การพูดในบางครั้งต้องพูดปากเปล่า แต่บ่อย ครั้งก็ต้องพูดผ่านไมโครโฟน หากมีโอกาสฝึกฝนเรื่องการใช้เสียงอย่างเหมาะสม ทั้งแบบปากเปล่าและผ่านไมโครโฟนได้ ก็ควรทำ เพราะการพูดผ่านไมโครโฟนนั้น ต้องมีระยะใกล้ไกลระหว่างปากกับไมโครโฟนที่พอเหมาะ เสียงจึงจะชัดเจน ไม่มีเสียงเสียดแทรกจนผู้ฟังรู้สึกไม่สบายหู หรือรำคาญ ในการพูดนั้น ควรมีการเน้นจังหวะและเว้นจังหวะ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ชวนติดตาม
5. พูดให้เกิดความรู้สึกร่วม
วิธี การง่ายๆ คือ สบตากับผู้ฟังอย่างทั่วถึง ตั้งคำถามในขณะพูดแล้วค่อยๆ อธิบายเพื่อนำไปสู่คำตอบ สอบถามผู้ฟังบ้างในบางหัวข้อที่ง่ายๆ หรือเป็นเรื่องของประสบการณ์ เป็นเรื่องของความคิดเห็นที่ไม่ใช่เรื่อง ซึ่งเมื่อตอบแล้วอาจถูกหรือผิด ทั้งนี้ ผู้พูดจำเป็นต้องรู้พื้นภูมิของผู้ฟังบ้าง เพื่อพูดในภาษาที่เขาเข้าใจง่าย บางครั้งการพูดด้วยสำเนียงท้องถิ่นก็ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี รู้สึกเป็นกันเอง อย่าพูดไทยผสมกับภาษาต่างประเทศโดยไม่อธิบาย เลือกใช้ภาษาต่างประเทศเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
Jul 9, 2012
ประเทศญี่ปุ่นเอาผิดผู้ดาวน์โหลด
ญี่ปุ่นเอาผิดผู้ดาวน์โหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งแพ่ง-อาญา
Thu, 28/06/2012 - 19:56
ญี่ปุ่นขึ้นชื่อในเรื่องการเอาจริงเอาจังกับกฏหมายลิขสิทธิ์
จนอาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จของนักร้องส่วนหนึ่ง
มาจากการจำหน่ายผลงานที่ได้
รับการคุ้มครองเต็มที่
แต่การเพิ่มระดับความเข้มงวดซึ่งเอาผิดทั้งผู้เผยแพร่
และดาวน์โหลด
อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
การดาวน์โหลดเพลงแบบถูกกฎหมาย
ซึ่งกำลังเติบโตในญี่ปุ่น
Jul 8, 2012
สยามวาระ: เมืองหนังสือโลก
4 ก.ค. 2012
ในโลกยุคที่ไอแพดกลายเป็นอุปกรณ์ประจำตัวของหลายคน
ในโลกที่คนจำนวนมากเลือกที่จะอ่านหนังสือผ่านคินเดิล
ในโลกที่ e-books กำลังกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในวงการหนังสือ
ณ มุมหนึ่งของโลก ยังมีเมืองเล็กๆ
ซึ่งยังคงให้คุณค่ากับการอ่านหนังสือเล่ม
และได้ชื่อว่าเป็น "เมืองหนังสือโลก" เฮย์ ออน ไวย์
(Hay-on-Wye) คือชื่อของเมืองๆ นั้น
สยามวาระในวันนี้ จะพาท่านผู้ชมไปรู้จักกับเมืองเฮย์
เมืองหนังสือมือสองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เพื่อค้นหาคำตอบว่าธุรกิจหนังสือเล่มปรับตัว
และมีที่ทางอย่างไรในโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล
ร่วมค้นหาคำตอบได้ในรายการสยามวาระ
ตอน เฮย์ ออน ไวย์ หนึ่งวันมหัศจรรย์ในเมืองหนังสือโลก
สยามวาระ: ก้าวข้ามเศรษฐกิจผูกขาด
กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเป็นกลไกสำคัญ
ที่จะอำนวยให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในระบบเศรฐกิจ
และป้องกันไม่ให้บริษัทขนาดใหญ่เอาเปรียบบริษัทขนาดเล็ก
ผู้บริโภค และซัพพลายเออร์
แต่ตลอดระยะเวลากว่า 13 ปี
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีกฎหมายนี้ในชื่อ
"พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542"
กลับยังไม่มีธุรกิจแม้แต่รายเดียว
ที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายฉบับนี้
กฎหมายการแข่งขันทางการค้าคืออะไร
เหตุใดจึงจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจไทย
จุดอ่อนของกลไกการป้องกัน
การผูกขาดของประเทศไทยอยู่ที่ไหน
และเราจะสามารถปฏิรูปกฎหมายฉบับนี้
และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น
กับระบบเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร
ปกป้อง จันวิทย์
จะพาท่านผู้ชมไปหาคำตอบร่วมกันใน
รายการ สยามวาระ
ตอน ก้าวข้ามเศรษฐกิจปลาใหญ่กินปลาเล็ก
ติดตามรับชมได้ในรายการสยามวาระ คืนวันพุธที่ 27 มิ.ย. นี้
เวลา 20.25-21.15 น. ทาง ThaiPBS
Subscribe to:
Posts (Atom)