Custom Search

Jun 19, 2012

มณีจันทร์ของเบนซ์ พรชิตา









 


Life Style : ภาพยนตร์/ดนตรี
วันที่ 19 ธันวาคม 2554
ทศพร กลิ่นหอม

เบนซ์ บอกเล่าประสบการณ์ครั้งใหม่
และบทบาทนางเอกในแบบของเธอ
และบทบาทบนละครเวที
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 

เบนซ์ พรชิตา ณ สงขลา แม้ เธอจะอายุเพียง 31 ปี
แต่ถือเป็นนางเอกที่คร่ำหวอดในวงการบันเทิงไทย
จากการเข้าวงการตั้งแต่อายุ 13 กับละครจักรๆ วงศ์
บัวแก้วบัวทอง เมื่อปี 2536 และผ่านช่วงของความฮ็อต
ในละครทีวีเรื่อง สะใภ้ไร้ศักดินา ในปี 2544
โดยเส้นทางบันเทิงของเธอยังคงแข็งแรง
กับบทบาทที่หลากหลายขึ้น
ที่งานแสดงที่หลากหลายทั้งภาพยนตร์
ละครทีวีและละครเวที
ล่าสุดเธอหวนคืนเวทีอีกครั้ง กับบทบาท มณีจันทร์
หญิงอันเป็นที่รักของสมเด็จพระนเรศวร
แสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์ 

@ ที่มาที่ไปของบท มณีจันทร์? 

เป็นความบังเอิญค่ะ ตอนที่พ่ออี๊ด (สุประวัติ ปัทมสูต) ติดต่อมา
เมื่อนานมาก ตั้งแต่ปี 2553 แต่ไม่รู้หรอกว่าเป็นบทอะไร
ละครเรื่องไหน แต่เราอยากทำงานกับพี่อี๊ดมาก
และก็มารู้เมื่อเร็วๆนี้ว่าเป็นเรื่องนี้ มันเปลี่ยนใจไม่ทันแล้ว
ทั้งๆที่รู้ว่ามันเป็นละครร้อง ที่ต้องร้องเพลงโบราณด้วย
ซึ่งปกติ เบนซ์ก็ร้องเพลงเพี้ยนอยู่แล้ว (หัวเราะ)
มันไม่ใช่ว่าใตรจะร้องได้ มันต้องได้รับการฝึกฝนมาพอสมควร
จะบอกว่า พลาดก็ไม่ถูกนะ(ยิ้ม) ขอบอกว่า จับพลัดจับผลู
มาเล่นดีกว่า แต่พอได้มาอ่านบทแล้วและเห็นโปรดักชั่นนะ
เราก็รู้สึกเป็นเกียรตินะ เพราะคิดว่าชีวิตนี้คงไม่ได้
เล่นละครที่ยิ่งใหญ่แบบนี้อีกแล้ว เพราะว่า
มันเป็นละครดึกดำบรรพ์ ที่เราไม่เคยทำมาก่อนเคย
แต่เล่นละครเวทีบ้างละครทีวี ซึ่งละครเรื่องนี้
เราต้องใส่ชุดเต็ม(ยศ) และต้องร้องบทเป็นกลอน
และกำกับโดยศิลปินแห่งชาติ
และมีศิลปินแห่งชาติอีกหลายคนมาร่วมงานนี้
รวมถึงการได้เล่นหน้าพระที่นั่งด้วย มันไม่ใช่ละครเล็กๆ
ถ้าพลาดโอกาสไปก็เสียดายค่ะ 

@มณีจันทร์เวอร์ชั่น เบนซ์ พรชิตา จะเป็นยังไงคะ? 

**อาจจะตัวใหญ่นิดนึงค่ะ (หัวเราะ)
แต่ว่าพ่ออี๊ดสามารถทำให้เบนซ์ตัวเล็กลงได้บนเวทีนะ
มณีจันทร์เวอร์ชั่นนี้จะเป็นผู้ให้กำลังใจสามี
เป็นอีกมุมหนึ่งที่จะไม่ได้เห็นในหนัง
เป็นมณีจันทร์ที่ทำหน้าที่ภรรยาที่ดี
คอยให้กำลังใจเวลาสามีไปรบค่ะ

(แตกต่างจากฉบับหนัง) 

@การทำงานกับพระเอก ศรราม คราวนี้เป็นไง
ห่างไปนานมากตั้งแต่เล่น คู่กรรม
(ปี 2547 ทางช่อง 3) คู่กัน ? 
ไม่ได้เจอกันนานหลายปีมาก 8-9 ปีเลยมั้ง
รู้สึกว่าคราวนี้พี่หนุ่ม ศรราม ดูตั้งใจทำงานมาก
และรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาเจอพี่หนุ่มอีกครั้ง
ได้เจอพี่ชายอีกค่ะ 

@งานของเบนซ์ ยุคหลังๆ จะไม่ใช่บทนางเอ๊ก นางเอกแล้ว
บทบาทในละครทีวีค่อนข้างหลากหลายขึ้น คิดยังไง? 

เบนซ์ว่าชอบตรงนี้นะ เพราะ รู้สึกไม่กดดัน
เมื่อก่อนเป็นนางเอก ก็จะได้แต่บทนางเอก(นางเอ๊ก)
เบนซ์คิดว่าบทนางเอกม่ค่อยเหมาะกับเบนซ์นะ
เพราะเบนซ์คิดว่าเบนซ์ตัวใหญ่ หน้าดุ เสียงก็ดุ
ถ้าคนดูสามารถมองเห็นเบนซ์ขึ้นไปเป็นอีกระดับหนึ่งได้
เบนซ์จะดีใจมาก ไม่ใช่การที่เบนซ์เจ๋งกว่านางเอกนะ
แต่หมายถึง หลุดจากความเป็นนางเอกไปแล้ว
เป็นอะไรก็ได้ เป็นตัวร้ายก็ได้ เป็นตลก เป็นบ้า โน่นนี่
เบนซ์ก็จะเล่นสบายขึ้นด้วย สนุกกับการทำงาน
เบนซ์ได้บทหลากหลาย คนดูก็จะไม่เบื่อ
คนจะได้เจอเราแบบแปลกใหม่ ไม่ใช่น่าสงสารตลอดเวลา
บางครั้งเราเล่นก็กลัวคนเบื่อ พอบทหลากหลาย
มีอะไรมากขึ้นมากขึ้นเราสนุก คนดูก็สนุก
มันได้ทั้งสองฝ่ายค่ะ


@วงการบันเทิงยุคนี้ฉาบฉวยกว่ายุคแรกเริ่มที่เบนซ์เข้ามาไหม? 
ตอนนี้เบนซ์ไม่เรียกมันว่าฉาบฉวยนะ
แต่การเฟ้นหานักแสดงมันไม่ต้องใช้เวลา(มาก)แล้ว
สมัยเบนซ์ เข้าวงการมานาน อาจจะนาน
กว่าจะได้เป็นนางเอก ต้องเล่นมาแล้ว 4-5 ปี
น้องๆ สมัยนี้เข้ามาเล่นเรื่องเดียวอาจจะดังเลย
เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ระหว่างทางอาจจะน้อยกว่าเรา
มันจะสามารถคัดกรองได้ ว่าเราจะทำงานตรงนี้ได้ไหม
เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า น้องๆ ที่เข้ามาตอนนี้
เขาจะสามารถอยู่ในวงการนี้ได้นานแค่ไหน
ถ้าเขาเป็นนักแสดงจริงๆ เขาก็อาจจะอยู่นาน
แต่ถ้าเขารู้สึกเข้ามาแบบสนุกๆ ก็อาจจะอยู่ไม่นาน


@พูดถึงละครเวที สมเด็จพระนเรศวรฯ คนดูจะคาดหวังอะไรได้บ้าง 

ฟังดูมันอาจจะโบราณ แต่สำหรับเบนซ์คิดว่าไม่นะ
ทุกวัยดูได้หมด เพราะว่า คนกำกับคือ พ่ออี๊ด
และพ่ออี๊ดของเบนซ์ เขาสามารถลงเสน่ห์ตัวละคร
แต่ละมีรายละเอียดกระจุ๊กกระจิ๊กน่ารัก มีตัวตลก
ไม่น่าเบื่อแน่ และบทร้องกลอนก็ฟังง่าย
เพราะทุกคำที่ถูกเลือกใช้มาร้อง เข้าใจง่ายแบบไม่ต้องแปล
อยากให้คนมาดู เพราะละคร(ดึกดำบรรพ) แบบนี้
หาดูยากแล้วนะ อยากให้ครอบครัวมาดูกันค่ะ
ติดตามชมบทบาทมณีจันทร์ของเบนซ์ได้ใน
ละครเวทีอิงประวัติศาสตร์เรื่อง
"สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 


บทประพันธ์ของ อาจารย์ สมภพ จันทรประภา
ถ่ายทอดเรื่องราว ความรัก ศรัทธา แผ่นดิน
ในรูปแบบละครเวทีที่ผสมผสานศาสตร์แห่งศิลปะการแสดง
ทางด้านนาฏศิลป์และดนตรี ไทยครบทุกอรรถรส
จัดทำบทโดย หม่อมหลวง จุลลา งอนรถ ปี่พาทย์ไทย
กรมศิลปากร ปี่พาทย์มอญ สุดจิตต์ ดุริยประณีต
กำกับการแสดงโดย
สุประวัติ ปัทมสูต
........... 
ล้อมกรอบ 
เกี่ยวกับละครดึกดำบรรพ์

ละครดึกดำบรรพ์เป็นละครที่นำแบบโอ เปร่ามาใช้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เป็นผู้ทรงปรับปรุงขึ้น เพื่อให้คณะละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) แสดง ลักษณะสำคัญของละครดึกดำบรรพ์ มีการเปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่อง ท่ารำ ใช้ท่ารำตามแบบแผน แต่ตัดทอนเพิ่มเติมและดัดแปลงให้พอเหมาะกับเพลงร้องและเพลงดนตรี ซึ่งใช้เพลงไทยของเก่า แต่แก้ไขเปลี่ยนแปลงบางเพลงให้สั้นยาวพอเหมาะกับการแสดง กับมีเพลงที่พลิกแพลงให้แปลกและไพเราะยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการแต่งเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ผู้แสดงเป็นผู้ร้องในบทของตนเอง เพราะบทร้องเป็นบทคำพูดของตัวละคร ตัวละครทุกตัวพูดเป็นเพลง ดนตรีประกอบการแสดงเป็นวงปี่พาทย์ที่ปรับปรุงขึ้นเป็นพิเศษ มีแต่เครื่องดนตรีที่เสียงทุ้มนุ่มนวล ไม่มีพวกเสียงดังเสียงสูง เสียงเล็กแหลมเลย

(ที่มา: วิกิพีเดีย)