Custom Search

Nov 28, 2010

นายกรัฐมนตรีหวังผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะเป็นทั้งคนเก่ง-คนดี ในการสร้างความมั่นคงให้ประเทศชาติต่อไป


http://www.dpu.ac.th


(27/11/2010)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ได้เป็นประธานมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พร้อมให้โอวาทแก่ ผู้สำเร็จการศึกษาของ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ประจำปีการศึกษา 2552


วันนี้ (27 พ.ย.53) เวลา 13.30 น. ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ได้เป็นประธานมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ให้แก่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ที่รับปริญญาบัตรในสาขานิติศาสตร์
และนายฉิน อี้เซิน ทูตวัฒนธรรม สถานทูตจีนประจำประเทศไทย
รับปริญญาบัตรในสาขาภาษาไทย
พร้อมให้โอวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาของ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ประจำปีการ ศึกษา 2552
ในโอกาสมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ได้จัดพิธีประสาทปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิต รุ่นที่ 2
มหาบัณฑิต รุ่นที่ 24 และบัณฑิต รุ่นที่ 38 ประจำปีการศึกษา 2552
โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 3,876 คน
แบ่งออกเป็นระดับปริญญาเอก จำนวน 6 คน
ระดับปริญญาโท จำนวน 522 คน และระดับปริญญาตรี 3,348 คน


ทั้งนี้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม
เป็นเวลากว่า 40 ปี แล้ว โดยปัจจุบันมหาวิทยาฯเปิดในระดับปริญญาตรี 9 คณะ
รวม 42 สาขาวิชา ในระดับปริญญาโท 17 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 4 สาขาวิชา
ทั้งหลักสูตรภาษา
ไทย หลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรภาษาจีน
และด้วยมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับ ISO 9001:2008
ทำให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน
ในการผลิตบัณฑิตเพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ
รวมทั้งพัฒนาบัณฑิตย์ให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคตต่อไป


โอกาส นี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความความยินดีที่ได้มีโอกาส
มาร่วมเป็นสักขีพยานในความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน
ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ในวันนี้
และขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาและผู้ที่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์
ที่เข้ารับปริญญาทุกคน
ขณะเดียวกันก็ขอแสดงความชื่นชมมหาวิทยาลัย
ที่ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา
ได้ผลิตบุคลากรที่มีความรู้มีความสามารถในหลากหลายสาขา
ออกไปทำประโยชน์ให้ แก่สังคมและประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยได้มีการขยายโอกาสด้านอุดมศึกษาค่อนข้างมาก
หลังจากที่มีการกระจ
ายสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
ออกไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศได้ไม่นานนัก
ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนก็ได้รับ
การส่งเสริมให้มีส่วนสนับสนุนการขยายโอกาส
ทางการศึกษาออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นเช่นกัน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ในฐานะสถาบันอุดมศึกษารุ่นแรก
ที่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเป็นตัวอย่างที่ดี
ได้ทำหน้าที่ดังกล่าวนี้อย่างมั่นคงตลอดมา


นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัย
ซึ่งปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นมากในสังคมโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างมาก
ขณะนี้และในอนาคตต่อไปว่า สถาบันอุดมศึกษา
มีบทบาทสำคัญยิ่งในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ
เพราะการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันดังกล่าว
ต้องอาศัยฐานความรู้เป็นสำคัญ ขณะที่สถาบันอุดมศึกษาเอง
ก็ต้องยกระดับมาตรฐานให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติ ได้ไปพร้อมกันด้วย
ไม่ว่าจะในแง่ของการจูงใจให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษามากขึ้
หรือการแข่งขันในด้านต่าง ๆ เช่น ในทางวิชาการ ด้านกีฬา หรืออื่น ๆ เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
แม้ โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร
มหาวิทยาลัยยังคงมี
ความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมและประเทศชาติ
ในการสร้างฐานความรู้
เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาความสามารถ
ในการแข่งขันซึ่งบุคคล เหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในฐานะต่างๆ
ทั้งในภาครัฐและเอกชน สังคมและประเทศชาติ
จึงหวังว่ามหาวิทยาลัยและผู้ที่จบการศึกษาออกไปคนเหล่า
นี้จะเป็นทั้งคนเก่งและคนดี ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
ให้มีนิสัยใฝ่รู้ มีความสามารถทั้งในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา
และริเริ่มสร้างสรรค์ และที่สำคัญเป็นผู้มีจิตสาธารณะ
คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
มีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนมีจิตสำนึก
และความภาคภูมิใจในความเป็นไทย


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในระดับอุดมศึกษานั้น
จะต้องผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพทั้งด้านความรู้
ความสามารถควบคู่ไปกับคุณธรรมด้านต่าง ๆด้วย
ซึ่งการสร้างคนให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี
ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย
ที่เผชิญกับปัญหานี้ เราก็จะต้องสร้างคนรุ่นใหม่
ที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีขึ้นมาให้ได้
เพราะหมายถึงการสร้างอนาคต
ที่มั่นคงของสังคมแล
ะประเทศชาติต่อไปด้วย


"ประเทศชาติต้องการคนดี ซึ่งหมายถึงคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต
มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพและในการดำรงชีวิต
หากประเทศมีแต่คนคดโกงหรือทุจริต ประเทศก็จะอ่อนแอ
ถ้าหากคนเรามีศีลธรรมที่ยึดเหนี่ยว
ปัญหาด้านต่างๆ ที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบันก็คงจะน้อยลง
เราจะต้องเริ่มด้วยการสร้างจิตสำนึกร่วมกันของคนในชาติ
โดยเฉพาะต้องปรับเปลี่ยนความคิดและค่านิยมของคนไทย
เช่น ความคิดที่ว่า
"การทุจริตคดโกงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ขอให้มีผลงาน"
หรือการมีค่านิยมยกย่องให้เกียรติคนรวย
หรือคนมีอำนาจโดยไม่สนใจว่า
ความร่ำรวยและอำนาจนั้นได้มาถูกต้องชอบธรรมหรือไม่
การมีความคิดและค่านิยมเช่นนี้
เป็นต้นตอของการทุจริตคอร์รัปชั่น
ก่อให้เกิดวงจรความเลวร้ายและกร่อน
ทำลายประเทศชาติให้อ่อนแอเสื่อมทรามลง
ผมคิดว่า ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
ซึ่งเข้าไปเป็นกำลังสำคัญด้านต่างๆ
ของประเทศชาติดังกล่าวแล้วนั้น
สามารถจะมีส่วนสำคัญยิ่ง
ในการปลูกฝังสร้างจิตสำนึกแก่คนในชาติในเรื่องนี้ ด้วย
บุคคลเช่นท่านทั้งหลายในที่นี้ ซึ่งจะมีฐานะต่าง ๆ ต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร
ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ประกอบการ
หากประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง ซื่อตรง
มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในฐานะต่าง ๆ เหล่านั้นแล้ว
ก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนอื่นๆ ต่อไปด้วย" นายกรัฐมนตรี กล่าว

-------------------------------
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
วิไลวรรณ/รายงาน
พัชรี/ถ่ายภาพ



ภายหลังคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
ในคดีเงิน 29 ล้านบาท ผ่านพ้นไป

นายกรัฐมนตรี ในขณะนี้ก็ยังชื่อ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ'
ที่จะนำพรรคประชาธิปัตย์สู้ศึกเลือกตั้ง ในปีหน้าต่อไป
แต่อยากบอกไว้ตรงนี้ซักนิดว่า...
ขอให้ระมัดระวังในการหาเสียงเลือกตั้งซักหน่อย
เพราะกลัวมือดีอาจ
จะ
ปล่อยคลิปอะไรออกมาอีกหลังเลือกตั้ง

ซึ่งหากพบว่าเป็นการทุจริตเลือกตั้ง
งานนี้ไม่ใช่แค่ยุบพรรค


ขอยกคำวินิจฉัยข
องศาลรัฐธรรมนูญ
มาลงไว้ ณ ทีนี้อีกรอบ

ตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติ 4 ต่อ 2
ยกคำร้องคดีฟ้องยุบพรรคประชาธิปัตย์

ในคดีเงินบริจาค 29 ล้านบาท
โดยวินิจฉัยในประเด็นกระบวนการยื่นคำร้อง

ให้ศาลรัฐธรรมนูญชอ
บด้วยกฎหมายหรือ ไม่
เพียงประเด็นเดียว โดยเห็นชอบว่า กกต.
ทำตามกระบวนการโดยให้นายทะเบียนพรรคการเมือง
ได้พิจารณาและส่งยื่นคำร้อง นั้นถูกต้อง
แต่โดยระยะเวลานั้นไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

ซึ่งนับจากวันที่ทราบว่า มีการกระทำความผิด
ให้ยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 15 วัน แต่ กกต.ยื่นล่ากว่ากำหนด
โดยรับทราบข้อเท็จจริงต่อเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553
และเมื่อมีการไต่สวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง
นับตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค. 2552 จึงเท่ากับว่า
กกต.ยื่นล่าช้ากว่ากำหนด ศาลรัฐธรรมนูญ
จึงวินิจฉัยยกคำร้องด้วยจำนวน 4 ต่อ 2
โดยใช้เวลาอ่านคำวินิจฉัยเพียงประมาณ 40 นาที

อย่างไรก็ตาม การตัดสินวันนี้เป็นแค่ยกแรก
ที่ทำให้ประชาธิปัตย์ต่อลมหายใจได้เท่านั้น
เพราะยังมีอีกคดีที่ค้างคาอยู่ คือ เงินบริจาค 258 ล้านบาท
ไม่อยากฟันธงตรงนี้ แต่บอกได้คำเดียวว่า พรรคนี้ของเขาดีจริง!!!

ชื่อ-สกุล : อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ชื่อเล่น : มาร์ค

นามแฝง/ฉายา : โอบามาร์ค

วันที่เกิด : 3 สิงหาคม 2507

ประวัติครอบครัว :
- บิดา : ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- มารดา : ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ
- เป็นบุตรคนเล็ก ในจำนวนพี่น้อง 3 คน
ชื่อพี่น้อง
- 1. ศ.พญ.อลิสา เวชชาชีวะ สมรสกับ นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ มีบุตรชาย 2 คน
1. นายพศุตม์ วัชรสินธุ (อะตอม)
2. นายพริษฐ์ วัชรสินธุ (ไอติม)
- 2. น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ
- 3. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.ทพญ.พิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย (แตงโม) สมรส ปี 2531
มีบุตร-ธิดา 2 คน ชื่อ
1. น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง)
2. นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (น้องปัณณ์)

การศึกษา และดูงาน :
- ปี 2519
ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ
- ปี 2525
มัธยมศึกษาที่ Eton College ประเทศอังกฤษ
- ปี 2529
ปริญญาตรี สาขาปรัชญาการเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE)
(เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด
- ปี 2531
ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปี 2533
ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
(นักเรียนทุนของมหาวิทยาลัย)
- ปี 2549
ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ตำแหน่งปัจจุบัน :
- 5 มีนาคม 2548
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- 23 ธันวาคม 2550
ส.ส. ระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 พรรคประชาธิปัตย์
- 17 ธันวาคม 2551
นายกรัฐมนตรี คนที่ 27

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
- 2530-2531
อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(จปร.)
เขาชะโงกจังหวัดนครนายก
- 2532
อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 22 มีนาคม 2535
ส.ส. กทม. เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 1
- 13 กันยายน 2535
ส.ส. กทม. เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 2 (ยุบสภา 19 พ.ค.2538)
- 13 ตุลาคม 2535
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ลาออก 13 ต.ค.2537)
- 19 ตุลาคม 2535
กรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- 15 ตุลาคม 2535
กรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน
- 25 ตุลาคม 2535
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาล นายชวน หลีกภัย)
- 16 ธันวาคม 2537
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
- 2 กรกฎาคม 2538
ส.ส. กทม. เขต 5 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 3 (ยุบสภา 27 ก.ย.2539)
- 8 สิงหาคม 2538
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา
- 17 พฤษภาคม 2539
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- 17 พฤศจิกายน 2539
ส.ส. กทม. เขต 5 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 4
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- 19 ธันวาคม 2539
กรรมาธิการการเศรษฐกิจ
- 14 พฤศจิกายน 2540
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- 6 มกราคม 2544
ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์ (สมัยที่ 5)
- 20 เมษายน 2546
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- 10 กุมภาพันธ์ 2548
รักษาการ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- 6 กุมภาพันธ์ 2548
ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์
- 5 มีนาคม 2548
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- 23 เมษายน 2548
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- 23 ธันวาคม 2550
ส.ส. ระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 พรรคประชาธิปัตย์ 2 กลุ่ม 6
( กทม.นนทบุรี, สมุทรปราการ)
- 27 กุมภาพันธ์ 2551
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- 17 ธันวาคม 2551
นายกรัฐมนตรี คนที่ 27

อื่น ๆ : ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)