๏ธ เสด็จสวรรคตคล้อย ครบวัน นี้นา
ฉัฎฐธีรมหาราชัน เลื่องหล้า
ยอดปราชญ์ฉลาดสรรพ์ ศิลป ศาสตร์เฮย
เทิดพระเกียรติเกริกฟ้า โลกซ้องสรรเสริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า
หนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ"
(รพินทร์ พันธุโรทัย ร้อยกรอง)
ฉัฎฐธีรมหาราชัน เลื่องหล้า
ยอดปราชญ์ฉลาดสรรพ์ ศิลป ศาสตร์เฮย
เทิดพระเกียรติเกริกฟ้า โลกซ้องสรรเสริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า
หนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ"
(รพินทร์ พันธุโรทัย ร้อยกรอง)
http://teetwo.blogspot.com/2009/11/100.html
วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์
อย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติ
ทั้งในด้านการคมนาคม การปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ
รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านวรรณคดี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
ภายในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที
โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน
ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวม
พระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา
และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา
แต่รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์
กำหนดวันสวรรคตของรัชกาลที่ 6
เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน
และถือว่าวันพระมหาธีราชเจ้า ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง
ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา
ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา
การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุด คือ
ด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์
ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง
กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า
"สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน
พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล
แต่ได้ทรงมีการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน
ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว
และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็
เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ
จึงทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่ง แรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี
ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน
เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก
เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ
และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า เมื่อเสร็จงานแล้ว
จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรื อผู้แทนพระองค์
จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์
ณ สวนลุมพินี มีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา
พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ
ในพ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม
ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี
และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก
วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์
อย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศชาติ
ทั้งในด้านการคมนาคม การปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ
รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านวรรณคดี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
ภายในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที
โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน
ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวม
พระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา
และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา
แต่รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์
กำหนดวันสวรรคตของรัชกาลที่ 6
เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน
และถือว่าวันพระมหาธีราชเจ้า ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง
ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา
ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา
การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุด คือ
ด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์
ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง
กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า
"สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน
พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล
แต่ได้ทรงมีการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน
ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว
และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็
เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ
จึงทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่ง แรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี
ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน
เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก
เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ
และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่า เมื่อเสร็จงานแล้ว
จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรื อผู้แทนพระองค์
จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์
ณ สวนลุมพินี มีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา
พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ
ในพ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม
ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี
และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก