Custom Search

Jul 21, 2008

ประวัติสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย


พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง
โรงเรียนแพทย์ขึ้น ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
และเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล






พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้น
เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



พ.ศ. 2460 ถือกำเนิดโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรม ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้น
เป็น
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


พ.ศ. 2460 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้น เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง"
ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้



พ.ศ. 2477 ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)
โดยศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น
ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



พ.ศ. 2486 โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้น
เป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร



พ.ศ. 2492 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถือกำเนิดขึ้นจากการผลักดันของ

ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งท่านเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


พ.ศ. 2498 จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ตามพระราชบัญญัติ
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา



พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้ร่วมก่อตั้ง
โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ “เทคนิคไทย–เยอรมัน”
ต่อมาพัฒนาเป็น
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


พ.ศ. 2503 ก่อตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาพัฒนาเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง



พ.ศ. 2503 ก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


พ.ศ. 2503 รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้ง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



พ.ศ. 2505 ได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์
และเกษตรศาสตร์ ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เสนอชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า
สถาบันเทคนิคขอนแก่น และเสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า
KhonKaen Institute of Technology มีชื่อย่อว่า K.I.T
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในเวลาต่อมา


พ.ศ. 2510 ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


พ.ศ. 2510 ได้จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก
ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร


พ.ศ. 2511 ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม

ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



พ.ศ. 2511 จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา ตามพระราชบัญญัติ
วิทยาลัย
วิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น
มหาวิทยาลัยทักษิณ



พ.ศ. 2514 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมาตั้งแต่พ.ศ. 2514 ณ บริเวณที่ดินทั้งหมดประมาณ 300 ไร่เศษ ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย
แบบตลาดวิชา

พ.ศ. 2521 รัฐบาลดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกลซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช"
ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา"
และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7
ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย




พ.ศ. 2522 ส.ส.นครศรีธรรมราชเริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์



พ.ศ. 2527 ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอให้ รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่

ในส่วนภูมิภาค 5
แห่งโดยวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้ใช้ชื่อว่า

“วิทยาลัยสุรนารี"
และพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


พ.ศ. 2530 ได้จัดตั้ง วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


พ.ศ. 2540 คณะกรรมการกลั่นกรองงานฝ่ายสังคมของรัฐบาลในสมัยที่
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี มอบให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยใหม่



Jul 18, 2008

"สมเด็จย่า"









คอลัมน์ ระดมสมอง
คนไท ประชาชาติธุรกิจ
3 พฤศจิกายน 2548
ปีที่ 29 ฉบับที่ 3737 (2937)


วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
หรือที่ชาวไทยขานพระนาม ด้วยหัวใจเทิดทูนเคารพรักยิ่งว่า
"สมเด็จย่า"
พระนามเดิมว่า "สังวาลย์"
ได้มีพระประสูติกาลในครอบครัวของพระชนก ที่มีพระนามว่า "ชู"
และพระชนนีที่มีพระนามว่า "คำ" ซึ่งเป็นครอบครัวที่มีอาชีพช่างทอง
ตั้งนิวาสถานอยู่ที่ธนบุรีละแวกวัดอนงคาราม
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงกำพร้าพระชนกตั้งแต่มีพระชนมายุไม่มากนัก
ต่อมาพระญาติได้นำขึ้นถวายตัวเป็นข้าหลวงรุ่นเด็ก ของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ครั้นเมื่อมีพระชนมายุได้ 9 พรรษา
ก็ทรงกำพร้าพระชนนีอีก จึงทรงอยู่ในพระอุปการะของสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ
และสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ตลอดมา
ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราชจน
ครบหลักสูตร 3 ปี สามารถประกอบอาชีพได้ การที่ทรงเลือกศึกษาสายอาชีพ
ด้านนี้ถูกกับพระนิสัยมากเพราะทรงสุภาพอ่อนโยน มีพระเมตตาและขันติธรรม
ทรงเอื้ออาทรต่อบุคคลทั่วไป
การที่ทรงศึกษาตามเส้นทางอาชีพสายนี้จะว่าเป็นพระราชบุพเพสันนิวาสบันดาลก็เป็นได้
เพราะในเวลาต่อมาไม่กี่เดือนสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ ได้พระราชทานทุนเล่าเรียน
เพื่อคัดเลือกนักเรียนพยาบาล ส่งไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา
ตามพระประสงค์ของพระราชโอรสคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
กรมขุนสงขลานครินทร์ (พระยศในขณะนั้น) ซึ่งทรงส่งเสริมการศึกษาด้านการแพทย์
และการพยาบาลจนถึงขนาดที่พระองค์เอง
ได้ทรงตั้งทุนเล่าเรียนด้านการแพทย์อีกส่วนหนึ่งด้วย
ในขณะที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์กำลัง
ทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนี้
อธิบดีกรมสาธารณสุขได้คัดเลือกนางสาวสังวาลย์และนักเรียนพยาบาล
อีกผู้หนึ่งส่งไปศึกษาต่อ เป็นเหตุให้ได้เฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
ซึ่งทรงเป็นผู้ดูแลนักเรียนทั้งสองไปโดยปริยาย
ด้วยเหตุที่เป็นนักเรียนทุน ของพระราชมารดา
เมื่อพิจารณาถึงข้อที่ว่าสมเด็จพระศรีนครินทราฯ ได้เคยเป็น
ข้าหลวงสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
พระเชษฐภคินีมาก่อนประกอบกับการที่มีพระสิริโฉมและพระจริยวัตรอันงดงาม
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์จึงทรงคุ้นเคย เสด็จไปทรงเยี่ยมบ่อยครั้ง
จนกลายเป็นที่สนิทเสน่หาในเวลาต่อมา
และเมื่อได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสกสมรสตาม
กฎมณเฑียรบาล จนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
นางสาวสังวาลย์ จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย และมีพิธีอภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463
พระนามที่เรียกขานในเวลานั้นคือหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา
เมื่ออภิเษกสมรสแล้ว ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา
เฉพาะสมเด็จพระศรีนครินทราฯนั้นได้ทรงศึกษาหลักสูตรเตรียมพยาบาล
ที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์
ต่อมาก็ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรการสาธารณสุขเกี่ยวกับโรงเรียนที่สถาบัน เอ็ม. ไอ. ที.
ครั้นถึง พ.ศ. 2465 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
ทรงพระประชวรพระวักกะ (ไต) ทั้งสองพระองค์ต้องเสด็จกลับประเทศไทยอีกครั้ง
เพื่อตามเสด็จพระเชษฐภคินีออกไปรักษาพระองค์ที่อังกฤษ
ใน พ.ศ. 2466 ราชสกุลมหิดลก็ได้ประสูติที่อังกฤษนั้นเอง
ได้รับพระราชทานพระนามว่า "ม.จ.กัลยาณิวัฒนา" ซึ่งในปลายปีเดียวกัน
ครอบครัวมหิดลทั้ง 3 พระองค์ก็ได้เสด็จกลับประเทศไทยอีก
โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ได้ทรงรับราชการในกระทรวงธรรมการ
ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและข้าหลวงสำรวจการศึกษาทั่วไป
รวมทั้งได้ทรงเป็นอาจารย์ในที่ต่างๆ หลายแห่งจนพระสุขภาพทรุดโทรมอย่างหนัก
แพทย์จึงได้ถวายความเห็นให้เสด็จไปรักษาพระองค์ในต่างประเทศ
จึงได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมนี เมื่อกลาง พ.ศ. 2468
ในปีเดียวกันนั้นเอง "ม.จ.อานันทมหิดล" สมาชิกพระองค์ใหม่แห่งราชสกุลมหิดล
ก็ประสูติที่เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ต่อมาได้ทรงย้ายไปประทับ
ที่มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา อีกครั้งหนึ่งเพื่อทรงศึกษาต่อ
สมเด็จพระศรีนครินทราฯทรงเข้าศึกษาวิชาคหกรรมศาสตร์ ณ วิทยาลัยซิมมอนส์
ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ซึ่งต่อมาได้เฉลิมพระยศ
เป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์และ
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก
ก็ได้ทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดต่อ
จนทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาเกียรตินิยม
และในปี 2470 นั้นเองพระโอรสองค์สุดท้าย
ก็ได้ประสูติที่โรงพยาบาลในเมืองเคมบริดจ์ ตามพระบรมราชโองการ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่มีมาก่อนหน้านั้น
ม.จ.กัลยาณิวัฒนาและ ม.จ.อานันทมหิดล ได้เลื่อนพระยศ
เป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ส่วนพระโอรสองค์ใหม่ที่เพิ่งประสูติ ภายหลังพระบรมราชโองการ
จึงได้ดำรงพระยศเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"
มาแต่แรกประสูติและได้รับพระราชทานพระนามว่า "ภูมิพลอดุลยเดช"
ใน พ.ศ. 2471 ครอบครัวมหิดลได้เสด็จกลับประเทศไทยด้วยความสำเร็จ
ทั้งในส่วนการศึกษาและชีวิตครอบครัว โดยเฉพาะสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์
นั้นทรงเป็น "นายแพทย์" ที่สมบูรณ์ และพร้อมที่จะทรงงานด้านการแพทย์
การสาธารณสุข ในเวลานั้นต้องถือว่าดำรงพระอิสริยยศสูง
และจัดอยู่ในลำดับผู้ทรงสิทธิสืบราชสันตติวงศ์เป็นลำดับแรกด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ทรงงานด้วยพระวิริยะอุตสาหะและทรงเสียสละอย่างแรงกล้า
เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ทนทุกขเวทนาด้วยโรคภัยไข้เจ็บ
พระสุขภาพก็ทรุดโทรมลงอย่างหนัก จนสิ้นพระชนม์ ณ พระตำหนักวังสระปทุม
เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472
นับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ต้องทรงเป็นทั้งพระชนกและพระชนนีของพระโอรสธิดา 3 พระองค์
ต้องถวายพระอภิบาลและทรงอนุสาสน์สั่งสอนทั้งในส่วนการศึกษาเล่าเรียน
และความประพฤติการปฏิบัติพระองค์ ดังที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเคยตรัสเล่าในเรื่องต่างๆ ดังนี้
"สมเด็จพระพันวัสสาฯจะไม่ทรงเลี้ยงและแนะนำในชีวิตประจำวัน
จะทรงแนะนำในสิ่งที่สำคัญๆ เพราะทรงเกรงใจแม่ ทรงเห็นว่าแม่เลี้ยงอย่างมีระเบียบ
อย่างมีหลักวิชา ท่านก็ว่าต้องไม่ยุ่งด้วย คือเขาเลี้ยงของเขาตามแบบที่ถูกแล้ว"
"แม่ก็ได้เลี้ยงเราให้เป็นเด็กที่ดี เป็นเด็กที่มีมารยาท เมื่อเปลี่ยน (สถานะ)
แล้วก็เป็นเช่นเดิม คือต้องเป็นคนที่มีมารยาทดี นอบน้อมกับผู้ใหญ่
หรือแสดงตัวให้เรียบร้อยกับคนอื่น"
"แม่แทบจะไม่ต้องบอกว่า อย่าอยู่เฉยๆ เพราะเราทุกคนชอบทำอะไรกันเอง
ชอบคิดหาเกมเล่นกันเอง มีที่จะทำอะไรอยู่เสมอ บางทีตรงข้าม แม่จะต้องบอกพักเสีย...
อย่างไรก็ดี แม่ก็สนับสนุนให้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์
อย่างที่บ้านวิลล่าวัฒนา ใต้ถุนบ้านจะมีที่ทำเครื่องไม้ให้ทำงานไม้ได้ มีอุปกรณ์ครบ"
"ส่วนพระนิสัยอื่นๆ ที่ท่านได้ปลูกฝังนั้น ท่านก็ไม่ได้บอกว่านี่แม่จะมาสั่งสอน
เรื่องนั้นเรื่องนี้ ท่านเล่าไปถึงเรื่องคนนั้นคนนี้
และชี้ให้เห็นว่าคนนั้นน่าสงสารอะไรอย่างนี้แล้วท่านจะสอนคำว่าเมตตา กรุณา
แปลว่าอะไร คือเอาตัวอย่างเป็นนิทานหรือเรื่องจริงมาเล่าให้ฟังก่อน
และให้เข้าใจคำพวกนี้โดยแท้จริง"
"ในการประหยัดนั้นก็ได้จัดให้มีเงินค่าขนม...สัปดาห์ละครั้งตามอายุและก็ได้ไม่มากนัก
พอที่จะซื้อขนม พวกลูกกวาดหรือช็อกโกแลต แต่อาจจะซื้อหนังสือหรือของเล่น
ซึ่งของพวกนี้ต้องซื้อเอง...เราอยากได้อะไรก็ขอไป บอกว่า อยากได้ของเล่นพวกนี้
ท่านก็บอกว่า ถึงวันเกิดจะซื้อให้ จะไม่ซื้อพร่ำเพรื่อ"
ในด้านการเสวย การประทับ พระองค์โปรดความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ไม่หรูหรา
แม้เมื่อประทับที่สวิตเซอร์แลนด์ในระยะหลังก็ประทับในอพาร์ตเมนต์ไม่ใหญ่โตกว้างขวาง
และพอพระทัยที่จะทรงปฏิบัติอย่างชาวพื้นเมืองธรรมดาทั่วไป
การไปประทับในสวิตเซอร์แลนด์ก็เนื่องด้วยพระสุขภาพเป็นเรื่องใหญ่กว่า
เพราะเหตุอื่นดังที่เคยรับสั่งว่า เหมือนการเสด็จไปทรง "ชาร์จแบตเตอรี่"
เพื่อกลับมาทรงงานในประเทศไทยต่อ ซึ่งเมื่อเวลาเสด็จกลับมา
ภาพที่เราพบเห็นเสมอคือการที่เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่โน่นที่นี่ด้วยเฮลิคอปเตอร์
ไม่ได้ทรงอยู่ว่างเฉย และไม่โปรดที่จะประทับในกรุงเทพมหานคร
การปรากฏพระองค์ในท้องที่ทุรกันดารต่างๆ คือ "ขวัญและกำลังใจ"
ของผู้ปฏิบัติงานและประชาชนโดยแท้
อันที่จริงแล้ว การประทับอยู่ว่างเฉยมิใช่พระอัธยาศัย ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า
แม้ขณะประทับในสวิตเซอร์แลนด์ ก็โปรดการทรงพระอักษร
ทรงเข้าพระทัยภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ตลอดจนภาษาสันสกฤตอย่างดี
โปรดการปั้นพระพุทธรูป การปักภาพ การทำบัตรดอกไม้แห้งและงานศิลปะอื่นๆ
เพื่อพระราชทานบุคคลต่างๆ ดังที่รับสั่งว่าเวลาเป็นของมีค่า
ในระยะหลัง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีประทับที่พระตำหนักดอยตุง
จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีทัศนียภาพสวยงามอากาศเย็นสบายถูกกับพระสุขภาพ
เหมาะแก่การสำราญพระราชอิริยาบถและการทรงงานด้านเกษตร ดังเคยรับสั่งว่า
จะเสด็จไปปลูกป่าที่ดอยตุง
ซึ่งก็ได้กลายเป็นโครงการระดับชาติที่บุคคลทุกวงการร่วมกันจัดปลูกป่าไม้ขึ้นใหม่
น้อมเกล้าฯถวายในเนื้อที่มหาศาลของดอยตุงให้เขียวขจีร่มรื่น ซึ่งมิใช่จะเป็นประโยชน์
แก่ประชาชนในภาคเหนือโดยตรงเท่านั้น
แต่จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นส่วนรวมในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานไทยทั้งมวล
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงยิ่งด้วยพระบุญญาธิการยากจักหาผู้ใดเสมอ
พระองค์ได้เจริญพระชนมายุมาถึง 5 รัชกาลแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า
ทรงผ่านเหตุการณ์ทั้งที่เป็นความสุข และที่นำมาซึ่งความวิปโยค
จนทรงเข้าพระทัยได้ดีถึงสภาพอันเป็นธรรมดาของโลก
ทรงดำรงพระองค์ได้หมดจดงดงามตั้งแต่เป็นกุลสตรีสามัญชน
เป็นหม่อมในสมเด็จเจ้าฟ้า เป็นพระราชชนนี สมเด็จพระราชชนนี
จนถึงเมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
สถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีใน พ.ศ. 2513
บัดนี้ทรงสถิตในที่อิสริยยศสูงยิ่งในพระบรมราชจักรีวงศ์
แต่ก็มิได้ทรงหวั่นไหวในความเปลี่ยนแปลงใด
กลับมีแต่จะทรงหนักแน่นมั่นคงในพระเมตตากรุณาธิคุณ พระขันติธรรม
และพระราชคุณธรรมอันได้ทรงบำเพ็ญอยู่แล้วมาโดยตลอด
ไม่เสื่อมคลายตราบจนสิ้นพระชนม์
ท่ามกลางความเศร้าโศกอาดูรของชาวไทยทั้งมวล
ลำพังแต่เพียงพระราชสถานะในที่สมเด็จพระบรมราชชนนี
ผู้ทรงคุณูปการของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐถึง 2 รัชกาล
ก็นับว่าทรงบุญญาธิการเป็นที่เคารพเทิดทูนของประชาชนอย่างเหลือล้นแล้ว
เมื่อประกอบเข้ากับพระราชกรณียกิจอันได้บังเกิดประโยชน์แก่บ้านเมืองและประชาชน
เป็นอเนกปริยาย ก็ยิ่งเพิ่มพูนความเคารพรักเทิดทูนของประชาชน
ให้แน่นแฟ้นมั่นคงยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ
วันนี้ ถึงแม้ว่าพระองค์ท่านจะทรงสถิตในที่สวรรค์สูงสุดแล้ว
แต่ปวงชนชาวไทยยังคงจดจำได้ถึงภาพพระองค์ท่าน
ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อทุกผู้คนและต่อผู้ยากไร้
ยากจะลืมเลือนไปได้เลย

Jul 10, 2008

สามก๊ก : ศึกเช็กเพ็ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ


เรื่องราวใน Red Cliff เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 208 ในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น
แม้จะมีจักรพรรดิ คือพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่แผ่นดินก็แบ่งออกเป็นก๊กเป็นเหล่ามากมาย
ขุนศึกและผู้สำเร็จราชการผู้ทะเยอทะยาน โจโฉ ใช้จักรพรรดิเป็นเครื่องมือ
ประกาศสงครามกับดินแดนจ๊กก๊กทางตะวันตกที่ปกครองโดยเล่าปี่
ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของจักรพรรดิ
เป้าหมายของโจโฉคือกำจัดทุกก๊กให้ราบคาบเพื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียว
และตั้งตนเป็นจักรพรรดิ
ล่าปี่ส่งขงเบ้ง ที่ปรึกษาของเขาไปยังดินแดนง่อก๊กทางใต้ในฐานะทูตสันถวไมตรี
เพื่อโน้มน้าวให้ซุนกวน ผู้นำง่อก๊ก เข้าร่วมเป็นพันธมิตรทำสงครามกับโจโฉที่นั่น
ขงเบ้งได้พบกับจิวยี่ ที่ปรึกษาแห่งง่อก๊กและกลายเป็นมิตรกันท่ามกลางไฟสงคราม
ที่กำลังคุกรุ่น
เมื่อได้รู้ว่าสองก๊กรวมตัวเป็นพันธมิตรกัน โจโฉก็โกรธมาก
และรวบรวมกำลังพลกว่า 8 แสนนาย พร้อมด้วยเรืออีกกว่า 2 พันลำ
มุ่งหน้าลงใต้หวังฆ่านกสองตัวด้วยก้อนหินก้อนเดียว
กองทัพของโจโฉตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่ป่าอีกา (Crow Forest หรือ อู่หลิม)
ริมฝั่งแม่น่ำแยงซี โดยที่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำคือผาแดง (Red Cliff)
ฐานที่มั่นของฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยเสบียงอาหารที่ขาดแคลนและกองทัพจำนวนมหาศาล
ของโจโฉ

ฝ่ายสัมพันธมิตรดูเหมือนจะตกที่นั่งลำบาก
จิวยี่และขงเบ้งจึงต้องร่วมกันใช้ปฏิภาณเพื่อเปลี่ยนกระดานศึก
สงครามครั้งนี้เต็มไปด้วยการต่อสู้ทั้งเชิงบู๊และเชิงบุ๋น, ทั้งในน้ำและบนบก
จึงกลายเป็นสงครามที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์จีน
ที่ซึ่งเรือสองพันลำถูกเผาวอดวาย
และเป็นเหตุให้ประวัติศาสตร์จีนเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
สงครามดังกล่าวนั้นก็คือ “ศึกผาแดง” นั่นเอง
ศึกผาแดงได้รับการถ่ายทอดให้เป็นอมตะในวรรณกรรมเรื่อง "สามก๊ก"
(The Romance of Three Kingdom)
แม้จะถูกเขียนขึ้นกว่า 700 ปีแล้ว แต่สามก๊กก็ยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจาก
นักอ่านทั่วเอเชีย และขยายวงกว้างกลายเป็นวิดีโอเกมส์
และหนังสือการ์ตูนมากมาย ผู้กำกับ จอห์น วู
สนใจวรรณกรรมเรื่องนี้มากว่า 20 ปีแล้ว
แต่ตอนนั้นเทคโนโลยีและตลาดหนังยังไม่เอื้อต่อ
ภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ขนาดนี้
กระทั่งฤดูร้อนปี 2004 โอกาสก็มาถึงเขา
เมื่อผู้อำนวยการสร้างคู่บุญ เทอเรนซ์ จาง
เดินทางไปปักกิ่งเป็นครั้งแรก และเริ่มวางแผนระดมทุน
และงานสร้างด้วยกัน


เรื่องย่อสามก๊ก โจโฉ แตกทัพเรือ

เรื่องราวเปิดฉากขึ้นใน ค.ศ. 208 ช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น
แม่ทัพโจโฉผู้ชาญฉลาด (ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งอาณาจักรฮั่น)
ชักจูงจักรพรรดิเหี้ยนเต้ที่อ่อนแอให้ประกาศสงครามกับง่อก๊กทางตะวันตกและตะวันออก
และจ๊กก๊กทางใต้ โดยอ้างว่าจุดประสงค์ของเขาคือรวมประเทศจีนให้เป็นหนึ่งเดียว
ซึ่งเป็นผลดีต่อราชวงศ์ฮั่น แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของเขาคือการตั้งตนเป็นใหญ่
หลังจากโน้มน้าวพระเจ้าเหี้ยนเต้ได้สำเร็จ โจโฉก็นำกองทัพนับล้านสู่สงคราม
เป้าหมายแรกของเขาคือจ๊กก๊ก อาณาจักรที่เพิ่งสถาปนาขึ้นใหม่โดยผู้นำจิตใจเมตตา
นามว่าเล่าปี่ เมื่อยกทัพมาถึงจ๊กก๊ก
กองกำลังของโจโฉก็ตีทัพใหญ่ของเล่าปี่แตกอย่างง่ายดาย
ทำให้เล่าปี่ต้องอพยพราษฎรหลบหนีออกจากเมืองซินเอี๋ย
ภายใต้การคุ้มกันของกองทหารและสองขุนพลเอก กวนอู และเตียวหุย
น้องชายร่วมสาบานของเล่าปี่ที่คอยเสี่ยงชีวิตระวังหลังให้ไพร่พลตลอดทาง
ขณะเดียวกัน จูล่ง ขุนศึกของเล่าปี่ ได้นำทารกบุตรชายของเล่าปี่ใส่ไว้ในชุดเกราะ
แล้วควบม้าฝ่ากองทัพของโจโฉ
โดยฆ่าทหารของโจโฉเท่าที่จะทำได้ เพื่อนำบุตรชายไปส่งคืนให้เล่าปี่
หลังจากยืดหยัดต่อสู้กับโจโฉเยี่ยงวีรบุรุษ กวนอู, เตียวหุย
และกองทหารก็ลี้ภัยตามเล่าปี่ไปพร้อมประชาชนที่เหลือ

บัดนี้แม่น้ำแยงซีเกียงเป็นปราการธรรมชาติเพียงอย่างเดียวที่ป้องกัน
ไม่ให้กองทัพขนาดมหึมาของโจโฉเคลื่อนตามมาได้
พวกเขารู้ดีว่าไม่ช้าก็เร็ว กองกำลังของโจโฉต้องตามมาและฆ่าทุกคนอย่างแน่นอน
จึงไม่มีทางอื่นนอกจากส่งขงเบ้ง ไปเป็นตัวแทนเจรจากับง่อก๊ก
เพื่อสร้างกองทัพพันธมิตรทำสงครามกับโจโฉ
เมื่อเดินทางมาถึงอาณาจักรอันเฟื่องฟูของง่อก๊ก
ปรากฎว่าข้อเสนอของขงเบ้งถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใยจากกษัตริย์วัย 26 ปี ซุนกวน
และสภาที่ปรึกษาของเขา แต่โลซก ที่ปรึกษาคนหนึ่งของซุนกวนบอกขงเบ้งว่า
ถ้าจะให้ซุนกวนยินยอม ต้องโน้มน้าวจิวยี่
ขุนพลคนสำคัญของเขาให้เห็นด้วยก่อน
ขงเบ้งจึงเดินทางไปหาจิวยี่ที่สนามซ้อมรบในผาแดง
ซึ่งจิวยี่กำลังฝึกกองทหารชั้นเลิศของเขาอยู่กับกำเหลง
คืนนั้น จิวยี่กับขงเบ้งแสดงฝีมือการดีดพิณร่วมกัน
และปรึกษากันเรื่องสงคราม นอกจากนี้ ขงเบ้งยังได้พบกับเสี่ยวเกี้ยว
ภรรยาของจิวยี่ที่ได้ชื่อว่าเป็นสตรีที่สวยที่สุดในประเทศจีน
ซึ่งบิดาของเสี่ยวเกี้ยวนั้นมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับโจโฉมาเป็นเวลานานหลายปี
หลังจากผูกมิตรกันในคืนนั้น จิวยี่และขงเบ้งก็กลับไปหาซุนกวนอีกครั้ง
และโน้มน้าวให้เขายอมร่วมมือกับเล่าปี่ เพื่อประโยชน์ของอาณาจักร
ประกอบกับเวลานั้น โจโฉได้ส่งสารถึงซุนกวนขอให้เขายอมแพ้อย่างเป็นทางการ
ซุนกวนจึงตกลงเปิดสงครามกับโจโฉด้วยความโมโห
โจโฉที่กำลังกระหายศึก ส่งทหารเอก แฮหัวเอี๋ยน
พร้อมด้วยกำลังทหารไปโจมตีฝ่ายพันธมิตรบนหลังม้า
แต่จิวยี่และขงเบ้งคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว และเตรียมพร้อมรับมือเต็มที่
แฮหัวเอี๋ยนถูกจู่โจมโดย ซุนฮูหยิน น้องสาวทอมบอยของซุนกวนก่อน
และเกิดความโมโห จึงควบม้าไล่ตามเธอไปจนติดกับ
จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรก็ใช้กลศึกอันแยบยลจัดการกับเหล่าทหารของแฮหัวเอี๋ยน
จนยอมแพ้ ตัวแฮหัวเอี๋ยนนั้นได้รับการไว้ชีวิต
และเดินทางกลับค่ายด้วยความอับอาย จิวยี่ได้รับบาดเจ็บไม่น้อย
จากการต่อสู้อย่างองอาจครั้งนี้ ซึ่งเขาได้ช่วยชีวิตจูล่งไว้ด้วย
กองทัพง่อก๊กที่ยังคงฮึกเหิมกับชัยชนะ ตั้งค่ายอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียงทางตอนใต้
ใกล้บริเวณหุบเขาสูงชันที่เรียกว่า “ผาแดง” ส่วนทางตอนเหนือของแม่น้ำ
ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกันพอดี
โจโฉได้สร้างป้อมปราการสูงชันที่กลางค่ายอย่างโออ่า
ในบริเวณที่เรียกว่า “ป่าอีกา” พร้อมกับล้อมรั้วตั้งค่ายเรือรบจำนวนกว่า 2 พันลำ
แต่ขณะที่ทหารกำลังเตรียมพร้อมรับศึกอยู่นั้น
โจโฉกลับบอกให้ทหารของเขาเล่น “ฉูจู้” หรือกีฬาโบราณลักษณะคล้ายฟุตบอล
ซุนฮูหยิน น้องสาวของซุนกวนผู้มีนิสัยกล้าหาญเยี่ยงนักรบ
ได้ออกเดินทางข้ามแม่น้ำและปลอมตัวเป็นทหารของโจโฉเพื่อสอดแนมและสืบข่าว
โดยผูกมิตรกับทหารหนุ่มชื่อซุนซูฉาย จนได้ร่วมเล่นในทีมฉูจู้ด้วย
แต่แล้วโจโฉก็ประสบปัญหา เมื่อทหารหลายนายของเขาที่ไม่คุ้นเคย
กับสภาพแวดล้อมทางตอนใต้ ล้มป่วยจากโรคระบาดร้ายแรง
เมื่อเห็นว่าโรคระบาดทำให้กองทหารของเขาล้มตายจำนวนมาก
โจโฉก็ส่งศพติดเชื้อลอยไปทางฝั่งตรงข้ามหวังให้ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรล้มป่วย
แม้จิวยี่กับขงเบ้งจะรีบลงมือแก้ไขอย่างรวดเร็ว
แต่ก็ยังมีทหารจำนวนมากติดเชื้อและล้มป่วย
ส่วนทหารที่เหลือก็เสียขวัญและกำลังใจอย่างหนัก
เล่าปี่ขี่ม้าออกจากค่ายไปพร้อมกับ กวนอู, เตียวหุย และจูล่ง
เหมือนกับจะละทิ้งฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อเสบียงเริ่มขาดแคลน
ขงเบ้งก็คิดแผนอันแยบยลเพื่อทำให้กองทัพของโจโฉอ่อนแอ
เขาล่องเรือเบาบรรทุกหุ่นฟางออกไปยังค่ายเรือรบของโจโฉกลางดึก
เป็นเหตุให้แม่ทัพเรือของโจโฉตกใจสั่งให้ทหารยิงธนูกว่าแสนดอก
ใส่เรือเปล่าของขงเบ้ง รุ่งขึ้นจึงดูเหมือนว่าสองแม่ทัพเรือระดับสูงของโจโฉ
มอบลูกธนูให้ฝ่ายศัตรูเป็นของกำนัล ยิ่งไปกว่านั้น
เมื่อจดหมายปลอมที่จิวยี่เขียนขึ้นบรรยายแผนการยิงลูกธนูแสนดอก
ให้ฝ่ายศัตรูโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ โจโฉก็โกรธมากและสั่งประหารแม่ทัพทั้งสองทันที
ฝ่ายทหารเรือเมื่อได้เห็นแม่ทัพถูกประหารก็เกิดกลัวตายและหลบหนีไป
ทำให้ถูกสั่งฆ่าฐานเอาใจออกห่างเกือบทั้งหมด
แต่แม้จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ โจโฉก็ยังวางแผนจะบุกโจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรในเร็ววัน
โดยออกมากล่าวคำปราศรัยกับทหารเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจของกองทัพคืนมา
ที่ผาแดง จิวยี่ ขุนพลแห่งง่อก๊ก คิดแผนโจมตีกองทัพโจโฉด้วยไฟ
ยุทธวิธีนี้แข็งแกร่งในทางทฤษฎี เพราะเรือรบของโจโฉถูกผูกติดกันเป็นแพ
แต่ทิศทางลมตอนนี้มาจากตอนเหนือ ถ้าใช้ไฟ ลมก็จะพัดกลับมาเผาเรือของง่อก๊ก
ส่วนซุนฮูหยิน เมื่อลวงแผนที่ค่ายมาจากโจโฉสำเร็จ ก็เดินทางกลับมาง่อก๊ก
ซึ่งแผนที่นี้เป็นประโยชน์มากในการวางแผนโจมตีโจโฉ แม้จิวยี่จะทัดทาน
แต่เสี่ยวเกี้ยวก็ยืนยันจะเดินทางไปพบโจโฉเพื่อเกลี้ยกล่อมให้เขาถอยทัพกลับ
หรืออย่างน้อยก็ถ่วงเวลาเขาไว้สักพัก โจโฉที่เอ็นดูเสี่ยวเกี้ยวมาตั้งแต่เด็ก
ตกหลุมรักความงามของเธอทันที
(มีข่าวลือว่าแรงจูงใจที่โจโฉยกทัพมาครั้งนี้คือการชิงตัวเสี่ยวเกี้ยว)
ขงเบ้งกลับมาหาจิวยี่และแจ้งว่า พรุ่งนี้จะเป็นวันที่หนาวที่สุด
และทิศทางลมจะเปลี่ยน ดังนั้นยุทธวิธีไฟจะใช้ได้ผล
กองทัพง่อก๊กจึงเตรียมพร้อมจู่โจม โดยเข้าล้อมค่ายโจโฉอย่างเงียบๆ
และซุ่มลอยเรืออยู่บริเวณผาแดงเพื่อรอเวลาลมเปลี่ยนทิศ
ขณะนั้นเสี่ยวเกี้ยวรับหน้าที่พูดคุยกับโจโฉเพื่อถ่วงเวลาและดึงความสนใจจากเขา
ในที่สุดลมก็เปลี่ยนทิศทางและกองทัพง่อก๊กก็บุกเข้าโจมตี
เรือหลายลำถูกจุดไฟเผาแล้วส่งไปพุ่งชนกองเรือของโจโฉจนไฟลุกโชนทั้งค่าย
จากนั้นทหารของจิวยี่ก็บุกเข้าโจมตีค่ายบนบกของโจโฉซ้ำ
การจู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัวนี้ทำให้โจโฉและทหารตกใจ
แต่กองทหารม้าที่แข็งแกร่งของโจโฉก็เปลี่ยนกระดานศึก
โดยต้อนทัพของง่อก๊กกลับไปยังแม่น้ำหวังกำจัดให้ราบคาบ
ทันใดนั้น เล่าปี่และทหารก็ปรากฎตัวขึ้นมาช่วยตีทัพของโจโฉจนถอยร่นไปอีก
จากนั้นกองกำลังสองก๊กก็ร่วมมือกันโจมตีป้อมปราการของโจโฉ
ส่วนจิวยี่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากจูล่งจนเข้าไปช่วยชีวิตเสี่ยวเกี้ยวได้สำเร็จ
จากป้อมปราการที่กำลังลุกไหม้ ตัวโจโฉนั้นแทบหนีเอาชีวิตไม่รอด
และสงครามครั้งมหึมานี้ก็จบลงที่ชัยชนะของซุนกวนแห่งง่อก๊กและเล่าปี่แห่งจ๊กก๊ก
แทนที่จะตามไปเอาชีวิตโจโฉ ขงเบ้งกลับแนะนำกองทหารให้ปล่อยโจโฉ
กลับไปพบองค์จักพรรดิด้วยความพ่ายแพ้
จากนั้นเขาก็บอกลาจิวยี่และเสี่ยวเกี้ยว
ส่วนโจโฉนั้นมุ่งหน้ากลับบ้านที่ซึ่งบุตรชายกำลังตั้งตารอเขาอยู่