Custom Search

Jul 21, 2008

ประวัติสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย


พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง
โรงเรียนแพทย์ขึ้น ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
และเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล






พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้น
เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



พ.ศ. 2460 ถือกำเนิดโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรม ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้น
เป็น
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


พ.ศ. 2460 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้น เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง"
ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้



พ.ศ. 2477 ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)
โดยศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น
ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



พ.ศ. 2486 โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้น
เป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร



พ.ศ. 2492 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถือกำเนิดขึ้นจากการผลักดันของ

ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งท่านเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


พ.ศ. 2498 จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ตามพระราชบัญญัติ
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา



พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้ร่วมก่อตั้ง
โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ “เทคนิคไทย–เยอรมัน”
ต่อมาพัฒนาเป็น
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


พ.ศ. 2503 ก่อตั้งศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาพัฒนาเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง



พ.ศ. 2503 ก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


พ.ศ. 2503 รัฐบาลชุด จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ลงมติอนุมัติให้จัดตั้ง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



พ.ศ. 2505 ได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์
และเกษตรศาสตร์ ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เสนอชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า
สถาบันเทคนิคขอนแก่น และเสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า
KhonKaen Institute of Technology มีชื่อย่อว่า K.I.T
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในเวลาต่อมา


พ.ศ. 2510 ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


พ.ศ. 2510 ได้จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก
ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร


พ.ศ. 2511 ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม

ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



พ.ศ. 2511 จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาสงขลา ตามพระราชบัญญัติ
วิทยาลัย
วิชาการศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็น
มหาวิทยาลัยทักษิณ



พ.ศ. 2514 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมาตั้งแต่พ.ศ. 2514 ณ บริเวณที่ดินทั้งหมดประมาณ 300 ไร่เศษ ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย
แบบตลาดวิชา

พ.ศ. 2521 รัฐบาลดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกลซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช"
ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา"
และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7
ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย




พ.ศ. 2522 ส.ส.นครศรีธรรมราชเริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์



พ.ศ. 2527 ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอให้ รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยใหม่

ในส่วนภูมิภาค 5
แห่งโดยวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้ใช้ชื่อว่า

“วิทยาลัยสุรนารี"
และพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


พ.ศ. 2530 ได้จัดตั้ง วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ต่อมาพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


พ.ศ. 2540 คณะกรรมการกลั่นกรองงานฝ่ายสังคมของรัฐบาลในสมัยที่
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี มอบให้ทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยใหม่