Custom Search

Feb 24, 2008

เงินๆ ทองๆ กับเศรษฐกิจพอเพียง : Dr. Varakorn Samakoses


วรากรณ์ สามโกเศศ
www.varakorn.com









ที่มา : แพร
ว ปีที่ 28 ฉบับที่ 657
วันที่ 10 มกราคม 2550
http://www.praew.com


เศรษฐกิ
จพอเพียงไม่ใช่เรื่องของเกษตรกรรม
แบบพออยู่พอกิน
ปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา
อยู่กินอย่างอิสระ
ไม่พึ่งพิงการมีเงินสดมีความสุข
โดยไม่ต้องพึ่งพิงระบบเศรษฐกิจใหญ่

การดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบนั้น
เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งสำหรับบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น
โดยเท็จจริงแล้วเศรษฐกิจพอเพียงลึกซึ้งกว่านั้นมาก
หลักการสำคัญ 5 ประการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ

(1) ความพอประมาณ ซึ่งหมายถึงความพอดีๆ ไม่มากเกินไป
ไม่น้อย เกินไป ไม่สุดโต่งและไม่เติบโตเร็วเกินไป

(2) ความมีเหตุมีผล คือ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่ไป
สามารถอธิบายได้
มีเหตุมีผลรับกัน

(3) ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ ต้องปกป้องคุ้มครอง
ไม่ให้กระทำสิ่งที่เสี่ยงเกินไป

ไม่เสี่ยงในเรื่อง ที่ไม่ควรเสี่ยง

(4) ความรับรู้ คือ ต้องมีความรอบคอบ
มีการใช้ความรู้วิชาการด้วยความระมัดระวัง

ไม่บุ่มบ่าม ดำเนินการอย่างรอบคอบ

(5) คุณธรรมความดี ซึ่งหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริต

ประกอบด้วยความมานะอดทนและพากเพียง
คุณธรรมเป็นพื้นฐานของความมั่นคง

และความยั่งยืนของสรรพสิ่ง
หากเอาหลักการข้างต้นมาประยุกต์ในเรื่องเงินๆ ทองๆ
ก็จะเริ่มต้นที่บุคคลต้องทำการทำงานอย่างมีคุณธรรม
อยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต
มีความมานะอดทนและพากเพียร และมีความรอบรู้
กะการด้วยรอบคอบ ไม่บุ่มบ่าม

จึงจะก้าวหน้าในงาน มีรายได้สม่ำเสมอ
ไม่มีอุปสรรคและปัญหาในชีวิตอันเกิดจากการคดโกง

หรือความไม่รอบคอบ
เมื่อหลักส่วนหนึ่งจากรายได้เป็นเงินออม
เพื่อเอาไปลงทุนให้เกิดเป็นรายได้อีกอย่างหนึ่ง

ก็อยู่ในขนาดที่พอเหมาะพอควร
ไม่ตึงเกินไปในเรื่องออมจนชีวิตเครียดขาดความสุขสุดโต่ง
ในพฤติกรรมจนขาดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
และเมื่อจะนำไปลงทุนก็อยู่บนความมีเหตุและผล
ไม่หวือหวาตามผู้อื่นอย่างขาด
ความรอบรู้และขาดความรอบคอบ
ไม่บุ่มบ่ามอย่าง

ขาดสติจนอาจถูกผู้อื่นหลอกลวงได้

ที่สำคัญที่สุดของการลงทุนก็คือ มี “ภูมิคุ้มกัน”ที่ดี
ไม่ลงทุนอย่างเสี่ยงเกินกว่า

ที่สามารถรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
ไม่คาดหวังผลตอบแทนที่มาก

และเติบโตเกินความเป็นจริง
อยู่บนโลกของความเป็นจริงที่คาดหวังผลตอบแทน

ที่พอเหมาะ และมีความสุขพอใจ
กับผลตอบแทนที่ได้รับ


หากทุกคนใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ในเรื่องการทำงาน
การหารายได้ การออม

การลงทุน ตลอดจนการใช้จ่าย
รายได้ที่งอกเงยในรูปของผลประโยชน์จากการลงทุนแล้ว

และมีความพอใจกับสิ่งที่ตนเองได้รับแล้ว
ชีวิตก็จะมีความสุข
เพราะมีความมั่นคงและยั่งยืน
อีกทั้งยังมีความสุขใจอีกด้วย