Custom Search

Feb 3, 2008

กรณีศึกษา: วัฒนธรรมองค์กร




















เบื้องลึก'อภิรักษ์'ซบ'ออเร้นจ์' 'เถ้าแก่'ไม่รักผม พัดลม'อากู๋'ยังส่ายหน้าเลย

มติชนสุดสัปดาห์

สรกล อดุลยานนท์

14 ตุลาคม 2545

หลังจากลือกันมาเกือบครึ่งปี "ข่าวลือ" ก็กลายเป็นจริง

"อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ซีอีโอของค่ายแกรมมี่

ตัดสินใจโบกมือลาไปนั่งเก้าอี้ใหญ่ของค่าย "ทีเอออเร้นจ์"

แม้ "อากู๋" ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม,

อภิรักษ์ และ "เล็ก" บุษบา ดาวเรือง "ซีอีโอ" คนใหม่ของ "แกรมมี่"

นั่งแถลงข่าวพร้อมกัน และตอบทุกคำถามอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย

แต่คำถามที่นักข่าวสายเศรษฐกิจยิงใส่แบบไม่เกรงใจ

เป็นสัญญาณให้เห็นว่า "ข้อมูล" ที่นักข่าวได้รับรู้จากภายในองค์กรแกรมมี่นั้น

ไม่ใช่ "ข่าว"
ในทางที่ดีนัก
ความขัดแย้งทางความคิดและการบริหารงานระหว่าง "อากู๋" กับ "อภิรักษ์"

คุกรุ่นมานานทีเดียว เป็นความขัดแย้งในวิธีคิดและการทำงาน ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา

"ไพบูลย์" มีความคิดอยากวางมือทางธุรกิจ แต่ "คนใน"

แต่ละคนไม่มีใครอยากเป็นใหญ่เป็นโต ไม่มีใครอยากเป็น "ซีอีโอ"

นี่คือ เรื่องจริงที่อธิบายให้ผู้บริหารจากองค์กรอื่นเข้าใจได้ยาก

"ไพบูลย์" จึงเลือก "ซีอีโอ" จาก
"คนนอก" คือ "วิสิฐ ตันติสุนทร"

มือดีด้านการเงินระดับสากลคนหนึ่ง

"วิสิฐ" เป็นกรรมการคนนอกของ "แกรมมี่" มาก่อน

เป็นคนชอบดนตรี

"อากู๋" ใช้เวลานานพอสมควรในการชักชวนกว่า
"วิสิฐ" จะยอมรับเป็น "ซีอีโอ"

ของ "แกรมมี่" แต่ "วิสิฐ" กลับใช้เวลาไม่นานในตำแหน่งนี้

"แกรมมี่" เป็นบริษัทที่เต็มไปด้วย "ครีเอทีฟ"

เหมือนปูนซิเมนต์ไทยที่เต็มไปด้วยวิศวกร

เมื่อมาเจอ "นักการเงิน" ที่เติบใหญ่มาด้วยวัฒนธรรมองค์กร

ที่ใช้การสื่อสารในอีกรูปแบบหนึ่ง
การสื่อสารจึงเป็นพิษ
ในที่สุด "วิสิฐ" ก็ถูกดันขึ้น
"บันไดน้ำแข็ง" ไปดูแลงานระดับสากล

ด้วยเวลาที่สั้นมากในตำแหน่ง "ซีอีโอ"

เหล่า "ครีเอทีฟ" ใน "แกรมมี่"

จึงเรียก "วิสิฐ" ว่า "VISITER"

หรือแขกที่มาเยี่ยมเยียน

"ไพบูลย์" ใช้เวลาเฟ้นหา "ซีอีโอ" คนใหม่

และในที่สุดก็ได้ "อภิรักษ์" จาก "ฟริโตเลย์"
มาแทน

"อภิรักษ์" เป็นคนหนุ่มที่สร้างชื่อ
จากตำแหน่งใหญ่ใน "โค้ก" และ "ฟริโตเลย์"

เป็นนักการตลาดที่ผ่านองค์กรระดับโลกมาแล้ว

สิ่งที่ "ไพบูลย์" ต้องการจาก "อภิรักษ์" มากที่สุด

คือประสบการณ์จากบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก

เพื่อมาจัดระบบให้กับ "แกรมมี่"

เขาเชื่อว่าด้วยความเป็นนักการตลาดด้วยกัน

จะสามารถ "สื่อสาร" กันได้ดี

แต่แล้วความแตกต่างในเรื่อง "วัฒนธรรมองค์กร" ก็เริ่มออกฤทธิ์

หลักการทำงานในช่วง 6 เดือนแรกที่ "ไพบูลย์" บอก "อภิรักษ์"
คือ
1.ให้พยายามไปสังสรรค์กับกลุ่มผู้บริหารของแกรมมี่ให้มากที่สุด

2.ถ้าเรื่องใดความเห็นขัดแย้งกับเขา
ให้เชื่อว่า "อากู๋" ถูกไว้ก่อน

"ไพบูลย์" รู้ดีว่าวัฒนธรรมองค์กรของ "แกรมมี่" มีลักษณะเฉพาะอย่างยิ่ง

ทั้งวิธีคิดและวิธีทำงาน เขาจึงอยากให้ "อภิรักษ์"

ใช้เวลาช่วงแรกๆ เรียนรู้ก่อนที่จะทำงานจริง

วันแรกที่ "อภิรักษ์" เข้ามาเขาก็ต้องแปลกใจ เขาเป็นคนทำงานเช้า

แต่เมื่อเข้าบริษัทกลับไม่พบผู้บริหารของ "แกรมมี่" เลย

เพราะแทบทุกคนเข้าทำงานบ่ายและสมองจะสดใสอย่างยิ่งยามดึก
เชื่อหรือไม่ว่าทีมงานของบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง
เคยต้องไปประชุมกับผู้บริหาร "แกรมมี่"

ตอนตีสอง หรือครั้งหนึ่ง "
อภิรักษ์"
เรียกประชุมเพื่อทำ "YEAR PLAN"

หรือแผนงานประจำปีของแต่ละบริษัทย่อยในเครือแกรมมี่

แต่ทันทีที่เขาเอ่ยปาก

ผู้บริหารเกือบทุกคนทำหน้างงๆ อะไรคือ "YEAR PLAN" ?

นั่นคือ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมองค์กรระหว่าง "คนนอก" กับ "คนใน"

"อภิรักษ์" นั้นมาจากองค์กรที่มีโครงสร้างการบริหารแบบตะวันตก

และเนื่องจากเป็นองค์กรระดับโลกโครงสร้างการบริหาร
จึงให้น้ำหนักและบทบาทกับ"มืออาชีพ" ค่อนข้างสูง

เขาจึงเก่งในเรื่องการจัดการและบริหารอย่างมี "แบบแผน"

กรอบประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 10 ปีของ "อภิรักษ์" ยากจะเปลี่ยน

ยากจะเปลี่ยนเช่นเดียวกับผู้บริหารของแกรมมี่ที่อยู่กับวัฒนธรรมองค์กร

แบบเดิมมานานเกือบ 20 ปี

"แกรมมี่"
เป็นองค์กรธุรกิจบันเทิง
ระบบการบริหารแตกต่างจากองค์กรธุรกิจทั่วไป


"ไพบูลย์" ผสมผสานการบริหารระหว่าง "มืออาชีพ" กับ "เถ้าแก่"

คล้ายกับที่ "ทักษิณ ชินวัตร" เคยใช้กับ "ชินคอร์ป"

ในช่วงที่ยังใช้ชื่อว่า "ชินวัตรคอมพิวเตอร์" "ทักษิณ"

บอกว่าเขาบริหารงานกึ่ง "เถ้าแก่" กึ่ง "มืออาชีพ" ทำงานแบบ "มืออาชีพ"

แต่ตัดสินใจแบบ "เถ้าแก่" ไม่ต้องเรียกประชุมมาก เคาะเลย

วัฒนธรรมองค์กรนี้อาจจะแปลกและแตกต่างยิ่งในสายตาของนักบริหารมืออาชีพ

แต่ต้องไม่ลืมว่าด้วยวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ทำให้ "แกรมมี่"

เติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในช่วงเวลา 19 ปีที่ผ่านมา

แสดงว่าต้องมีอะไรบางอย่างดีอยู่ไม่น้อย

องค์กรจึงเติบใหญ่ได้ขนาดนั้น สิ่งที่ "
อภิรักษ์" โดดเด่นมากในช่วงที่อยู่แกรมมี่
คือ เขาเป็นคนที่นักข่าวสายเศรษฐกิจให้การยอมรับสูงมาก

การสื่อสารต่อสาธารณชน "
อภิรักษ์" ทำได้ดี ภาพลักษณ์ของ "แกรมมี่"
ผ่านทาง "
อภิรักษ์" จึงดีมาก และดีอย่างยิ่ง
แต่ในการบริหารภายในแม้เขาจะรวบรวมความยุ่งเหยิงให้เป็นระบบ
แต่ความไม่คุ้นกับสินค้าที่เป็นสินค้ารสนิยม

และวัฒนธรรมองค์กรที่มีลักษณะเฉพาะ
ทำให้เขาอึดอัด


ถามว่า "
ไพบูลย์" อึดอัดไหม ?
ตอบว่า "อึดอัด" ไม่แพ้กัน

เพราะ "อากู๋" ต้องการ "รายได้" มากกว่า "ภาพพจน์"

ยิ่ง "
ไพบูลย์" แสดงท่าทีอึดอัด
"
อภิรักษ์" ก็ยิ่งทำงานยากขึ้น และเมื่อเกิดสถานการณ์สู้รบในกรณี
"ลิขสิทธิ์คาราโอเกะ" ความแตกต่างระหว่าง

แนวคิดของ "เถ้าแก่ "กับ "มืออาชีพ"ก็ยิ่งชัดเจนขึ้น

ทั้งคู่รู้กันดีว่าถึงเวลาที่ต้องอำลาจากกันมาตั้งแต่ 6 เดือนก่อน

ดังนั้น เมื่อ "
อภิรักษ์" ได้โอกาสเพราะทีเอออเร้นจ์มาติดต่อให้รับตำแหน่งใหญ่
เป็นองค์กรตามแนวถนัดของ "
อภิรักษ์" เขาจึงตัดสินใจโบกมือลา
"อากู๋" ก็กล่าวคำอวยพร