เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 30, 2007
ความล้มเหลว
หนุ่มเมืองจันท์
เป็นความรู้ใหม่ว่า บิล เกตต์ ชอบจ้างผู้ประกอบการที่เคยล้มเหลวมาก่อนมาเป็นผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์
เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ มีแต่ผู้ที่เคยล้มเหลวเท่านั้นที่รู้ดีว่าเส้นทางของความล้มเหลวมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรและความล้มเหลวนั้นเจ็บปวดเพียงใดด้วยประสบการณ์ดังกล่าว จะทำให้เขาไม่นำพาองค์กรไปเส้นทางนี้อีก
อย่าแปลกใจที่ ทักษิณ ชินวัตร และธุรกิจในเครือ ชิน คอร์ป ไม่ได้รับผลกระทบจากการลอยตัวค่าเงินบาท
เมือ่ ปี 2540ทักษิณ นั้นเคยล้มเหลว เคยเจ็บตัวจากการลดค่าเงินบาทในอดีตเขารู้ว่าความเจ็บปวดจากการลดค่าเงินบาทเป็นอย่างไรเมื่อสถานการณ์การเงินของประเทศเริ่มย่ำแย่
ในช่วงต้นปี 2540 เขาจึงซื้อประกันความเสี่ยงเงินกู้ต่างประเทศทั้งหมดการลอยตัวค่าเงินบาทจึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในเครือเพราะความล้มเหลวจากการลดค่าเงินบาทในปี 2527 ทำให้ทักษิณไม่เจ็บตัวในปี 2540
ความล้มเหลว แตกต่างจากความสำเร็จ ไม่ใช่เพียงผลที่เกิดขึ้นทันทีแต่หมายถึงแง่มุมของการจดจำด้วยความล้มเหลว
จะเป็นความจดจำแบบฝันร้ายนึกถึงทีไร บรื๋อวว.....ปริกลี่ฮีท
ทุกทีจดจำแบบหวาดกลัวและหวาดระแวงไม่เหมือนกับความสำเร็จ
ที่เป็นฝันดีที่น่าจดจำทุกครั้งที่ล้มตัวนอน ยังไม่ทันกลับตาก็อยากฝันแล้วความสำเร็จ จึงทำให้คนเชื่อมั่นและประมาทเหมือนที่มีคนบอกว่า คนที่รบชนะติดต่อกัน 100 ครั้งการรบครั้งที่ 101 จะอันตรายที่สุดความประมาท ก็จะเดินมาหาคนนั้นโดยมี ความพ่ายแพ้ แอบซ่อนอยู่เบื้องหลัง
และแปลกไหมครับ คนที่ชนะบ่อย ๆ มักจะมี ท่าไม้ตายเฉพาะตัวเคยชนะท่าไหน
ก็จะใช้ท่านั้นประจำคงเหมือนกับอุลตร้าแมน เคยปล่อยแสงท่าไหนชนะสัตว์ประหลาดได้
ก็ปล่อยแสงท่านั้นตลอดยอดมนุษย์ของเราจึงปล่อยแสงท่า “ บวก ” อย่างเดียว
นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแต่ละคน มีท่าไม้ตายแตกต่างกัน
เจริญ สิริวัฒณภักดี จอมยุทธ์น้ำเมาเคยประสบความสำเร็จในธุรกิจเหล้าด้วยการทุ่มตลาดขาย หงษ์ทอง ตัดราคาแม่โขงเป็นกลยุทธ์แบบคน กระเป๋าลึก เท่านั้น
ที่ทำได้พอมาทำเบียร์ช้างแข่งกับเบียร์สิงห์ เจริญ ก็ใช้ท่าไม้ตายเดิม คือตัดราคาเพื่อกินส่วนแบ่งทางการตลาดก่อน
หรือธนินท์ เจียรวนนท์ ของค่าย ซีพี ก็เหมือนกันประสบความสำเร็จจากธุรกิจเลี้ยงได่ด้วยการร่วมทุนกับยักษ์ใหญ่ด้านการเลี้ยงไก่ของสหรัฐ
จากนั้นก็เริ่ม “ จ๊วบ จ๊วบ ” ความรู้และเทคโนโลยีเรื่อย ๆ
จนวันหนึ่งความรู้ท่วมหัวก็อยากเอาตัวรอดบ้าง
เขาจึงลงทุนเองและพัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่ขึ้นเรื่อย ๆ
จนวันนี้ซีพี แซงยักษ์ใหญ่รายนั้นไปไกลลิบตัว
ท่าไม้ตายนี้ก็นำมาใช้ในธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงธุรกิจฟาสต์ฟู้ด
ที่เริ่มต้นด้วยการร่วมทุนกับไก่ทอดเคเอฟซี “ จ๊วบ จ๊วบ ”
เสร็จก็เริ่มถอยออกมาและวันนี้ซีพี
เปิดร้านไก่ทอดของตัวเองขึ้นมาท่าไม้ตายของซีพี คือการเรียนรู้เทคโนโลยีจากคนเก่ง และเอาความรู้นั้นมาพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมถ้าอธิบายแบบท่าไม้ตายของอุลตร้าแมนคือ ท่าบวก ลบ แล้วค่อยคูณ“บวก ”
เอาคนเก่งมาร่วมด้วยก่อน แล้วค่อย “ลบ” คนนั้น
ออกจากนั้นจึงใช้ท่า “คูณ ” ขยายตัวแบบรวดเร็วเป็นทวีคูณ
คนส่วนใหญ่ชอบความสำเร็จ แต่กลัวความล้มเหลว
ทั้งที่จริง ความล้มเหลว คือปุ๋ยที่ดีของการทำงานเหมือนกิ่งไม้
ที่หักและตกลงสู่พื้นดินกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้
มุมมองเรื่อง ความล้มเหลว จึงน่าสนใจ
โซอิจิโร ฮอนด้า บอกว่าสิ่งที่คุณเห็นคือความสำเร็จที่เป็นเพียง 1 % ของชีวิต
ผม แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นคือ อีก 99 %ที่เป็นความล้มเหลวของผม
ในมุมของนักวิทยาศาสตร์ เขาไม่เรียกการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จว่า ความล้มเหลวแต่เขาเรียกว่า
การเรียนรู้ครั้งหนึ่งผู้ช่วยของ โธมัส อัลวา เอดิสัน บ่นกับเขาว่า
เราทำการทดลองเรื่องนี้มา 700 ครั้งแล้ว เรายังไม่พบอะไรเลยก่อนที่จะสรุป
เราล้มเหลวเสียแล้วเอดิสัน หัวเราะ แล้วบอกว่าเราไม่ได้ล้มเหลว
แต่เราได้เรียนรู้อะไรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังใกล้ที่จะพบคำตอบแล้วอย่างน้อยที่สุดตอนนี้เราเรียนรู้แล้วว่า มี 700 วิธีที่ไม่ควรทำเอดิสัน มองความล้มเหลวเป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง
คนส่วนใหญ่คิดว่าสิ่งที่เราควรเรียนรู้คือเราควรจะทำอะไร
อย่างไรชอบเรียนรู้แต่เส้นทางของความสำเร็จแต่เขาลืมว่าสิ่งที่ควรเรียนรู้ไม่แพ้กันคือ เรียนรู้ว่าไม่ควรทำอะไร
อย่างไรบิล เกตต์ คงคิดแล้วว่าเรื่องทำอย่างไรให้สำเร็จ ตัวเขาทำได้แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือประสบการณ์ว่าทำอย่างไรจึงจะ “ ไม่ล้มเหลว ”
เขาจึงจ้างคนที่ผ่านการทดลองในเรื่องนี้มาแล้วอย่างโชกโชนและเจ็บปวดมาทำงานด้วยตามหลักจิตวิทยาเมืองจันท์เขาบอกว่า ความเจ็บทำให้ความจำดี
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบล ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์คนแรกของโลกก็เป็นคนหนึ่ง
ที่มีมุมมองเรื่องความล้มเหลวที่น่าสนใจเขาเชื่อมั่นว่าในโลกนี้ไม่เคยมีใครล้มเหลวคนที่คิดว่าตัวเองล้มเหลวเพราะคนนั้นทดลองน้อยไปและไม่อดทนที่จะค้นหาต่อไปว่ามีอะไรมากกว่านั้น
ที่น่าขำก็คือ บางครั้งความล้มเหลวก็กลายเป็นความสำเร็จได้อย่าง
โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา ซึ่งน่าจะถือว่าเป็นคนที่ล้มเหลวที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเพราะเป้าหมายแท้จริงโคลัมบัส ตั้งใจจะไปอินเดีย