เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 25, 2007
25 ปี "ดี้" นิติพงษ์ ห่อนาค ความสำเร็จที่สั่งได้
แม้จะไม่ได้เริ่มต้นจากความฝัน
และไม่แน่ใจกับคำว่า พรสวรรค์ มาตลอด
แต่ก็ทำให้วันนี้ชื่อของ
"ดี้" นิติพงษ์ ห่อนาค ขึ้นไปอยู่ทำเนียบ
นักแต่งเพลงมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จ
มายาวนานกว่า 25 ปีแล้ว
มีเพลงที่แต่งจากปลายปากกามาแล้วกว่า 300 เพลง
"ผมไม่เคยคิดว่า จะเข้ามาทำงานตรงนี้เลย
ตอนช่วงที่เรียนอยู่ ใครเขาให้ทำอะไรก็ทำ
เขาให้เขียนบท เขียนหนังสือ กระโดดโลดเต้น
ไปที่ไหน ได้สตางค์ไม่ได้สตางค์ทำหมด
เพราะเพื่อนฝูงเยอะ เฮฮาดี
จนวันหนึ่งเพื่อนก็ยุให้แต่งเพลง
เพราะตอนนั้นเล่นดนตรีกันมานาน
เล่นแต่เพลงเก่าซ้ำๆ ซากๆ
ผมก็แต่งเพลง ชื่อ
เพลงเข้าใจ ขึ้นมา ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าจะใช้ได้หรือไม่ได้
แค่แต่งไว้ร้องในหมู่เพื่อนฝูง เล่นกีตาร์ให้มันฟัง
เวลาที่มันอยากจะโรแมนติก
เรื่องพรสวรรค์ ก็เป็นสิ่งที่ทุ่มเถียงกันมานาน ผมว่า
คำว่าพรสวรรค์นี้ มีเอาไว้ให้แตกแยก ไว้ให้ทะเลาะกัน
คำนี้มีทั้งด้านดีและไม่ดี เลยไม่อยากเรียกหรือใช้คำนี้
ผมเชื่อว่าทุกคนมีพรสวรรค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพียงแต่จะหาเจอ
แล้วอยากทำมันหรือเปล่ามากกว่า"
"ดี้" นิติพงษ์ ตอบเมื่อถามถึงจุดแรกเริ่ม
ถึงจะไม่อยากใช้คำว่า พรสวรรค์ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า "ดี้" นิติพงษ์
ไม่เคยแม้แต่จะเรียนศาสตร์ด้านดนตรีมาเลย ซึ่งเขาบอกว่า
ทั้งหมดมาจากการที่เป็นคนสนใจสิ่งรอบข้าง อ่านหนังสือและฟังเพลงมามาก
จึงเหมือนซึมซับไปเองโดยอัตโนมัติ
เมื่อวันหนึ่งได้รับการยุจากเพื่อนให้ลองทำ
จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ
ส่วนเรื่องที่เริ่มเขียนเพลงเป็นอาชีพเมื่อไร
ดี้ กลับบอกว่า นึกไม่ออกจริงๆ
"ตอนที่ผมอายุ 20 ต้นๆ ช่วงนั้นไม่มีใครสนใจอยากเป็นนักแต่งเพลง
ไม่ว่าจะเพราะจน งง หรือไม่รู้ว่า อาชีพนักแต่งเพลงน่าใฝ่ฝันยังไง
ผมเองก็ทำไปโดยที่ไม่ได้คิดว่าอยากเป็นหรือไม่
ทำได้ก็ทำ ส่วนใหญ่ทำตามคำสั่ง ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น"
คำตอบของดี้สอดคล้องกับ
โปรเจคท์พิเศษที่ฉลองครบรอบ 25 ปี ในการเป็นนักแต่งเพลงของเขา
เพราะโปรเจคท์นี้
ดี้ก็ไม่ได้เป็นคนต้นคิด กลับเป็นเพื่อนๆ ที่จัดการให้หมด
โปรเจคท์ 25 ปีนี้ ผมเกี่ยวข้องน้อยมาก
มันเกิดจากเพื่อนฝูงคงหมั่นไส้ที่ผมไม่ค่อยชอบเสนอตัวทำอะไร
เพื่อนๆ ก็เลยคิดมาให้เสร็จสรรพ ผมก็มีหน้าที่ทำตามสั่งอีกเหมือนกัน
ตอนนี้ก็มีอัลบั้มรวม 50 เพลงที่ผมคัดเลือกมาจากเพลงที่ผมแต่งทั้งหมด
อัลบั้ม Right-Left The Celebration Album
เป็นอัลบั้มคัฟเวอร์จากน้องๆ ศิลปิน และคอนเสิร์ตอีก 2 รอบ
ในวันที่ 25-26 สิงหาคมนี้
ผมเป็นคนขี้เขิน แต่ไม่ใช่ขี้อายนะ ผมสามารถยืนร้องเพลงให้คนดูเป็นหมื่นก็ทำได้
แต่ถ้าจะต้องทำให้ตัวเองดูดี มีใครมาอวยๆ หน่อย มันเขิน
คือถ้าเป็นงานคนอื่นที่ผมไม่เกี่ยวข้อง
ผมจะซัดเต็มเหนี่ยว ไอ้นั่นไม่ดี ไอ้นี่ไม่ได้ พอเป็นของตัวเอง
ไม่รู้เป็นยังไง มันจะเหมือนคนใบ้
ถามต่อว่า ที่ผ่านมาเขียนเพลงจนฮิตมากมาย ทำให้มีศิลปินหลายต่อหลายคน
อยากให้เขาเขียนเพลงให้เพราะหวังจะดัง จะโดน
เขารู้สึกเป็นภาระหนักใจหรือไม่ "ดี้" นิติพงษ์ ตอบว่า
"ก็ไม่ถึงกับขนาดนั้น เราทำได้ก็ทำ แล้วก็มีเพลงตั้งเยอะแยะที่แต่งให้แล้วไม่ดัง
ไม่ได้ใช้โปรโมท แต่พออัลบั้มต่อไปเขาก็เอามาให้เขียนอีกอยู่ดี
คงเหมือนนักฟุตบอลที่ถนัดเตะไซ้โค้ง พอมีลูกโทษที่จะต้องเตะไซ้โค้ง
เขาก็จะให้เราเตะ ซึ่งจะเข้าไม่เข้าก็ยังไม่รู้
แต่เท่าที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยมีเพลงที่คิดว่าจะฮิตแล้วไม่ฮิต
คือถ้าออกไปแล้ว ส่วนใหญ่จะรู้เลยว่า จะโดนหรือเปล่า"
ส่วนเรื่องเทคนิคการแต่งเพลงที่ไม่ต้องรออารมณ์
ซึ่งถือเป็นบุคลิกการทำงานของเขา ดี้ บอกว่า
เพราะเขาอยากจะเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้นำว่า
อย่าเข้าใจว่าการแต่งเพลงต้องรอแต่อารมณ์
และไม่ใช่ว่าการแต่งเพลงต้องไม่มีอารมณ์
เพียงแต่ไม่อยากให้เชื่อว่า คนทำงานศิลปะต้องมีอารมณ์แล้วถึงจะทำได้
"อารมณ์ศิลปะสร้างได้ เราต้องสร้างจินตนาการขึ้นมาเอง
ไม่ใช่ต้องรอให้อกหัก ผิดหวัง คิดถึง ก่อนแล้วถึงจะเขียนเพลงเหล่านั้นได้
คือถ้าอารมณ์จริงมันมีก็ดี แต่ถ้าต้องไปรออะไรอย่างนั้นตลอด
คงทำงานได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง สรุปคือ
ทำงานศิลปะต้องสร้างอารมณ์ จินตนาการได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอลมพัดมา"
ถามว่า ผมเคยเบื่อที่จะเขียนเพลงไหม ผมไม่เคยเบื่อนะ จะขี้เกียจมากกว่า
สมมติมีงานต้องเขียน แต่เผอิญตอนนั้นมีเกมคอมพิวเตอร์ใหม่
อยากไปเที่ยว อยากอ่านหนังสือ ก็จะขี้เกียจ
แต่พอได้เริ่มเขียนงานก็ลืมทุกอย่าง เพราะงานมันสนุก
ความสนุกของผม คือการเขียนเพลง ถ้ายังคิดไม่ออก
ก็ยังอยากเขียนอีก ผมว่ามันสนุกยิ่งกว่าเล่นเกม"
เมื่อให้แนะนำรุ่นน้องถึงสิ่งที่สำคุญที่สุดในการเป็นนักแต่งเพลง "ดี้" นิติพงษ์
กล่าวว่า
สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียนเพลง คือการค้นคว้า
สนใจเรื่องราวรอบตัว ต้องอ่านเยอะ ดูเยอะ สังเกตเยอะ
วิเคราะห์เยอะ เพราะจะทำให้รู้จักอารมณ์คน ใช้คำได้พอดีกับอารมณ์
ไม่มากไม่น้อยเกินไป ทำให้คนฟังคล้อยตาม
ซึ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการชี้นำ
การเรียนเขียนเพลงนั้นเป็นแค่การเริ่มต้น
แต่ถ้าจะทำได้จริงๆ ต้องเป็นนักสังเกต
"คนที่อยากเป็นนักแต่งเพลง ต้องถามตัวเอง อยากเป็นเพราะอะไร
อาชีพนี้ไม่ได้แตกต่างจากอาชีพอื่นๆ ต้องอยากเป็นเพราะข้างในมันอยากเป็น
อยากเป็นเพราะเกิดมาเป็นโรคอะไรไม่รู้ ชอบอ่านหนังสือ ชอบเขียนอยู่นั่น
แม้จะเป็นแค่โครง กลอน ไม่ตรงเสียทีเดียว แต่มีความชอบในศิลปะด้านนี้อยู่
หรือชอบฟังเพลงอยู่นั่นแหละ"
การเริ่มแต่งเพลงก็เหมือนกัน ขอให้ชอบอย่างเดียวก่อน
คือถ้าตัวเองยังไม่ชอบแล้วจะให้ใครมาชอบ พ.ศ.นี้
ถ้าอยากเป็นนักแต่งเพลง แต่งมาเลย ไม่ต้องนึกถึงหลักอะไร
ยิ่งสมัยนี้แนวทางเปิดเยอะแยะ แต่งมาอย่างที่อยากจะแต่ง
เห็นกระทะ หลอด แก้วน้ำ สร้างเรื่องมาเลย
อย่ามัวคิดว่า คนอื่นจะชอบหรือเปล่า เพราะงานมันจะไม่เกิด
ดูเพลงหมีแพนด้า ยังดังได้เลย เพราะอะไรก็เพราะมันไม่ซ้ำ
มันมีความแตกต่าง มีความเป็นตัวของตัวเองอยู่"
เอ้า...ใครที่ได้แต่คิด ไม่เริ่มลงมือเสียที
อ่านจบคงได้ฤกษ์จรดปากกาแล้วสินะ
ข้อมูลและภาพประกอบจาก