image from MalayMail
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/920255
เปิดไทม์ไลน์ 'รัฐประหารเมียนมา' ไทม์ไลน์ตั้งแต่วัน
ที่มีกระแสข่าว"รัฐประหาร" จนถึงวันที่กองทัพเมียนมา
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี
เกิดกระแสข่าวเกี่ยวกับการรัฐประหารในเมียนมา
ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วจนถึงเช้าวันนี้ (1 ก.พ.)
โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย(เอ็นแอลดี)
แถลงว่านางออง ซาน ซูจี และบรรดาแกนนำ
ของพรรคหลายคนรวมทั้งประธานาธิบดี
ถูกทหารจับกุมไปจากบ้านพักตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่
ต่อไปนี้คือไทม์ไลน์ตั้งแต่วันที่มีกระแสข่าวรัฐประหาร
จนถึงวันที่กองทัพเมียนมา
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี
พ.ย. 2563: พรรคเอ็นแอลดี ภายใต้การนำของนางซูจี
ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย
สามารถคว้าที่นั่งในรัฐสภาไปทั้งหมด 396 ที่นั่ง
จากทั้งหมด 498 ที่นั่ง
เพิ่มจากการเลือกตั้งในปี 2558 จำนวน 5 ที่นั่ง
โดยเหล่าบรรดาผู้สนับสนุนนางซูจี
และพรรคเอ็นแอลดีฉลองชัยชนะหลังทราบผลการเลือกตั้ง
แต่พรรคยูเอสดีพีที่ได้รับการสนับสนุนของกองทัพ
มีเสียงในสภาล่าง 26 ที่นั่ง และสภาชนชาติ 7 ที่นั่ง
ซึ่งลดลงจากเดิมสภาละ 4 ที่นั่ง นี่เป็นชนวนเหตุ
ทำให้พรรคยูเอสดีพี ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง
พร้อมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของผู้นำกองทัพเมียนมาที่
กล่าวหาว่าพรรครัฐบาลร่วมมือกับ
คณะกรรมการการเลือกตั้งทุจริตการเลือกตั้ง
26 ม.ค. 2564: โฆษกกองทัพเมียนมาไม่ปฏิเสธถึงความเป็นไปได้ที่
กองทัพจะยึดอำนาจเด็ดขาดเพื่อจัดการกับสิ่งที่กองทัพถือว่าเป็นวิกฤติทางการเมือง
27 ม.ค. 2564: พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา
กล่าวในงานให้โอวาทนักเรียนเตรียมทหารแห่งวิทยาลัยป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม
ถึงความเป็นไปได้ในการยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศ
ด้วยการบอกว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่ของกฎหมายทั้งปวง
แต่คงจำเป็นต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ
หากคนไม่ปฏิบัติตาม
28 ม.ค. 2564: บรรยากาศในนครย่างกุ้งเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมีรถถังหลายชนิดออกมาวิ่งบนท้องถนน
โดยทหารอ้างว่าต้องการทดสอบเครื่องยนต์ และโฆษกพรรคเอ็นแอลดีกล่าวว่า
สมาชิกพรรคเจรจากับผู้นำทหารแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
และว่าหากเกิดการรัฐประหาร
พรรคเอ็นแอลดีจะไม่ตอบโต้ด้วยกำลัง
29 ม.ค. 2564: สถานเอกอัครราชทูตชาติต่าง ๆ อย่างน้อย
16 ประเทศ รวมถึงสหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) พร้อมด้วย สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต่างออกแถลงการณ์แสดง
ความวิตกต่อข่าวความเป็นไปได้ที่กองทัพเมียนมา
อาจก่อรัฐประหาร
ระหว่างสถานการณ์การเมืองถึงทางตัน
ขณะที่ประชาชนผู้สนับสนุนพรรคยูเอสดีพี
หลายร้อยคนชุมนุมประท้วง กกต.
ทั้งที่กรุงเนปิดอว์และกรุงย่างกุ้ง
แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ
และไม่มีรายงานการใช้ความรุนแรง
30 ม.ค. 2564: กลุ่มชาวเมียนมาผู้สนับสนุนกองทัพ
ร่วมด้วยพระสงฆ์สายชาตินิยม ชุมนุมประท้วงต่อต้าน
คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ด้านนอกเจดีย์ชะเวดากอง
ในนครย่างกุ้ง
ขณะที่กองทัพเมียนมาออกแถลงการณ์
สยบความเป็นไปได้ในการรัฐประหารว่าข่าวที่ออกมา
เป็นความเข้าใจผิด และยืนยันว่ากองทัพให้
คำมั่นที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของประเทศ
และจะทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย
ขณะเดียวกันก็พิทักษ์กฎหมายด้วย
31 ม.ค. 2564: กองทัพเมียนมาแถลงเรียกร้องให้บรรดานักการทูตต่างชาติในเมียนมาอย่าเพิ่งคาดเดาอะไรเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และขอให้ประชาคมโลกอย่ายอมรับผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาว่าเป็นเรื่องปกติ
1 ก.พ. 2564: กองทัพเมียนมาบุกจับ นางซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึง ประธานาธิบดีวิน มินต์ และแกนนำพรรค เมื่อช่วงเช้าตรู่ ก่อนที่สมาชิกรัฐสภาชุดใหม่จะเปิดประชุมครั้งแรก
นอกจากนั้น กองทัพประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี พร้อมแต่งตั้ง มินต์ ฉ่วย อดีตนายพลซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีที่มาจากฝั่งทหาร ทำหน้าที่รักษาการประธานาธิบดี