กรมประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นฉบับแรกของประเทศไทย เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
ประเทศไทย หรือประเทศสยาม ได้มีการเตรียมวางรากฐานการปกครองในระบอบรับธรรมนูญให้คนไทยมาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงเร่งการศึกษาแห่งคนไทยรู้จักกับการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของใหม่ในสมัยนั้น และพระมหากษัตริย์ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลครบทุกตำบล และได้มีการทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยกับเมืองจำลองดุสิตธานี เพื่อให้คนไทยได้เข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยที่ยังไม่ทันได้พระราชทานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้แก่ปวงชนชาวไทยก็เสร็จสวรรคตเสียก่อน
จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้มีเหตุการณ์ปรับเปลี่ยนการปกครองอย่างต่อเนื่อง และได้มีความชัดเจนมากขึ้นว่าพระองค์ได้มีพระราชปณิธานพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับคนไทยในวันที่ 6 เมษายน 2475 แต่ได้มีการทักท้วงจากหลายท่านว่าคนไทยยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราช มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่เพียงไม่นานก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น จนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นฉบับแรกของประเทศไทย
นับจากวันนั้นจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 90 ปี ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับล่าสุดคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จำนวน 279 มาตรา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากสิ่งที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าพระมหากษัตริย์ไทย มีความตั้งใจที่จะมอบรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนมานานแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเกิดขึ้นและสอดคล้องกับแต่ละยุคสมัย เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
ประเทศไทย หรือประเทศสยาม ได้มีการเตรียมวางรากฐานการปกครองในระบอบรับธรรมนูญให้คนไทยมาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงเร่งการศึกษาแห่งคนไทยรู้จักกับการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของใหม่ในสมัยนั้น และพระมหากษัตริย์ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลครบทุกตำบล และได้มีการทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยกับเมืองจำลองดุสิตธานี เพื่อให้คนไทยได้เข้าใจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยที่ยังไม่ทันได้พระราชทานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้แก่ปวงชนชาวไทยก็เสร็จสวรรคตเสียก่อน
จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้มีเหตุการณ์ปรับเปลี่ยนการปกครองอย่างต่อเนื่อง และได้มีความชัดเจนมากขึ้นว่าพระองค์ได้มีพระราชปณิธานพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับคนไทยในวันที่ 6 เมษายน 2475 แต่ได้มีการทักท้วงจากหลายท่านว่าคนไทยยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราช มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่เพียงไม่นานก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น จนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นฉบับแรกของประเทศไทย
นับจากวันนั้นจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 90 ปี ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ฉบับล่าสุดคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จำนวน 279 มาตรา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากสิ่งที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าพระมหากษัตริย์ไทย มีความตั้งใจที่จะมอบรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนมานานแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเกิดขึ้นและสอดคล้องกับแต่ละยุคสมัย เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง