Custom Search

Apr 22, 2021

พระอัจฉริยภาพด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

 


เผยแพร่: 11 พ.ย. 2559 18:27   โดย: ดร.โยธิน มานะบุญ

ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9590000112961

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

อันหาที่สุดมิได้ ถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ด้วยบทความซึ่งจะได้นำเสนอเรื่องราวพระอัจฉริยภาพด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ของพระองค์

คนไทยที่เกิดไม่ทันยุคสงครามเย็นน้อยคนนักที่จะทราบว่า หากไม่ด้วย พระบารมี ความกล้าหาญ

และการทรงงานอย่างหนักของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชโอรสและพระราชธิดา

ตลอดจนเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ ประเทศไทยก็คงไม่แคล้ว

ต้องกลายเป็นประเทศที่ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์เช่น เวียดนาม ลาว และกัมพูชา

ตามทฤษฏี Domino ที่นักวิชาการและนักการเมืองในโลกตะวันตกคาดการณ์ไว้อย่างแน่นอน

ในห้วงที่ประเทศไทยเผชิญกับภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งภายในและจากภายนอกประเทศนั้น

ภาพคุ้นตาของเหล่าพสกนิกรไทยคือ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ทรงเครื่องแบบทหารเสด็จเยี่ยมอาณาประชาราษฎร์ ทหาร ตำรวจ

ข้าราชการพลเรือน อาสาสมัครที่ปฏิบัติหน้าอยู่ในพื้นที่สู้รบ

ตลอดจนทรงงานในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศอยู่เสมอ

เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ข้าราชการทหารและตำรวจทั้งหลายว่า

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งในกิจการสรรพาวุธ

ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการค้น คิด ดัดแปลงอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัย

และใช้ราชการได้ดียิ่งขึ้นเป็นผลสำเร็จหลายรายการด้วยกัน

อีกทั้งยังได้ทรงพระราชทานอาวุธ ยุทโธปกรณ์

ที่ทรงแก้ไขเหตุติดขัดและข้อบกพร่องต่างๆ

เรียบร้อยแล้วให้แก่ทหารและตำรวจอยู่เนืองๆ

ในห้วงเวลาที่สถานการณ์การก่อการร้ายในประเทศ

อยู่ในภาวะวิกฤตนั้น ได้ทรงใช้เวลาว่างจากพระราชภารกิจเสด็จพระราชดำเนินไปงานภายนอกในตอนบ่าย

ทรงงานแก้ไขอาวุธยุทโธปกรณ์ที่บกพร่อง

ซึ่งทรงได้มาจากทหาร ตำรวจ ผู้ได้ใช้อาวุธนั้นทำการสู้รบจนสิ้นชีวิต

ทั้งนี้โดยได้ทรงตรวจสอบสมรรถภาพของอาวุธนั้นๆ

ด้วยพระองค์เองซึ่งในบางโอกาสก็ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้

เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพาวุธทหารบกได้เข้าเฝ้าถวายคำแนะนำ

ทั้งในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

และพระราชวังไกลกังวลอย่างใกล้ชิด เพื่อการนี้เป็นที่แน่ชัดว่าใครได้ใช้ปืนที่ทรงแก้ไขนั้น

ย่อมจะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

นายทหารของศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ ปราณบุรีผู้หนึ่ง

ซึ่งได้เคยถวายการรับใช้เมื่อทรงพระแสงปืน M-16

ที่สนามยิงปืนของศูนย์การทหารราบเล่าว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความเชี่ยวชาญในเรื่อง

พระแสงปืน M-16 อย่างมาก

ปืนนี้มีข้อบกพร่องบางอย่างที่ไม่รู้กัน

แต่ทรงรู้มาจากการที่ได้ทรงศึกษาจนสามารถพระราชทาน

คำแนะนำแก่ทหารได้

เรื่องปืน M-16 นี้ ในบทความ “พระเจ้าอยู่หัวกับตำรวจ”

เขียนโดย พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร

ตีพิมพ์ในนิตยสารโล่เงิน เดือนธันวาคม 2524

ก็ได้บันทึกไว้เช่นกันว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ทรงศึกษาสมรรถนะของปืน M-16

จนทรงมีความรู้อย่างละเอียดลึกซึ้ง

งานอดิเรกที่ทรงโปรดในครั้งกระนั้นคือ การซ่อมปืน M-16 ที่ชำรุด

เมื่อใช้งานได้แล้วก็พระราชทานให้นายทหารราชองครักษ์

และนายตำรวจสำนัก

นำไปแลกกับปืนที่ชำรุดตามหน่วยต่าง ๆ

ในสนามเพื่อเอามาถวายให้ทรงซ่อมต่อไปอีก ---

ข้อมูลจาก นิตยสารหลักไท ฉบับวันที่ 11 ธันวาคม 2528

โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ทรงสนพระราชหฤทัย

ในส่วนประกอบและการทำงานของปืน M-16

ถึงกับได้ทรงผ่าปืนชนิดนี้ออก

เพื่อทรงศึกษากลไกและส่วนประกอบของปืน

ต่อมาในไม่ช้าก็ทรงสามารถประกอบอาวุธปืนชนิดนั้น

ได้ด้วยพระองค์เอง

เวลาเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมหน่วยทหารหน่วยตำรวจ

และมีผู้ถวายรายงานว่า ปืนชนิดนั้นชำรุด

และไม่สามารถซ่อมแซมได้ เพราะขาดเครื่องอะไหล่

และขาดช่าง ก็ทรงพระกรุณารับปืนเหล่านั้นไป

และทรงซ่อมด้วยพระหัตถ์

โดยทรงใช้ส่วนที่ยังใช้การได้ดีอยู่ของปืนกระบอกหนึ่ง

ด้วยวิธีนี้ ปืนที่เสียหลายกระบอกจึงกลายเป็นปืนที่กลับดีขึ้นมาอีก

เกี่ยวกับอาวุธปืนนี้ ทั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ทรงสนพระราชหฤทัย เสด็จเยี่ยมหน่วยทหารตำรวจ

(โดยเฉพาะศูนย์การทหารราบและค่านเรศวร)

คราวใด คราวนั้นก็มักจะเสด็จฯ ทอดพระเนตรการฝึกซ้อมยิงปืน

และบางครั้งก็ทรงยิงปืนในสนามด้วย ในโอกาสเดียวกันนั้น

ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทูลกระหม่อมชาย

และทูลกระหม่อมหญิง ฝึกซ้อมยิงปืนชนิดต่างๆ ด้วย

พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯ นั้น ทรงปืนได้แม่นยำทั้งสองพระองค์

เมื่อทรงเริ่มสนพระราชหฤทัยในการยิงปืนนั้น

สนามยิงปืนของค่ายนเรศวรยังไม่คุ้นเคยกับฝ่าละอองธุลีพระบาท

เพราะฉะนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ถวายความสะดวกในการทรงปืน

จึงได้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายความปลอดภัยจากราชสำนักเป็นส่วนใหญ่

ผมเองเป็นผู้หนึ่งที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่ถวายด้วย

ค่ำวันหนึ่งเมื่อเสด็จฯ ไปถึงสนามยิงปืนของค่ายนเรศวร

เจ้าหน้าที่เตรียมการถวายเรียบร้อยแล้ว

พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงปืน พระแสงปืนที่ทรงในวันนั้น

เป็นแบบปืนเล็กกลแบบ M-16

พอทรงยิงไปได้หนึ่งชุด ผมซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ชี้เป้าถวาย

ก็ออกวิ่งไปดูที่เป้าที่เพิ่งจะทรงยิง

และเห็นด้วยความไม่ประหลาดใจอะไร

(เพราะรู้อยู่แล้วว่าทรงปืนแม่น)

ว่าไม่มีกระสุนนัดใดออกจากวงดำของเป้าไปเลยแม้แต่นัดเดียว

ผมวิ่งกลับไปที่แนวยิง ถวายความเคารพ

แล้วกราบบังคมทูลอย่างฉาดฉานว่า

“ถูกหมดทุกนัด พระพุทธเจ้าข้า”

มีพระราชดำรัสถามว่า ถูกกี่นัด?

ผมไม่ได้นับจำนวนกระสุนที่ถูกเป้า

แต่รู้ว่าแม็กซีนหรือซองกระสุนที่ใช้บรรจุกระสุนปืน

สำหรับปืน M-16 รุ่นนั้นในสมัยนั้นบรรจุได้เต็ม 20 นัด

จึงกราบบังคมทูลอย่างฉับพลันว่า “20 นัด พระพุทธเจ้าข้า”

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ทรงก้มพระพักตร์ลงทอดพระเนตรพระแสงปืน

ในพระหัตถ์ ทรงพลิกพระแสงไปมา 2-3 ตลบ

แล้วเงยพระพักตร์ขึ้นแย้มพระสรวล

ก่อนที่จะตรัสว่า “ปืนกระบอกนี้วิเศษมาก บรรจุ 18 นัด

แต่ยิงได้ถึง 20 นัด

--- จากหนังสือ รอยพระยุคลบาท หน้าที่ 35

โดย พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร

๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

เสด็จพระราชดำเนินมาทรงพระแสงปืน

ณ อุโมงค์ยิงปืนของกรมสรรพาวุธทหารบกเป็นครั้งแรก

ในโอกาสนั้น พลโท ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกในขณะนั้นได้ทูลเกล้าถวายพระแสงปืน

และในคราวเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น

ทรงจารึกพระปรมาภิไธยลงบนแผ่นศิลาอ่อน

โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ประดิษฐานไว้ ณ อุโมงค์ยิงปืน

เพื่อเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลแก่ ข้าราชการ และลูกจ้าง

กรมสรรพาวุธทหารบกทั้งปวงสืบมาจนบัดนี้

“ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า

เฮลิคอปเตอร์ของกรมตำรวจที่ใช้ปฏิบัติหน้าที่สนามนั้น

ไม่มีอาวุธติดกับเครื่องบิน เพราะเป็นเฮลิคอปเตอร์ธรรมดา

สำหรับใช้ขนส่งทั่วไป…

เมื่อทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงพระกรุณาพระราชทานความคิดให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกร

ไปประดิษฐ์ฐานสำหรับติดตั้งปืนกลติดกับตัว

พระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงพระแสงปืนเล็กยาว M-16

ต่อเป้าหมายอันแม่นยำ

ณ สนามทรงพระแสงปืน ค่ายธนะรัชต์

แสดงถึงพระลักษณะของความเป็น “ทหารชั้นเลิศ”

แม้พระองค์ทรงอยู่ในฐานะจอมทัพ ก็หาได้ถือพระองค์ไม่

หากแต่ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงพระแสงปืนหลายครั้ง

ด้วยความตั้งพระราชหฤทัย

นอกจากจากพระอัจฉริยภาพในเรื่องพระแสงปืน

ดังที่กล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ยังทรงพระปรีชาญาณเกือบทุกอย่าง

แม้กระทั่งการต่อเรือรบโดยพระองค์ทรงนำประสบการณ์

การต่อเรือใบและการแล่นใบ

พระราชทานให้กองทัพเรือโดยกรมอู่ทหารเรือ

ได้ทำการต่อเรือรบเพื่อใช้ในราชการรวมสองครั้ง

ครั้งแรกคือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.91 – ต.99

ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

เมื่อ ปี พ.ศ. 2511

และครั้งที่สองคือ โครงการจัดสร้างเรือตรวจเรือใกล้

ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

เป็นโครงการของกองทัพเรือไทย

ที่ต่อยอดมาจากโครงการก่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด

เรือ ต.91 – ต.99 (ครั้งแรก)

โดยมีจุดเริ่มต้นจากพระราชกระแสรับสั่ง

แก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล

และผู้เข้าเฝ้า ฯ ณ วังไกลกังวล

เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ

ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545 ความว่า

“เรือรบขนาดใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่าย

ในการปฏิบัติงานสูง กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสม

และสร้างได้เอง

ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว

ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม”

กับทั้งได้มีพระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

5 ธันวาคม พ.ศ. 2546

เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้ทรงยกตัวอย่าง

จากการพึ่งพาตนเอง

ในโครงการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91

ในอดีตของกองทัพเรือ กอปรกับในช่วงเวลานั้น

กองทัพเรือได้มีแผนปลดประจำการเรือตรวจการณ์

ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11 ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริก

เนื่องจากใช้งานมานานประมาณ 40 ปีแล้ว

กองทัพเรือจึงได้นำพระราชดำริฯ

มาดำเนินการพัฒนาแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่

ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัส

ดังกล่าว โดยขยายแบบเรือจากชุดเรือ ต.91 – ต.99

ให้ใหญ่ขึ้น

นอกจากจากพระอัจฉริยภาพในเรื่องพระแสงปืน

ดังที่กล่าวมาแล้ว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ยังทรงพระปรีชาญาณเกือบทุกอย่าง

แม้กระทั่งการต่อเรือรบโดยพระองค์

ทรงนำประสบการณ์การต่อเรือใบและการแล่นใบ

พระราชทานให้กองทัพเรือโดยกรมอู่ทหารเรือได้ทำการต่อเรือรบ

เพื่อใช้ในราชการรวมสองครั้ง ครั้งแรกคือ

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.91 – ต.99

ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

เมื่อ ปี พ.ศ. 2511 และครั้งที่สองคือ

โครงการจัดสร้างเรือตรวจเรือใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

เป็นโครงการของกองทัพเรือไทย

ที่ต่อยอดมาจากโครงการก่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด

เรือ ต.91 – ต.99 (ครั้งแรก)

โดยมีจุดเริ่มต้นจากพระราชกระแสรับสั่ง

แก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล

และผู้เข้าเฝ้า ฯ ณ วังไกลกังวล

เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ

ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2545 ความว่า

“เรือรบขนาดใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสูง

กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสม และสร้างได้เอง

ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว

ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม”

กับทั้งได้มีพระราชดำรัสในโอกาส

วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2546

เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้ทรงยกตัวอย่าง

จากการพึ่งพาตนเองในโครงการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91

ในอดีตของกองทัพเรือ กอปรกับในช่วงเวลานั้น

กองทัพเรือได้มีแผนปลดประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.11

ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา

เนื่องจากใช้งานมานานประมาณ 40 ปีแล้ว

กองทัพเรือจึงได้นำพระราชดำริฯ

มาดำเนินการพัฒนาแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่

ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน

และสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสดังกล่าว

โดยขยายแบบเรือจากชุดเรือ ต.91 – ต.99 ให้ใหญ่ขึ้น

ผู้บัญชาการกองทัพเรือ นำคณะนายทหาร เข้าถวายรายงานต่อ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการดำเนินการต่อเรือ ต.991

ตามพระราชดำริ เพื่อมีพระราชวินิจฉัย โดย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงมี

พระบรมราชวินิจฉัย

ในวันดังกล่าวคือ

• TRIM เรือมีผลกระทบอย่างมากต่อความเร็วเรือ

• รูปทรงส่วนท้ายเป็น Planing ควรให้โค้งมน ต้องมีความทนทะเล คลื่นลมในอ่าวไทยมีลักษณะสับสน

• ความเร็วเรือที่เสนอน่าจะเหมาะสม

• ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง กำลังขับเคลื่อน ระยะปฏิบัติการ

• อุปกรณ์ช่วยการทรงตัว (Stabilizer)

• ความแข็งแรงของตัวเรือและความทนทาน ให้ใช้งานได้นาน

• ควรให้มีการติดตั้ง Spray Rail สำหรับการกระจายคลื่น

• การทำแบบจำลองเรือโดยใช้เทียนไข

• นำเรือเก่าที่จะไม่ใช้มาทดลองปรับปรุง

นับเป็นพระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเรื่องการออกแบบอย่างแม่นยำ

และตรงประเด็น เพราะทรงรู้จักลักษณะคลื่นลมทะเล

จากการทรงเรือใบ จึงให้คำนึงถึงน้ำหนัก

และลักษณะท้องเรือเป็นพิเศษ

กล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นอัจฉริยบุรุษ

สมดั่งพระบารมีของพระองค์ท่าน

ปกเกล้าปกกระหม่อมให้พระสกนิกรชาวไทยได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข

ให้ประเทศไทยคลาดแคล้วจากภัยพิบัติทั้งปวงมา

ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ

เป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ข้าพระพุทธเจ้า

ดร.โยธิน มานะบุญ

นักวิชาการอิสระ