เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jul 20, 2019
เปิดประวัติ ต้นสกุล “เทพหัสดิน” เชื้อสายเจ้า ขุนศึกคู่ใจ สร้างสิ่งยิ่งใหญ่
ไทยรัฐออนไลน์18 ก.ค. 2562 16:24 น.
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ราชสกุล “เทพหัสดิน ณ อยุธยา” ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์อย่างมาก ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ ไล่เรียงประวัติศาสตร์น่ารู้เกี่ยวกับต้นสกุล “เทพหัสดิน ณ อยุธยา” ราชสกุลดังที่คนไทยรู้จักคุ้นหูมานานหลายสมัย
ทว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี(พี่สาว) สองพระองค์ด้วยกันคือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระเทพสุดาวดี ทรงมีพระราชโอรสต้นราชสกุล “นรินทวรางกูร ณ อยุธยา”
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระศรีสุดารักษ์ ทรงมีพระราชโอรสต้นราชสกุล “เทพหัสดิน ณ อยุธยา”, มนตรีกุล ณ อยุธยา” และ “อิศรางกูร ณ อยุธยา”
ต้นราชสกุล “เทพหัสดิน ณ อยุธยา” ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระศรีสุดารักษ์ และเจ้าขรัวเงิน มีพระนามว่า สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ อันเป็นต้นราชสกุล “เทพหัสดิน” ซึ่งเป็นทหารคู่พระองค์ของรัชกาลที่ 1
เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ทรงมีพระโอรสพระธิดา 7 พระองค์ หม่อมเจ้าชายฉิม, หม่อมเจ้าชายมาก, หม่อมเจ้าชายนิ่ม, หม่อมเจ้าชายหนู, หม่อมเจ้าชายน้อย, หม่อมเจ้าพุมเสน และหม่อมเจ้าหญิงหนู
ส่วนอีกคนคือ หม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน ยังคลุมเครือว่าเป็นพระราชโอรสเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ หรือเป็นพระนัดดา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงถือว่า หม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน เป็นแค่หลาน หรือพระนัดดา ในเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ จึงมีศักดิ์เป็นเพียงหม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน หรือพระยาราชภักดี ต่อมามีบุตรชาย นามว่า หม่อมหลวงเจียม เทพหัสดิน หรือ พระยาไชยสุรินทร
หม่อมหลวงเจียม เทพหัสดิน หรือ พระยาไชยสุรินทร มีบุตรชายนามว่า สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา
โดย สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 และได้ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ กลับมารับราชการในกรมศึกษาธิการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงไพศาลศิลปศาสตรแล้ว เลื่อนเป็น พระไพศาลศิลปศาสตร
ต่อมา ในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขั้นเป็นพระยาไพศาลศิลปศาสตร และขึ้นเป็น พระยาธรรมศักดิ์มนตรี
เมื่อกรมศึกษาธิการเปิดโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเข้าเป็นนักเรียน และต่อมาได้รับประกาศนียบัตรครู และถูกเลือกให้เป็นองค์ปาฐกสอนวิชาครูให้กับครูในโรงเรียนหลวงในกรุงเทพฯ และได้รับพระราชทานทุนหลวงไปศึกษาวิชาครู ณ ประเทศอังกฤษ
เมื่อกลับมาพร้อมประกาศนียบัตรครูของประเทศอังกฤษ จึงได้จัดวางระเบียบการศึกษาในกรุงเทพฯ ซึ่งภายหลังมีหน้าที่เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน พระยาธรรมศักดิ์มนตรี ตั้งใจจัดวางระเบียบขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น รัชากาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น มหาวิทยาลัย โดยพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
อย่างไรก็ดี เทพหัสดิน เป็นราชสกุลใหญ่ ซึ่งมีเชื้อสายที่สืบต่อกันหลายชั่วอายุคน และตลอดระยะสมัยรัตนโกสินทร์ ลูกหลานแห่งราชสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้สร้างคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติเป็นอันมาก และมีบุคคลในราชสกุลที่มีชื่อเสียงหลากหลายด้าน ดังที่ปรากฏเป็นข่าวตลอดมา.
อ้างอิง: ม.ร.ว.มาลินี จักรพันธุ์. (ปี 2551) วารสารสยามรัฐ. ต้นกำเนิดที่เกิดเหตุ สัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 7