Custom Search

Sep 8, 2018

ม.แม่ฟ้าหลวง เปิดคอร์ส ‘พุทธศิลปกรรม’ เรียนศิลปะกับ‘เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์’


7 ตุลาคม 2563 | โดย ปิ่นอนงค์ ปานชื่น
กรุงเทพธุรกิจ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) พ.ศ.2554
เปิด "หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม"
ภายใต้สถาบันพุทธศิลปกรรมแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โดยนิมนต์เจ้าอาวาสเข้าเรียนเป็นคลาสแรก

ดังนั้นเริ่มต้นต้องมาศึกษางานเกี่ยวกับพุทธศิลป์ก่อน
คำว่า ‘พุทธศิลปกรรม’
จึงเกิดขึ้นจากการที่เราเห็นว่างานศิลปะในเชิงพุทธมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ควรจะทำนุบำรุงและรักษาไว้  
ราเปิดหลักสูตรพุทธศิลปกรรมขึ้นมาแล้วเชิญตุ๊เจ้า คือ
บรรดาพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าอาวาสให้มาเรียนก่อน
เพื่อให้เข้าว่า ศิลปกรรม คือ อะไร พุทธศิลป์ คืออะไร
จุดประสงค์ของหลักสูตรพุทธศิลปกรรม ประการแรก คือ
ต้องการให้ผู้เรียนโดยเฉพาะตุ๊เจ้ามีความรู้ความเข้าใจ
และรักษางานพุทธศิลป์ที่มีอยู่ตามวัดวาอารามต่างๆ 
ประการที่สอง เพื่อสร้างศิลปิน ที่จะเป็นผู้รังสรรค์สร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ต่อไปเพราะว่า
งานเชิงพุทธศิลป์เป็นศิลปะเฉพาะทาง ถ้าเราไม่สอนไม่สร้างมันจะไม่มีคนทำ
เราพบว่ามีเด็กๆเยาวชนหรือว่าชาวบ้านที่มีความสามารถทางศิลปะอยู่เยอะ
แต่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน ถ้านำเด็กกลุ่มนี้มาฝึกอบรมเพื่อที่
เขาจะได้มีความสามารถมากขึ้นก็จะช่วยกันสืบสาน
ศิลปวัฒนธรรมและยึดเป็นอาชีพได้”

ด้วยเหตุนี้ พุทธศิลปกรรม จึงเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนระยะสั้น (4-5 เดือน)
เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิการศึกษา
และไม่เก็บค่าเล่าเรียนและอุปกรณ์ใดๆ
“เราต้องการเผยแพร่งานพุทธศิลปกรรมในวงกว้าง
เป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อประหยัดเวลาที่จะทำให้คนได้เรียนรู้ 
เรียนฟรี ค่าใช้จ่ายฟรี อุปกรณ์ฟรี ทุกอย่างฟรี เพื่อที่จะดึงคนที่มีใจรักแต่ยากจนให้มาเรียน
เพื่อดึงพระสงฆ์ให้มาเรียน  อยากให้ซาบซึ้ง รักษา และ สร้างต่อ
นี่คือ คอนเซ็ปต์" อาจารย์วันชัยเน้นถึงแนวคิด

โดยหลักสูตรแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 พุทธศิลป์ขึ้นพื้นฐาน
ระดับที่ 2 พุทธศิลป์สร้างสรรค์ และระดับที่ 3 พุทธศิลป์สร้างสรรค์ขั้นสูง 
ทั้งนี้ผู้สำเร็จการศึกษาตามแผนการเรียนการสอนในแต่ละระดับ
จะได้รับใบประกาศการสำเร็จการศึกษาที่รับรองโดย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี)
และ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ
ดำเนินการสอนโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์  พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) นคร พงษ์น้อย
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง ร่วมด้วยจิตรกรและประติมากร ได้แก่ 
ทรงเดช ทิพย์ทอง วัชระ กว้างไชย์ มานิตย์ กันทะสัก กาญจนา ชลศิริ และ ขจรเดช หนิ้วหยิ่น

“ 3 หลักสูตรนี้สอนให้ รู้ เป็น และ ดัง” ทรงเดช ทิพย์ทอง ขยายความถึงการเรียนการสอนว่า
"หลักสูตรแรก คือ รู้ศิลปะควบคู่ไปกับศาสนา นอกจากอาจารย์เฉลิมชัยจะเป็นผู้สอนเองแล้ว
ยังได้เชิญศิลปินแห่งชาติ ได้แก่ อาจารย์ปรีชา เถาทอง อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร
ซึ่งเป็นสุดยอดของศิลปินที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จมากมาให้ความรู้ทางด้านศิลปะ 
นอกจากนี้ อาจารย์พลวัต ประพัฒน์ทอง
จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจะดูแลเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะ ด้านธรรมะ
ท่านว.วชิรเมธี เป็นผู้ดูแล  ผู้ที่จบหลักสูตรนี้จะมีรสนิยมที่ดี
มีมุมมองที่เข้าใจและเห็นคุณค่าของงานศิลปะ ไม่ทำลายสิ่งที่ดีงาม”

ในขณะที่หลักสูตรที่ 2 เน้นสร้างเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปะ
เน้นการปฏิบัติงานทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และเทคนิคการสร้างสรรค์อื่นๆ
“จากรู้แล้ว ต้องเป็น หลักสูตรนี้ผู้เรียนต้องมีพื้นฐานทางด้านศิลปะ ควบคุมการสอนโดย
อาจารย์เฉลิมชัยและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะชุดเดิม
เน้นให้สร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อย่างเข้าใจและถูกต้อง ส่วนหลักสูตรที่ 3 ทำให้ดัง
เมื่อเป็นศิลปินแล้วทำอย่างไรจะประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง
ทำอย่างไรที่จะนำเสนอผลงานให้เป็นที่รู้จัก
แน่นอนว่าการได้เรียนรู้จากอาจารย์เฉลิมชัยนั้นเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆเลย”
ทรงเดช กล่าวว่าหลักสูตร รู้ เป็น และ ดังนี้เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาทั้งในเรื่องความเข้าใจทางศิลปะ
รวมไปถึงการสื่อสารของศิลปินในเรื่องศิลปะไปพร้อมกัน
สำหรับผู้สนใจสมัครเข้าเรียน   เปิดรับพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป
ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา รับสมัคร 50 ที่ แบ่งเป็นระดับที่ 1
รับจำนวน 30 ที่
ระดับที่ 2 รับจำนวน 15 ที่ และระดับที่ 3 รับจำนวน 5 ที่
โดยในรุ่นที่ 1 ไม่มีค่าใช้จ่ายเนื่องจาก
มีผู้สนับสนุนทุนการศึกษาเต็มจำนวนแล้ว
พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เชิญร่วมบริจาคเงินเข้า
กองทุนพุทธศิลปกรรมแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
(กองทุนพุทธศิลปกรรมแห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)
เลขที่บัญชี 672-0-50576-4
โดยใบเสร็จสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์บริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โทร. 0 5391 7897 ต่อ 8031-6