เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Sep 3, 2017
แม้จะทำรายการหลากหลายประเภท
แต่ หนุ่ม-กิติกร เพ็ญโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเฮลิโคเนีย เอชกรุ๊ป ผู้ผลิตรายการเหล่านั้น บอกเลยว่าเป้าหมายสุดท้ายของเขาในงานนี้คือ การเป็น “King of Food Content”
“ส่วนตัวผม ผมมีแพสชั่นอยู่ 2 อย่าง คือดนตรีกับอาหาร”
ในทางดนตรีนั้น เขาสนองแพสชั่นด้วยการเป็นนักร้อง แล้วทำรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับเพลงมาบ้างแล้ว ทั้ง “เดอะ เทรนเนอร์” และ “ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย”
ขณะเรื่องอาหาร เขาก็เริ่มจากการทำรายการ “ไอรอน เชฟ ไทยแลนด์” หรือ “เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย”
แล้วก็ตามมาด้วย “มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์” ซึ่งจะเริ่มแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.20-19.50 น. ตั้งแต่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา
“แล้วหลังจากนี้เราก็จะโฟกัสรายการอาหาร” เขาบอกชัดเจน
เหตุผลน่ะหรือ “เพราะรายการเพลงมีอยู่เยอะในตลาด แต่ผู้ผลิตรายการอาหารที่แข็งแรงมีไม่เยอะ” เขาบอก
“เราเลยจะทำทั้งในสื่อหลักและโซเชียลมีเดีย เพราะเราอยากจะเป็นบริษัทที่มีคอนเทนต์อาหารที่แข็งแรงที่สุด”
“เป็นคิง ออฟ ฟู้ด คอนเทนต์”
บอกอีกว่าในความเห็นเขา รายการอาหารที่เขาตั้งใจว่าจะเป็น “เจ้าตลาด” ในบ้านเรานั้น น่าจะประสบความสำเร็จทั้งในแง่ผู้ชมและรายได้
โดยในแง่ผู้ชมนั้นเขามองว่า เรื่องของอาหารอยู่ในความสนใจของคนส่วนใหญ่
“ขอยกตัวอย่างก่อน ว่าในเชฟกระทะเหล็ก ถ้าดูในแฟนเพจ เราพยายามที่จะโปรโมต เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มา ไม่มีใครส่งต่อเลย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสอนทำอาหาร จะส่งต่อจนยอดวิวเป็นล้านเลย นั่นแสดงว่าปัจจุบันเทรนด์คนทำอาหารมีเยอะขึ้น”
“เหมือนกับสมัยก่อน ถามคนรุ่นผมว่าอยากเป็นอะไร จะอยากเป็นนักร้อง เท่เหลือเกิน แต่สมัยนี้ถามเด็กปัจจุบันอยากเป็นอะไรกัน เขาอยากเป็นเชฟ เทรนด์นี้มันสูงขึ้น”
“แล้วสังเกตว่าทุกท่าน ก่อนจะทานอาหาร ต้องถ่ายรูป ทุกเมนูที่วางตรงหน้า ต้องถ่ายรูปก่อน เพราะฉะนั้น เชื่อว่าอาหารมาแน่ครับ”
ด้วยเหตุนี้นอกเหนือจากไอรอนเชฟ และมาสเตอร์เชฟ ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศแล้ว เขายังเตรียมทำรายการอื่นๆ เกี่ยวกับอาหาร โดยกว้านซื้อลิขสิทธิ์รายการอาหารดังๆ ไว้แล้ว 4-5 รายการ แต่ขออุบไว้ ไม่บอกในตอนนี้ อย่างไรก็ดี อีกไม่นานคงได้เห็นเพราะ “ด้วยระยะเวลาของลิขสิทธิ์ รายการที่เราซื้อไว้ต้องออกอากาศภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี”สรุปคือภายใน 2 ปีนี้เขาจะมีรายการเกี่ยวกับอาหารมาให้ดูอีกแน่ๆ
หนุ่ม กิติกร บอกอีกว่า ในโลกนี้มีรายการอาหารดังๆ อยู่ราว 4-5 รายการ ซึ่ง 80% ของรายการเหล่านั้นเขาถือลิขสิทธิ์อยู่
ทั้งนี้ ในฐานะคนที่สนใจติดตาม รวมถึงอยู่ในสถานะผู้ผลิตรายการด้านอาหารอีกตำแหน่งหนึ่ง หนุ่ม กิติกร บอกว่า ในความเห็นเขา รายการอาหารที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีองค์ประกอบ 6 สิ่ง
“หนึ่ง ต้องโชว์ความน่ากินของอาหารให้ได้”
“สอง ต้องโชว์ความแปลกใหม่ของอาหารให้ได้”
“สาม ต้องถ่ายอาหารให้ออกมาสวยให้ได้ เพราะว่าอาหารคืออาร์ต ถ้าถ่ายไม่สวย มันก็ไม่น่าดู”
“สี่ คือจะต้องเป็นการแข่งขันที่ตื่นเต้นให้ได้ ซึ่งก็ไม่ง่าย”
“ห้า เป็นองค์ประกอบของโปรดักชั่น ต้องทำให้อาหารจานหนึ่งกลายเป็นดาราดัง โปรดักชั่นต้องมีมาตรฐานหรือมีคุณภาพมากเพียงพอ”
“และสุดท้ายคือผู้ดำเนินรายการ ต้องมีความชัดเจน มีความรู้จริงด้านอาหาร และในขณะเดียวกัน ก็ต้องอยู่หน้ากล้องได้จริง”
ซึ่งอย่างหลังนี้บอกเลย “หายากมาก”
แต่หากหาได้และทำทุกสิ่งได้ครบดังว่า ก็จะนำมาซึ่งการต่อยอดจากความสำเร็จของรายการ เหมือนอย่างที่เขาทำร้านอาหารไอรอนเชฟ หลังรายการเชฟกระทะเหล็กประสบความสำเร็จ โดยตอนนี้ร้านดังกล่าวมีอยู่แล้ว 2 สาขา และในอนาคตจะเปิดเพิ่มอีก 2 สาขา
“มาสเตอร์เชฟก็จะเป็นไปในทางเดียวกัน ว่ามันจะต่อยอดไปในทางด้านอาหาร”
“สุดท้ายแล้ว มันสามารถต่อยอดได้หลายทางนะครับ หนึ่ง เป็นร้านอาหาร สอง เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร นี่คือที่ตั้งเป้าไว้แล้ว ก็ประมาณนั้น”
“แต่จุดหลักๆ คือถ้าถามว่าเราเป็นบริษัทอะไร ต้องตอบก่อนว่า เราเป็นบริษัทผลิตรายการทีวี โฟกัสที่รายการเป็นอันดับแรก การต่อยอดถือเป็นเรื่องรองลงมา”
ว่าที่ “คิง ออฟ ฟู้ด คอนเทนต์” ว่าอย่างนั้น
แต่ หนุ่ม-กิติกร เพ็ญโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเฮลิโคเนีย เอชกรุ๊ป ผู้ผลิตรายการเหล่านั้น บอกเลยว่าเป้าหมายสุดท้ายของเขาในงานนี้คือ การเป็น “King of Food Content”
“ส่วนตัวผม ผมมีแพสชั่นอยู่ 2 อย่าง คือดนตรีกับอาหาร”
ในทางดนตรีนั้น เขาสนองแพสชั่นด้วยการเป็นนักร้อง แล้วทำรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับเพลงมาบ้างแล้ว ทั้ง “เดอะ เทรนเนอร์” และ “ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย”
ขณะเรื่องอาหาร เขาก็เริ่มจากการทำรายการ “ไอรอน เชฟ ไทยแลนด์” หรือ “เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย”
แล้วก็ตามมาด้วย “มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์” ซึ่งจะเริ่มแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.20-19.50 น. ตั้งแต่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา
“แล้วหลังจากนี้เราก็จะโฟกัสรายการอาหาร” เขาบอกชัดเจน
เหตุผลน่ะหรือ “เพราะรายการเพลงมีอยู่เยอะในตลาด แต่ผู้ผลิตรายการอาหารที่แข็งแรงมีไม่เยอะ” เขาบอก
“เราเลยจะทำทั้งในสื่อหลักและโซเชียลมีเดีย เพราะเราอยากจะเป็นบริษัทที่มีคอนเทนต์อาหารที่แข็งแรงที่สุด”
“เป็นคิง ออฟ ฟู้ด คอนเทนต์”
บอกอีกว่าในความเห็นเขา รายการอาหารที่เขาตั้งใจว่าจะเป็น “เจ้าตลาด” ในบ้านเรานั้น น่าจะประสบความสำเร็จทั้งในแง่ผู้ชมและรายได้
โดยในแง่ผู้ชมนั้นเขามองว่า เรื่องของอาหารอยู่ในความสนใจของคนส่วนใหญ่
“ขอยกตัวอย่างก่อน ว่าในเชฟกระทะเหล็ก ถ้าดูในแฟนเพจ เราพยายามที่จะโปรโมต เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มา ไม่มีใครส่งต่อเลย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสอนทำอาหาร จะส่งต่อจนยอดวิวเป็นล้านเลย นั่นแสดงว่าปัจจุบันเทรนด์คนทำอาหารมีเยอะขึ้น”
“เหมือนกับสมัยก่อน ถามคนรุ่นผมว่าอยากเป็นอะไร จะอยากเป็นนักร้อง เท่เหลือเกิน แต่สมัยนี้ถามเด็กปัจจุบันอยากเป็นอะไรกัน เขาอยากเป็นเชฟ เทรนด์นี้มันสูงขึ้น”
“แล้วสังเกตว่าทุกท่าน ก่อนจะทานอาหาร ต้องถ่ายรูป ทุกเมนูที่วางตรงหน้า ต้องถ่ายรูปก่อน เพราะฉะนั้น เชื่อว่าอาหารมาแน่ครับ”
ด้วยเหตุนี้นอกเหนือจากไอรอนเชฟ และมาสเตอร์เชฟ ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศแล้ว เขายังเตรียมทำรายการอื่นๆ เกี่ยวกับอาหาร โดยกว้านซื้อลิขสิทธิ์รายการอาหารดังๆ ไว้แล้ว 4-5 รายการ แต่ขออุบไว้ ไม่บอกในตอนนี้ อย่างไรก็ดี อีกไม่นานคงได้เห็นเพราะ “ด้วยระยะเวลาของลิขสิทธิ์ รายการที่เราซื้อไว้ต้องออกอากาศภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี”สรุปคือภายใน 2 ปีนี้เขาจะมีรายการเกี่ยวกับอาหารมาให้ดูอีกแน่ๆ
หนุ่ม กิติกร บอกอีกว่า ในโลกนี้มีรายการอาหารดังๆ อยู่ราว 4-5 รายการ ซึ่ง 80% ของรายการเหล่านั้นเขาถือลิขสิทธิ์อยู่
ทั้งนี้ ในฐานะคนที่สนใจติดตาม รวมถึงอยู่ในสถานะผู้ผลิตรายการด้านอาหารอีกตำแหน่งหนึ่ง หนุ่ม กิติกร บอกว่า ในความเห็นเขา รายการอาหารที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีองค์ประกอบ 6 สิ่ง
“หนึ่ง ต้องโชว์ความน่ากินของอาหารให้ได้”
“สอง ต้องโชว์ความแปลกใหม่ของอาหารให้ได้”
“สาม ต้องถ่ายอาหารให้ออกมาสวยให้ได้ เพราะว่าอาหารคืออาร์ต ถ้าถ่ายไม่สวย มันก็ไม่น่าดู”
“สี่ คือจะต้องเป็นการแข่งขันที่ตื่นเต้นให้ได้ ซึ่งก็ไม่ง่าย”
“ห้า เป็นองค์ประกอบของโปรดักชั่น ต้องทำให้อาหารจานหนึ่งกลายเป็นดาราดัง โปรดักชั่นต้องมีมาตรฐานหรือมีคุณภาพมากเพียงพอ”
“และสุดท้ายคือผู้ดำเนินรายการ ต้องมีความชัดเจน มีความรู้จริงด้านอาหาร และในขณะเดียวกัน ก็ต้องอยู่หน้ากล้องได้จริง”
ซึ่งอย่างหลังนี้บอกเลย “หายากมาก”
แต่หากหาได้และทำทุกสิ่งได้ครบดังว่า ก็จะนำมาซึ่งการต่อยอดจากความสำเร็จของรายการ เหมือนอย่างที่เขาทำร้านอาหารไอรอนเชฟ หลังรายการเชฟกระทะเหล็กประสบความสำเร็จ โดยตอนนี้ร้านดังกล่าวมีอยู่แล้ว 2 สาขา และในอนาคตจะเปิดเพิ่มอีก 2 สาขา
“มาสเตอร์เชฟก็จะเป็นไปในทางเดียวกัน ว่ามันจะต่อยอดไปในทางด้านอาหาร”
“สุดท้ายแล้ว มันสามารถต่อยอดได้หลายทางนะครับ หนึ่ง เป็นร้านอาหาร สอง เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร นี่คือที่ตั้งเป้าไว้แล้ว ก็ประมาณนั้น”
“แต่จุดหลักๆ คือถ้าถามว่าเราเป็นบริษัทอะไร ต้องตอบก่อนว่า เราเป็นบริษัทผลิตรายการทีวี โฟกัสที่รายการเป็นอันดับแรก การต่อยอดถือเป็นเรื่องรองลงมา”
ว่าที่ “คิง ออฟ ฟู้ด คอนเทนต์” ว่าอย่างนั้น