Custom Search

Jun 26, 2022

26 มิ.ย. วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช

 



26 มิ.ย. 2565 เวลา 14:04 น.



วันนี้ (26 มิ.ย.65)  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เสด็จลงพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุ 95 พรรษา

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดรับการบำเพ็ญพระกุศลคล้ายวันประสูติ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เชิญน้ำสรง ดอกไม้ธูปเทียน และผ้าไตรมาถวาย

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรด

และโปรดให้เชิญเครื่องสักการะมาถวายด้วย

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ประสูติเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พุทธศักราช 2470

เป็นบุตรของนายนับ และนางตาล ประสัตถพงศ์ ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช

สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อพุทธศักราช 2560 ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

และเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเปี่ยมด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม

ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาพระปริยัติธรรม และวิปัสสนาธุระ ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา

และเกื้อกูลประโยชน์สุขของประชาชนมาโดยตลอด


Jun 10, 2022

นบน้อมบูชา ๑๔๔ ปี วันคล้ายวันเกิดพระครูบาศรีวิชัย

สง่า พระมหา ไชยวงค์


๑๑ มิถุนายน ของทุกปี ศรัทธาชาวล้านนารวมถึงคนลำพูนถือเป็นวันครบรอบวันเกิดครูบาเจ้าศรีวิชัย มหาเถระ หรือที่คนล้านนาเรียกท่านว่า “ตนบุญ” ครูบาถือกำเนิดเมื่อ วันอังคารขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑ เวลาพลบค่ำ เป็นวันที่พายุพัดกระหน่ำ ฟ้าร้องคำราม ณ บ้านปาง อำเภอลี้ พ่อแม่จึงให้ชื่อทารกผู้นี้ว่า “อินตาเฟือน” หรือ “อ้ายฟ้าร้อง” ตามนิมิตแห่งการเกิด เมื่อเยาว์วัยท่านเป็นเด็กเลี้ยงง่ายและอยู่ในโอวาทคำสั่นสอนของบิดามารดาช่วยประกอบสัมมาอาชีวะ ปกติท่านชอบเลี้ยงวัวเลี้ยงควายและรักความสงบตามธรรมชาติป่าเขา ครั้นเมื่อท่านอายุได้ ๑๘ ปี ได้ขอลาบิดามารดาไปเป็นขะโยม หรือเด็กวัดบ้านปาง ศึกษาเล่าเรียนและบวชเป็นสามเณรกับพระอาจารย์ขัตติยะ ซึ่งบางทีชาวบ้านก็เรียกว่า "ครูบาแข้งแคะ(ท่านเดินขากระแผก) เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสม สุมโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “สิริวิชโย ภิกขุ” จึงเป็นที่มาของนามที่ชาวบ้านจะเรียกขานท่านตามฉายาว่า “พระศรีวิชัย” พระศรีวิชัยได้ศึกษาสัพพะศาสตร์จากครูแข้งแคะ โดยได้ยึดมั่นว่าการศึกษาจะนำความสุขความเจริญมาให้ ท่านยังได้สักหมึกดำที่ขาทั้งสองข้างตามความเชื่อของลูกผู้ชายชาวล้านนา ต่อมาครูบาสม สมฺโณ ได้นำให้พระศรีวิชัยไปนมัสการครูบาอุปละที่วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เพื่อเล่าเรียนครองวัตรปฏิบัติเป็นเวลา ๑ พรรษา จากนั้นจึงได้กราบลาครูอุปละไปศึกษาต่อกับครูบาวัดดอยคำและกลับมาศึกษาต่อกับครูบาสม สมฺโณ ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง การได้ศึกษากับพระอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยภูมิรู้และวัตรปฏิบัติ ทำให้ท่านเกิดความเข้าใจในพุทธศาสนาที่ถูกต้อง มีความมุ่งมั่นปฏิบัติในด้านกัมมัฏฐาน โดยละเลิกความสนใจทางด้านไสยศาสตร์ ด้วยเล็งเห็นว่ามิใช่หนทางแห่งความหลุดพ้น


พระศรีวิชัย กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านปางอีกครั้งและปลีกตัวเองไปอยู่ในเขตอรัญญาวาส บำเพ็ญสมาธิภาวนาด้วยความสงบ ฉันอาหารมื้อเดียว ละเว้นจากการฉันเนื้อสัตว์และเว้นจากของเสพติดเช่น หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง ฉันแต่ผักผลไม้ ทำให้ชาวบ้าน ตลอดจนชาวเขาหลายเผ่าที่อยู่ในแถบนั้นพากันเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน

พระศรีวิชัย ได้เริ่มต้นเป็นผู้นำพัฒนาวัดบ้านปางเป็นแห่งแรก ก่อสร้างปฏิสังขรณ์กุฏิ วิหาร โบสถ์ และให้ชื่ออารามใหม่นี้ว่า “วัดจอมศะหรีทรายมูลบุญเรือง” แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงเรียกว่า “วัดบ้านปาง” นอกจากนั้นท่านยังได้ปลูกสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามในพระพุทธศาสนาอีกมากมายหลายวัดในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัยลำพูน, วัดเชียงยืน, วัดพระพุทธบาทตากผ้า, วัดจามเทวี, วัดพระสิงห์, วัดสวนดอก, วัดศรีโสดา,วัดพระแก้วดอนเต้าลำปาง เป็นต้น

ผลงานด้านการพัฒนาของท่านเป็นที่รู้จักและยังคงกล่าวขวัญถึงยุคปัจจุบันก็คือ ถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ที่เป็นการร่วมแรงร่วมใจของผู้คนจากทั่วภาคเหนือที่พร้อมใจกันมาสร้างถนนร่วมกับครูบาศรีวิชัย ซึ่งก่อนหน้านั้นการจะเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพต้องเดินเท้าขึ้นไปด้วยความลำบาก ใช้เวลาไม่ต่ำ ๔ – ๕ ชั่วโมง
รัฐบาลในสมัยนั้นซึ่งมีพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทราบเรื่องจากหลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย) จึงได้ส่งนายช่างขึ้นมาทำการสำรวจเส้นทาง ระยะทางทั้งหมด ๑๑.๕๓๖ กิโลเมตร โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ แล้วเสร็จในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ ความมีชื่อเสียง ความสำเร็จผลในด้านการเป็นพระนักพัฒนา เป็นดังการบำเพ็ญบารมีธรรมในชีวิตของครูบาศรีวิชัย ที่จะก้าวไปพร้อมกันกับข้อสอบคืออุปสรรคปัญหา ที่มีทั้งคณะสงฆ์ผู้ใหญ่ ข้าราชการ ชาวบ้านในล้านนาที่ไม่พอใจในตัวท่าน จนถึงขนาดมีการกล่าวหาเอาผิดท่านถึง ๓ ครั้ง โดยกล่าวหาว่าท่านทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์ ซ่องสุมกำลังผู้คน คิดขบถต่อบ้านเมือง และนำท่านไปจองจำไว้ที่ ลำพูน และวัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ และที่กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตั้งกรรมการชำระคดีครูบาศรีวิชัย ผลปรากฏว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีความผิด วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑ ขณะที่อายุได้ ๖๐ ปีเศษ ครูบาศรีวิชัยได้ถึงแก่กาลมรณภาพที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดจามเทวี เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๘๙ ตามแบบประเพณีล้านนาไทย ครูบาศรีวิชัย จึงนับเป็นแบบอย่างของพระพัฒนาที่สร้างคุณูปการต่อจังหวัดเชียงใหม่และล้านนาไทยเป็นอย่างมาก โดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ นา ๆ แม้วันนี้ครูบาศรีวิชัย หรือ พระศีลธรรม จะมรณภาพมานานกว่า ๘๔ ปี ทว่าชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านยังคงอยู่ในศรัทธาของชาวเชียงใหม่-ลำพูน และใกล้เคียงไม่เสื่อมคลาย

(ข้อมูลปรับปรุงจาก ร้อยเรื่องเมืองล้านนา ของ จักรพงษ์ คำบุญเรือง ขอบคุณภาพจากเพจ : พระครูบาเจ้าศรีวิไชย ต๋นบุญแห่งเเดนล้านนา)






Jun 6, 2022

6.06.2022





ชาวสวีเดนเฉลิมฉลองวันชาติในวันที่ 6 มิถุนายน
เพื่อเป็นเกียรติแก่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สองเหตุการณ์
คือ กุสตาฟ วาซา ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์
(6 มิถุนายน ค.ศ. 1523)
และการนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้
(6 มิถุนายน ค.ศ. 1809)
ประวัติศาสตร์ประวัติวันชาติของสวีเดนมีขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1500
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1523
กุสตาฟ วาซา
ขี่ม้าไปที่อุปซอลา ดอมคีร์กา
เพื่อสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์ และต่อมาได้ปลดปล่อยสวีเดนจากสหภาพคาลมาร์
ซึ่งในขณะนั้นประกอบด้วยเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1809 อีกสองสามร้อยปีต่อมา
สวีเดนได้นำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้เพื่อฟื้นฟูอำนาจทางการเมือง
ให้กับรัฐสภา (Riksdag)
การเฉลิมฉลองวันชาติที่ตอนแรกมาจากแนวคิดของ
Artur Hazelius ผู้ก่อตั้ง Skansen ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
ที่เก่าแก่ที่สุดในสวีเดนเขาเริ่มฉลองวันที่ 6 มิถุนายนครั้งแรก
ในปี 1890 จนถึงวันนี้ Skansen
เป็นสถานที่สำหรับชาวสตอกโฮล์มหลายคนและ
ราชวงศ์สวีเดนเพื่อเฉลิมฉลองวันชาติของสวีเดนทุกๆ
วันที่ 6 มิถุนายน ของทุกปี
จนกระทั่งสวีเดนแยกตัวกับนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1905
จึงต้องสร้างธงของตนเองขึ้น ชาวสวีเดนจึงเริ่มเรียก
วันที่ 6 มิถุนายนว่า "วันธงชาติสวีเดน"
ขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1916 แต่จะใช้เวลาเกือบ 100 ปี
ในการที่รัฐสภาสวีเดนกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ
ในปี พ.ศ. 2547
รัฐสภาได้ลงมติในวันที่ 6 มิถุนายนให้เป็น
วันหยุดประจำชาติสวีเดน
วิธีการเฉลิมฉลอง
อย่างที่ใครๆ ก็คาดหวังจากการประกาศอิสรภาพหรือวันชาติใดๆ
มีการเฉลิมฉลองมากมายทั่วประเทศ
การเฉลิมฉลองที่มีชื่อเสียงที่สุดเกิดขึ้นที่ Skansen
ใกล้กรุงสต็อกโฮล์ม ที่ซึ่งกษัตริย์และราชินีแห่งสวีเดน
เฉลิมฉลองร่วมกับชาวสวีเดนที่เหลือ
ชาวสวีเดนบางคนอาจปัดฝุ่นชุดประจำชาติ
และสวมไปงานเฉลิมฉลอง!
ข้อเท็จจริงที่น่าสนุกอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับวันชาติของสวีเดน
ก็คือในวันนี้คนหลายพันคนที่จะร่วมสาบานตนเพื่อเป็น
พลเมืองใหม่ของประเทศสวีเดนและได้รับใบรับรองการ
เป็นพลเมืองของสวีเดน ในปี 2560 ผู้คนมากกว่า 47,000 คน
ได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีมอบสัญชาติทั่วประเทศสวีเดน

Jun 1, 2022

‘ชัชชาติ’ พร้อมทำงานทันที-เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์1มิ.ย.ฤกษ์ดี 13.19 น.


ภาพจาก Thai PBS




เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ที่ชุมชนดินแดง 2 แฟลตดินแดง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ให้สัมภาษณ์ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติประกาศรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ว่าขอบคุณประชาชนที่ไว้วางใจ ขอบคุณทุกคะแนนเสียง ตนพร้อมที่จะเป็นผู้ว่าฯ กทม. ของทุกคนและสัญญาว่าจะไม่ทำให้ผิดหวัง ซึ่งตลอดการลงพื้นที่ใน 8 วันที่ผ่านมานั้น มองว่ากรุงเทพฯ มีความหวัง โดยการลงพื้นที่เป็นการส่งสัญญาณว่าการดูแลแก้ปัญหาให้กับประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ โดยไม่ต้องรอให้ผู้ว่าฯ ลงพื้นที่ โดยวันพรุ่งนี้ (1 มิ.ย.) ตนจะเดินทางไปรับหนังสือรับรองที่ กกต. ซึ่งเป็นการทำตามขั้นตอนของกฎหมาย พร้อมเปิดตัวทีมงานทั้งหมด ส่วนจะเข้าไปยังศาลาว่าการ กทม.วันไหนนั้น คงต้องรอกำหนดการอีกครั้ง เบื้องต้นจะเข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลาว่าการ กทม. และเข้าพบผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กทม. เพื่อรับฟังรายงานข้อมูลต่างๆ อีกครั้ง นอกจากนี้ขอขอบคุณนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และ กกต.ที่ได้ดำเนินการตรวจสอบ ยิ่งทำให้เห็นว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้มีความสง่างามมากขึ้น นายชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากนี้จะยังคงลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และไม่มีการบอกล่วงหน้าเหมือนเดิม ทั้งนี้หลังจากที่เคยเปิดแพลตฟอร์ม ทราฟฟี่ฟองดูว์ (Traffy Fondue) เพื่อเป็นช่องทางไปให้ประชาชนได้ร้องเรียนปัญหามีประชาชนแจ้งเข้ามาเป็นจำนวนมากนั้น ขณะนี้มีบางสำนักงานเขต ได้ติดต่อมายังทีมงานที่ดูแลทราฟฟี่ฟองดูว์ (Traffy Fondue) เพื่อนำเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไปดำเนินการแก้ไขแล้ว ส่วนนโยบาย 214 ข้อนั้น ได้เริ่มเห็นว่ามีหลายหน่วยงานนำนโยบายไปปรับใช้ในการทำงาน แต่ทั้งนี้ ภายหลังเข้าทำงานตนจะนำนโยฃบายทั้ง 214 ข้อ ไปพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานอีกครั้ง เพื่อปรับปรุงใช้เป็นแนวทางในการทำงานต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ระหว่างที่นายชัชชาติได้ลงพื้นที่สำรวจห้องสมุดประชาชน ได้มีประชาชนมาขอถ่ายรูปและร่วมความแสดงความดีภายหลัง กกต.ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งด้วย ทั้งนี้ภายหลัง กกต.ประกาศรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.แล้ว สำนักประชาสัมพันธ์ กทม. ได้เผยแพร่กำหนดการเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ของนายชัชชาติ ในวันพุธที่ 1 มิ.ย.65 ณ ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) มีกำหนดการโดยสังเขป คือเวลา 13.19 น. ผู้ว่าฯ กทม. สักการะพระพุทธนวราชบพิตร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลาว่าการ กทม. เสาชิงช้า เวลา 13.50 น. พิธีมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าฯ กทม. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ จากนั้นผู้ว่าฯ กทม. แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เวลา 14.45 น. สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลาว่าการ กทม. ดินแดง ณ ศาลาว่าการ กทม. ดินแดง


คุณทุกคน"แม่ผู้เสียสละ"


ขอบคุณการเสียสละทั้งหมดของพวกคุณ การนอนน้อยลง ร่างกายที่เปลี่ยนแปลง การอาบน้ำน้อยลง
กินข้าวน้อยลง และการอุทิศตัวและเวลาในการเลี้ยงลูก
ขอบคุณทุกๆการเสียสละ เพื่อให้เด็กคนหนึ่ง เป็นเด็กที่โชคดีที่สุดในโลก ที่มีแม่อย่างพวกคุณ ??
คุณคือรักแท้และรักแรกของลูก ข้อความนี้ถึงคุณทุกคน แม่ผู้เสียสละ ?? ขอให้มีความสุขในทุกๆวัน
Credit : Oncha Kittiyaprai