ไขข้อข้องใจอะไรคือ Everyday Heritage :
ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ชวนสถาปนิก-ดีไซเนอร์
ร่วมส่งไอเดียประกวดแบบสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง
ณ งานสถาปนิก’63 ในหัวข้อ The Everyday Heritage
จับเข่าคุยกับ ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ศิลปินดีเด่นรางวัลศิลปาธร 2561 สาขาสถาปัตยกรรม
และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสถาปนิก Department of ARCHITECTURE
ถึงการประกวดแบบระดับชาติ ASA Experimental Design Competition 20
ในหัวข้อ ‘The Everyday Heritage’ ที่เธอเป็นโต้โผดูแล
หลายคนบอกว่าโจทย์ปีนี้กำกวมทีเดียว
ในฐานะผู้ดูแลการประกวดคุณช่วยไขข้อข้องใจตรงนี้หน่อยได้ไหม
ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ: “Everyday Heritage มันเป็นสิ่งที่กำกวมถูกต้องแล้วค่ะ (หัวเราะ)
ดังนั้นใครที่รู้สึกไม่มั่นใจ หรือตั้งคำถามว่ามันคืออะไรกันแน่ นั่นคือคุณมาถูกทางแล้ว
เพราะโดยทั่วไปสิ่งที่เรามั่นใจแน่ว่ามันเป็น heritage ของชาติ เช่นวัด เช่นวัง
หรือของที่ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์แล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยเป็นปัญหา ส่วนใหญ่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
แต่ในโลกปัจจุบันเรายังมีของอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจจะมีคุณค่าในฐานะมรดกสถาปัตยกรรม
แต่เป็นสิ่งที่พวกเราลืมมอง
หรือมองแล้วก็ผ่านไป ทั้งที่มันก็อาจมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์
หรือทางจิตใจ หรือทางใดทางหนึ่งที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน
นี่คือสิ่งที่การประกวดปีนี้ต้องการชวนคุณออกตามหา อยากให้มาช่วยกันมอง
และช่วยกันคิดว่าเราสามารถจะตีความ
สร้างคุณค่า หรือสร้างความหมายใหม่ให้กับ everyday heritage
เหล่านี้อย่างไรผ่านการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม”
หมายความว่า Everyday Heritage ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เก่าเป็นร้อยๆ ปีก็ได้รึเปล่า
ทวิตีย์: นี่ล่ะคือสิ่งที่การประกวดปีนี้อยากให้คุณตั้งคำถาม เป็นคำถามสำคัญเลยนะคะ
อะไรที่ทำให้สถาปัตยกรรมหนึ่งๆ มีคุณค่าพอที่เราจะเรียกว่า everyday heritage
หรือที่ทำให้มันควรค่าแก่การอนุรักษ์
หรือเก็บรักษาไว้ในทางใดทางหนึ่ง
บางทีมันอาจจะเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เก่าเป็นร้อยปีก็ได้รึเปล่า
แต่ถ้ามันมีองค์ประกอบบางอย่างที่ทำให้มันมีคุณค่าในความรู้สึกของคุณล่ะ
นั่นคือสิ่งที่คุณต้องหาคำตอบมาให้กรรมการ
โจทย์ปีนี้แม้จะเป็นเรื่อง heritage แต่เราไม่ได้ตีกรอบมันด้วยอายุนะคะ
ถ้าสถาปัตยกรรมหนึ่งมีอายุ 30 ปี หรือ 40 ปี
แต่คุณเห็นนัยสำคัญบางอย่างที่มันสื่อถึงพลวัติทางวัฒนธรรม
ทางรสนิยม หรือทางเทคโนโลยีในยุคสมัยนั้นๆ
มันก็อาจจะมีคุณค่าพอที่จะเป็นมรดกก็ได้
อันนี้เราเชื่อว่าแต่ละคนจะมีมุมมองไม่เหมือนกัน”
“ของบางอย่างบางคนก็ให้คุณค่า บางคนก็ไม่ให้คุณค่า
ปัญหาเรื่องมรดกสถาปัตยกรรมมันมักจะอยู่ในพื้นที่ก้ำกึ่งแบบนี้”
ฟังดูท่าทางคณะกรรมการจะตัดสินยาก
ทวิตีย์: “ก็ท้าทายล่ะค่ะ (หัวเราะ) เพราะมันไม่มีเงื่อนไขเป็นข้อๆ
ที่เราจะบอกว่านี่คือถูกหรือนี่คือผิด เราถึงได้เรียกมันว่า
Experimental Design Competition ไงคะ
เพราะมันคือการก้าวเข้าไปในโลกที่เรายังไม่รู้
กรรมการก็ยังไม่รู้ คนตั้งโจทย์ก็ยังไม่รู้
ไอเดียสำคัญอยู่ที่การตั้งคำถามที่ดี และจะไม่มีคำตอบไหนที่ถูกหรือผิด
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณจะตีความโจทย์ที่คุณเลือกมาอย่างไร
และจะใช้การออกแบบเข้าไปทำงานกับสถาปัตยกรรมนั้นให้มันมีพลังขึ้นมาได้แค่ไหน
“กรรมการไม่ได้ตามหาการบูรณะสถาปัตยกรรมเก่าคืนสู่สภาพเดิม (restoration)
แต่เราตามหาการออกแบบที่จะเปลี่ยนแปลงมรดกสถาปัตยกรรมนั้นอย่างสร้างสรรค์มากกว่า
(architectural intervention)”
ถ้าผลงานใดสามารถจะไขประตูความคิดหรือสร้างมุมมองใหม่ๆ
ให้คณะกรรมการรู้สึกทึ่งได้ นั่นคือคำตอบที่ใช่
และเราเชื่อมั่นว่าด้วยความหลากหลายของคนที่เข้าประกวด
เราน่าจะได้เห็นไอเดียที่เปิดกว้างมาก
และจะได้เห็นโซลูชั่นแปลกใหม่ที่เราคาดไม่ถึงแน่นอน”
ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นศิลปาธร 2561
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ถวายรางวัลศิลปินร่วมสมัยดีเด่นศิลปาธร 2561
แด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
ในสาขาศิลปะการออกแบบ (แฟชั่นและเครื่องประดับ)
รางวัลอันทรงเกียรติที่มอบให้กับศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่มีการจัดมอบรางวัลในสาขาดังกล่าว
รวมถึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการถวายรางวัลศิลปาธรแด่พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย
นอกจากนี้ยังมี อีก 6 สาขาที่ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาทัศนศิลป์ (ภัณฑารักษ์) นายอรรฆย์ ฟองสมุทร,
สาขาสถาปัตยกรรม น.ส.ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ, สาขาวรรณศิลป์ อุทิศ เหมะมูล,
สาขาดนตรี ผศ.ดร. นรอรรถ จันทร์กล่ำ, สาขาศิลปะการแสดง นายธีระวัฒน์ มุลวิไล
และสาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว นายโสฬส สุขุม
ทั้งนี้ การคัดเลือกศิลปินศิลปาธรได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน
มีศิลปินที่ได้รับรางวัลศิลปาธรทั้งสิ้น 74 คน
ขอบคุณบทความจาก Thaipost และ VOGUEThailand
HRH Princess Sirivannavari Narirattana has been chosen
for the Silpathorn Artist award for design this year
by the Culture Ministry’s Office of Contemporary Art and Culture (OCAC).
ชื่อ – นามสกุล :ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ
สาขา : สาขาสถาปัตยกรรม
รางวัลที่เคยได้รับ :
๒๕๖๑ ได้รับรางวัลศิลปินศิลปาธรกิตติคุณ สาขาสถาปัตยกรรม : กระทรวงวัฒนธรรม
ผลงานที่ผ่านมา:
๑.Department of Architecture
๒.ผลงานออกแบบ ศาลาอเนกประสงค์ “The Flow”